Camera Review: ลองเล่น ลองใช้งาน Smartphone & Tablet เป็นรีโมตควบคุมกล้องและแชร์ไฟล์กับ Fujifilm X T10 !!!
บทความที่แล้วเป็นการโอนถ่ายไฟล์ในระบบไร้สาย ระหว่างตัวกล้อง Fujifilm X T10 กับ PC Camera Tips: วิธีโอนถ่ายข้อมูลในระบบไร้สาย ของกล้อง Fujifilm X T10 ผ่านโปรแกรม PC AUTO SAVE !!! วันนี้ขอมาแนะนำกันต่ออีกสักนิดกับการใช้ Smartphone หรือ Tablet เป็นรีโมตควบคุมกล้อง พร้อมกับการแชร์ไฟล์จากกล้องมายัง Smartphone ด้วยแอพ FUJIFILM Camera Remote ครับ……
ก่อนใช้งานมาทำการเซ็ทอัพกันก่อนครับ
เข้าไปที่การตั้งค่าของกล้อง / ตั้งการเชื่อมต่อ
เลือกที่เมนู ตั้งค่าไร้สาย
ตั้งค่าทั่วไป
ตรงหน้าเมนูนี้ จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนไฟล์ด้วยนะครับ โดยเราสามารถเลือกการบีดอัดข้อมูลของรูปภาพให้เหลือเพียง 3 ล้านพิกเซลก็ได้ เพื่อความเร็วหรือประหยัดพื้นที่ในการถ่ายโอนถ่ายข้อมูลนั่นเอง ตรงนี้จะเป็นฟีเจอร์ที่เหมาะกับการใช้งานจริง คือส่งไฟล์เข้ามือถือหรือแท็บเล็ต แล้วแชร์ต่อไปยังโซเชียลมีเดียต่าง ๆ อะไรประมาณนั้นละครับ
แน่นอนว่า ยังสามารถส่งไฟล์ในแบบ Original ไม่ผ่านการดัดแปลงได้ตามปรกติครับ
ต่อกันที่ เมนู / ตั้งค่าทั่วไป ตรงนี้จะสามารถเปลี่ยน Wi-Fi Name และ Reset การตั้งค่ากลับไปค่าตั้งต้นของโรงงาน
ค่าเดิม ๆ ที่มาจากกล้อง ตรงนี้จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนก็ได้ ไม่เป็นการบังคับหรือมีผลในการใช้งานแต่อย่างใดครับ
หลังจากเตรียมพร้อมแล้ว มาลองใช้งานจริงกันได้เลยครับ
เข้าไปดาวน์โหลดแอพ FUJIFILM Camera Remote มา ติดตั้งลง Smartphone หรือ Tablet ของเราให้เรียบร้อย สำหรับแอพ FUJIFILM Camera Remote จะมีให้ใช้งานทั้งบน iOS และ Android แต่ในบทความนี้ผมขอทดสอบกับแอนดรอยด์ก่อนละกันนะครับ
เมื่อติดตั้งแล้วให้ทำการเชื่อมต่อกับตัวกล้องผ่าน Wi-Fi
ที่ตัวกล้องให้กดปุ่ม Fn7 เพื่อเปิดใช้งาน Wi-Fi
กลับมาที่แอพ FUJIFILM Camera Remote แตะเลือกไปที่เมนูที่ต้องการใช้งานได้เลยครับ ซึ่งหลัก ๆ จะมีอยู่ 4 เมนูด้วยกัน
1. Remote Control เป็นเมนูที่ใช้คอนโทรล สั่งถ่ายภาพจาก Smartphone หรือ Tablet และสามารถเปิดดูรูปพร้อมจัดการ Import ไฟล์รูปภาพมายัง Smartphone หรือ Tablet
2. Receive เป็นโหมดที่ใช้ในการส่งไฟล์จากตัวกล้องไปเข้าที่ตัว Smartphone หรือ Tablet โดยตรง
3. Browse Camera จะเหมือนกับการกดปุ่ม Playback ในโหมด Remote Control เพื่อดูหรือจัดการไฟล์รูปภาพผ่านตัว Smartphone และ Tablet
4. Geotagging ใส่ค่าพิกัดลงไปในการถ่ายภาพ
ในบทความนี้ผมขอเริ่มจาก Remote Control เป็นลำดับแรก เมื่อเลือกเมนูแล้ว รอสถานะการเชื่อมต่อสักพักครับ ใช้เวลาไม่นานเท่าไหร่
ที่ตัวกล้องจะแสดงผลตามภาพตัวอย่าง กดปุ่ม MENU/OK ที่ตัวกล้อง
รอสักพัก ใช้เวลาแป๊บเดียว
เมื่อเชื่อมต่อได้แล้ว กดปุ่ม MENU/OK ที่ตัวกล้อง เพื่อยอมรับการเชื่อมต่อครับ
เรียบร้อยครับ เมื่อเชื่อมต่อได้แล้ว จะแสดง Interface ตามภาพตัวอย่าง
การคอนโทรลและการแสดงผลต่าง ๆ จะแตกต่างกับที่แสดงบนจอของตัวกล้อง และมีไม่มากเท่าไหร่ ดูจากรูปได้เลยครับ
หลัก ๆ จะมีปุ่มคอนโทรล ตามนี้ 1. ปุ่มชัตเตอร์ 2. ปุ่ม Playback 3. ปุ่มสลับระหว่างโหมดภาพนิ่งและวีดีโอ 4. ปุ่มปรับค่า รูรับแสง และ ชดเชยแสง (ขึ้นอยู่กับการเลือก)
