เก็บตกงาน Intel ประกาศสรุปผลปี 2014 และเทรนด์ในปี 2015

 

Intel-2014-044

 

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Intel ประเทศไทยได้มีงานแถลงข่าวสรุปความเป็นมาเป็นไปในปี 2014 และ มีเอ่ยถึงเทรนด์ในปี 2015 และ Intel จะก้าวไปในปี 2015 อย่างไรบ้าง แต่หลักๆ จะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี แต่แอบมี CSR เหมือนกัน เพราะโครงการ CSR ของ Intel น่าจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับคนทั่วๆ ไป มาชมรายละเอียดกันครับ รายละเอียดเยอะ แต่อยากให้อ่านให้หมดนะครับ เพราะว่าน่าสนใจจริงๆ

มาเก็บตกภาพบรรยากาศงานเช่นเคยครับผม ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ที่หยิบยกมาพูดในงาน ขออ้างถึงข่าว PR ทั้งหมดเลยละกัน แล้วทิ้งท้ายด้วยความเห็นผมนะครับ

 

มาสรุปในรอบปี 2014 ที่ผ่านมาก่อน

Intel-2014-004

Intel-2014-007

คุณสนธิญา กรรมการผู้จัดการของอินเทล ขึ้นมาให้ข้อมูล

Intel-2014-009

1. ตั้งเป้าหมายการส่งมอบแท็บเล็ตที่ใช้ อินเทล® อะตอม™ โปรเซสเซอร์ 40 ล้านเครื่องในปี 2557

นายไบรอัน เคอซานิทช์ ซีอีโอของอินเทล ได้เปิดศักราชใหม่ในงานคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ โชว์ (CES) ด้วยการประกาศเป้าหมายอันท้าทายที่จะส่งมอบแท็บเล็ตที่ใช้หน่วยประมวลผลของอินเทลออกสู่ตลาดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 40 ล้านเครื่องในปี 2557 นี้ ซึ่งเป็นยอดที่สูงกว่าในปีก่อนหน้าถึง 30 ล้านเครื่อง ถึงแม้ว่าเป้าหมายใหม่นี้จะสูงกว่ายอดเดิมอย่างมาก แต่อินเทลก็กำลังจะประสบความสำเร็จได้ตามเป้า ด้วยนวัตกรรมด้านการพัฒนาหน่วยประมวลผลแบบ System-on-a-Chip (SOC) รวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและการลงทุนเพื่อสนับสนุนศักยภาพในการพัฒนามากมาย เช่น การเปิดศูนย์นวัตกรรมสมาร์ทอุปกรณ์ของอินเทลในเสิ่นเจิ้น ประเทศจีน และการลงทุนมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในกองทุนเพื่อการพัฒนานวัตกรรมสมาร์ทอุปกรณ์ในประเทศจีน เมื่อนับถึงช่วงสิ้นไตรมาสที่สามในปีนี้ อินเทลได้ส่งมอบแท็บเล็ตออกสู่ตลาดแล้วกว่า 30 ล้านเครื่อง มีแท็บเล็ตออกวางจำหน่ายกว่า 250 รุ่นใน 150 ประเทศทั่วโลก ทั้งยังได้รับการจัดอันดับโดยบริษัท สแตรทิจี แอนาไลติกส์[1] ให้เป็นผู้ผลิตชิปประมวลผลสำหรับ   แท็บเล็ตอันดับสองของโลกอีกด้วย หน่วยประมวลผลของอินเทลเป็นหัวใจที่ขับเคลื่อนอุปกรณ์มากมายหลายรุ่นสำหรับทุกความต้องการ รวมถึงแท็บเล็ตดีไซน์แปลกใหม่จากแบรนด์เอเชียอย่าง Acer Aspire Switch 10, Asus Memo Pad 7, LG Tab Book และ the Toshiba Dynabook Tab S3.

[1] ข้อมูลจากรายงานของบริษัท สแตรทิจี อนาไลติกส์ ประจำเดือนกันยายน ซึ่งทำการวิเคราะห์ส่วนแบ่งตลาดหน่วยประมวลผลอุปกรณ์แท็บเล็ตในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2557

 


Intel-2014-011

2.นวัตกรรมหน่วยประมวลผลบนอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบ

อินเทลยังคงสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับหน่วยประมวลผลในอุปกรณ์พกพา เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ มีประสิทธิ ภาพสูงขึ้น แบตเตอรี่ใช้งานได้นานยิ่งขึ้น และมีคุณสมบัติที่หลากหลายกว่าเดิม ทั้งยังมีรูปลักษณ์ที่บางเบา พกพาได้สะดวก ไม่ว่าจะเป็นในรูปของคอมพิวเตอร์พีซี แล็ปท็อป อัลตราบุ๊ค แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์แบบ    ทูอินวันก็ตาม

 

