Full Review & อันบอกซ์แกะกล่อง ASUS ZenPad 7.0 Tablet สุดคุ้มที่สุดของชั่วโมงนี้ !!!

 รับชมแกะกล่องในเวอร์ชั่นวีดีโอกันไปแล้ว Android Review: Unboxing แกะกล่อง ASUS ZenPad 7.0 (วีดีโอ) !!!  วันนี้ พามาชม Full review ในรูปแบบภาพนิ่งกันต่อเลยครับ สำหรับ ASUS ZenPad 7.0 จัดเป็น Tablet ในรุ่นกลาง ๆ ของทางค่าย ASUS แต่มีความโดดเด่นตรงที่ให้สเปคและราคามาสมเหตสมผลมาก ๆ อีกทั้งยังมีความน่าสนใจตรงที่รองรับอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเคสแฟชั่น, เคสหนังหรูหรา, เคสลำโพงและเคสพาวเวอร์แบงค์เป็นต้น  จึงทำให้ ASUS ZenPad 7.0 จัดว่าเป็นตัวเลือกลำดับต้น ๆ ของคนที่กำลังมองมา Tablet มาใช้งานอย่างไม่ต้องคิดมากเลยครับ

ขอขอบคุณ ASUS Thailand สำหรับเครื่องทดสอบและใช้ในการเขียนบทความนี้ครับ

สเปคเบื้องต้นแบบย่อ ๆ ของ ASUS ZenPad 7.0

~  ระบบปฏิบัติการ Android 5.0 (Lollipop)
~  หน่วยประมวลผล CPU Intel® Atom™ x3-C3230 Quad-Core, 64bit 1.2 GHz
~  หน่วยประมวลผลกราฟฟิค Mali-450 MP4
~  จอแสดงผล IPS 7.0 นิ้ว ความละเอียด WXGA (1280×800 pixel)
~  ขนาด RAM 2 MB
~  ขนาด ROM 16 GB + รองรับหน่วยความจำภายนอก Micro SD CARD 128GB
~  รองรับ 2-3G ทุกคลื่นความถี่ในไทย
~  กล้องหน้า 2 ล้านพิกเซล
~  กล้องหลัง 8 ล้านพิกเซล
~  แบตเตอรี่ความจุ 3500mAh, 8 hours battery life; 13Wh Li-polymer
~  ขนาดตัวเครื่อง 189 x 110.9 x 8.7 มิลลิเมตร หนัก 272 กรัม

สเปคโดยละเอียดสามารถดูได้จาก official page ASUS ZenPad 7.0 Specifications

ราคาวางจำหน่าย 5,990 บาท

เพื่อไม่ให้เสียเวลามาทำการอันบ็อกซ์กันเลยนะครับ


ตัวแพ็กเกจมาในขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก บนกล่องจะพิมพ์รูปตัวเครื่องของ ASUS ZenPad 7.0 ไว้ที่ด้านหน้า


เช็คสีของตัวเครื่องเพื่อความมั่นใจก่อนจ่ายตังค์ได้ที่ด้านข้างของตัวกล่องนะครับ


ด้านหลังก็ตามธรรมเนียม จะมีการพิมพ์บอกสเปคและจุดเด่นเบื่องต้นไว้ให้ได้อ่านเรียกน้ำย่อยกันสักเล็กน้อย


แง้มกล่องออกมาดู จะพบเจอกับตัว ASUS ZenPad 7.0 นอนรออยู่ในถาดรอง


สำรวจอุปกรณ์ที่ให้มา จะประกอบไปด้วย

1. อแดปเตอร์ชาร์จไฟ ชนิดขากลม ให้ Output มาที่ 1.35A

2. สายไมโครยูเอสบี สำหรับซิงค์ข้อมูลและชาร์จไฟ


3. คู่มือการใช้งานอย่างย่อ และใบรับประกันสินค้า

ว่ากันด้วยเรื่องดีไซน์และงานประกอบ

ดีไซน์ของ ASUS ZenPad 7.0 ฉีกแนวออกมามาจาก Tablet ยุคแรก ๆ อย่างพวกตระกูล Fonepad อย่างเห็นได้ชัด แต่โดยรวม ๆ แล้วจะยังคงมีกลิ่นอายของ Memo Pad ซึ่งเน้นในเรื่องของงานออกแบบที่ดูโฉบเฉี่ยว หรูหรา และมีความเพรียวบางมากขึ้น


