รีวิว Huawei P8 ชายกลางแห่งบ้านทรายทอง !!!

 โปรยหัวเรียกแขกไปหน่อย แต่เอาเข้าจริงแล้ว ชายกลางนั้นหน้าตาดี มีความรู้ความสามารถจริง ๆ นะเออ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ Huawei P8  ซึ่งเป็นชายกลางในซีรีย์ P8 ก็คงไม่ผิดอะไร สำหรับ ซีรีย์ P8 ก็จะประกอบไปด้วยน้องเล็ก Huawei P8 Lite,  Huawei P8, และ Huawei P8 Max

ในวันเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ Huawei P8 ในไทย Android News: Creativity in your hand งานเปิดตัว Huawei P8 สมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นล่าสุดจากหัวเว่ย ผม ก็ได้ไปร่วมงานมาเหมือนกันครับ หลังจบงานก็เฝ้ารอแล้วรอเล่า ว่าจะได้เครื่องมารีวิวเมื่อไหร่ แต่ก็รอเก้อ รอจนลืม รอกันไปในแบบไม่รู้จุดหมายปลายทาง กระทั่งผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไป เขาซื้อมาใช้จนเกร่อ บางคนเบื่อแล้วปล่อยขายในเว็บเรากันไปแล้วมากมายก็มี แต่ทางผมก็ยังไม่ได้รับเครื่องมารีวิวซะที แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ได้รับการติดต่อให้รับเครื่องมารีวิว แม้ไฟจะมอด แม้เว็บอื่นจะรีวิวกัน(เกือบครบ)ไปแล้ว แต่ผมก็ขอทำหน้าที่ตรงนี้ตาม Spirit ที่พึงมีของสื่อไอทีที่ดีครับ แอบบ่น แอบนอยด์น้อยใจกันบ้างคงไม่ว่ากัน ก็หวังว่าคราวหน้าจะได้รับเครื่องจากทางค่าย Huawei มารีวิวเร็วขึ้นนะครับ

ขอขอบคุณ HUAWEI Thailand สำหรับเครื่องทดสอบและใช้ในการเขียนบทความนี้ครับ

และ หมือนเช่นเคยของค่ายนี้ครับ ได้มาเฉพาะตัวเครื่องเพียว ๆ อย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีกล่อง ไม่มีอุปกรณ์ใด ๆ จึงไม่ใช่บทความอันบ็อกซ์เหมือนเช่นเคย ก็ขอรวบรัดตัดตอนเข้าท้องเรื่อง ตามที่พระเจ้าตามอบให้มาแต่ผอบก็แล้วกันนะฮ่ะท่านผู้ชม

ข้อมูลสเปกเบื้องต้นของ Huawei P8

~ OS : เปิดตัวมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Android 5.0 (Lollipop) ครอบทับด้วย Emotion UI 3.1
~ ชิปเซ็ต : CPU Hisilicon Kirin 930 (Octa-Core, 64bit) ความเร็ว 2.0GHz
~ หน่วยประมวลผลกราฟฟิก : GPU Mali-T624
~ ROM 16GB และรองรับหน่วยความจำภายนอก MicroSD card ได้สูงสุด 128GB
~ RAM 3GB
~ จอแสดงผลชนิด IPS ขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด Full HD 1920 x 1080 พิกเซล (424ppi)
~ การเชื่อมต่อ 2G : GSM 850/900/1800/1900MHz
~ การเชื่อมต่อ 3G : WCDMA 850/900/1700/1900/2100MHz(B8/B5/B4/B2/B1)
~ การเชื่อมต่อ 4G LTE: TDD LTE: B38/B39/B40/B41 (2555MHz~2655MHz), FDD LTE:B1/B3/B4/B7
~ รองรับการใช้งานในระบบ 2 ซิมการ์ด
~ การเชื่อมต่อ Wi-Fi (2.4GHz b/g/n), Bluetooth V. 4.1 + LE , GPS/A-GPS/Glonass/BDS,
~ กล้องหลักด้านหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล พร้อมแฟลช Dual LED (dual tone), (กันสั่น OIS, รูรับแสง F/2.0)
~ กล้องด้านหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล
~ ขนาดตัวเครื่อง 144.9 x 72.1 x 6.4 มิลลิเมตร
~ น้ำหนัก 144 กรัม
~ แบตเตอรี่ Li-Polymer ความจุ 2680mAh