ในปีนี้ อินเทลเป็นผู้พัฒนาหน่วยประมวลผลรายแรกของโลกที่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ระดับ 14 นาโนเมตร โดยอุปกรณ์รุ่นแรกๆ ที่ใช้ Intel® Core™ M processors (อินเทล® คอร์™ เอ็ม โปรเซสเซอร์) จะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงสิ้นปีนี้ ตามด้วยผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายอื่นๆ จะทยอยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเต็มรูปแบบยิ่งขึ้นในช่วงต้นปี 2558 ทั้งนี้ แบรนด์ผู้ผลิตหลายรายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เผยโฉมอุปกรณ์ที่ใช้ อินเทล คอร์ เอ็ม โปรเซสเซอร์ ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ Lenovo® Yoga 3 Pro, Acer Aspire Switch 12 และAsus Zenbook UX305.

 

ขณะเดียวกัน ยังได้มีการเปิดตัวอุปกรณ์ที่ใช้ชิป Intel® Atom™ processor Z3000 series (อินเทล®   อะตอม™ Z3000 ชื่อรหัส เบย์ เทรล) เพื่อเสริมสมรรถนะและมอบประสบการณ์การใช้งานของอุปกรณ์ขนาดพกพาที่ใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 และแอนดรอยด์ นอกจากนี้ อินเทลยังได้เปิดตัวชิปเซ็ตโมเด็มเทคโนโลยี LTE-Advanced รุ่น XMM™ 7260 ในสมาร์ทโฟน ซัมซุง กาแลคซี่ อัลฟ่า โดยโมเด็ม LTE-Advanced รุ่นนี้ ได้ผ่านการรับรองโดยไชน่า โมบาย ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน จึงเปิดโอกาสให้อินเทลได้เข้าไปมีบทบาททำงานร่วมกับหนึ่งในตลาด LTE ที่คึกคักที่สุดในโลก

3. สร้างสรรค์เทคโนโลยีสำหรับทุกคน

เพื่อตอบโจทย์ความต้องการสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกลุ่มประสิทธิภาพเบื้องต้นและราคาไม่สูง อินเทลได้เปิดตัว SoFIA ชิป SoC สำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตระดับพื้นฐานที่รวมหน่วยประมวลผลอินเทล® อะตอม™ แบบดูอัลคอร์เข้ากับโมเด็ม 3G ที่ใช้งานได้กับทุกคลื่นความถี่ทั่วโลก ชิป SoFIA นี้ พัฒนาขึ้นในประเทศสิงคโปร์ จึงถือเป็นตัวอย่างของนวัตกรรมใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปเอเชีย โดยจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุปกรณ์คุณภาพในระดับราคาที่เหมาะสมกับตลาดในประเทศกำลังพัฒนา

และในปี 2558 อินเทลก็มีแผนที่จะเปิดตัวชิป SoFIA แบบควอดคอร์ที่รองรับการเชื่อมต่อแบบ 4G LTE นอกจากนี้ ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างอินเทลและร็อคชิพ ผู้พัฒนาหน่วยประมวลผลเซมิคอนดักเตอร์จากประเทศจีนจะเปิดโอกาสให้เราได้นำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านสถาปัตยกรรมระบบและการสื่อสารอย่างกว้างขวางและรวดเร็วยิ่งขึ้น ผ่านทางแท็บเล็ตแอนดรอยด์ที่มีราคาต่ำ โดยเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้นับรวมถึงชิป SoFIA    ควอดคอร์รุ่น 3G ที่มีกำหนดเปิดตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2558

 


Intel-2014-015

4.สานต่อมรดกแห่งนวัตกรรม

อินเทลยังคงพัฒนาชิปประมวลผลให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามกฎของมัวร์ ด้วยการลงทุนในนวัตกรรมล่าสุดสำหรับทุกตลาด ทั้งในด้านประสิทธิภาพการทำงาน การใช้พลังงาน จำนวนทรานซิสเตอร์ และความคุ้มค่า ความก้าวหน้าในด้านต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชิป อย่างไม่หยุดยั้ง จนนำไปสู่การนำหน่วยประมวลผลเทคโนโลยี 14 นาโนเมตรรุ่นแรกของโลกเข้าสู่สายการ ผลิตก่อนคู่แข่งทุกรายในตลาด ทั้งนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ผลิตอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงที่ทำงานโดยใช้พลังงานเพียงน้อยนิด ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องใช้อัจฉริยะที่เชื่อมต่อกับ Internet of Things

 

เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 20 ปีของแบรนด์ Pentium® (เพนเทียม®) อันเป็นส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์ของอินเทล เราจึงได้เปิดตัวชิปประมวลผลเพนเทียม G3258 รุ่นพิเศษ ที่ผู้ใช้สามารถโอเวอร์คล็อกได้

 

