การรับมือกับความท้าทายที่มากับระบบการสื่อสารไร้สายแบบ RAN

Navigating the upcoming RAN challenges

 ปัจจุบันการใช้งานเครือข่ายในเมืองใหญ่มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้น เห็นได้จากปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือจากกลุ่มของผู้ให้บริการทั่วโลก ที่มีการเจริญเติบโตสูงถึง 60 – 120 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยล่าสุดประเทศไทยยังได้ต้อนรับเทคโนโลยี 4G และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะกลายมาเป็นปัจจัยหนึ่งในการกระตุ้นให้การใช้อินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของการใช้งานเครือข่าย อาจจะยังคงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากพอสมควรสำหรับผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคม (MNOs) ในการมอบประสบการณ์ทีดีเยี่ยม (QoE) ให้กับผู้บริโภค ดังนั้น อะไรเป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการควรให้ความสนใจก่อนที่จะสายไปบ้าง

 Navigating the upcoming RAN challenges
จากงานวิจัยล่าสุดของ State of the RAN ได้ชี้ให้เห็นถึงเก้าเทรนด์หลักๆ ในปี 2559 ที่ผู้ให้บริการควรจะต้องให้ความสนใจเป็นอันดับแรก รวมไปถึงคำแนะนำเพื่อเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสในวันที่โลกต้องรับมือกับเทคโนโลยีที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว และนี่คือตัวอย่างของเทรนด์ที่น่าสนใจจากงานวิจัย State of the RAN ประจำปี 2559 ของแอมดอกซ์

พบปัญหาสายหลุดในการโทรศัพท์ผ่านระบบ LTE (VoLTE) มากกว่าระบบ 2G และ 3G สูงถึง 4 – 5 เท่า

แม้ว่า VoLTE อาจจะยังไม่แพร่หลายมากนักในประเทศไทย แต่ผู้ให้บริการหลายแห่งพยายามผลักดันให้มีการใช้ VoLTE อย่างแพร่หลายในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนี้ยังมุ่งมั่นที่จะยกเลิกการให้บริการของ 2G และ 3G และบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกันด้วย ในขณะที่ VoLTE  ได้นำเสนอถึงศักยภาพที่มาพร้อมคุณภาพสูง แต่เราได้พบปัญหาสายหลุดในการโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งนี้อาจกลายเป็นระเบิดเวลาได้ อย่างไรก็ตามด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วของเทคโนโลยีเครือข่าย เราพบว่า ผู้ให้บริการจะสามารถแก้ไขปัญสายหลุดบน VoLTE ลงได้น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปัญหาสายหลุดบน 2G และ 3G ภายในหกเดือน และจะสามารถแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางคุณภาพเสียงระหว่าง VoLTE และระบบอื่นๆ ได้อย่างชัดเจนในอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้

งานแสดงคอนเสิร์ตและการแข่งขันกีฬาเป็นโลกแห่งดาต้าขนาดใหญ่

งานแสดงคอนเสิร์ตและการแข่งขันกีฬาขนาดใหญ่ได้พิสูจน์ตัวเองว่าเป็นโลกแห่งดาต้า ด้วยไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อน การจัดงาน ระหว่างงานหรือภายหลังการจัดงาน การใช้งานแอปพลิเคชั่นแชทก็ยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดย 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้เข้าร่วมงานมักจะส่งข้อความอย่างน้อยหนึ่งครั้งระหว่างการรับชม และที่น่าสนใจคือ ดูเหมือนว่าทุกคนต่างมีการใช้งานเครือข่ายในอัตราเท่าๆกัน แม้ว่าระยะเวลาของงานจะไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น คนหนึ่งคนเข้าร่วมงานแสดงสี่ชั่วโมงอาจจะมีอัตราการใช้งานเครือข่ายเท่ากับอีกคนที่เข้าร่วมงานแสดงสองชั่วโมง หรือประมาณ 35Mb ต่อคน ในขณะเดียวกัน รายงานก็บ่งชี้ว่า ผู้ใช้ดาต้าโรมมิ่งระหว่างประเทศได้อัพโหลดดาต้ามากกว่าผู้ที่ไม่ใช้กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อแชร์ความประทับใจในต่างแดนให้กับคนที่บ้าน ดังนั้นผู้ให้บริการควรมองไปถึงการให้บริการเครือข่ายในระยะสั้นสำหรับใช้งานต่างประเทศไปพร้อมกับการให้บริการในประเทศด้วย