Full Specification  >>> HUAWEI P8 Specifications


ว่ากันด้วยเรื่องดีไซน์และงานประกอบ

ดีไซน์ของ Huawei P8 จะเป็น Unibody ขึ้นรูปแบบชิ้นเดียวไร้รอยต่อ ภาพรวมอาจจะไม่เน้น curve มากนัก ทำให้งานออกแบบจึงดูเป็น classical ที่ไม่หวือหวา แต่ก็ไม่ดูโบราณจนเชยแต่อย่างใด


วัสดุ หลักจะเป็นโลหะที่มีจุดเด่นคือ แข็งแกร่งทนทาน และมีน้ำหนักเบา ให้ฟิลลิ่งที่มีความพรีเมี่ยมตั้งแต่แรกเห็นจนกระทั่งได้สัมผัส  และ P8 ชูจุดขายอีกอย่างก็คือ ความพิถีพิถันในขั้นตอนหรือกระบวนการผลิต ที่ต้องใช้เวลาอย่างยาวนานในการขึ้นชิ้นงาน กระทั่งประกอบตัวเครื่องออกมาจนสำเร็จ


Display

Huawei P8 ใช้พาเนลจอแสดงผลชนิด IPS ขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด Full HD 1080P และยังมาพร้อมกับกระจกกันรอย Corning Gorilla Glass 3 เรื่องสีสันและมุมมองไม่มีปัญหา ให้โทนภาพที่สดใสสมจริง ตามสไตล์พาเนล IPS

 


ส่วน หน้าของด้านบน ไล่จากซ้ายไปขวา เริ่มจากชุดเซ็นเซอร์ต่าง ๆ(Proximity sensor และ Light sensor) และตามด้วยลำโพง earpiece ที่มีตะแกรงปิดทับไว้ ถัดมาคือกล้องหน้าที่ให้ความละเอียดมาถึง 8 ล้านพิกเซล ส่วนไฟแจ้งเตือน LED Notification จะอยู่ทางด้านขวามือสุดครับ


ด้าน ล่างของส่วนหน้า ปุ่มสัมผัสแบบ On screen buttons ตามมาตรฐานของแอนดรอยด์ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของ Navigation ในภายหลังได้ตามสไตล์การใช้งานของเรา

การจัดสรรพื้นที่ในส่วนของขอบบน-ล่าง ของ Huawei P8 อยู่ในเกณฑ์ที่ดีครับ ส่งผลให้ตัวเครื่องมีขนาดที่กำลังเหมาะ ไม่ยาวจนเกินไปเมื่อเทียบกับบางแบรนด์ที่มีขนาดหน้าจอเท่า ๆ กัน


ด้านบนของตัวเครื่อง จะมีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม และไมค์ตัดเสียงรบกวน รวมถึงเป็นไมค์ที่ใช้ในการบันทึกเสียงอีกด้วย

สำหรับตัวขอบข้างจะ ขึ้นชิ้นงาน CNC ที่ตัดขอบให้ลาดเอียง และมีความแวววาวดูโดดเด่นสะดุดตา ซึ่งเราคงเห็นกันมา(บ่อย)ในดีไซน์ของหลาย ๆ แบรนด์


ด้าน ล่าง มีพอร์ตไมโครยูเอสบีอยู่ตรงกลาง ช่องลำโพงที่เห็นเป็นโมโนนะครับ ไม่ใช่สเตอริโอลำโพงคู่แต่อย่างใด โดยฝั่งทางซ้ายมือคือลำโพงหลักหรือลำโพงมีเดียนั่นเอง ส่วนทางขวามือจะเป็นไมค์สนทนาครับผม สำหรับคุณภาพของลำโพงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีครับ ทั้งเรื่องความดังและคุณภาพ


ทางด้านซ้ายมือจะเรียบ ๆ โล่ง ๆ ไม่มีปุ่มหรือพอร์ตใด ๆ


ด้านขวามือของตัวเครื่อง


ไล่ จากบนลงล่าง ปุ่ม volume rocker เพิ่ม-ลดระดับเสียง ถัดลงมาคือปุ่ม Power โดยตัวปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง จะมีลวดลาย Texture อยู่บนตัวปุ่มด้วย ทำให้ดูหรูหราขึ้นไปอีกนิด


ถัดลงมาคือช่องซิม 2 และเป็นถาดที่ใช้งานร่วมกันทั้งตัวซิมและ MicroSD Card‎ สุดท้ายคือช่องถาดซิม 1 ครับ