5. ยกระดับประสบการณ์การใช้งาน

อินเทลได้เปิดตัวเทคโนโลยี RealSense™ (เรียลเซนส์) เพื่อยกระดับนวัตกรรมด้านการรับคำสั่งจากสภาพ แวดล้อมของอุปกรณ์ต่างๆ (หรือ Perceptual Computing) ผ่านทางคุณสมบัติอย่างระบบกล้องที่สามารถอ่านความลึกจากภาพได้ทำให้สามารถรับคำสั่งจากท่าทางมือของผู้ใช้ แผงไมโครโฟนคู่ เทคโนโลยีสแกนภาพสามมิติ จดจำใบหน้าผู้ใช้ และระบบรับคำสั่งด้วยเสียง คุณสมบัติทั้งหมดของ RealSense™ ทำให้เราสามารถพัฒนาอุปกรณ์รูปแบบใหม่ที่เข้าใจความต้องการของผู้ใช้  จึงถือเป็นการบุกเบิกยุคใหม่อย่างแท้จริง ขณะนี้ มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระกว่า 60 ราย ที่กำลังสร้างสรรค์โซลูชั่นต่างๆ สำหรับแพลตฟอร์มนี้ ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้งานเทคโนโลยี RealSense™ รุ่นแรกอย่างแท็บเล็ต Dell Venue 8 7000 Series (เดลล์ เวนิว 8 7000 ซีรีส์) ก็ได้เปิดตัวออกสู่สายตาชาวโลกไปเป็นที่เรียบร้อยในงานไอดีเอฟ ทั้งนี้ อินเทลยังได้ประกาศการพัฒนาเทคโนโลยีอีกมากมายเพื่อพลิกโฉมการใช้งานคอมพิวเตอร์พีซีให้กลายเป็นประสบการณ์แบบไร้สายที่สมบูรณ์แบบ และขจัดความวุ่นวายของสายไฟและสายเคเบิลเชื่อมต่ออุปกรณ์ชนิดต่างๆ ส่วนเทคโนโลยีสแกนม่านตา ActiveIRIS® (แอคทีฟไอริส) ที่นำมาจัดแสดงบนสมาร์ทโฟนรุ่นต้นแบบที่ใช้ชิปประมวลผล Intel® Atom™ Z3500 processor series ก็ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมใหม่ด้านความปลอดภัยที่ทั้งรวดเร็วและเชื่อถือได้สำหรับผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน

6. บุกเบิกอุปกรณ์เพื่อการสวมใส่

นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่าตลาดอุปกรณ์ประมวลผลเพื่อการสวมใส่ ( wearables) จะเติบโตขึ้นถึง 4 เท่า ตัวภายในปี 2560[1] ด้วยเหตุนี้ อินเทลจึงเดินหน้าจับมือกับพันธมิตรทางเทคโนโลยีหลายราย ไม่ว่าจะเป็น Fossil Group, Inc*, Opening Ceremony* และ SMS Audio LLC* เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ประมวบผลเพื่อการสวมใส่สำหรับการใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม นอกจากนี้ อินเทลยังได้ซื้อกิจการของบริษัท BASIS Science Inc ผู้พัฒนาอุปกรณ์เก็บข้อมูลด้านสุขภาพที่ล้ำยุคที่สุดอย่าง Basis band.

 

เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในตลาดอุปกรณ์เพื่อการสวมใส่และเซนเซอร์ตรวจจับต่างๆ   อินเทลจึงได้จัดตั้งโครงการและการแข่งขันในด้านดังกล่าวมากมาย ทั้งในรายการ Make it Wearable, Analytics for Wearables และ RealSense Technology App ส่วนการเปิดตัว Intel® Edison (อินเทล® เอดิสัน)  คอมพิวเตอร์ดูอัลคอร์ขนาดจิ๋วที่ใช้หน่วยประมวลผลควาร์ก (Quark-based computer) มีราคาต่ำ และมีรูปร่างและขนาดเท่ากับเอสดีการ์ดทั่วไป ก็ถือเป็นการสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ในวงการนี้เช่นกัน

 


Intel-2014-018

7. เชื่อมต่อเครือข่ายแห่งอนาคต

เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) จะเชื่อมต่อสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ กว่า 50,000 ล้านชิ้นเข้าด้วยกันภายในปี 2563[2] และเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น อินเทลได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ Open Interconnect Consortium และ Industrial Internet Consortium เพื่อร่วมสนับสนุนการเติบโตของเทคโนโลยีดังกล่าวและผลักดันให้เกิดการสร้างมาตรฐานสำหรับการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ อินเทลยังได้จับมือกับพันธมิตรหลายรายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการนำเทคโนโลยีเครือข่ายไปใช้งานอย่างกว้างขวางในหลากหลายอุตสาหกรรม ดังเช่นในโครงการวิจัยร่วม Project Mobii ซึ่งเป็นการร่วมค้นคว้าวิจัยด้านยานยนต์อัจฉริยะร่วมกับฟอร์ด

