ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยเทรนด์ 2020 IoT ช่วยพลิกโฉมธุรกิจให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

April 13

  กรุงเทพฯ – วันที่ 11 เมษายน 2559 – ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชัน เผยผลการรายงานธุรกิจ IoT 2020 ที่มีใจความเกี่ยวกับการคาดการณ์ของบริษัทฯ ว่าด้วยเรื่องที่องค์กรขนาดใหญ่จะนำเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ IoT มาใช้เป็นเครื่องมือทางธุรกิจกันอย่างจริงจังภายในปี 2020 

 April 1

“เราเลยจุดของการตั้งคำถามว่า IoT จะให้ประโยชน์อะไรบ้าง เพราะองค์กรธุรกิจในปัจจุบันต้องอาศัยการตัดสินใจอย่างมีข้อมูลเพื่อหาจุดยืนขององค์กรในการนำ IoT มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในองค์กร” ดร. พริธ บาเนอร์จี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว “รายงานธุรกิจ IoT 2020 ของเรา ออกแบบมาเพื่อเป็นแนวทางสำหรับเรื่องของนวัตกรรมและการติดตั้ง IoT เพื่อช่วยให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุด ตามพัฒนาการของตลาดใน 5 ปีข้างหน้า และยังเป็นสิ่งที่สะท้อนความมุ่งมั่นในการนำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยให้มั่นใจว่าชีวิตผู้คนจะดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องทุกแห่งหน สำหรับทุกคน ในทุกช่วงเวลา”      

จากผลสำรวจ IoT ทั่วโลก ในกลุ่มผู้นำธุรกิจนับ 3,000 รายใน 12 ประเทศ รวมถึงเสียงสะท้อนจากลูกค้าและคู่ค้า ยังเป็นส่วนสนับสนุนการคาดการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงคุณค่า ประโยชน์ ที่ทั้งภาคองค์กร และคนทั่วไปจะได้รับจาก IoT ในทันที

ดร. บาเนอร์จี กล่าวเสริมว่า “แม้ IoT จะอยู่ในกระแสของการกล่าวอ้างถึงมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว กระทั่งผลการสำรวจก็แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี IoT ให้ประโยชน์กับธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมและทั่วภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง”

 

April 12

การคาดการณ์ต่อไปนี้ ใช้เป็นแนวทางเพื่อที่ผู้นำธุรกิจสามารถคาดได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในเวลาที่ตลาดพัฒนาไปข้างหน้า

1.       คลื่นลูกใหม่ของการพลิกโฉมสู่ดิจิตอล IoT เป็นการผสานรวมโลกของ OT และ IT เข้าด้วยกัน พร้อมขับเคลื่อนคนทำงานสู่ระบบโมบายและดิจิตอล เนื่องจากมีบริษัทจำนวนมากที่ต้องการขยาย และลงลึกในเรื่องโปรแกรมการเปลี่ยนระบบงานทั่วองค์กรไปสู่ดิจิตอลกันมากยิ่งขึ้น ดังนั้น IoT จึงมีบทบาทสำคัญ ซึ่งคลื่นลูกใหม่ของการพลิกโฉมจะเกิดขึ้นด้วยเซ็นเซอร์ที่ “เชื่อมต่อ” กันได้มากยิ่งขึ้น โดยฝังระบบอัจฉริยะพร้อมระบบควบคุมไว้ในตัว มีระบบเครือข่ายการสื่อสารหลากหลายช่องทาง ให้ความรวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบคลาวด์ พร้อมให้ความสามารถล้ำหน้าด้านการวิเคราะห์ข้อมูล

2.       ให้ข้อมูลเชิงลึกยิ่งขึ้น  IoT จะแปลงข้อมูลที่ยังไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน เป็นมุมมองที่ลึกยิ่งขึ้น ช่วยให้องค์กรยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าไปอีกขั้นหนึ่ง เมื่อต้องนำเสนอประโยชน์ของ IoT ให้กับลูกค้า นอกเหนือจากที่องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่จะชี้ประเด็นไปที่ประโยชน์ในเรื่องของประสิทธิภาพและการประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก  รวมถึงการเข้าถึงข้อมูล ทั้งข้อมูลที่ยังไม่เคยมีการนำมาใช้งานมาก่อน และความสามารถในการแปลงข้อมูลไปเป็นมุมมองเชิงลึกที่นำมาใช้งานได้จริง ลักษณะเด่นของ IoT จะนำไปสู่การพลิกโฉมการบริการลูกค้า รวมถึงการนำมาซึ่งโอกาสใหม่ในการสร้างแบรนด์/ การสร้างความพึงพอใจและความภักดีในบริการ