75 เปอร์เซ็นต์ของการใช้งานเครือข่ายในเมืองใหญ่ มาจากการใช้งานภายในอาคาร

การใช้งานเครือข่ายในเมืองใหญ่ กว่า 75 เปอร์เซ็นต์มาจากการใช้งานภายในอาคาร ถึงแม้ว่า ปัจจุบันประชากรที่มีอายุน้อยเลือกที่จะใช้  Wi-Fi มากกว่าที่จะใช้อินเตอร์เน็ตจากมือถือของตนเอง แต่สำหรับในบางกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเคลื่อนที่ของข้อมูลเครือข่าย ผู้ให้บริการมักจะตกเป็นเหยื่อจากบริการของตัวเอง เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการใช้งานไวไฟ (Wi-Fi) ที่ไม่เสถียรภาพบริเวณที่พักอาศัย หรือที่ทำงาน ผู้ใช้บริการจำนวนมากนิยมเลือกที่จะสลับไปใช้งานการเชื่อมต่อ LTE ที่มีความรวดเร็วมากกว่า ซึ่งปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้งานระบบ Wi-Fi จำนวนมาก โดยผู้ใช้อินเตอร์เน็ตภายในอาคารมักจะมีปัญหามากกว่าผู้ใช้งานกลางแจ้งถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนี่ยังไม่รวมถึงความยากลำบากในการส่งสัญญาณผ่านทางผนังและหน้าต่าง ทั้งนี้จากรายงานดังกล่าวได้อธิบายถึง วิธีต่างๆที่จะช่วยให้ข้ามผ่านอุปสรรคเหล่านี้ หากว่าผู้ให้บริการทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ อาทิ ระยะครอบคลุมของเครือข่าย และควบคุมการใช้งานที่เกินขีดจำกัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายตามเป้าหมายซึ่งจะสามารถปรับปรุง QoE และรักษาลูกค้าไว้ได้ด้วยเช่นกัน

ผู้ใช้บริการอาจต้องอยู่ภายใต้ความกดดันท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของการลงทุนต่างๆ ดังนั้น การเรียนรู้เพิ่มเติม                          และการวิเคราะห์เกี่ยวกับการใช้งานของเครือข่ายและระบบไร้สาย จึงเป็นอีกหนึ่งหนทางที่ช่วยพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส             ได้เป็นอย่างดี

 

สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์และคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลด ได้ที่ State of the RAN 2016 report

 

เกี่ยวกับ แอมดอกซ์

แอมดอกซ์ ผู้นำทางด้านโซลูชั่นซอฟต์แวร์และบริการสำหรับผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสาร, เอ็นเตอร์เทนเมนต์ และมีเดียที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมไปถึง The New World of Customer Experience™ ที่นำเสนอนวัตกรรมการบริการส่วนบุคคลให้กับลูกค้าผ่านดีไวซ์และเน็ตเวิร์คทุกรูปแบบ กว่า 30 ปี โซลูชั่นต่างๆจากแอมดอกซ์ ซึ่งประกอบไปด้วย BSS, OSS, การจัดการเน็ตเวิร์ค และ Optimization รวมไปถึงบริการและการจัดการระดับมืออาชีพ ทำให้มูลค่าทางธุรกิจของลูกค้าเติบโตขึ้น โดยการลดความซับซ้อนของของระบบปฏิบัติการ, ลดค่าใช้จ่าย และใช้เวลาสำหรับวางแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม่ๆ
แอมดอกซ์และพนักงานกว่า 24,000 คนให้บริการลูกค้าในกว่า 90 ประเทศ และอยู่ในรายชื่อ NASDAQ Global Select Market ในปีการเงิน 2015 แอมดอกซ์มีรายได้ 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

Amdocs: Embrace Challenge, Experience Success. ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.amdocs.com



ถูกใจบทความนี้  0