Dell Venue 11 Pro วางจำหน่ายมาสักพักใหญ่ ๆ แล้วครับ ตอนเปิดตัวในต่างประเทศ รวมถึงในบ้านเรา ก็ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม ด้วยความที่สเปคค่อนข้างจัดเต็ม รวมไปถึงการเชื่อมที่ครบครัน ทั้งการใช้งาน 3G – 4G (Data Only) , NFC, Port USB 3.0 มีกล้องหน้า-หลัง, ลำโพงสเตอริโอคู่ เรียกว่าครบถ้วนกว่า Tablet ทั่วไปในท้องตลาด แต่ราคาก็ดูจะแรงสักเล็กน้อย แต่เชื่อว่าเหมาะสมกับความสามารถและน่าจะตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานได้เป็น อย่างดีครับ
ขอขอบคุณ DELL Thailand ที่ให้การสนับสนุนครับ
SPECIFICATION เบื้องต้นของ Dell Venue 11 Pro (Model 7140)
Windows 8.1 Pro (64 bit)
Intel Core M-5Y71 (Dual-Core) ความเร็ว 1.2 GHz
GPU Intel HD Graphics 5300
RAM 8GB DDR3
หน่วยความจำภายในขนาด 256GB
จอแสดงผล IPS ขนาด 10.8 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920 x 1080 พิกเซล) รองรับระบบสัมผัสมัลติทัช 10 จุด
รองรับ microSD card ได้สูงสุด 64GB
รองรับการใช้งาน 1 SIM (Micro SIM)
รองรับการเชื่อมต่อ 4G LTE, Wi-Fi (Dual-Band 2 x 2 802.11 ac), Bluetooth 4.0, NFC
กล้องด้านหลังความละเอียด 8 ล้านพิกเซล
กล้องหน้าความละเอียด 2 ล้านพิกเซล
แบตเตอรี่ขนาด 38Whr
Micro-USB 3.0 – 1port, Audio Combo Jack, Micro SD, Micro HDMI-out, Sim Card slot
1-year Regional Carry-in
ชุด แพกเกจที่ได้รับมารีวิวในครั้งนี้ จะมีตัวกล่องหลักภายนอก-ใน และเคสคีย์บอร์ด ซึ่งจะใกล้เคียงกับชุดวางจำหน่ายจริง และตัวที่ได้รับมารีวิวในวันนี้เป็น ตัว Top สุดของซีรีย์ครับ
อุปกรณ์ภายในกล่องที่ให้มา
อแดปเตอร์ ชาร์จ+ ชุดสายไฟ 2 ส่วน โดยตัว Output ที่ต่อเข้ากับ Dell Venue 11 Pro จะเป็นแบบไมโครยูเอสบีมาตรฐาน ทำให้สามารถนำสายชาร์จอื่น ๆ มาใช้งานร่วมได้ครับ ที่ตัวอแดปเตอร์ชาร์จจะมีโลโก้ Dell อยู่ด้านหน้า และมีไฟแจ้งเตือนสถานะการชาร์จอยู่ทางด้านล่าง
ตัวอแดปเตอร์ชาร์จไฟให้ Output มาที่ 2.0A
เริ่มทำการสำรวจตัวเครื่องภายนอกกันเลยนะครับ เริ่มจากด้านหน้า
Dell Venue 11 Pro มาพร้อมกับขนาดหน้าจอ 10.8 นิ้ว ความละเอียด Full HD 1080P ใช้พาเนล IPS ให้สีสันสมจริงและมีมุมมองที่กว้างสบายตา
ใน เรื่องของงานประกอบ ไม่เสียชื่อค่ายนี้แน่นอนครับ งานประกอบเนี๊ยบมาก แต่ตัวที่ผมได้รับมาค่อนค้างจะเยินเล็กน้อย-ถึงปานกลาง เข้าใจว่าผ่านการรีวิวมาแล้วจากหลาย ๆ สำนัก