ช่องซิม 1 จะรองรับ 4G – 3G และใช้นาโนซิม  ส่วนซิม 2 รองรับ 2G และใช้นาโนซิมเช่นกัน



การ เพิ่มหน่วยความจำภายนอก MicroSD Card‎ จะใช้พื้นที่ของถาดซิม 2 นั่นหมายความว่า เราจะไม่สามารถใช้งานซิม 2 ได้ ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งครับ

 


ยล โฉมด้านหลังกันบ้าง ตัววัสดุฝาหลังเป็นโลหะ ให้พื้นผิวสัมผัสที่ดูหรูหรา การใช้โทนสีจะกลมกลืนกันทั้งตัวฝาหลังและขอบด้านข้าง และการตัดขอบด้านบนด้วยกระจก ก็ทำให้ดีไซน์ในส่วนของฝาหลังดูสวยงามและลงตัวเป็นอย่างดีเลยครับ


Back panel ด้านหลังของ Huawei P8 ใช้กระจก Corning Gorilla Glass 3 เหมือนด้านหน้าครับ ที่มุมซ้ายบน จะมีไฟแฟลชแบบ Dual-LED (dual tone) และตามด้วยกล้องหลักด้านหลัง ความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ที่ออกแบบมาได้เรียบร้อยลงตัว คือจะเรียบเสมอไปกับตัวฝาหลัง ชิ้นเลนส์ไม่ยื่นออกมาเหมือนบางรุ่นบางแบรนด์ นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับ ฟีเจอร์และเทคโนโลยีที่น่าสนใจอีกหลาย ๆ อย่าง เช่น four-color RGBW sensor, OIS, F/2.0, Light painting, Director mode, Perfect Selfie เป็นต้น


ด้าน ล่าง ที่เห็นสายคาด ตรงนี้ไม่ใช่แค่เรื่องดีไซน์ความสวยงามอย่างเดียว แต่ยังเป็น Secondary antenna ที่ช่วยแก้ปัญหาภาครับสัญญาณของตัวโทรศัพท์อีกด้วยครับ


ลองประกบกับ vivo X5Pro น้องใหม่ที่เพิ่งจะเปิดตัวกันไปสด ๆ ร้อน ๆ


ภาพ รวม Huawei P8 จะมีขนาดที่เล็กกว่านิดหน่อย เป็นเพราะการออกแบบและจัดสรรพื้นที่ของขอบบน-ล่าง และรวมไปถึงขอบด้านข้างของตัวเครื่องนั้นทำได้อย่างลงตัว


ทั้ง 3 รุ่นนี้ มีขนาดหน้าจอเท่ากันที่ 5.2 นิ้ว


ตัวดีไซน์ก็เดินกันไปคนละแนว รักใครชอบใครพี่ไม่ว่า ขออย่างเดียว งดดราม่านะจ๊ะ ^^


เรื่อง ความบางนั้นสูสีกันครับระหว่าง Huawei P8 และ vivo X5Pro ตามสเปคแล้วทั้งคู่บาง 6.4mm อาจจะต่างกันแค่เศษเสี้ยวของตัวเลข ซึ่งไม่มีผลในการใช้งานจริงหรือสามารถดูออกด้วยตาเปล่า

ส่วน Xshot จะบางอยู่ที่ 7.99 มม. ตรงนี้ต่างกันแบบพอมองเห็นได้ชัดเจน

 

มาดูกันต่อในส่วนของ Software แบบคร่าว ๆ นะครับ


 
Huawei P8 เปิดตัวมาพร้อมกับ Android  5.0 (Lollipop) สำหรับ ROM 16 GB จะเหลือพื้นที่ให้ใช้จริงประมาณ 10GB กว่า ๆ และยังรองรับหน่วยความจำภายนอกได้อีก 128GB

 
มาพร้อมกับตัว Emotion UI เวอร์ชั่น 3.1 เป็น Launcher ที่มาในสไตล์ iOS คือไม่มีหน้า App Drawer นั่นเอง

 
สำหรับการปรับแต่งและการตั้งค่าต่าง ๆ ของ Emotion UI ทำได้อย่างยืดหยุ่น ตามสไตล์ Launcher  ทั่ว ๆ ไปบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

 

 
ค่าย Smartphone จากทางจีนแผ่นดินใหญ่ เราคงได้เห็นการแข่งขันทางด้านคอนเทนต์กันมาบ้างแล้ว ในส่วนของ Themes, Wallpaper, Lock Screen ที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานเพิ่มเติม จึงมีให้เห็นในหลาย ๆ แบรนด์

