เอ็ตด้า จับมือไอแคน (ICANN) ลุยพัฒนาชื่อโดเมนภาษาไทย เตรียมพร้อมตั้งคณะกรรมการสร้างป้ายชื่อโดเมน (LGR) ภายในปีนี้

สำนัก งานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) (ETDA) หรือ เอ็ตด้า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จับมือ ไอแคน (The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers – ICANN) องค์กรระดับนานาชาติที่มีหน้าที่หลักในการจัดสรรดูแลโดเมนและไอพีของระบบอิน เทอร์เน็ตทั่วโลก ถ่ายทอดความรู้ เล็งพัฒนาชื่อโดเมนเป็นภาษาไทย พร้อมจัดตั้ง คณะกรรมการสร้างป้ายชื่อโดเมน (Label Generation Rules Panel) ซึ่งจำเป็นในการทำให้ใช้ชื่อภาษาไทยในอินเทอร์เน็ตได้

 

สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 27.6 ล้านคน พร้อมทั้งมีผู้ใช้งานเชื่อมต่อผ่านมือถือ 97 ล้านเลขหมาย การพัฒนาชื่อโดเมนให้เป็นภาษาท้องถิ่น (Internationalized Domain Names – IDNs) หรือในกรณีนี้คือการพัฒนาเป็นภาษาไทย ไม่เพียงช่วยขจัดอุปสรรคทางด้านภาษาให้คนไทยสามารถเข้าถึงการใช้งานบนอิน เทอร์เน็ตตามความต้องการ ยังช่วยให้คนไทยสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่ง ขึ้น โดยหลายฝ่ายคาดหมายว่าตัวเลขเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อมีการใช้ระบบโดเมนเนมขั้นสูงสุด (Top Level Domain) ที่เป็นภาษาไทย

ทั้งนี้ รัฐบาลได้ประกาศการเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัลภายในปี 2560 ซึ่งในส่วนนี้ เอ็ตด้าจะเป็นผู้ดูแลในการพัฒนา soft infrastructure เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถบรรลุเป้าประสงค์นี้ได้โดยสมบูรณ์ ที่สำคัญ การดำเนินงานดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายในการลดช่องว่างทางดิจิทัล (digital divide) ในส่วนที่จะเกิดจากอุปสรรคในด้านภาษาให้ลดน้อยลง โดยเอ็ตด้าเชื่อว่าความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งใน “จุดเปลี่ยน” (game changer) สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคตสำหรับประเทศไทย

วรรณวิทย์ อาขุบุตร รองผู้อำนวยการ ETDA เสริมว่า หลังจากการทำเวิร์กชอปร่วมกันแล้ว ทีมงานจะดำเนินการร่างข้อเสนอ (proposal) เพื่อยื่นต่อไอแคน ในการจัดตั้งคณะกรรมการสร้างป้ายชื่อโดเมน หรือ Thai LGR เพื่อสนับสนุนการจัดสรรและบริหารการจดทะเบียนโดเมนเนมเป็นภาษาท้องถิ่นใน ประเทศไทย โดยแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ที่ร่างขึ้นจะวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราจะสามารถดำเนินการโครงการสร้างป้ายชื่อโดเมนเนม (LGR Project) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงตามเวลาที่กำหนด การพัฒนาในส่วนนี้มีเป้าหมายหลักที่องค์กรภาครัฐที่ต้องให้บริการแก่ประชาชน ในวงกว้าง เพื่อให้ประชาชนในทุกพื้นที่เข้าถึงเว็บให้บริการ และข้อมูลต่าง ๆ ได้โดยใช้ภาษาไทย

สำหรับการใช้ภาษาไทยในการเข้าถึงและใช้งาน อินเทอร์เน็ต ETDA ยังร่วมมือกับ THNIC พัฒนาการใช้อีเมลภาษาไทย เพื่อให้ผู้ไม่รู้ภาษาอังกฤษเข้าสู่สังคมดิจิทัล ซึ่งจะช่วยให้มีการใช้งานและจดจำอีเมลง่ายขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่ใช้หรือไม่ถนัดภาษาอังกฤษ เพื่อสร้างความเข้าใจและนำไปสู่การพัฒนาเพื่อรองรับการใช้งานอีเมลซึ่งเป็น ภาษาท้องถิ่นร่วมกัน

รีนาเลีย อับดุล ราฮิม (Rinalia Abdul Rahim) สมาชิกของคณะกรรมการไอแคน กล่าวว่า ระบบการตั้งชื่อโดเมน (Domain Name System – DNS) กำลังขยายตัว มีศักยภาพหนุนเนื่องให้อินเทอร์เน็ตเข้าถึงประชาชนจำนวนมาก และคาดว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ 15 ปีก่อน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกนั้นมีเพียง 500 ล้านคนเท่านั้น แต่ทุกวันนี้มีผู้ใช้มากกว่า 3 พันล้านคน และเกือบครึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  ผนวกกับสมาร์ตโฟนเข้ามามีบทบาททำให้การใช้อินเทอร์เน็ตขยายตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคนี้มีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่ม มากขึ้น

“นับตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ไอแคนได้ให้ชื่อของโดเมนขั้นสูงสุดใหม่มากกว่า 700 รายการ นี่เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะการแสดงอัตลักษณ์และการมีที่พื้นที่ในโลกออนไลน์เป็นเรื่องสำคัญสำหรับ ทั้งบุคคล องค์กร และบริษัทต่าง ๆ ดังนั้นการเพิ่มจำนวนชื่อโดเมนขั้นสูงสุดจะทำให้วิธีการที่เราใช้อิน เทอร์เน็ต รวมทั้งวิธีการที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับตราสินค้าและธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปโดย สิ้นเชิง นี่เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ที่ได้ ก่อกำเนิดมา” รีนาเลีย กล่าว

โปรแกรมโดเมนขั้นสูงสุดทั่วไปใหม่ (New General Internet DNS Top Level Domains – New gTLDs) นี้เป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ของระบบการตั้งชื่อโดเมน และมีความสามารถที่จะเพิ่มโดเมนใหม่ได้ถึง 1,300 โดเมนโปรแกรมนี้ยังนำไปสู่การตั้งชื่อโดเมนขั้นสูงสุดทั่วไปในภาษาท้องถิ่น หรือ IDNs ด้วย ซึ่งจะทำให้สามารถใช้ตัวอักษรในภาษาหรือระบบการเขียนต่าง ๆ มาตั้งเป็นโดเมนเนมได้ การทำเช่นนี้จะเอื้อให้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงโดยคนที่ใช้ด้วยภาษาอื่น ๆ ที่มีตัวเขียนต่างไปจากภาษาที่มีรากจากภาษาละติน เช่น ไทย จีน ฮินดี ฯลฯ และนำไปสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่มีความเป็นสากลอย่างแท้จริงที่สามารถรองรับ ภาษาอันหลากหลายได้ ซึ่งจะทำให้คนนับพันล้านมีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ดีขึ้น

 

 



ถูกใจบทความนี้  0