สำหรับ งานประกอบของ ASUS ZenPad 7.0 อยู่ในเกณฑ์ที่ดีครับ ตัววัสดุหลักจะเป็นโพลีคาร์บอเนต ตัดขอบข้างด้วยเส้นสายวัสดุโลหะ และตัวฝาหลังจะมีลวดลาย Texture ที่ให้อารมณ์ประมาณคล้าย ๆ วัสดุที่เป็นหนัง นอกจากความสวยงามยังช่วยให้การจับถือมีความกระชับไม่ลื่นหลุดมือได้โดยง่าย ครับ


ดูกันต่อกับด้านหน้าของตัวเครื่อง

ASUS ZenPad 7.0 มีขนาดหน้าจอ 7.0 นิ้ว ใช้พาเนล IPS ความละเอียด WXGA (1280×800 pixel) และยังมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ของทางค่ายก็คือ Tru2Life ที่ช่วยให้คุณภาพของจอนั้นแสดงผลของสีสันและความสว่างได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม ครับ


ด้านบนจะมีพลาสติกสกรีนฟีเจอร์แปะเอาไว้


เมื่อ ลอกออกมาแล้ว ก็จะเห็นลำโพงสนทนาที่มีตะแกรงปิดทับไว้ และถัดไปคือกล้องหน้าความละเอียด 2 ล้านพิกเซล ส่วนด้านล่างก็คือที่อยู่ของเซนเซอร์ต่าง ๆ


3 ปุ่มมาตรฐานของแอนดรอยด์ เป็นชนิด On Screen ครับ ส่วนพื้นที่ด้านล่างจะมีโลโก้ ASUS ขนาดใหญ่แปะไว้


สำรวจกันต่อที่ด้านบนของตัวเครื่อง มีช่องเสียบหูฟัง 3.5มม. อยู่ที่มุมซ้ายมือ


ด้านล่าง มุมขวามือคือพอร์ตไมโครยูเอสบี และใกล้ ๆ กันก็คือไมค์สนทนานั่นเอง


ด้านซ้ายจะเรียบ ๆ โล่ง ๆ ครับ


ด้านขวามือของตัวเครื่อง


ปุ่มเพิ่มลดระดับเสียงและปุ่ม Power ตัววัสดุของปุ่มจะเป็นพลาสติกเหมือนตัวฝาหลังครับ


ร่องบากที่ใช้ในการแกะฝาหลังจะอยู่ล่างสุดครับ


ยลโฉมด้านหลังกันต่อ อย่างที่เกริ่นไว้ในตอนต้น ตัวฝาหลังจะมีลวดลาย Texture ที่ให้อารมณ์ประมาณคล้าย ๆ วัสดุที่เป็นหนัง


ตัว ฝาหลังถอดออกได้ครับ เพื่อรองรับอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เช่น เคสแฟชั่น, เคสลำโพง, และ Power case เป็นต้น แต่ว่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มากับตัวเครื่องเองไม่ได้นะครับ ตรงนี้เป็นแบตแบบ Built in ครับ


รอง รับการใช้งานเพียง 1 ซิมเท่านั้น และใช้ซิมชนิด “ไมโคร” ส่วนหน่วยความจำภายนอก ไมโครเอสดีการด์รองรับได้สูงสุดถึง 128GB สำหรับด้านบนคือขาพินที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับพวกอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เช่น Audio Cover, Power Case ครับ

 

มาดูกันต่อในส่วนของ Software แบบคร่าว ๆ นะครับ

 
ASUS ZenPad 7.0 เปิดตัวมาพร้อมกับ Android 5.0 (Lollipop) ตั้งแต่โรงงาน

สำหรับพื้นที่ของ ROM 16GB จะเหลือให้ใช้งานจริงราว ๆ 10GB กว่า ๆ ครับ

 
และ เหมือนเช่นเคยครับ ครอบทับด้วย ZenUI เป็น Launcher ที่พัฒนาโดย ASUS เน้นที่การใช้งานที่เรียบง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ตามสโลแกนที่ว่า “เปลี่ยนความซับซ้อน ให้เป็นความเรียบง่าย”