 
สำหรับ ค่าย Huawei ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่มีคอนเทนต์ตรงนี้ และสามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี ทั้งความสวยงาม การปรับแต่ง ตั้งค่าที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่นดีมาก ๆ ครับ

 
ขอ พูดถึงแอพฯ แบบย่อ ๆ ละกันนะครับ แอพพื้นฐานมีมาให้ครบถ้วน ทั้ง Google Apps และ Tools เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น Phone Manager ที่ช่วยบริหารและจัดการมือถือของเราให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ส่วน third party apps จะไม่มีการยัดเยียดใส่มาให้รกเครื่องเหมือนบางแบรนด์ ซึ่งตรงนี้โดยส่วนตัวผมชื่นชอบมาก

 
เป็น อีกหนึ่งจุดขายของ Emotion UI โหมดการใช้งานที่ปรับสไตล์ได้ 2 รูปแบบ เหมาะสำหรับเด็ก ๆ หรือผู้ใช้งานสูงวัย ทำให้การใช้งานนั้นง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น
 
การตั้งค่าสีและเสียง

ใน ส่วนของ Display จะสามารถปรับ Color temperature เลือกโทนสีของภาพได้ครับ ส่วนเสียง จะมีโหมด DTS เป็นจุดขาย เพียงแต่ใช้งานร่วมกับชุดหูฟังเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

 
อีก หนึ่งฟีเจอร์ที่ต้องบอกว่าเป็นจุดขายบน Huawei P8 ครับ Signal+ ก็คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้ Huawei P8 ของเรารับสัญญาณโทรศัพท์ได้ดี ถึงแม้ว่าจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เช่นบนรถยนต์หรือ รถไฟฟ้าความเร็วสูงเป็นต้น โดยทาง Huawei การันตีว่าสามารถใช้งานโทรศัพท์ได้แม้เคลื่อนที่เร็วถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ส่วน Wi-Fi+ จะตรวจหาสัญญาณที่แรงที่สุด เพื่อเชื่อมต่อโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลามาสลับสัญญาณเอง แต่มีข้อจำกัดคือ เราต้องเคยเชื่อมต่อกับแหล่งสัญญาณมาก่อนหน้านั่นนะครับ ซึ่งระบบจะจดจำค่าเอาไว้ และจะเชื่อมต่อสัญญาณที่ดีที่สุดให้เองโดยอัตโนมัติ

 
Smart assistance ขอคัดที่น่าสนใจนะครับ

Voice Wake Up เป็นฟีเจอร์ที่น่าจะถูกใจหลาย ๆ คน การทำงานคือ ใช้เสียงในการปลุกเครื่อง หรือการตาหาเครื่อง เช่นเราเผลอลืมวางโทรศัพท์ไว้ในห้องนอน แต่ไม่รู้ว่าตรงไหน อาจจะตกหล่น หรือไปอยู่ในมุมในซอกหลืบแบบว่าหาไม่เจอ เมื่อใช้ฟีเจอร์ Voice Wake Up ตัวเครื่องก็จะส่งสัญญาณตอบรับออกมา โดยเป็นเสียงเตือนหรือเป็นเพลงที่เราเลือกตั้งค่าเอาไว้

ส่วน Motion control จะเป็นการใช้งานร่วมกับเซ็นเซอร์ เช่นคว่ำหน้าโทรศัพท์  ยกขึ้น เขย่า เอียง เพื่อใช้งานในฟีเจอร์ที่กำหนดไว้

 
สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของ ปุ่มนำทาง  Navigation ได้ 4 รูป

 
Suspend button แผงไอค่อนลัด เป็นปุ่มจำลองการใช้งาน ที่สามารถลากไปวางที่พื้นที่ใด ๆ ก็ได้บนหน้าจอ โดยแผงไอคอนลัดจะมีเมนูมาให้ใช้งาน 5 รูปแบบ 1. ปุ่ม back, 2. Home, 3. recent apps, 4. Lock screen, 5. close apps & clear memory

ปิดท้ายกันไปด้วย Knuckle เป็นฟีเจอร์ที่ใช้ข้อนิ้ว เคาะ 2 ครั้งในการจับภาพหน้าจอ และยังสามารถใช้การวาดข้อนิ้วบนเจอเพื่อจับภาพเฉพาะพื้นที่ ที่ต้องการได้อีกด้วย เป็นลูกเล่นที่แปลกดีและน่าประทับใจในการใช้งานไม่น้อยเลยครับ