3.       ให้ความมั่นใจ จากระบบเดิม สู่ระบบคลาวด์  IoT จะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบให้ดียิ่งขึ้น ทั้งเรื่องของระบบคอมพิวติ้งแบบผสมผสาน หรือ hybrid computing ช่วยให้ความสามารถในการทำงานร่วมกับระบบอื่นได้ อีกทั้งยังผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและอุตสาหกรรมในเรื่องของมาตรฐานสถาปัตยกรรมระดับโลก ที่ตอบโจทย์ความกังวลใจเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ ในขณะที่โซลูชัน IoT บนคลาวด์จะเติบโตมากยิ่งขึ้น หากยังไม่มีสถาปัตยกรรมคอมพิวติ้งแบบเดี่ยวที่จะผูกขาดการนำเสนอเพียงรายเดียวได้ ทั้งนี้  IoT จะเฟื่องฟูไปทั่วทุกระบบ ทั้งในส่วนที่เชื่อมต่อกับภายนอกและภายในเครือข่ายเอง โดยเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นในระบบพับบลิค หรือไพรเวทคลาวด์เองก็ดี   การทำให้ IoT ใช้งานร่วมกับสภาพแวดล้อมระบบคอมพิวติ้งได้หลากหลายแพลตฟอร์ม จะช่วยให้ผู้ใช้นำโซลูชัน IoT มาใช้ให้เหมาะกับความต้องการด้านธุรกิจ รวมถึงเรื่องความปลอดภัยได้มากที่สุด ในขณะที่ให้เอกลักษณ์ในเรื่องแนวทางในการบริหารจัดการที่เป็นเหตุเป็นผลรองรับระบบโครงสร้างเทคโนโลยีแบบเดิมได้แม้ในภายภาคหน้า จึงช่วยให้เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

4.       นวัตกรรมที่ต่อยอดระบบโครงสร้างพื้นฐานปัจจุบัน  IoT จะทำหน้าที่เป็นแหล่งนวัตกรรม ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจ และสร้างการเติบโตด้านเศรษฐกิจสำหรับองค์กรธุรกิจ ภาครัฐบาล และเศรษฐกิจเกิดใหม่ เฉกเช่นที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม การเกิดอินเตอร์เน็ต และการปฏิวัติไปสู่ระบบโมบายที่ขับเคลื่อนทั้งความก้าวหน้า นวัตกรรมและความเฟื่องฟู ซึ่ง IoT ก็จะเป็นแบบนั้นเช่นกัน  ทั้งองค์กรธุรกิจและเมืองต่างๆ จะมีบริการแบบใหม่ที่เกี่ยวข้องกับ IoT จะเกิดโมเดลธุรกิจแบบใหม่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือจะมีระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เอื้อโอกาสในการนำ IoT มาใช้ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องคำนึงถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิม โดยข้ามผ่านวิถีแบบเดิมๆ อย่างก้าวกระโดด  ซึ่งในความเป็นจริง McKinsey ยังได้มีการคาดการณ์ว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของตลาดโซลูชัน IoT ทั่วโลก จะเกิดจากประเทศที่กำลังพัฒนา

