Acer Liquid Z630 เป็นอีกหนึ่งรุ่นของตลาด Mid-end ที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เริ่มจากตัวสเปคที่ค่อนข้างครบครัน ในราคาที่สมเหตุสมผล และเป็นรุ่นที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่เน้นความเป็นเอนเตอร์เทนได้อย่าง ลงตัว ทั้งหน้าจอขนาด 5.5 นิ้ว แบตเตอรี่ความจุสูงถึง 4000 mAh รวมไปถึงรองรับการใช้งาน 2 ซิมการ์ด ฯลฯ เป็นต้น หลังจากที่ชมคลิปแกะกล่องกันไปแล้ว คราวนี้มารับชมกันต่อกับ Full Review ครับ
ขอขอบคุณ acer Thailand สำหรับเครื่องทดสอบและใช้ในการเขียนบทความนี้ครับ
สเปคเบื้องต้นแบบย่อ ๆ ของ Acer Liquid Z630
~ OS : เปิดตัวมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Android 5.1 (Lollipop)
~ ชิปเซ็ต : CPU Mediatek MT6735 (Quad-core) ความเร็ว 1.3GHz
~ หน่วยประมวลผลกราฟฟิก : GPU Mali-T720
~ ROM 16GB และรองรับหน่วยความจำภายนอก MicroSD card ได้สูงสุด 128GB
~ RAM 2GB
~ จอแสดงผลชนิด IPS ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด HD 720 x 1280 pixels (~267 ppi pixel density)
~ การเชื่อมต่อ 2G : 850 / 900 / 1800 / 1900 MHz
~ การเชื่อมต่อ 3G : WCDMA 900 / 1900 / 2100 MHz
~ การเชื่อมต่อ 4G LTE: 800 / 1800/ 2100/ 2600 MHz
~ รองรับการใช้งานในระบบ 2 ซิมการ์ด
~ การเชื่อมต่อ Wi-Fi 802.11 a/b/g/n , Bluetooth V. 4.0 , GPS/A-GPS/
~ กล้องหลักด้านหลังความละเอียด 8 ล้านพิกเซล พร้อมแฟลช LED 1 ดวง
~ กล้องด้านหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล
~ ขนาดตัวเครื่อง 156.3 x 77.5 x 8.9 mm มิลลิเมตร
~ น้ำหนัก 169 กรัม
~ แบตเตอรี่ Li-Ion ความจุ 4000 mAh
ราคาวางจำหน่าย 6,990 บาท
สเปคโดยละเอียดสามารถดูได้จาก official page Acer Liquid Z630 specification
มาทำการอันบ็อกซ์กันเลยนะครับ
กล่องแพ็กเกจด้านหน้าพิมพ์รูปตัวเครื่องและชื่อรุ่นไว้ให้เห็นเป็นที่สะดุดตา
ด้านข้างจะบอกจุดเด่นเบื้องต้นไว้พอสังเขป
รวมไปถึงด้านหลังกล่องก็เช่นกัน
เปิดกล่องออกมาจะเจอตัวเครื่อง Acer Liquid Z630 นอนรออยู่ในถาดรองเป็นลำดับแรก
ลองแง้มดูภายในกล่องว่าให้อะไรมาบ้าง
เมื่อเทกระจาดออกมาก็จะมีตามนี้ครับ 1. คู่มือการใช้งานอย่างย่อ และใบรับประกันสินค้า
2. อแดปเตอร์ชาร์จไฟ ชนิดขาแบน ให้ Output มาที่ 1.35A + สายไมโครยูเอสบี
3. ชุดหูฟังสมอลทอร์คแบบอินเอียร์ (ไม่มีจุกยางสำรองมาให้)
แบตเตอรี่ขนาดความจุ 4000mAh
ตัวแบตแม้จะมีขนาดใหญ่ แต่ก็ค่อนข้างบางและมีน้ำหนักเบาครับ
แถม ฟลิบเคสมาด้วย โดยด้านหน้าจะเป็นวัสดุที่ดูแล้วน่าจะเป็นหนังเทียม มีโลโก้ acer อยู่ด้านล่าง ส่วนด้านหลังวัสดึจะเป็นพลาสติก มีโลโก้ acer ขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางและโลโก้ dts อยู่ด้านล่าง
ด้านในของตัวเคส
ก่อนที่จะสำรวจรอบตัวเครื่อง มาพูดถึงภาพรวมของ “วัสดุ ดีไซน์ และงานประกอบ” กันสักเล็กน้อยครับ
วัสดุ หลักของ Acer Liquid Z630 จะเป็นโพลีคาร์บอเนต หรือพลาสติกนั้นเอง และมีการตัดขอบข้างด้วยเส้นขอบที่เป็นวัสดุโลหะ ในด้านงานประกอบ ด้วยความที่ไม่ได้เป็นยูนิบอดี้ และสามารถถอดฝาหลังได้ โดยรวม Z630 มีงานประกอบแข็งแรงเรียบร้อยดี แต่ไม่ถึงกับเนี๊ยบแบบเต็มร้อยนะ เพราะยังมีบางจุดที่ผมคิดว่าควรจะทำได้ดีกว่านี้ เช่นเรื่องรอยต่อระหว่างฝาหลังกับตัวบอดี้เป็นต้น
ในแง่ของดีไซน์ จะเน้น curve โดยรอบที่เห็นค่อนข้างชัดเจน และในส่วนของฝาหลังจะมี Texture ในแบบ brush metal ซึ่งดูสวยงามดี แถมตัววัสดุยังไม่ค่อยเก็บลายนิ้วมือ และสามารถทำความสะอาดได้ง่ายอีกด้วย
จากนี้มาทำการสำรวจ Hardware รอบตัวเครื่องของ Acer Liquid Z630 กันต่อเลยนะครับ
เริ่มจากด้านบนของตัวเครื่อง จะมีเพียงช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม.