 
หน้า App Drawer จัดเรียงไอคอนเมนูแบบตาราง 5 x 5 ปรับแต่งง่าย เมเนเจอร์จัดการได้สะดวก ซึ่งเป็นข้อดีของตัว ZenUI
 
หน้า Setting จะมีความเปลี่ยนแปลงจากเวอร์ชั่น 4.4.4 Kitkat เล็กน้อย

 
ใน ส่วนของฟีเจอร์ที่น่าสนใจบน ASUS ZenPad 7.0 นั้นมีมาให้ใช้งานพอประมาณ และหลากหลาย แต่ไม่ได้โดดเด่นหรือแปลกแหวกแนวไปจากค่ายอื่น ๆ เท่าไหร่ครับ เช่นฟีเจอร์ การวาดบนหน้าจอ, ฟีเจอร์ที่ใช้งานร่วมกับเซ็นเซอร์เป็นต้น
 

 

 
ฟีเจอร์ ที่เคยใส่มาให้กับ Smartphone และ Tablet ภายในค่าย อย่างเช่น Easy mode, Kids mode และรวมไปถึงแอพจากทางค่ายเช่น Splendid, Power Saver, PC Link ฯลฯ ยังมีมาให้ใช้งานอย่างครบถ้วน ซึ่งผมไม่ขอลงราละเอียดนะครับ เพราะเคยเขียนไปแล้ว สามารถอ่านได้จากบทความเก่า ๆ ที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านั้นครับ  รีวิว ASUS Zenfone 6 ภาค Software ตอนที่ 1

Hardware Test & Performance 


จากนี้มาดูกันต่อในส่วนของผลการทดสอบประสิทธิภาพของตัวเครื่อง ASUS ZenPad 7.0 กะนต่อเลยครับ




ผลทดสอบความเร็ว Benchmark ด้วย AnTuTu Benchmark ได้ 19242 คะแนน
ผลทดสอบความเร็ว Benchmark ด้วย Quadrant Standard  ได้ 7354 คะแนน


ผลทดสอบจาก PCMark ได้คะแนน 2381


ส่วน 3DMark ได้คะแนนที่ 3531


Geekbench 3 ทำคะแนนในส่วนของ Single Core ที่ 347 และ Multi Core ได้ 775

FXBench GL Benchmark ได้คะแนน Best Score – (none)



ผลทดสอบความเร็ว ด้วย Velamo (Metal) ได้ 550 คะแนน
ผลทดสอบประสิทธิภาพความเร็วด้วย Velamo (Multicore) ได้ 737 คะแนน
ผลทดสอบประสิทธิภาพความเร็วด้วย Velamo (Browser) ได้ 1423 คะแนน
ผลทดสอบประสิทธิภาพความเร็วด้วย Velamo (Chrome Browser) ได้ 1321 คะแนน


ผลทดสอบประสิทธิภาพกราฟิกด้วย NenaMark 2 ได้ 59.2 เฟรม/วินาที


ภาครับ สัญญาณของ GPS ทำได้รวดเร็วพอประมาณครับ ทดสอบการจับสัญญาณโดยที่ไม่เชื่อมต่อดาต้า ทั้งในอาคารและนอกสถานที่ก็ไม่พบปัญหาแต่อย่างใด


ผลทดสอบระบบสัมผัสหน้าจอแบบ Multitouch ได้สูงสุด 10 จุด

เซ็นเซอร์บน ASUS ZenPad 7.0 เมื่อใช้โปรแกรม Android Sensor Box ตรวจสอบก็จะมีดังนี้

Accelerometer Sensor
Light Sensor
Orientation Sensor
Proximity Sensor
Sound Sensor
Magnetic Sensor

มาดูกันต่อในส่วนของคุณภาพรูปถ่ายจากกล้อง ASUS ZenPad 7.0

ASUS ZenPad 7.0 มาพร้อมกับกล้องหน้าความละเอียด 2 ล้านพิกเซล

ส่วนกล้องหลักด้านหลังให้ความละเอียดมา 8 ล้านพิกเซล มาพร้อมระบบโฟกัสอัตโนมัติ และเทคโนโลยี PixelMaster ที่ ASUS โปรโมตมาโดยตลอด


