Unboxing แกะกล่อง & รีวิว Wiko Fever 4G สมาร์ทโฟนเรืองแสง สเปคแจ่มในราคาจับต้องได้

 รับชมแกะกล่องกันไปในรูปแบบวีดีโอแล้ว http://goo.gl/nuEgPw  คราว นี้มารับชมกันต่อแบบ Full Review เหมือนเช่นเคยครับ ทั้งการแกะกล่องและผลทดสอบ Benchmark รวมไปถึงคุณภาพรูปถ่ายจากกล้องหน้า-หลังของ Wiko Fever 4G และเพื่อไม่ให้เสียเวลามาติดตามรับชมกันได้เลยครับ

ขอขอบคุณ Wiko Thailand สำหรับเครื่องทดสอบและใช้ในการเขียนบทความนี้ครับ

สเปคเบื้องต้นแบบย่อ ๆ ของ Wiko Fever 4G

~ OS : เปิดตัวมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Android 5.1 (Lollipop)
~ ชิปเซ็ต : CPU MediaTek MT6753 (Octa Core) ความเร็ว 1.3GHz
~ ROM 16GB และรองรับหน่วยความจำภายนอก MicroSD card ได้สูงสุดที่ 64GB
~ RAM 3GB
~ จอแสดงผลชนิด IPS ขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด Full HD 1080P, Full Lamination, Corning Gorilla® Glass 3
~ การเชื่อมต่อ 2G : 850/900/1800/1900 MHz
~ การเชื่อมต่อ 3G : 850/900/2100 MHz
~ การเชื่อมต่อ 4G LTE 800/1800/2100/2600
~ รองรับการใช้งานในระบบ 2 ซิมการ์ด
~ การเชื่อมต่อ Wi-Fi 802.11 a/b/g/n , Bluetooth V. 4.0
~ กล้องหลักด้านหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล + แฟลช + ระบบโฟกัส PDAF
~ กล้องด้านหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล + แฟลช
~ ขนาดตัวเครื่อง 148×73.8×8.3 มิลลิเมตร
~ น้ำหนัก 143 กรัม
~ แบตเตอรี่ Li-Po ความจุ 2900 mAh

ราคาวางจำหน่าย 6,990 บาท

สเปคโดยละเอียดสามารถดูได้จาก official page Wiko Fever 4G specification

มาทำการอันบ็อกซ์กันเลยนะครับ


กล่องแพ็กเกจด้านหน้าพิมพ์รูปตัวเครื่องไว้ลาง ๆ แต่จะเน้นจุดขายตรงที่เรืองแสงได้


ด้านหลังจะบอกจุดเด่นและสเปคเบื้องต้นไว้พอสังเขป


เปิดกล่องออกมาจะเจอตัวเครื่อง Wiko Fever 4G นอนรออยู่ในถาดรองและรวมไปถึงพวกอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ให้มาอย่างครบครัน


มาดูกันว่าให้อะไรมาบ้าง 1.คู่มือการใช้งานอย่างย่อ และอแดปเตอร์แปลงซิม 3 ขนาด


ฮาร์ดเคสแบบใสและฟิลม์กันรอยตรงรุ่น


2. อแดปเตอร์ชาร์จไฟ ชนิดขากลม ให้ Output มาที่ 1A + สายไมโครยูเอสบี

3. ชุดหูฟังสมอลทอร์คแบบอินเอียร์ (ไม่มีจุกยางสำรองมาให้)


“วัสดุ ดีไซน์ และงานประกอบ”

วัสดุหลักของ Wiko Fever 4G จะเป็นการผสานด้วยโพลีคาร์บอเนต+โลหะ และกระจก เข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยหน้าจอจะเป็นกระจกโค้ง 2.5D จากCorning® Gorilla® Glass 3 ส่วนขอบเฟรมของตัวเครื่องเป็นโลหะ


ตัว ฝาหลังจะเป็นพลาสติกที่ทำลายให้ดูคล้าย ๆ หนัง ในแง่ของดีไซน์ ไม่ได้ฉีกไปจากรุ่นอื่นๆ ภายค่ายเท่าไหร่ แต่ภาพรวมขอบอกว่าดูกลมกลืนและจับถือได้กระชับถนัดมือดี ส่วนที่จะติคงมีเพียงเรื่องงานประกอยในส่วนของฝาหลังที่ถอดได้ ตรงนี้ยังไม่เนี๊ยบสักเท่าไหร่ ก็จะมีเพียงจุดเดียวที่ผมรู้สึกขัดใจอยู่บ้าง

จากนี้มาทำการสำรวจ Hardware รอบตัวเครื่องของ Wiko Fever 4G กันต่อเลยนะครับ



เริ่มจากด้านบนของตัวเครื่อง จะมีเพียงช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม.