เมื่อพูดในเรื่องการจับถือและพกพา รวมๆ แล้วการจับถือด้วยมือเดียวไม่ถนัดสักเท่าไหร่ ด้วยขนาดหน้าจอและน้ำหนักของตัวเครื่อง ผมมองว่าใช้งานด้วยสองมือจะปลอดภัยและไม่เมื่อยครับ
ด้านหน้าส่วนบน จะมีกล้องหน้าความละเอียด 2 ล้านพิกเซลอยู่ตรงกลาง และด้านข้างคือชุดเซ็นเซอร์
ด้านล่างจะมีปุ่ม Windows ที่เป็น Physical button ซึ่งมีประโยชน์มาก ทั้งการใช้งานปรกติและการจับภาพหน้าจอที่เป็นการกดจากปุ่ม Hardware ได้โดยตรง
ด้านซ้ายของตัวเครื่อง
มีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร, ปุ่มปรับระดับเสียง, รูไมโครโฟน
ช่อง ลำโพงเสียง (สเตอริโอฝั่งซ้าย และมาพร้อมระบบเสียง SRS), พอร์ต Micro USB สำหรับชาร์จแบตเตอรี่และต่อพ่วงอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ , พอร์ต Micro HDMI และพอร์ต USB 3.0 แบบฟูลไซส์
ด้านขวามือของตัวเครื่อง
ช่อง Kensington Lock เพื่อล็อคตัวเครื่องเหมือนกับที่มีใน Notebook ทั่ว ๆ ไป
ลำโพง เสียง (สเตอริโอฝั่งขวา) ช่องใส่ซิมการ์ด (ใช้ซิมชนิด Micro SIM) และถัดไปคือช่องใส่ Micro SD Card สุดท้ายคือปุ่ม Power เปิด-ปิดเครื่อง และมีไฟแจ้งสถานะอยู่ทางด้านข้าง
ด้านบนจะมีไมค์คู่มาให้ใช้งาน
ด้านล่างของตัวเครื่อง มีช่องและตัวพอร์ตที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อด็อกกิ้งคียบอร์ด หรืออุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ที่รองรับ
ด้าน หลังมีโลโก้ DELL ขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง ตัววัสดุฝาหลังจะเป็นโพลีคาร์บอเนต พื้นผิวสัมผัสจะเป็นแบบกึ่งยาง ทำให้การจับถือมีความหนืดกระชับ ไม่ลื่นหลุดมือได้ง่าย ด้านล่างจะเป็นพวกโลโก้ต่าง ๆ รวมถึง tag ของตัว NFC
ด้านหลัง จะมีกล้องหลักที่ให้ความละเอียดมา 8 ล้านพิกเซล และเป็นแบบออโต้โฟกัส จัดวางตำแหน่งอยู่ด้านบนตรงกลางของตัวเครื่อง
เคสคีย์บอร์ดที่เป็นอุปกรณ์เสริม สามารถถอดประกอบให้ใช้งานได้เหมือน Notebook
ตัวฝาพับภายนอกจะเป็นวัสดุที่คล้าย ๆ ผ้าบุด้วยกำมะหยี่ ตัวนี้เป็นเคสด็อกกิ้งแบบแม่เหล็ก
ตัว คีย์บอร์ดมีขนาดบางครับ การกดและการตอบสนองสำหรับผม รู้สึกเฉย ๆ ไม่ประทับใจเมื่อเทียบกับรุ่นอื่น ๆ อย่างเช่น HP หรือ Lenovo ที่เคยได้ลองใช้มา
ที่ตัวเคสคีย์บอร์ดมีทัชแพดมาให้ใช้งานด้วยนะครับ แต่สำหรับปุ่มต่าง ๆ นั้นไม่ได้สกรีนภาษาไทยมาให้ คาดว่าในชุดวางจำหน่ายจริงคงจะรองรับและสกรีนภาษาไทยมาให้เรียบร้อย
การเชื่อมต่อจะเป็นแบบแม่เหล็กยึดติด ซึ่งมีความแข็งแรงแน่หนาที่ดีมาก
ลองคว่ำลงตามภาพก็ไม่หลุดออกมา แต่ห้ามเขย่าแรง ๆ นะครับ เพราะร่วงหลุดลงมา Drop Test อย่างแน่นอนครับผม