ด้านล่างจะเป็นพอร์ตไมโครยูเอสบี ซิงค์และชาร์จไฟ
ด้านซ้ายจะเรียบ ๆ ไม่มีพอร์ตหรือปุ่มใด ๆ
สำหรับด้านขวาจะประกอบไปด้วย ปุ่มเพิ่ม-ลด ระดับเสียง และปุ่ม Power เปิด-ปิดเครื่อง
มา ดูกันต่อที่ด้านหน้าของตัวเครื่อง Acer Liquid Z630 มาพร้อมกับหน้าจอ IPS ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด HD 720P ในภาพรวมตัวจอนั้นสว่างสดใส มีมุมมองที่กว้างในสไตล์ของพาเนล IPS แต่ความละเอียดอาจจะน้อยไปสักนิด ถ้ามาพร้อมกับความละเอียด Full HD จะเพอร์เฟกต์เลยครับ
สำรวจ กันต่อในส่วนหน้าของด้านบน ไล่จากซ้ายไปขวา ไฟแจ้งเตือน LED Notification จะอยู่ด้านซ้ายมือสุด สำหรับลำโพงสนทนาจะมาในดีไซน์ตะแกรงทรงกลม และถัดไปจะเป็นที่อยู่ของชุดเซ็นเซอร์ สุดท้าย ทางด้านขวามือสุดจะเป็นที่อยู่ของกล้องหน้า ที่ให้ความละเอียดมาถึง 8 ล้านพิกเซลครับ
ปุ่ม back, Home, Recent, 3 ปุ่มมาตรฐานของแอนดรอยด์จะเป็นแบบ On Screen รวมอยู่ในหน้าจอ
ด้านหลังของตัวเครื่อง
กล้อง หลักความละเอียด 8 ล้านพิกเซล มีไฟ LED Flash มาให้ใช้งาน 1 ดวง ถัดลงมาคือไมค์ที่ใช้ในการตัดเสียงรบกวน รวมไปถึงเป็นไมค์ที่ใช้ในการบันทึกเสียงด้วย
ลำโพงมีเดีย หรือลำโพงหลักของตัวเครื่องที่มาพร้อมกับระบบเสียง dts Studio Sound
สามารถถอดฝาหลัง เพื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่และใส่ซิมการ์ด + หน่วยความจำภายนอก
รองรับการใช้งาน 2 ซิมการ์ด และใช้ Micro Sim ทั้ง ซิม 1-2 ครับ
ลองเทียบขนาดกับ Note 4 และ i-mobile IQZ Bright
ตัว เครื่อง Acer Liquid Z630 บางอยู่ที่ 8.9 มม. ซึ่งอยู่ในระดับกลาง ๆ ที่ยอมรับได้ คือไม่บางและไม่หนาจนเกินไป การจับถือและพกพาก็ไม่ลำบากอะไรมากนัก
ภาพรวม ๆ ในส่วนของ Hardware ภายนอกก็จะมีประมาณนี้ครับ
มาดูกันต่อในส่วนของ Software แบบคร่าว ๆ กันนะครับ
Acer Liquid Z630 เปิดตัวมาพร้อมกับ Android 5.1 (Lollipop)
สำหรับพื้นที่ของ ROM 16GB จะเหลือให้ใช้งานจริงราว ๆ 10GB
ตัว UI จะมีการปรับแต่งนิดหน่อย โดยหลัก ๆ ยังคงใช้พื้นฐานจาก Pure Android
หน้า App drawer จัดเรียงไอค่อนในแบบ 4×5 ในฝั่งของ Software ที่บันเดิลมาก็จะมีตามที่เห็น โดยแยกเป็น Google apps และ third party apps
นอกจากนี้แอพของทางค่ายเช่น Acer BYOC (Build Your Own Cloud) ก็มีมาให้ใช้งานอย่างครบถ้วน
ใน หน้า Home เมื่อปัดนิ้วจากด้านซ้ายมาขวา จะเป็นการเปิดหน้า Acer Liquid Home ซึ่งหลักการทำงานก็คล้าย ๆ กับ BRIEFING ที่มีอยู่ในมือถือค่ายซัมซุงนั่นเอง เพียงแต่ Acer Liquid Home จะมีความยืดหยุ่นและปรับตั้งค่าการแสดงคอนเทนต์ได้หลากหลากว่า
Quick Mode จะเป็นการปรับการแสดงผลของหน้าหลักหรือหน้า Home ได้ถึง 3 โหมดด้วยกัน ประกอบไปด้วย Standard Mode , Easy Mode , Basic Mode
