รีวิว Oppo Joy Plus สองซิมไซส์เล็ก กะทัดรัด ราคาประหยัด

oppo-joy-plus-00

Oppo ยังคงลุยตลาดอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ระดับราคา ไม่เว้นแม้แต่สมาร์ทโฟนราคาประหยัด ซึ่งทาง Oppo ก็ได้ต่อยอดสมาร์ทโฟนรุ่นเล็กออกมาโดยใช้ชื่อว่า Oppo Joy Plus ที่มีค่าตัว 3,490 บาท ซึ่งแม้จะเป็นรุ่นเล็กแต่ฟีเจอร์ก็อัดมาเยอะอยู่เหมือนกัน จะมีอะไรบ้างมาดูกัน

ขอบคุณ Oppo ที่ให้ยืมเครื่องมาทดสอบครับ

Oppo Joy Plus Specification
– หน้าจอขนาด 4 นิ้ว ความละเอียด 480p
– Chipset Mediatek MT6572 Dual Core 1.3GHz
– GPU Mali-400
– Ram 1GB
– หน่วยความจำภายในเครื่อง 4GB
– รองรับ Micro SD Card สูงสุด 32GB
– กล้องหลังความละเอียด 3 ล้านพิกเซล แบบ Fixed Focus พร้อมไฟแฟลช LED
– กล้องหน้าความละเอียด VGA (0.3 ล้านพิกเซล)
– รองรับ 3G 850/900/2100
– รองรับการใช้งาน 2 ซิม
– Android 4.4.2
– แบตเตอรี่ 1,700mAh
– ราคา 3,490 บาท

1.พรีวิวตัวเครื่อง

oppo-joy-plus-01

Oppo Joy Plus สมาร์ทโฟนรุ่นเล็กจาก Oppo ที่มีขนาดหน้าจอเพียง 4 นิ้ว หน้าตาตัวเครื่องนั้นก็ออกแบบมาในสไตล์ของ Oppo ซึ่งก็ดูสวยงามดี ขอบจอไม่หนามากครับ

oppo-joy-plus-02

ฝาหลังเป็นแบบเงา สีเหมือนไข่มุกมากกว่านะจริงๆ แต่ไม่ค่อยเป็นรอยนิ้วมือเท่าไหร่ ก็แปลกดี

oppo-joy-plus-03

มาดูตัวเครื่องใกล้ๆ บ้างครับ เหนือหน้าจอติดขอบตัวเครื่องเลยมีลำโพงสำหรับสนทนา ลงมาหน่อยทางซ้ายเป็น Sensor และทางขวาเป็นกล้องหน้า

oppo-joy-plus-04

ด้านล่างหน้าจอเป็นปุ่มสัมผัสสามปุ่มเช่นเคยไล่จากซ้ายไปขวาประกอบไปด้วย Menu Home Back

oppo-joy-plus-05

ด้านหลังตัวเครื่องในส่วนด้านบนมีกล้องหลังพร้อมไฟแฟลช LED

oppo-joy-plus-06

ด้านล่างของด้านหลังมีลำโพงอยู่

oppo-joy-plus-07

ด้านบนตัวเครื่องมีช่องเสียบหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มม.

oppo-joy-plus-08

ด้านซ้ายมีปุ่ม Power ตรงนี้ส่วนตัวไม่ค่อยชินเท่าไหร่เพราะเครื่องส่วนใหญ่ปุ่ม power จะอยู่ทางขวา

oppo-joy-plus-09

ด้านล่างมีไมโครโฟนสำหรับสนทนา และช่องเสียบสายชาร์จ Micro USB

oppo-joy-plus-10

ด้านขวามีปุ่มเพิ่มลดเสียง

oppo-joy-plus-11

เปิดฝาหลังมาจะพบกับแบตเตอรี่ แน่ล่ะถ้าเปิดมาไม่เจอแสดงว่ากะไม่ใช้งานกันเลย เหนือแบตเตอรี่ไล่จากทางซ้ายเป็นช่อง Micro SD, Sim 2(Micro Sim) และ Sim 1 (Sim ปกติ)

oppo-joy-plus-12

ลองถือตัวเครื่องดูครับ เล็กมากแล้วสำหรับหน้าจอขนาด 4 นิ้วตอนนี้ ซึ่งแน่นอนว่าถือสบายมากๆ ส่วนหน้าจอก็สีสันสวยงามสดใสดีครับ

android

แม้ Joy Plus จะเป็นรุ่นเล็กแต่ก็มาพร้อม ColorOS ที่สร้างบน Android 4.4.2 นะจ๊ะ

 