ใน ส่วนของเมนูหรือว่าการตั้งค่าต่าง ๆ จะเหมือนกับ Smartphone หรือ Tablet ของทางค่ายที่มาพร้อมกับ ZenUI เลยครับ จึงไม่ขอเหลาเรื่องเก่าให้ซ้ำซ้อน สามารถอ่านจากบทความเก่า ๆ ได้เลยครับผม Software ตอนที่ 2 Camera Test

 

จากนี้มาดูคุณภาพรูปถ่าจากกล้องของ ASUS ZenPad 7.0 กันได้เลยครับ

https://i0.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_1.jpg?w=840&ssl=1
https://i0.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_2.jpg?w=840&ssl=1
https://i2.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_3.jpg?w=840&ssl=1
https://i1.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_4.jpg?w=840&ssl=1
https://i1.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_5.jpg?w=840&ssl=1
Normal mode
https://i1.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_6.jpg?w=840&ssl=1
HDR mode

https://i1.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_11.jpg?w=840&ssl=1
Normal mode
https://i0.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_12.jpg?w=840&ssl=1
HDR mode

https://i2.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_7.jpg?w=840&ssl=1
https://i2.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_8.jpg?w=840&ssl=1
https://i1.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_9.jpg?w=840&ssl=1
Depth of field mode

https://i1.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_10.jpg?w=840&ssl=1
https://i0.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_13.jpg?w=840&ssl=1
https://i0.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_14.jpg?w=840&ssl=1
https://i2.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_15.jpg?w=840&ssl=1
ทดสอบคุณภาพกล้องหน้าในโหมดบิวตี้
https://i1.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_16.jpg?w=840&ssl=1
https://i1.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_17.jpg?w=840&ssl=1
https://i2.wp.com/w.pdamobiz.com/wp-content/uploads/2015/08/Zenpad_18.jpg?w=840&ssl=1

สรุปในส่วนของกล้องกันเบื้องต้นนะครับ

ระบบโฟกัสและความไวในการบันทึก ยังไม่ค่อยปลื้ม เพราในการใช้งานจริงรู้สึกว่ามันช้าไปนิด ไม่ค่อยทันใจสักเท่าไหร่ ส่วนคุณภาพโดยรวมถือว่าพอเอาตัวรอดได้ อาจจะไม่ดีที่สุด แต่ด้วยความที่เป็น Tablet ให้ผลงานมาเท่านี้ ถือว่าสอบผ่านครับ

ในส่วนของ Software ก็ยกฟีเจอร์มาจาก Smartphone ภายในค่ายทั้งตัว Interface รวมไปถึงฟีเจอร์ของตัวกล้องครับ เรียกว่าถ้าเคยใช้งานค่ายนี้มาก่อนก็จะคุ้นเคยกับตัว Software กล้องบน ZenPad 7.0 โดยไม่ต้องปรับตัวแต่อย่างใด

 

สรุป ASUS ZenPad 7.0

ข้อดี

1. สเปคต่อราคาจัดว่าคุ้มค่า
2. วัสดุดี งานประกอบแข็งแรง
3. ตัว Software และฟีเจอร์หลัก ๆ ยกจุดเด่นมาจาก Smartphone + Tablet ภายในค่ายมาอย่างครบถ้วน
4. รองรับอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เหนือกว่า Tablet ทั่วไปในท้องตลาด

สิ่งที่ต้องพิจารณา

1. แบตไหลเป็นสายน้ำ
2. คุณภาพกล้องอยู่ในระดับพอใช้งาน ยังไม่โดดเด่นหรือน่าประทับใจสักเท่าไหร่
3. การใช้งานยังมีหน่วง ๆ หนืด ๆ อยู่บ้าง คงต้องรอการอัพเดต Software ในอนาคตเพื่อแก้ปัญหาคอขวดตรงนี้


ก็คงจะฝากไว้แต่เพียงเท่านี้ สำหรับรีวิว ASUS ZenPad 7.0 แล้วพบกันใหม่ในรีวิวทดสอบด้านเอนเตอร์เทนครับ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ ^^ 

สามารถพูดคุยเกี่ยวกับบทความนี้ได้ที่หน้าเว็บบอร์ดเดิมครับ pdamobiz.com

 



ถูกใจบทความนี้  0