Acer Aid Kit จะเป็นชุดเครื่องมือที่รวบรวม Tools ในการดูและระบบต่าง ๆ เช่น เคลียร์แรม ลบไฟล์ขยะ เปิดใช้โหมดประหยัดพลังงาน และสำรองข้อมูลเป็นต้น
float app จะเป็นการเรียก Pop-Up แอพ ซึ่งจะประกอบไปด้วย 4 แอพหลักของตัวเครื่อง คือโทรศัพท์, ปฏิทิน, เครื่องคิดเลข, สมุดโน๊ต ให้ทำงานได้บนหน้าแอพพลิเคชั่นอื่น ๆ
สำหรับฟีเจอร์ที่น่าสนขอยกมาเป็นบางส่วนนะครับ เริ่มจาก
1.Quick Touch เป็นการวาดบนหน้าจอในขณะเครื่องเข้าโหมดสแตนบาย เพื่อเรียกใช้งานแอพพิเคชั่นต่าง ๆได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
2. DTS Studio Sound จำลองระบบเสียง dts ซึ่งรองรับทั้งผ่านลำโพงและชุดหูฟัง
Acer Bluelightshield เป็นระบบตัดแสงสีฟ้า เพื่อช่วยถนอมสายตา และ LumiFlex จะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การแสดงผลในกลางแจ้งยังสามารถรับชมได้อย่างชัดเจน
Acer SnapNote เป็นแอพกล้องที่ช่วยให้การบันทึกเอกสารเป็นเรื่องง่าย โดยสามารถบันทึกไฟล์เป็น PDF ได้อีกด้วย
ภาคเอนเตอร์เทน มี FM มาให้ใช้งาน แต่แน่นอนคือต้องใช้หูฟังเพื่อเป็นเสาอากาศเหมือนเช่นเคย
การ เล่นไฟล์วีดีโอ ขอแยกประเด็นในเรื่องของ มุมมองจอภาพ และตัวลำโพงนะครับ ในส่วนของจอภาพนั้นมีมุมที่ดี สามารถใช้งานได้ทุกสภาพแสง สำหรับคุณภาพของลำโพงอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เปิดสุดเสียงไม่แตกพร่า แต่ความดังยังไม่โดดเด่นอะไร
ในส่วนของภาพรวมคร่าว ๆ ของฝั่ง Software ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ครับ
Hardware Test & Performance
จากนี้มาดูกันต่อในส่วนของผลการทดสอบประสิทธิภาพของตัวเครื่อง Acer Liquid Z630 กันต่อเลยครับ
ผลทดสอบความเร็ว Benchmark ด้วย AnTuTu Benchmark ได้ 26526 คะแนน
ผลทดสอบความเร็ว Benchmark ด้วย Quadrant Standard ได้ 11452 คะแนน
ผลทดสอบจาก PCMark ได้คะแนน 3479
ส่วน 3DMark ได้คะแนนที่ 123
Geekbench 3 ทำคะแนนในส่วนของ Single Core ที่ 594 และ Multi Core ได้ 1734
FXBench GL Benchmark ได้คะแนน Best Score – 259 Frames
ผลทดสอบความเร็ว ด้วย Velamo (Metal) ได้ 1025 คะแนน
ผลทดสอบประสิทธิภาพความเร็วด้วย Velamo (Multicore) ได้ 1327 คะแนน
ผลทดสอบประสิทธิภาพความเร็วด้วย Velamo (Browser ) ได้ 1861 คะแนน
ผลทดสอบประสิทธิภาพความเร็วด้วย Velamo (Chrome Browser) ได้ 2160 คะแนน
ผลทดสอบประสิทธิภาพกราฟิกด้วย NenaMark 2 ได้ 62.7 เฟรม/วินาที
ภาครับ สัญญาณของ GPS ทำได้รวดเร็วพอประมาณครับ ทดสอบการจับสัญญาณโดยที่ไม่เชื่อมต่อดาต้า ทั้งในอาคารและนอกสถานที่ก็ไม่พบปัญหาแต่อย่างใด
ผลทดสอบระบบสัมผัสหน้าจอแบบ Multitouch ได้สูงสุด 5 จุด
เซ็นเซอร์บน Acer Liquid Z630 เมื่อใช้โปรแกรม Android Sensor Box ตรวจสอบก็จะมีดังนี้
Accelerometer Sensor