2.User Interface, Sim Management, Gesture

launcher

User Interface ของ Oppo Joy Plus นั้นมาพร้อมกับ Launcher แบบหน้าเดียว ไม่มีการแยกหน้า Home กับ App Drawer กล่าวคือจะคล้ายๆกับของ iPhone เลยครับ จะใส่ Widget อะไรก็ยัดลงมันหน้านี้ให้หมดล่ะ แต่แอพเนี่ยต้องมาไล่จัดเก็บให้เป็นระเบียบเองนะจ๊ะ

statusbar

Status Bar มาเหมือนกับรุ่นอื่นๆของ Oppo ครับ มีหน้าเดียวรวมทั้งทางลัดต่างๆ และการแจ้งเตือนไว้หมด แต่โดยปกติจะโชว์ทางลัดแค่ไม่กี่อย่างถ้าอยากเห็นทั้งหมดต้องลากลงมาอีกทีนึง

Sim Management

call

ในเรื่องของการใช้งาน 2 ซิม หน้าจอตอนโทรออกจะมีให้กดได้ว่าเราจะโทรจากซิมไหน ตามปุ่มโทรออกที่มีเลข 1 2 นั่นล่ะ

simmanagement

แน่นอนว่าในส่วนของการตั้งค่าเราสามารถเลือกได้นะว่าจะให้ซิมไหนโทรหรือส่งข้อความตลอด หรือจะให้ถามทุกครั้งก็ทำได้ และเช่นกันกับในเรื่องของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็สามารถเลือกใช้งานซิมไหนก็ได้ด้วย

Carrier Info

carrier

Carrier Info เป็นฟีเจอร์ที่หากเราเปิดตัวเครื่องจะทำการโชว์ความเร็วเน็ตบน Status Bar ครับ ซึ่งหากไม่ได้เปิดตรงนี้จะขึ้นเป็นรูปเครือข่ายต่างๆ แทน

 

Gesture

gesture

Joy Plus มาพร้อมกับ Gesture เยอะแยะมากมายพอตัวดังนี้
1) Screen Off Gesture (การจับความเคลื่อนไหวชณะหน้าจอปิด)
– Double tap to wake: เคาะหน้าจอ 2 ครั้งเพื่อให้จอติด
– Draw O to start camera: วาดวงกลมให้กล้องทำงาน
– Music Control: คุมเสียงเพลงขณะหน้าจอดับได้ด้วย
– Add screen off gesture: นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่ม gesture ได้อีกครับ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะให้เคลื่อนไหวแบบใดบ้าง เช่น ปาดขึ้น ปาดลง เพื่อทำการปลดล็อต, โทรออก หรือเปิดแอพที่ตั้งค่าเอาไว้ก็ได้
2) Screen On Gesture (การจับความเคลื่อนไหวขณะหน้าจอเปิด)
– Activate the camera with multi-finger: ใช้นิ้วหลายๆ นิ้วซูมเข้าหากันเพื่อเปิดกล้อง
– Double tap to lock screen: เคาะปุ่ม Home สองครั้งเพื่อให้หน้าจอดับ
– Gesture Screenshot: ใช้นิ้วสามนิ้วปาดขึ้นหรือปาดลงเพื่อจับภาพหน้าจอ
– Adjust volume with two fingers: ใช้สองนิ้วปาดขึ้นหรือลงเพื่อเพิ่มลดเสียง
3) Smart Call
– Auto-answer by motions: เมื่อมีสายเรียกเข้าเพียงนำโทรศัพท์มาไว้ที่หูก็จะเป็นการรับสายอัตโนมัติ
– Switch the speakers by motion: ขณะใช้สายโทรศัพท์ เมื่อยกโทรศัพท์ออกจากหูจะเปิดลำโพงเองอัตโนมัติ กลับกันถ้ายกเข้าหูก็จะปิดลำโพงเช่นกัน
– Flip to mute calls: คว่ำหน้าจอลงขณะมีสายเรียกเข้าเพื่อให้เสียงเรียกเข้าเงียบลงไป

 

Benchmark

benchmark

ทดสอบประสิทธิภาพต่างๆบน Oppo Joy Plus ได้ดังนี้ครับ
– Antutu: 11689
– Geekbench: Single core 319, Multi Core 570
– Quadrant: 4489
– Multitouch สูงสุด 3 จุด (ในภาพจับมาผิด ฮ่าๆๆ กว่าจะจับจุดที่สามได้แอบงงนิดๆ)

 