 

อินเทลและชุงฮวา เทเลคอม ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านนวัตกรรม IoT คลาวด์ และเครือข่ายที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ (Software-Defined Networking; SDN) โดยชุงฮวา เทเลคอมเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายแรกของเอเชียที่จับมือกับอินเทลเพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี IoT และความร่วมมือนี้ก็เป็นโครงการวิจัยนวัตกรรม IoT โครงการที่ห้าของอินเทลทั่วโลก โดยจะมุ่งเน้นการพัฒนาระบบสมาร์ทโฮม ระบบจัดการพลังงาน และระบบจัดการยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์เป็นหลัก

 

นอกจากนี้ อินเทลและมิตซูบิชิ อิเล็กทริก ยังได้ประกาศความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานเทคโนโลยี IoT แบบครบวงจร ควบคู่กับการวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบดังกล่าว ทั้งสองบริษัทได้ร่วมกันนำระบบอัตโนมัติรูปแบบใหม่นี้มาทดลองใช้ที่โรงงานของอินเทลในประเทศมาเลเซีย     เพื่อพิสูจน์ถึงคุณประโยชน์ของเทคโนโลยี IoT ในภาคธุรกิจ ทั้งการใช้งานเครื่องจักรกลที่ต่อเนื่องและยาวนานยิ่งขึ้น ศักยภาพการผลิตที่แข็งแกร่งขึ้น และการวางแผนซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่างๆ ล่วงหน้า ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่ชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบจะเสื่อมสภาพลงจนไม่สามารถใช้งานได้

 

สำหรับประเทศไทย อินเทลได้ทำงานใกล้ชิดกับพันธมิตรทางธุรกิจ Embedded อาทิ Advantech, ADLINK, Dell OEM, และ QNAP เพื่อให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ของ loT ใช้งานได้จริง รวมถึงการสรรสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ๆในโครงสร้างภายในของ loT แบบครบวงจร ทั้งในภาคธุรกิจค้าปลีก อุตสาหกรรม พลังงาน และการสื่อสารร

 

 

Intel-2014-019

8. เปิดโลกใหม่กับ “บิ๊ก ดาต้า”

อินเทลได้เปิดตัวชิปประมวลผลตระกูล Intel® Xeon® processor E7 v2 (อินเทล ซีออน E7 V2 โปรเซสเซอร์) และ Intel® Xeon® processor E5-2600/1600 v3 (อินเทล ซีออน E5-2600/1600 V3 โปรเซสเซอร์)  ออกสู่ตลาดเพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมสามารถจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน กว่าร้อยละ 81 ของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังที่สุด 500 เครื่องทั่วโลก[3]เลือกใช้ชิปประมวลผลจากอินเทล และชิปรุ่นใหม่เหล่านี้ก็จะเข้ามาตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ของผู้ใช้งานระบบศูนย์ข้อมูล (data center) เพื่อให้สามารถรับมือได้กับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการใช้พลังงานและความปลอดภัยอีกด้วย


Intel-2014-021

 

9. ผู้นำแห่งอนาคต

อินเทลเชื่อว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่เป็นหัวใจของการสร้างสรรค์นวัตกรรม ดังจะเห็นได้จากงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนานาชาติของอินเทล (Intel ISEF) ซึ่งเป็นการแข่งขันโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมปลายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โดยในปีนี้ นาธาน ฮาน วัย 15 ปี สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศไปครองได้สำเร็จจากผลงานซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาวิจัยการกลายพันธุ์ของยีนอันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม ส่วนในปีนี้ โครงงานวิทยาศาสตร์ “ผลของสารจากพืชบางชนิดที่มีต่อเปอร์เซ็นต์การฟักเป็นตัวของไข่และการตายของหอยเชอร์รี่ หอยทากสยาม และหอยทากยักษ์แอฟริกา”  โดยนายวันทา กำลัง และนายภัทรพงศ์ ลิมปวัฒนะ จาก โรงเรียนพนมสารคามพนมอดุลวิทยา ประเทศไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศมูลค่า 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นรางวัลที่ 4 ในหมวดพืชวิทยา

 

บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเลือกเป็นองค์กรดีเด่นผู้ทำประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน ในสาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี จากทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รางวัลอันทรงเกียรตินี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีในหมู่เยาวชน ซึ่งรวมไปถึงการสนับสนุนการแข่งขันวิทยาศาสตร์ระดับชาติของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เช่นเดียวกับการสนับสนุนการพัฒนาศูนย์สะเต็มศึกษาในประเทศไทย (สะเต็มศึกษาประกอบด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์)

 