ที่หน้าจอแสดงผล(ของโทรศัพท์) สามารถแตะเพื่อเลือกจุดฟกัสได้ครับ แต่จะไม่สามารถ Touch Capture เพื่อสั่งถ่ายภาพได้เหมือนพวก Smartphone นะครับ
ใน ส่วนของ Setting การตั้งค่าของตัวแอพ จะมีให้ปรับตั้งค่าได้คือ 1. Wi-Fi name, 2.ตั้งค่า Standby ในการเชื่อมต่อ, และสุดท้ายจะเป็นการ Reset กลับไปค่าเริ่มต้นของตัวแอพครับ
CONTROL BUTTON ที่ใช้ในการสลับระหว่าง รูรับแสง กับ ชดเชยแสง จะอยู่ด้านบนของปุ่มชัตเตอร์ เราสามารถสลับการตั้งค่าระหว่าง 2 โหมดได้จากปุ่มนี้ครับ
ส่วน SHOOTING MENU จะเป็นปุ่มที่อยู่ทางด้านซ้ายของปุ่มชัตเตอร์กล้อง โดยมีโหมดการปรับตั้งค่าหลักอยู่ 5 เมนูด้วยกัน
1. ISO
2. FILM SIMULATION
3. WHITE BALANCE
4. FLASH MODE
5. SELf TIMER
เมื่อ กดปุ่ม Playback ในเมนู Remote Control จะแสดงตามภาพตัวอย่าง ตรงนี้จะเหมือนกับการเข้าสู่เมนู Browse Camera ครับ ซึ่งสามารถเลือกที่จะดูภาพ หรือโอนถ่ายไฟล์จากกล้องมายัง Smartphone หรือ Tablet ได้
สามารถสลับโหมดการดูภาพหรือสั่ง Import ได้ที่ไอค่อนมุมขวาบนครับ ในโหมด Viewer ก็สามารถถ่ายโอนรูปได้เช่นกัน ด้วยคำสั่ง Import this
มาดูกันต่อกับ 3 โหมดที่เหลือ Receive , Browse Camera , Geotagging
ขอ พูดถึงสิ่งที่เป็นจุดอ่อนอยู่ในขณะนี้กันก่อน ก็คือ การสลับโหมดต่าง ๆ ไปมาครับ เมื่อเราออกจากโหมดใดโหมดหนึ่ง ตัว Wi-Fi จะตัดการเชื่อมต่อทันที ทำให้เราต้องเสียเวลามาเชื่อมต่อใหม่ ผมไม่ใจว่าเป็นการออกแบบเพื่อคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน หรือเป็นการออกแบบที่ไม่สมบูรณ์ของฝั่งตัว Software ครับ
ใน โหมด Browse Camera เมื่อสั่ง Import ไฟล์มาแล้ว สามารถแชร์ต่อไปยังแอพฯ หรือโซเชียลต่าง ๆ ผ่านตัวแอพได้ในทันที สะดวกมาก ๆ สำหรับคนที่ใช้งานบนฝั่งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ส่วนบนแพลตฟอร์ม iOS จะแชร์ไปได้แค่ Facebook กับ Twitter เท่านั้น
โหมด Receive เป็นโหมดที่ใช้ในการส่งไฟล์จากตัวกล้องไปเข้าที่ตัว Smartphone หรือ Tablet โดยตรง
เมื่อทำการเชื่อมต่อแล้ว สามารถเลือกที่จะส่งไฟล์ได้โดยตรงจากตัวกล้องไปเข้า Smartphone หรือ Tablet ครับ
แน่นอนว่า สามารถแชร์ไปยังแอพและโซเชียลต่าง ๆ ได้เหมือนกับโหมด Browse Camera
ปิด ท้ายกันไปด้วยโหมด Geotagging เป็นการใส่ค่าพิกัด GPS ลงไปในรูปถ่ายของเรา หากต้องการใช้งานโหมดนี้ ก่อนการเชื่อมต่อ ให้ทำการเปิด GPS ของ Smartphone หรือ Tablet ก่อนนะครับ
ทดสอบ ใช้งานจริง สำหรับรูปถ่ายที่เราใส่ Geotagging เข้าไป จะแสดงรายละเอียดของค่าพิกัด และเมื่อดูผ่านแอพ MyFinePix Studio จะเห็นว่า ภาพที่ใส่ Geotagging จะมีสัญลักษณ์ไอค่อนของ GPS อยู่ในรูปภาพครับ
มาสรุปกันหน่อยก็แล้วกัน
ฟีเจอร์และความสามารถในการรีโมตคอนโทรล รวมไปถึงฟีเจอร์ที่มีมาให้ใช้งาน คงต้องบอกว่า ยังไม่น่าประทับใจเท่าไหร่เมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด
ระบบการเชื่อมต่อ และความเสถียรของ Wi-Fi เหมือนจะยังไม่ดีและสมบูรณ์เท่าที่ควร ที่ผมรู้สึกขัดใจมาก ก็ตรงที่สลับโหมดไปมาเมื่อไหร่ ต้องมาเชื่อมต่อ Wi-Fi ใหม่ทุกครั้ง ตรงนี้ถือว่า Fail ครับ
การใช้งานบนแพลตฟอร์มแอนดรอยด์ มีอาการหน่วง ๆ อยู่บ้าง ส่วนการใช้งานบนระบบปฏิบัติการ iOS ถือว่าสอบผ่าน และมีความลื่นไหลที่ดีมาก
รวม ๆ แล้วการใช้งานก็จะมีประมาณนี้ สำหรับบทความหน้ามารับชมกันต่อในรูปแบบวีดีโอครับผม
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ
ถูกใจบทความนี้ 3