เคสคีย์บอร์ดจริง ๆ แล้วมี 2 แบบครับ ตัวนี้จะพับแบบแนวนอนได้เท่านั้น
มีช่องเหน็บปากกามาให้ด้วยนะ แต่ชุดวางจำหน่ายจะไม่แถมตัวปากกามาในแพจเกจ ตรงนี้ต้องควักกระเป๋าซื้อเพิ่มในภาพหลัง
ปกป้องด้านหน้าได้แบบมิดชิด
เมื่อ ใส่เคสคีย์บอร์ดเข้าไปแล้วก็ไม่ได้ทำให้เครื่องหนาหรือหนักเพิ่มขึ้นเท่า ไหร่ เรียกว่าใช้งานได้แบบชิล ๆ เหมือนเดิม ต้องยกความดีให้กับงานออกแบบและตัววัสดุของเคสคีย์บอรฅ์ดครับ
มาดูกันต่อในส่วนของ Software สักเล็กน้อยแบบคร่าว ๆ
Dell Venue 11 Pro มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 Pro แน่นอนว่ามีความยืดหยุ่นและคุณสมบัติที่ดีกว่าพวก Single Language ครับ และสามารถอัพเกรดไปใช้ Windows 10 ได้อย่างแน่นอน
Storage ความจุ 256GB เหลือพื้นที่ให้ใช้งานจริงประมาณ 206GB ครับ
สำ หรับแอพพื้นฐานของตัว Windows 8.1 นั้นก็มีมาให้ใช้งานตามปรกติครับ และนอกจากนี้ยังมีบันเดิลแอพที่เป็น 3rd party หรือแอพเฉพาะจากทางค่าย Dell มาให้ใช้งานอีกนิดหน่อย แต่ก็ไม่ได้โดดเด่นหรือชูเป็นจุดขายได้แต่อย่างใด จึงขอละไว้ ไม่ลงรายละเอียดละกันนะครับ
Dell Venue 11 Pro ขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผล CPU Intel Core M-5Y71 (Dual-Core) ความเร็ว 1.2 GHz การใช้งานทั่ว ๆ ไป ก็ให้ความลื่นไหลที่ดีมาก แต่ทั้งนี้ ถ้าเล่นเกม หรือ ตัดต่อวีดีโอ หรือกิจกรรมที่ต้องการการประมวลผลหนัก ๆ ก็คงสู้ตระกูล Intel Core i ไม่ได้ แต่ถ้าเทียบกับพวก Atom แล้ว จะแรงกว่าพอสมควรเลยครับ
ทดสอบ ประสิทธิภาพด้วยโปรแกรม 3DMARK 11 ได้คะแนนไปที่ 668 ซึ่งแรงพอตัว เมื่อเทียบกับ CPU ตระกูล Atom แล้ว แรงกว่ากันอย่างเห็นได้ชัดครับ
ตัวอย่างภาพจากกล้อง Dell Venue 11 Pro
กล้องหน้า
สรุป Dell Venue 11 Pro
จุดเด่น
1. วัสดุและงานประกอบแข็งแรง
2. มีพอร์ตเชื่อมต่อต่าง ๆ มาให้ใช้งานอย่างครบถ้วน
3. รองรับการใช้งาน Data ทั้ง 3G และ 4G และมี NFC มาให้อีกด้วย
4. การทำงานในภาพรวมมีความลื่นไหลที่ดีมาก และแบตเตอรี่ก็อึดพอประมาณ
ข้อสังเกต
1. ตัวเครื่องหนักไปหน่อย ถือด้วยมือเดียวเมื่อยและไม่ถนัด
2. การเชื่อมต่อ WiFi ไม่ค่อยเสถียร มีหลุดเป็นระยะ ๆ
3. กล้องหลังแม้จะเป็นออโต้โฟกัส แต่ก็จับโฟกัสยาก แถมคุณภาพก็ยังไม่โดนสักเท่าไหร่
ก็ขอจบการอันบอกซ์และพรีวิว Dell Venue 11 Pro ไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ ^^
สามารถพูดคุยเกี่ยวกับบทความนี้ได้ที่หน้าเว็บบอร์ดเดิมครับ pdamobiz.com