Intel-2014-025
Intel-2014-027


Intel-2014-031
Intel-2014-033

10. เพื่อโลกในอนาคตที่ดีกว่า

นอกจากความสำเร็จในด้านนวัตกรรมแล้ว อินเทลยังคงมุ่งมั่นเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลกด้วยเทคโนโลยี โดยบริษัทได้ประกาศแผนงานที่จะยุติการนำเข้าแร่วัตถุดิบจากพื้นที่ภายใต้ข้อขัดแย้ง (conflict minerals) ในทุกขั้นตอนการผลิต[4] และยังได้รับเลือกให้เป็นองค์กรดีเด่นอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกาในด้านการใช้พลังงานหมุนเวียนอีกด้วย

 

อินเทลยังคงมุ่งมั่นในการลดช่องว่างด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีและเสริมสร้างความเท่าเทียมทางสิทธิระหว่างชายและหญิง ผ่านการเปิดโอกาสให้เด็กผู้หญิงในหลายประเทศทั่วโลกได้พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ และก้าวเดินสู่อนาคตได้อย่างมั่นใจ สำหรับประเทศไทย อินเทลได้ร่วมมือกับ Plan International ในโครงการ Intel® Learn Easy Steps เพื่อเปิดศูนย์ฝึกอบรมอาชีวศึกษา 2 แห่ง (จังหวัดระยองและนครปฐม) เยาวชนหญิงในศูนย์ฝึกอบรมทั้งสองแห่งนี้ได้ทำงานร่วมกันและริเริ่มธุรกิจขนาดเล็ก โดยใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีในการพัฒนาแผนธุรกิจ การคำนวณต้นทุน และการติดตามการดำเนินงานธุรกิจ นอกจากนี้ อินเทลร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในการพัฒนาและทดสอบค่ายต้นแบบฝึกสอนการเขียนแอพพลิเคชั่นมือถือสำหรับเยาวชนหญิงในระดับมัธยมต้น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนหญิงเหล่านี้เห็นภาพว่าตนเองสามารถเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีได้ในอนาคตได้เช่นเดียวกัน

 

ตลอดระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา อินเทลได้ร่วมอบรมและเสริมศักยภาพให้กับบุคลากรครูกว่า 10 ล้านคนทั่วโลก เพื้อสร้างรากฐานที่แข็งแรงให้แก่การพัฒนาศึกษาในอนาคต ในปีนี้ อินเทล ประเทศไทย ได้เปลี่ยนรูปแบบการอบรมเป็นแบบออนไลน์ด้วยหลักสูตร Intel Teach Element นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรฝึกอบรม Intel Educate Future Scientists ที่กำลังเริ่มใช้ในปีนี้ โดยเป็นการร่วมมือการระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติและองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)    อินเทลได้เปิดโครงการความร่วมมือในการเร่งการพัฒนาสะเต็มศึกษา (STEM Acceleration Partnership) ด้วยการทำงานร่วมกับหลากหลายสถาบันโดยเฉพาะ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เพื่อส่งเสริมสะเต็มศึกษาในประเทศไทย

 

นอกจากนี้  อินเทลยังเล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลในปริมาณมหาศาล (big data analytics) ในการรักษาโรคร้ายต่างๆ จึงได้ประกาศความร่วมมือกับ มูลนิธิไมเคิล เจ ฟ็อกซ์เพื่อทำการวิจัยและรักษาโรคพาร์กินสัน

[1] ข้อมูลจากรายงานวิเคราะห์ตลาดอุปกรณ์เพื่อการสวมใส่ ฉบับที่สามประจำปี 2557 ของบริษัท จูนิเปอร์ รีเสิร์ช เดือนกันยายน 2557

[2] ข้อมูลจากรายงาน “ไอดีซีชี้ “Internet of Things” พร้อมเปลี่ยนโลก” โดยบริษัทวิจัยไอดีซี ตุลาคม 2556

[3] ข้อมูลจากรายงาน “ระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง: มุ่งหน้าสู่ยุค Exascale” โดย top500.org มิถุนายน 2556

 

[4] แร่วัตถุดิบจากพื้นที่ภายใต้ข้อขัดแย้ง ภายใต้คำนิยามของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งสหรัฐอเมริกา (SEC) ได้แก่แร่ดีบุก แทนทาลัม ทังสเตน และทองคำ จากทุกแหล่งที่มา ไม่ว่าจะมีความเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกหรือประเทศใกล้เคียงหรือไม่
ในที่นี้ ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากข้อขัดแย้ง หมายถึงผลิตภัณฑ์ซึ่งผลิตขึ้นโดยไม่ใช้แร่ธาตุจากพื้นที่ภายใต้ข้อขัดแย้ง (ดีบุก แทนทาลัม ทังสเตน และทองคำ) ซึ่งอาจสร้างรายได้หรือผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับกลุ่มกองกำลังติดอาวุธในคองโกหรือประเทศรอบข้าง ทั้งนี้ อินเทลใช้คำว่า “ปราศจากข้อขัดแย้ง” ในการอ้างอิงถึงซัพพลายเออร์ ผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ในระบบห่วงโซ่อุปทาน และโรงถลุงแรที่ไม่มีการใช้แร่ธาตุดังกล่าว