ด้านล่างจะเป็นไมค์สนทนาและพอร์ตไมโครยูเอสบี ซิงค์และชาร์จไฟ


ด้านซ้ายจะเรียบ ๆ ไม่มีพอร์ตหรือปุ่มใด ๆ แต่มีการตัดเส้นขอบด้วยไว้ที่ด้านบนและด้านล่าง ทำให้ดูสวยงามไปอีกแบบ


ด้านขวามือของตัวเครื่อง


ปุ่มเพิ่ม-ลดระดับเสียงและปุ่ม Power


สำหรับด้านล่างตรงนี้จะมีร่องบากที่ใช้ในการแกะตัวฝาหลัง


มา ดูกันต่อที่ด้านหน้าของตัวเครื่อง Wiko Fever 4G  มาพร้อมกับหน้าจอ IPS ขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด Full HD ที่พกเทคโนโลยี Full Lamination ลดช่องว่างระหว่างกระจกและจอแสดงผลให้น้อยที่สุด จึงส่งผลให้หน้าจอตอบสนองในการใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม

สำรวจ กันต่อในส่วนหน้าของด้านบน ไล่จากซ้ายไปขวา โลโก้ Wiko และไฟแจ้งเตือน LED Notification  ถัดมาคือกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล, ไมค์สนทนา, เซ็นซอร์, และไฟแฟลชกล้องหน้า

ปุ่ม back, Home, Recent, 3 ปุ่มมาตรฐานของแอนดรอยด์จะเป็นแบบ On Screen รวมอยู่ในหน้าจอ


ด้านหลังของตัวเครื่อง วัสดุหลักเป็นพลาสติกนะครับ แต่ทำลาย Texture ในสไตล์หนังแท้ครับ แต่ฟิลลิ่งในการสัมผัสก็พลาสติกเหมือนเดิม


กล้องหลักจะให้ความละเอียดมา 13 ล้านพิกเซล มีไฟ LED Flash มาให้ใช้งาน 1 ดวง ที่ให้ความสว่างถึง 240 ลูเมน 

สำหรับจุดเด่นของตัวกล้องหลักก็คือมาพร้อมกับระบบโฟกัสแบบ PDAF หรือ Phase diference auto focus นั่นเอง



ลำโพงมีเดีย หรือลำโพงหลักของตัวเครื่องจะอยู่ที่ด้านล่างครับ


สามารถถอดฝาหลัง เพื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่และใส่ซิมการ์ด + หน่วยความจำภายนอก


รอง รับ 2-3-4G LTE ทุกคลื่นความถี่ในบ้านเรา และใช้งานได้ในแบบ 2 ซิมการ์ด โดยใช้ Micro Sim ทั้ง ซิม 1-2 ครับ ส่วน Micro SD Card รองรับได้ที่ 64GB

มาดูกันต่อในส่วนของ Software แบบคร่าว ๆ กันนะครับ

  
Wiko Fever 4G เปิดตัวมาพร้อมกับ Android 5.1 (Lollipop) 


  
สำหรับ Interface จะมาในสไตล์ iOS ที่รอมจีมสมัยนี้นิยมกันครับ ก็คือไม่มีหน้า Appdrawer นั่นเอง แต่ทาง Wiko ก็ปรับแต่ง UI ได้สวยและมีเอกลักณ์เป็นของตัวเอง

  
ฟีเจอร์ ที่น่าสนใจก็คือ Smart awake และ Smart Gesture แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่ของใหม่อะไร เพราะฟีเจอร์เหล่านี้มีในบางแบรนด์มาอย่างยาวนานแล้วนั่นเอง

 

Hardware Test & Performance 

 
จากนี้มาดูกันต่อในส่วนของผลการทดสอบประสิทธิภาพของตัวเครื่อง Wiko Fever 4G กันต่อเลยครับ

 

 
ผลทดสอบความเร็ว Benchmark ด้วย AnTuTu Benchmark ได้ 33345 คะแนน
ผลทดสอบความเร็ว Benchmark ด้วย Quadrant Standard  ได้ 20306 คะแนน

 
ผลทดสอบจาก PCMark ได้คะแนน 3703

 

 
ส่วน 3DMark ได้คะแนนที่ 182

 
Geekbench 3 ทำคะแนนในส่วนของ Single Core ที่ 617 และ Multi Core ได้ 2732

 
FXBench GL Benchmark ได้คะแนน Best Score – 140 Frames


 
ผลทดสอบความเร็ว ด้วย Velamo (Metal) ได้ 1071 คะแนน
ผลทดสอบประสิทธิภาพความเร็วด้วย Velamo (Multicore) ได้ 1514 คะแนน
ผลทดสอบประสิทธิภาพความเร็วด้วย Velamo (Android WebView) ได้ 2375 คะแนน
ผลทดสอบประสิทธิภาพความเร็วด้วย Velamo (Chrome Browser) ได้ 2606 คะแนน


ผลทดสอบประสิทธิภาพกราฟิกด้วย NenaMark 2 ได้ 56.6 เฟรม/วินาที

 
ภาครับ สัญญาณของ GPS ทำได้รวดเร็วพอประมาณครับ ทดสอบการจับสัญญาณโดยที่ไม่เชื่อมต่อดาต้า ทั้งในอาคารและนอกสถานที่ก็ไม่พบปัญหาแต่อย่างใด