3.Camera

backcamera

Oppo Joy Plus มาพร้อมกล้องหลังความละเอียด 3 ล้านพิกเซล F2.8 แบบ Fixed Focus ซึ่งไม่สามารถแตะโฟกัสได้เลยนั่นเอง แน่นอนว่าต้องมาพร้อมไฟแฟลช LED ด้วยซึ่งก็ไม่มีการยิงแฟลชแล้วถ่ายรูปแบบปกติมีแต่การเปิดเป็นไฟฉายขณะใช้แฟลชเท่านั้น เพื่อให้เหมาะกับรูปแบบการโฟกัสของตัวกล้อง

backcamera2

ทั้งนี้ในเรื่องของการถ่ายวิดีโอสามารถถ่ายที่ความละเอียดสูงสุดคือ HD หรือ 720p ครับ

มาดูตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องของ Joy Plus กันดีกว่า ไม่มีการปรับแต่งใดๆ เช่นเคยเว้นแต่ย่อขนาดลงมาเท่านั้นครับ

oppo-joy-plus-sample-picture01 oppo-joy-plus-sample-picture02 oppo-joy-plus-sample-picture03 oppo-joy-plus-sample-picture04 oppo-joy-plus-sample-picture05 oppo-joy-plus-sample-picture06 oppo-joy-plus-sample-picture07 oppo-joy-plus-sample-picture08 oppo-joy-plus-sample-picture09 oppo-joy-plus-sample-picture10 oppo-joy-plus-sample-picture11 oppo-joy-plus-sample-picture12 oppo-joy-plus-sample-picture13

ภาพกลางคืนแบบแสงน้อยมากๆ ไม่เปิดแฟลช

oppo-joy-plus-sample-picture14

ภาพนี้เปิดแฟลช พอเห็นรายละเอียดแต่ขาวเชียว

oppo-joy-plus-sample-picture15 oppo-joy-plus-sample-picture16 oppo-joy-plus-sample-picture17

กล้องหน้า

frontcamera

กล้องหน้าของ Joy Plus มีความละเอียดแค่ VGA หรือ 0.3 ล้านพิกเซลเท่านั้นครับ ฉะนั้นใครบ้า Selfie คงต้องหาแสงดีๆ กันหน่อยไม่งั้นจบข่าว

ทั้งนี้กล้องหน้ามีโหมด Beauty เปิดเองตลอดเวลาเลย ซึ่งหากใครไม่ชอบสามารถเลื่อนแถบด้านขวาให้เป็น 0% เสมือนปิดโหมดหน้าสวยไปได้ หรือจะปรับเป็นกี่ % ก็แล้วแต่ตามใจชอบครับ

ทีเด็ดของกล้องหน้าคงเป็นในเรื่องของ Filter mี่ให้มาทั้งหมด 8 แบบด้วยกัน ตามภาพด้านบนเลย

oppo-joy-plus-sample-picture18

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องหน้าครับ แสงเข้าด้านเดียว ยังพอมองออกว่าอะไรเป็นอะไร แต่ noise เพียบครับ ฮ่าๆๆ

 

4.การเล่นเกมส์

games

ทดสอบเล่นเกมส์บน Joy Plus ด้วยเกมส์ Future Fight (หรือ Avenger นั่นล่ะ) ก็พบว่าเล่นได้ลื่นดีไม่มีปัญหาอะไรกวนใจครับ ภาพก็ถือว่าสวยงามพอตัว แต่จอละเอียดนิดเดียวเท่านั้น ฉะนั้นภาพอาจไม่คมสะใจเท่าไหร่

ส่วนอีกเกมส์ที่ทดสอบกับทุกรุ่นทีผมรีวิวก็คือ Cookie Run อันนี้บอกได้เลยว่ากระตุกแทบตลอดครับ แต่กระตุกแบบรับได้นะ คือยังพอวิ่งไหว ไม่กระตุกแบบกดอะไรแล้วไม่ไปดั่งใจ อันนี้ยังไปได้อยู่ แต่ถ้าเล่นเกมส์นี้จริงจังข้ามไปได้เลย ทำแต้มไม่ไหวหรอกครับ

สรุป
ข้อดี
– หน้าจอสีสันสดใส สวยงาม
– ลูกเล่น gesture ต่างๆ จัดเต็ม
– รองรับการใช้งานผ่านถุงมือ

ข้อเสีย
– สเปคเบามากหากเทียบกับราคา ณ ปัจจุบัน สมาร์ทโฟนที่ราคาใกล้เคียงกันอาจได้สเปคที่ดีกว่านี้
– กล้องแบบ Fixed Focus ถ่ายรูปอะไรก็ลำบาก
– ลงแอพหรือเกมส์ได้น้อยมากเพราะ หน่วยความจำภายในเครื่องมีแค่ 4GB ซึ่งหลายค่ายให้มาอย่างน้อยก็ 8GB แล้ว

ถูกใจบทความนี้  0