 

และจากนั้นก็ วิสัยทัศน์ หรือเทรนด์ในปี 2015



Intel-2014-037

เดินหน้าสู่ยุคแห่งการผสานเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียว (Era of Integration)

เทคโนโลยีและศักยภาพที่เพิ่มขึ้นของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ ได้ทำให้โลกของเราเปลี่ยน แปลงไปอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ และเราไม่อาจพึ่งพาอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียวคู่กับการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบพื้นฐานได้อีกต่อไป ปัจจุบัน เราต่างก็ต้องการที่จะใช้อุปกรณ์มากมายหลายแบบ ทั้งอุปกรณ์ประมวลผลเพื่อการสวมใส่ (wearables) สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์พีซี ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เชื่อมต่อถึงกันเป็นหนึ่งเดียวจนเกิดเป็นประสบการณ์การใช้งานที่ปรับแต่งได้ตามใจผู้ใช้งาน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กำลังค่อยๆ พลิกโฉมโลกของเรา จากยุคที่เต็มไปด้วยสารพัดหน้าจอและอุปกรณ์ มาเป็นยุคแห่งประสบการณ์การใช้งานที่แทรกซึมเข้าสู่ทุกด้านของชีวิต

 

“ตอนนี้เราทุกคนกำลังอยู่ใน “ยุคที่ผู้ใช้อุปกรณ์ที่มีหน้าจอทุกขนาด” (Screenification) ของการใช้คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการใช้คอมพิวเตอร์แบบ ‘ไร้จอ’ ในปี 2558 โดยคอมพิวเตอร์จะแฝงอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆรอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นนาฬิการะบบจีพีเอส หรือเครื่องใช้ต่างๆในบ้านที่มีการเชื่อมต่อ ในฐานะผู้บริโภค เราสามารถโอนข้อมูลเหล่านี้ย้ายเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มใดๆก็ตามที่มีหน้าจอ เพื่อวิเคราะห์และเพิ่มคุณค่าของข้อมูลต่างๆได้” – ไบรอัน เดวิด จอห์นสัน, Intel Futurist

Intel-2014-039

 

ยุคแห่งการการผสานเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียวได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

เพื่อให้เราก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นี้ได้อย่างเต็มตัว อุปกรณ์ที่เราใช้งานก็มีเทคโนโลยีอัจฉริยะใหม่ๆ ที่ช่วยให้เราทำงานและใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจอแสดงผลที่พับได้ อุปกรณ์สมรรถนะสูงที่ใช้พลังงานเพียงเล็กน้อย หรือแม้แต่อุปกรณ์พกพาราคาถูกที่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้โดยอัตโนมัติ

การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่สำหรับอุปกรณ์ในยุคนี้จะมุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์การใช้งานที่หลอมรวม เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน อุปกรณ์เหล่านี้จะทั้งใช้งานง่าย สะดวกสบาย และพกพาไปได้ทุกหนแห่ง

จึงสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานได้ ทั้งยังเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ไปโดยสิ้นเชิง

 

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นจะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไอทีให้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นี้ โดยมีแบรนด์ต่างๆ จากประเทศจีนและศูนย์วิจัยนวัตกรรมมากมายหลายแห่งเป็นผู้ผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ทั้งในปี 2558 ที่จะถึงนี้และปีต่อๆ ไป

 

Intel-2014-040

Intel-2014-041

 

 

ยุคแห่ง อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of ThingsIoT)

ทุกวันนี้ สิ่งของนับพันล้านชิ้นรอบตัวเรา นับตั้งแต่ชิปประมวลผลขนาดจิ๋ว ไปจนถึงเครื่องจักรกลขนาดมหึมา ต่างก็ทำงานสอดประสานกันแบบไร้สาย จนเกิดเป็นเครือข่ายที่เชื่อมทุกสิ่งเข้าด้วยกัน  หรือที่เรียกกันว่า “Internet of Things” (IoT) เครือข่ายดังกล่าวนี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยบริษัทวิจัยไอดีซีได้คาดการณ์ว่าตลาด IoT ทั่วโลกจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2556 เป็น 7.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563[1]

 

ทั้งนี้ IoT จะเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักที่ผลักดันให้เราเดินหน้าเข้าสู่ยุคแห่งการผสานเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียวในปี 2558 นี้

 