Light Sensor
Orientation Sensor
Proximity Sensor
Sound Sensor
Magnetic Sensor
มาดูกันต่อในส่วนของคุณภาพรูปถ่ายจากกล้อง Acer Liquid Z630
สำหรับกล้องหน้าจะมาพร้อมกับความละเอียด 8 ล้านพิกเซล
ส่วนกล้องหลักด้านหลังให้ความละเอียดมา 8 ล้านพิกเซลเท่ากัน และมีไฟแฟลชมาให้ใช้งาน 1 ดวง
ฟีเจอร์เด่นที่น่าสนใจก็คือการรองรับคำสั่ง เสียง Voice Control ที่ไม่ใช่แค่สั่งให้ถ่ายรูปเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถเลือกโหมดการถ่ายได้อีกด้วย และโหมด Bright Magic (มีปุ่มอยู่ข้าง ๆ ชัตเตอร์ด้วย) ที่จะช่วยให้ภาพมีความสว่างใสเคลียร์ขึ้นมาอีกนิด โดยผลลัพธ์จะต่างกับการใช้งาน HDR ครับ และสุดท้ายสามารถเลือกการโฟกัสและแยกวัดแสงได้จากบนหน้าจอโดยตรงครับ
เมนูอินเทอร์เฟซกล้องของ Acer Liquid Z630 สามารถเรียกเมนูย่อยได้ที่ปุ่ม > ตรงมุมขวาบน
มี โหมดต่าง ๆ ให้ใช้งานอย่างหลากหลาย เช่น Panorama, Beatuification, Bright Magic, Smile Shutter, Picture with sound, Multi angle View, Presentation, Gourmet
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงซีนโหมดและ Effect ที่สามารถเรียกใช้งานได้จากแผงควบคุมเดียวกัน
สำหรับการบันทึกวีดีโอจะรองรับความละเอียดสูงสูดที่ Full HD สามารถตั้งค่าป้องกันการสั่นไหวและลดนอยส์ได้ในโหมดวีดีโอ
จากนี้มาดูรูปถ่าย Sample กันได้เลย โดยเน้นใช้งานในโหมดออโต้เหมือนเช่นเคยนะครับ
อัตราส่วน 16:9
อัตราส่วน 4:3 Normal mode
HDR mode
Normal mode
HDR mode
Normal mode
HDR mode
ทดสอบคุณภาพกล้องหน้า ด้วยโหมดบิวตี้
สรุปในส่วนของกล้อง บน Acer Liquid Z630
คุณภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีครับ การโฟกัสและการบันทึกก็ทำได้อย่างรวดเร็ว แต่คุณภาพในโหมดออโต้ ส่วนใหญ่ภาพจะติด Under สักเล็กน้อย ส่วนกล้องหน้าให้ความคมชัดที่ดีมาก และ Software ของตัวกล้องสามารถปรับตั้งค่าได้ยืดหยุ่น แถมมีโหมดการถ่ายภาพมาให้ใช้งานใช้งานอย่างครบครัน
สรุป Acer Liquid Z630
ข้อดี
1. สเปคต่อราคาจัดเป็นอีกหนึ่งรุ่นที่คุ้มค่ามาก
2. ตอบโจทย์ผู้ใช้งานด้านเอนเตอร์เทนได้อย่างลงตัว ทั้งดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม
3. คุณภาพกล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทั้งกล้องหน้าและหลัง
4. แบตเตอรี่ความจุสูง และสามารถใช้งานเป็น Power Bank ได้อีกด้วย
สิ่งที่ต้องพิจารณา
1. ไม่รองรับ 3G คลื่น 850MHz
2. งานประกอบในบางจุดยังไม่เรียบร้อยเท่าที่ควร
ก็คงจะฝากไว้แต่เพียงเท่านี้ สำหรับรีวิว Acer Liquid Z630 แล้วพบกันใหม่ในรีวิวทดสอบด้านเอนเตอร์เทนครับ
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ ^^
สามารถพูดคุยเกี่ยวกับบทความนี้ได้ที่หน้าเว็บบอร์ดเดิมครับ pdamobiz.com