5.       ช่วยให้โลกน่าอยู่ขึ้น โซลูชัน IoT จะถูกนำมาใช้เพื่อตอบโจทย์ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคม หลักๆ IoT จะช่วยให้ประเทศต่างๆ และเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ ต่อสู้กับความท้าทายที่โลกกำลังเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาวะโลกร้อน การขาดแคลนน้ำ และมลพิษ นอกจากนี้ผู้ตอบผลสำรวจยังได้ระบุว่า การใช้ทรัพยากรได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นับเป็นหนึ่งในคุณประโยชน์ที่สังคมจะได้จาก IoT ในภาพรวม  ทั้งภาคธุรกิจเอกชน และภาครัฐบาล ล้วนจะนำ IoT มาช่วยเร่งการใช้งานในโครงการต่างๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้สอดคล้องกับข้อตกลงด้านสภาพอากาศ COP21 ที่ 196 ประเทศต่างให้คำปฏิญาณในการดูแลเรื่องการรักษาสภาวะโลกร้อนให้อยู่ในระดับต่ำสุดคือไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส

ผลสำรวจหลักในทั่วโลก ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการคาดการณ์ยังเผยถึงประเด็นต่างๆ ได้แก่

·        75 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรธุรกิจ มองบวกเกี่ยวกับโอกาสที่ IoT นำพามาในปีนี้ ดังต่อไปนี้

o   การสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า โดย 63 เปอร์เซ็นต์ขององค์กร วางแผนจะใช้ IoT ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าในปี 2016 พร้อมการแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้เร็วขึ้น ให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เหล่านี้ ได้รับการจัดอันดับอยู่ในประโยชน์หลัก 5 อันดับต้นสำหรับธุรกิจ

o   การประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องระบบออโตเมชั่น  ระบบออโตเมชั่นสำหรับอาคารและอุตสาหกรรม เป็นส่วนที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายต่อปีได้สูงสุด (63 และ 62 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ)  ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีออโตเมชั่น จะเป็นอนาคตของ IoT โดยเกือบครึ่ง (42 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ร่วมการสำรวจชี้ว่าองค์กรของตนวางแผนที่จะติดตั้งระบบออโตเมชั่นที่ใช้ IoT ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า

o   โมบายนำเสนอคุณค่าของ IoT  โดย 2 ใน 3 ขององค์กร (67 เปอร์เซ็นต์) วางแผนจะติดตั้ง อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ ผ่านโมบาย แอพพลิเคชัน ในปี 2016  และที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ หนึ่งในสามของผู้ตอบการสำรวจ (32 เปอร์เซ็นต์) วางแผนว่าจะเริ่มใช้ IoT บนโมบายแอพพลิเคชันแบบค่อยเป็นค่อยไปภายใน 6 เดือน โดยชี้ว่าการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 59 เปอร์เซ็นต์นับเป็นสิ่งจูงใจในการติดตั้ง

·        81 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบการสำรวจ รู้สึกว่าความรู้ที่รวบรวมได้จากข้อมูลดิบ และหรือข้อมูลที่ได้จาก IoT นั้นจะถูกนำไปแบ่งปันกันอย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั่วทั้งองค์กร

·        41 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบการสำรวจ มองว่าภัยคุกคามความปลอดภัยบนไซเบอร์เกี่ยวข้องกับ IoT เนื่องจากเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับธุรกิจ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค รวมถึงรายละเอียดผลการรายงานธุรกิจ IoT 2020 ฉบับเต็ม และผลสำรวจ IoT ทั่วโลก สามารถดูได้ที่http://www.schneider-electric.com/b2b/en/campaign/internet-of-things/overview.jsp.

รูปแบบของการสำรวจ

การสำรวจครั้งนี้ จัดทำขึ้นโดย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในเดือนธันวาคม 2015 เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแผนงานที่องค์กรธุรกิจจะนำ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิง มาใช้หรือที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน  ด้วยข้อมูลจากชไนเดอร์ อิเล็คทริค Redshift Research จึงได้จัดสัมภาษณ์ผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจจำนวน 2,597 รายในบริษัทที่มีพนักงาน 100 คนหรือมากกว่า  ทั้งนี้การวิจัยจัดทำขึ้นใน 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล จีน ฝรั่งเศส เยอรมัน อินเดีย อิตาลี รัสเซีย สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา โดยการวิจัยนี้ ได้ให้คำจำกัดความของอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ แก่ผู้ตอบการสำรวจ ในรูปของ 18 คำถามหลากหลายในรูปของปรนัย โดย Redshift Research ร่วมกับ Text100 ในเรื่องการวิเคราะห์คำตอบที่ได้



ถูกใจบทความนี้  0