ข้อมูลจากไอดีซีระบุว่าจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ Internet of Things นี้ จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 แสนล้านชิ้นทั่วโลกในปี 2563[2] ซึ่งหมายความว่าปริมาณข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นทั่วโลกก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลด้วยเช่นกัน โดยไอดีซีได้คาดการณ์ว่าปริมาณข้อมูลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวในเวลาทุกๆ สองปี และในปี 2563 เราก็จะมี “จักรวาลดิจิตอล” หรือข้อมูลที่สร้างและเคลื่อนย้ายถ่ายโอนทั้งสิ้นในแต่ละปี รวมทั้งสิ้น 44 เซตตะไบต์ หรือเท่ากับ 44 ล้านล้านกิกะไบต์นั่นเอง[3]

 

ดังนั้น เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ เทคโนโลยี ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรฐานอุตสาหกรรมต่างๆ จะต้องพัฒนาต่อไปในปีหน้านี้ โดยระบบคลาวด์แบบมาตรฐานเปิดจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างมาก

 

หลังจากที่โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการผสานเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียวอย่างเต็มตัว โครงข่าย IoT จะยก ระดับคุณภาพชีวิตประจำวัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานในภาคธุรกิจ และเพิ่มศักยภาพในการทำงานของทุกคน จนเกิดเป็นคุณประโยชน์มากมายมหาศาลสำหรับทุกคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมหรือชุมชนที่พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากโรงงานของอินเทลแห่งหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ที่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 9 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่นำระบบ IoT มาใช้งาน[4]

 

เมื่อโครงข่าย IoT ถูกนำมาใช้เป็นที่แพร่หลาย และระบบในการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลได้พัฒนาศักยภาพให้เพียงพอต่อการรับมือกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น เราก็คาดการณ์ว่าวงการสาธารณสุขจะกลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ออกสู่สายตาได้อย่างรวดเร็ว

Intel-2014-042

Intel-2014-043

 

Intel-2014-045

 

มีหยิบ Windows Stick มาโชว์ด้วย ทำให้ทีวีเข้าถึงอินเตอร์เน็ทและเอกสารออฟฟิศได้โดยง่าย

 

บุกเบิกโลกยุคใหม่อย่างเต็มรูปแบบ

สังคมและชุมชนทั่วโลกจะหันมาใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างเต็มที่ได้ก็ต่อเมื่อผู้คนมีความเข้าใจในประโยชน์ที่จะได้รับในฐานะผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่นโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม[5] ซึ่งนำนวัตกรรมล่าสุดมาเสริมศักยภาพของระบบต่างๆ จนกระทั่งดานังกลายเป็นหนึ่งใน  “สมาร์ท ซิตี้” แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมี่เป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์บริการสาธารณะที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนชาวดานังและทุกคนที่มาเยือน

 

 “ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราทุกคนจะได้เห็นการเติบโตของสมาร์ทซิตี้ ที่มีการบริหารจัดการพลเมืองเป็นแก่นสำคัญ ธุรกิจต่างๆจำเป็นที่จะต้องตระหนักถึงการแข่งขันเพื่อผลประโยชน์ที่จะเพิ่มมากขึ้น แต่ก็จำ ต้องคงไว้ซึ่งความสมดุลระหว่างผลกำไรของตนเองกับสิ่งที่เหมาะสมสำหรับพลเมือง สมาร์ทซิตี้เป็นเรื่องของการตั้งคำถามที่ท้าทายกว่าเดิมกับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและการพัฒนาบริการต่างๆที่ดีขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์ด้วยกันอย่างถ้วนหน้า เจเนวีฟ เบล, อินเทล แล็บ, ผู้บริหารอินเทล และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย User Experience

อุปกรณ์อัจฉริยะใหม่ๆ ที่จะออกสู่ตลาดในปี 2558 ก็จะใช้งานได้ง่ายขึ้น และเข้ากับความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังจะได้เห็นอุปกรณ์ที่แปลกใหม่ทั้งในด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ และการใช้งาน เช่น   อุปกรณ์ประมวลผลเพื่อการสวมใส่ หรืออุปกรณ์ที่แสดงผลเป็นสามมิติ อันถือเป็นการช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้คนหันมาสนใจโลกยุคใหม่นี้มากขึ้น

 

นอกจากนี้ เรายังจะได้เห็นทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไปหันมาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์กันมากขึ้น เช่นในรูปแบบของเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปในอนาคต



Intel-2014-054

Intel-2014-055

 

เตรียมพร้อมก่อนก้าวสู่อนาคต

การจะปรับใช้เทคโนโลยียุคใหม่เหล่านี้ให้ได้ผล ขึ้นอยู่กับการพัฒนาทักษะ ความรู้ และเครื่องมือที่จำเป็นให้กับภาคแรงงาน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยจากการสำรวจในหัวข้อภาวะขาดแคลนแรงงานเมื่อปี 2556[6] ที่ผ่านมา พบว่ากว่าร้อยละ 45 ของผู้จ้างงานในแถบเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญกับปัญหาด้านการขาดทักษะ อันเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างไม่สามารถหาบุคลากรมาเติมเต็มในตำแหน่งงานที่ว่างอยู่ได้ โดยหากเราต้องการรักษาให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงสถานะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในโลกยุคใหม่ไว้ได้ ก็จะต้องคิดค้นวิธีการที่จะปิดช่องว่างด้านทักษะและความรู้ตรงนี้ให้ได้เสียก่อน เพื่อสร้างโอกาสให้ทุกคนได้ก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน

 

ในปี 2558 การศึกษาและการเชื่อมต่อบรอดแบนด์จะเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น พลเมืองจะมีการเชื่อมต่อมากขึ้น รวมถึงมีการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการผลิตในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญตามไปด้วย จึงถือเป็นข่าวดีสำหรับเศรษฐกิจของภูมิภาคและตลาดที่กำลังเติบโต และเป็นการวางรากฐานที่ดีให้กับ IoT และระบบคอมพิวเตอร์แบบฝังตัวด้วยเช่นกัน – ปรากาช มัลลยา ผู้อำนวยการอินเทล ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


Intel-2014-057

หลังจากนั้นก็ขึ้นไปจับเจ้า Galileo 2 และ Windows Stick รวมถึงความร่วมมือของ Intel กับ ADventech  ซะหน่อย


Intel-2014-060 Intel-2014-061 Intel-2014-062 Intel-2014-063 Intel-2014-064 Intel-2014-065 Intel-2014-066

รองรับ OTG เรียบร้อย ต่อคีย์บอร์ด เมาส์ พร้อมใช้งานได้ทันที

Intel-2014-067 Intel-2014-068 Intel-2014-069 Intel-2014-070 Intel-2014-071 Intel-2014-072 Intel-2014-073 Intel-2014-074

Intel-2014-077

Intel-2014-078

Intel-2014-079

Intel-2014-080
Intel-2014-082

Intel-2014-085

สรุปงานและความเห็น

โดยหลักๆ แล้วหากมองในมุมของสาย Mobile user อย่างเราๆ ต้องบอกว่า Intel เข้ามามีบทบาทและเราได้ยินและได้ใช้งานกันมากขึ้น จากที่ผมติดตามมาโดยตลอดจาก วัสัยทัศน์ที่ให้ไว้ทุกปีๆ Intel ทำได้จริง เพราะในปีที่แล้วเคยบอกว่า Intel จะเริ่มรุกตลาดในแบบฉบับที่ไม่เคยเห็นมาก่อน และปีนี้ก็ทำได้จริง ซึ่งเราจะเห็นพาร์ทเนอร์อย่าง ASUS บุกตลาดด้วย Zenfone สเปคดี ราคาประหยัด ซึ่ง CPU Intel ได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้ใช้งานอย่างเราๆ อยู่แล้ว อีกทั้งเรื่องราคา และเทคโนโลยีระดับ นาโนเมตรที่ Intel เองยังคงพัฒนาต่อเนื่อง ปีหน้าเราจะได้ใช้งาน CPUบน Smartphone และ Tablet ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น คาดว่าช่วงราคาคงไม่ต่างจากเดิมมากนัก ซึ่งเชื่อได้ว่า Intel จะมีพันธมิตรมากขึ้นกว่าปีนี้ ที่เห็นบนพาร์ทเนอร์สาย Mobile อาทิเช่น Samsung ที่ออก Tablet มาแต่ก็ยังไม่ได้ตีตลาดแตกสักเท่าไหร่ ปีหน้าคงจะได้เห็นพาร์ทเนอร์กระโดดมาเกาะ Intel กันมากขึ้น จากการพัฒนาประสิทธิภาพ CPU

ส่วนในงานผมว่าที่น่าสนใจคือ Windows Stick ที่สามารถนำมาต่อกับ HDMI ที่บ้านและทำให้ทีวีธรรมดากลายเป็น Smart TV ที่สามารถทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบ คือ Office นั่นเอง เพราะตัวมันจะมาพร้อมกับ Windows โจทย์ที่เหลือของ Intel คือต้องล็อคคอพาร์ทเนอร์หลักอย่าง Microsoft ทำให้ License ถูกลง และเข้าถึงตลาดระดับล่างได้มากขึ้น และทาง Intel ยังบอกไว้ด้วยว่า หากมีพาร์ทเนอร์อื่นๆ ในไทยสนใจ จะผลิตอุปกรณ์เหล่านี้โดยเพิ่มฟีเจอร์ขึ้นมาล่ะก็ ถ้ามีโอกาสคุยก็อาจจะมีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นก็ได้ เช่นเอา ชิปที่รับดิจิตอลทีวีไปฝังเอาไว้บน Windows Stick

ขอบคุณ Intel ที่เชิญไปร่วมงานนะครับ



ถูกใจบทความนี้  0