Hardware Test & Performance 

 
จากนี้มาดูกันต่อในส่วนของผลการทดสอบประสิทธิภาพของตัวเครื่อง Huawei P8

 

 
ผลทดสอบความเร็ว Benchmark ด้วย AnTuTu Benchmark ได้ 32613 คะแนน
ผลทดสอบความเร็ว Benchmark ด้วย Quadrant Standard ได้ 8735 คะแนน

 
ผลทดสอบจาก PCMark ได้คะแนน 3653

 

 
ส่วน 3DMark ได้คะแนนที่ 5850

 
Geekbench 3 ทำคะแนนในส่วนของ Single Core ที่ 635 และ Multi Core ได้ 2503
 
FXBench GL Benchmark ได้คะแนน Best Score 354


 
ผลทดสอบความเร็ว ด้วย Velamo (Metal) ได้ 844 คะแนน
ผลทดสอบประสิทธิภาพความเร็วด้วย Velamo (Multicore) ได้ 1772 คะแนน
ผลทดสอบประสิทธิภาพความเร็วด้วย Velamo (Browser) ได้ 1655 คะแนน
ผลทดสอบประสิทธิภาพความเร็วด้วย Velamo (Chrome Browser) ได้ 2193 คะแนน


ผลทดสอบประสิทธิภาพกราฟิกด้วย NenaMark 2 ได้ 60.2 เฟรม/วินาที

 
ภาครับ สัญญาณของ GPS ทำได้รวดเร็วพอประมาณครับ ทดสอบการจับสัญญาณโดยที่ไม่เชื่อมต่อดาต้า ทั้งในอาคารและนอกสถานที่ก็ไม่พบปัญหาแต่อย่างใด

 
ผลทดสอบระบบสัมผัสหน้าจอแบบ Multitouch ได้สูงสุด 10 จุด

เซ็นเซอร์บน Huawei P8  เมื่อใช้โปรแกรม Android Sensor Box ตรวจสอบก็จะมีดังนี้

Accelerometer Sensor
Light Sensor
Orientation Sensor
Proximity Sensor
Gyroscope Sensor
Sound Sensor
Magnetic Sensor

มาดูกันต่อในส่วนของ Sample Camera  ครับ

Huawei P8 มาพร้อมกับกล้องหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล และกล้องหลักด้านหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล โดยพกฟีเจอร์ที่อัดแน่นและน่าสนใจมาด้วย เช่น DSLR-level Independent Image Signal Processor (ISP) ที่ช่วยเก็บดีเทลของภาพ และจัดการสัญญาณรบกวน (Noise) ได้เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ยังมี four-color RGBW sensor, ois ที่ช่วยส่งผลให้คุณภาพรูปถ่ายของ Huawei P8 มีความโดดเด่นและสามารถเทียบเคียงกับ Smartphone เรือธงหลาย ๆ รุ่นที่ชูจุดขายในเรื่องของกล้องได้อย่างไม่เป็นรองเลยครับ


เมนู Interface กล้องของ Huawei P8 ดูเรียบง่ายสะอาดตา

การปรับเปลี่ยนโหมดหลัก สามารถลากเลื่อนสไลด์ได้โดยง่ายจากแถบด้านบนของปุ่มชัตเตอร์ครับ


โหมดสำเร็จรูปหรือซีนโหมด อาจจะมีไม่เยอะ แต่หลัก ๆ แล้ว ก็มีมาให้ใช้งานพอประมาณและครบถ้วนในระดับหนึ่ง
 
จุด ขายจริง ๆ ของ Huawei P8 ก็คือโหมดถ่ายไฟนี่แหละครับ โดยมีหมวดหมู่แยกย่อยออกมาอีก 4 โหมดที่น่าสนใจตามนี้ โหมดถ่ายแสงไฟจากรถ โหมดถ่ายไฟวิ่งของตัวอักษร โหมดถ่ายน้ำตกหรือละอองน้ำให้ดูนุ่มนวล และสุดท้ายโหมดถ่ายดวงดาว ซึ่งตามปรกติแล้ว ถ้าเป็นกล้องโปรจะต้องมีการปรับตั้งค่า หรือใช้อุปกรณ์ร่วมอีกหลาย ๆ ขึ้นตอน แต่บน Huawei P8 นั้น ไม่ต้องวุ่นวายแต่อย่างใด เพราะเป็นโหมดที่ปรับตั้งค่ามาแบบอัตโนมัติแล้วนั่นเอง

