dtac เดินหน้าโครงการ Internet changes lives พัฒนาวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ โดยการสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

   17  สิงหาคม  2558 dtac ดีแทคและมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด ประกาศโรดแมปโครงการ Internet changes lives  “อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนชีวิต” โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำพลังของอินเทอร์เน็ตมาเปลี่ยนชีวิต  และสร้างโอกาสให้เกษตรกรไทย


งานช่วงเช้าจัดขึ้นที่ ดีแทคเฮาส์ เป็นการแนะนำแคมเปญ Internet changes lives และโคงการ ดีแทคเน็ตอาสา


มีคุณหนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ มาเป็นพิธีกรดำเนินรายการ

ข้อมูล จากสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ระบุว่า การพัฒนาสู่สังคมดิจิทัลเป็นกุญแจสำคัญของการเติบโตโดยรวมในเอเชียแปซิฟิก และสนับสนุนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญก็คือ การส่งเสริมให้ประชาชนในชนบทเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้มากที่สุด เพื่อลดอุปสรรคในเรื่องการเข้าถึงบรอดแบนด์ของประเทศ

เนื่อง จากประชากรส่วนใหญ่อยู่ในชนบท จึงต้องผลักดันให้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์หลักในการเชื่อมต่อ เพราะโมบายล์อินเทอร์เน็ตเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ หากภาครัฐสามารถพัฒนาและสนับสนุนตลาดบรอดแบนด์ให้ก้าวหน้าและทั่วถึงจะ สามารถเพิ่มอัตราการเชื่อมต่อในประเทศจาก 52% ในปี พ.ศ.2556 ไปเป็น 133% ในปี พ.ศ. 2563 อันจะส่งผลบวกโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจของไทย

ซึ่ง การศึกษาของ GSMA นี้ ระบุว่า การพัฒนาระบบเชื่อมต่อบรอดแบนด์ที่ทั่วถึงทั้งประเทศจะเป็นปัจจัยสำคัญในการ ผลักดันผลิตผลมวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยให้เพิ่มขึ้น 7.3 แสนล้านบาท ภายในปี  พ.ศ. 2563 ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ดีแทคยึดมั่นว่า อินเทอร์เน็ตคือเครื่องมือที่ทรงพลังในการขับเคลื่อนสังคม และให้ความสำคัญกับภาคการเกษตรที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของ ไทย

แอพพลิเคชั่น FARMER INFO จากดีแทค จะเป็นแรงพลักดันและช่วยให้เกษตรกรในประเทศไทยเป็น Smart Farmer

นาย ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค กล่าวว่า “ภายใต้โครงการ ‘อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนชีวิต’ ดีแทคเชิญชวนพนักงานสมัครร่วมทีมเน็ตอาสาไปสอนวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตให้ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ซึ่งได้รับคัดเลือกจากกระทรวงเกษตรฯ ว่าเป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง โดยสร้างให้กลุ่มเกิดการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของอินเทอร์เน็ต มีทักษะในการนำไปประยุกต์ใช้ ต่อยอดเพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ หรือสร้างโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ

นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลากว่า 17 ปีที่ผ่านมา ดีแทคและมูลนิธิฯ มีพันธกิจร่วมกันในการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร ไทย ส่งเสริมให้เกษตรกรเป็น ‘Smart Farmer’  ที่สามารถพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือชุมชนได้ ทั้งยังเป็นต้นแบบเกษตรกรที่มีความคิดสร้างสรรค์ วางแผน ลงมือทำ พัฒนา ต่อยอด และก้าวสู่โลกของการซื้อขายสินค้าเกษตรออนไลน์แบบเต็มตัว สามารถกำหนดรูปแบบสินค้า ราคา วิธีจัดส่ง และปริมาณการผลิตได้เอง วันนี้เรามีเครื่องมือสำคัญคือ แอพพลิเคชั่น FARMER INFO และเว็บไซต์รักบ้านเกิด.คอม โดย บริษัท รักบ้านเกิด จำกัด รวมถึงทีมงานเน็ตอาสาของดีแทคที่พร้อมจะเป็นพี่เลี้ยงช่วยแนะนำเกษตรกรเข้า สู่โลกอินเทอร์เน็ต”

ทั้ง นี้ ดีแทคตั้งเป้าที่จะสร้างโอกาสให้ 50% ของวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศที่มีอยู่กว่า 20,000 แห่ง สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตได้ภายในปี 2560 โดยได้เริ่มโครงการนำร่องในปีนี้ และวางแผนจะลงพื้นที่ไปสอนวิสาหกิจชุมชนให้ได้ครบ 200 แห่งภายในสิ้นปี 2558”

“อินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาแบบยั่งยืน ดีแทคจึงมุ่งส่งเสริมให้เกษตรกรนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการ ประกอบอาชีพ และเปลี่ยนรูปแบบมาสู่สังคมเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ต (Internet-based economy) นำโมบายอินเทอร์เน็ตไปใช้ในการพัฒนาด้านการผลิต การกระจายสินค้าและบริการมากยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างมูลค่าเพิ่ม และประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจในที่สุด” นายลาร์สกล่าวเพิ่มเติม


ช่วยบ่ายเดินทางสู่สวน ลุงไสว ศรียา จนครนายก


เพื่อจัดกิจกรรม เน็ตอาสา


มีชาวบ้านในชุมให้ความสนใจมาร่วมรับฟังกันอย่างคับคั่ง


คุณหนุ่ย สัมภาษณ์ คุณลุงไสว และพูดคุยกับกับอินเทอร์เน็ตและโครงการ เน็ตอาสาในวันนี้


คณะผู้บริหารดีแทคร่วมถ่ายรูปกับคุณลุงไสว ศรียา


ช่วงท้ายจะเป็นการสอนการใช้งานอินเทอร์เน็ตเบื้องต้นให้กับชาวบ้านในชุมชน


สุดท้าย ขอขอบคุณดีแทคที่เชิญไปร่วมงานครับ

 



ถูกใจบทความนี้  0