 
ผลทดสอบระบบสัมผัสหน้าจอแบบ Multitouch ได้สูงสุด 5 จุด

เซ็นเซอร์บน Wiko Fever 4G เมื่อใช้โปรแกรม Android Sensor Box ตรวจสอบก็จะมีดังนี้

Accelerometer Sensor
Light Sensor
Orientation Sensor
Proximity Sensor
Gyroscope Sensor
Sound Sensor
Magnetic Sensor

 

มาดูกันต่อในส่วนของคุณภาพรูปถ่ายจากกล้อง Wiko Fever 4G

สำหรับกล้องหน้าจะมาพร้อมกับความละเอียด 5 ล้านพิกเซล และมีไฟแฟลชกล้องหน้ามาให้ใช้งานอีกด้วย

ส่วนกล้องหลักด้านหลังให้ความละเอียดมา 13 ล้านพิกเซล มีไฟแฟลชมาให้ใช้งาน 1 ดวง + ระบบโฟกัส PDAF


Interface กล้องของค่ายนี้ ออกแบบได้เรียบง่ายไม่รก และสามารถเรียกใช้งานโหมดต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก


โหมด การถ่ายภาพมีมาให้ใช้งานครบถ้วน ทั้ง Panorama Nihht Professional HDR DualView Face Beauty Sport เพียงต่อการใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน


โหมดการตั้งค่าก็เรียบง่าย ดูสบายตาสามารถปรับตั้งค่าได้สะดวกรวดเร็วดีครับ

 
เมนู กล้องหน้าเน้นเซลฟี่แบบจัดเต็ม ทั้งไฟแฟลชกล้องหน้าและรวมไปถึงโหมดเซลฟี่ของกล้องหน้าก็มีควายืดหยุ่นในการ ใช้งานที่ดีมาก น่าจะถูกใจสาว ๆ ครับ

จากนี้มาดูรูปถ่าย Sample กันได้เลย โดยเน้นใช้งานในโหมดออโต้เหมือนเช่นเคยนะครับ


Normal Mode


HDR Mode


Night Mode

 
Beauty mode ระดับ 1 และ 2


Beauty mode ระดับ 3

สรุปในส่วนของกล้อง บน Wiko Fever 4G

ระบบโฟกัส PDAF เริ่มเป็นกระแสโปรโมตมาตั้งแต่ช่วงกลาง ๆ ปี หลายแบรนด์จึงนำมาเป็นจุดขาย แต่เท่าที่ได้สัมผัสส่วนใหญ่จะตกม้าตายในเรื่องของตัว Software ครับ ซึ่งบอกลยว่า PDAF ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของคุณภาพ หากยังคุมตัว Software ไม่ได้

แต่สำหรับ Wiko Fever 4G ทำให้ผมแปลกใจและประทับใจไปพร้อมๆกัน เพราะคุณภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีครับ แถมการโฟกัสก็ไม่ช้าหรือวืดวาดแบบบางแบรนด์ที่ผมเคยสัมผัสมา เรียกว่าทำการบ้านมาดีเลย สำหรับ Software กล้องของ Wiko Fever 4G ถ้าถามถึงคุณภาพโดยรวม ขอตอบว่า สอบผ่านแบบสบาย ๆ  ทั้งตัวกล้องหน้าและหลัง ยิ่งเทียบในระดับราคานี้ในท้องตลาด ณ ปัจจุบันด้วยแล้ว  Wiko Fever 4G  จัดว่าเป็นอีกรุ่นที่มีคุณภาพกล้องดีมาก ๆ ครับ

สรุป Wiko Fever 4G

ข้อดี

1. สเปคต่อราคาจัดเป็นอีกหนึ่งรุ่นที่คุ้มค่ามาก
2. รองรับ 3-4G ทุกคลื่นความถี่ในบ้านเรา
3. คุณภาพกล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทั้งกล้องหน้าและหลัง


สิ่งที่ต้องพิจารณา

1. ชูจุดขายในเรื่องเรืองแสง แต่ในการใช้งานจริง เป็น gimmick ที่ Fail มากครับ
2. งานประกอบในบางจุดยังไม่เรียบร้อยเท่าที่ควร เช่นในส่วนของตัวฝาหลัง


ก็คงจะฝากไว้แต่เพียงเท่านี้ สำหรับรีวิว Wiko Fever 4G แล้วพบกันใหม่ในรีวิวทดสอบด้านเอนเตอร์เทนครับ


สุดท้ายนี้ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ ^^

สามารถพูดคุยเกี่ยวกับบทความนี้ได้ที่หน้าเว็บบอร์ดเดิมครับ โดยคลิ๊กที่ลิงก์นี้ครับ >>> pdamobiz.com

 



ถูกใจบทความนี้  0