 
สำหรับ โหมดบิวตี้ หน้าเด้งหน้าสวยก็น่าสนใจไม่แพ้กัน มีโหมดการใช้งานในแบบออโต้และแบบแมนนวลมาให้เลือกใช้งานครับ โดยในโหมดปรับตั้งค่าเอง จะสามารถกำหนดความเด้งความเนียนของบิ้วตี้ได้ตั้งแต่ 1-10 ระดับ

 
การ ปรับตั้งค่าของกล้อง Huawei P8 ก็ถือว่ายืดหยุ่นและครอบคลุมการใช้งานอย่างครบถ้วน ตามที่แอพ Camera ควรจะมี ตรงนี้ในภาพรวมขอบอกว่า Software กล้องบน Huawei P8 ทำออกมาได้ค่อนข้างดี แม้จะดูเรียบง่ายไปสักนิดก็ตามครับ

จากนี้มารับชมภาพตัวอย่างจากกล้องของ Huawei P8 กันต่อเลยครับ


Nornal


HDR On


ทดสอบกล้องหน้าในโหมดปรกติ

 
โหมดบิวตี้สามารถปรับได้ถึง 10 ระดับ โดยรูปทางซ้ายปรับไว้ที่ระดับ 5 ส่วนด้านขวาปรับสูงสุดที่ระดับ 10

มาสรุปในส่วนของกล้อง Huawei P8 กันนะครับ

การโฟกัสและความไวในการถ่าย+บันทึกภาพอยู่ในระดับดีมาก ทั้งความคม สีสัน และที่ผมชอบมากคือความแม่นยำของไวท์บาลานซ์ครับ และตัวฟีเจอร์บวกฟังชั่นต่าง ๆ ที่มีมาให้ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพโดยรวมเช่นกันครับ

โดยเฉพาะฟีเจอร์  DSLR-level Independent Image Signal Processor (ISP) และ four-color RGBW sensor,+ OIS  ก็มีส่วนช่วยอย่างมาก ทำให้คุณภาพทั้งจากกล้องหน้าและหลัง เป็นอะไรที่พลิกโฉมของแบนรด์ Huawei ไปเลย เรียกว่าน่าประทับใจและน่าประหลาดใจไปพร้อม ๆ กัน สรุปคือกล้องของ Huawei P8 ให้คุณภาพที่ดีมาก สมราคุยเลยครับ

 

สรุป Huawei P8
ข้อดี

1. ดีไซน์หรูหรา สวยงาม งานประกอบแข็งแรง และให้วัสดุที่มีความพรีเมี่ยม
2. สเปคต่อราคาถือว่าคุ้มค่า จัดว่าเป็นอีกรุ่นที่น่าสนใจ
3. คุณภาพกล้องดีมาก ทั้งกล้องหน้าและหลัง
4. ฟีเจอร์อัดแน่น มีลูกเล่นหลาย ๆ อย่างที่น่าสนใจ
5. มาพร้อมกับ Android 5.0 Lolllipop ตั้งแต่โรงงาน

สิ่งที่ต้องพิจารณา

1. ตัวเครื่องดูแล้วน่าจะเกิดรอยได้โดยง่าย ต้องหาเคสมาใส่ป้องกัน แต่ก็จะทำให้ความสวยงามลดลง
2. โมเดลที่วางจำหน่ายในไทยไม่มี NFC
3. แบตไม่ได้อึดอะไรมากมาย ใช้งานหนัก ๆ ก็วันต่อวันเหมือนค่ายอื่น ๆ

ก็คงจะฝากไว้แต่เพียงเท่านี้ สำหรับรีวิว Huawei P8 แล้วพบกันใหม่ในรีวิวทดสอบด้านเอนเตอร์เทนครับ
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ ^^

ภาพชุดนี้ผมไม่ได้เป็นคนถ่ายเองนะครับ แต่เป็นภาพที่ติดมากับตัวเครื่อง ไม่แน่ใจว่าเป็นทีมงานของหัวเหว่ย หรือเป็นบล็อกเกอร์ท่านที่ได้เครื่องไปก่อนหน้าผมเป็นถ่ายเก็บไว้

ผมเห็นว่าน่าสนใจ จึงขอนำมาลงให้ชมกัน โดยไม่ใส่ลายน้ำ และขอยกเครดิตให้กับเจ้าของผลงานที่ถ่ายไว้นะครับ

 


 

ถูกใจบทความนี้  0