อินเทลประกาศผลจากงาน อินเทล ไอเซฟ การประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

image002

  กรุงเทพฯ – 17 พฤษภาคม 2559 – บริษัท อินเทล คอร์ปอเรชั่น และ Society for Science & the Public ประกาศผลการประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในปีนี้ ออสติน หวัง อายุ 18 ปี จากเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา เป็นผู้ได้รับรางวัลกอร์ดอน อี. มัวร์ มูลค่า 75,000 เหรียญสหรัฐ จากผลงานการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงจุลชีพ (MFCs) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนของเสียอินทรีย์เป็นพลังงานไฟฟ้า  ส่วนนักเรียนไทยโดยการสนับสนุนของหลายหน่วยงาน ได้แก่ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอกนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น ได้สามารถสร้างชื่อ ประสบความสำเร็จกับการคว้าคว้า 2 รางวัล ในสาขาสัตวศาสตร์ และ 1 รางวัลพิเศษ   

 

 image002

อินเทลประกาศผลจากงาน อินเทล ไอเซฟ การประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ออสติน หวัง จากแคนาดา เจ้าของผลงานพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงจุลชีพที่สามารถเปลี่ยน
ของเสียอินทรีย์เป็นพลังงานไฟฟ้า คว้ารางวัลชนะเลิศมูลค่า 75,000 เหรียญสหรัฐ
นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของไทยสร้างชื่อคว้า 3 รางวัล

สาระสำคัญ
·         อินเทล ไอเซฟ หรือ (Intel International Science and Engineering Fair, a program of Society for Science & the Public) การประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะเป็นที่เรียบร้อยจากเวทีการแข่งขันในในเมืองฟีนิกซ์ มลรัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา
·         ออสติน หวัง จากแคนาดา ได้รับรางวัลกอร์ดอน อี. มัวร์ มูลค่า 75,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ กอร์ดอน อี. มัวร์ นักวิทยาศาสตร์ และผู้ร่วมก่อตั้งอินเทล
·         ไซแมนทัก พายร่า  และเคที่ ลิว จาก สหรัฐอเมริกา คว้ารางวัล Young Scientist Award มูลค่า 50,000 เหรียญสหรัฐจากมูลนิธิอินเทล (Intel Foundation)
·         2 โครงงานของทีมนักวิทยาศาสตร์เยาวชนจากประเทศไทยคว้า คว้า 2 รางวัล ในสาขาสัตวศาสตร์ และ 1 รางวัลพิเศษ

กรุงเทพฯ – 17 พฤษภาคม 2559 – บริษัท อินเทล คอร์ปอเรชั่น และ Society for Science & the Public ประกาศผลการประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในปีนี้ ออสติน หวัง อายุ 18 ปี จากเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา เป็นผู้ได้รับรางวัลกอร์ดอน อี. มัวร์ มูลค่า 75,000 เหรียญสหรัฐ จากผลงานการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงจุลชีพ (MFCs) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนของเสียอินทรีย์เป็นพลังงานไฟฟ้า  ส่วนนักเรียนไทยโดยการสนับสนุนของหลายหน่วยงาน ได้แก่ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอกนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น ได้สามารถสร้างชื่อ ประสบความสำเร็จกับการคว้าคว้า 2 รางวัล ในสาขาสัตวศาสตร์ และ 1 รางวัลพิเศษ

 

ออสติน หวัง นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ผู้ได้รับรางวัลใหญ่ที่สุดในปีนี้ ได้ค้นพบยีนในแบคทีเรียอีโคไลที่ได้รับการพัฒนาทางพันธุกรรม ซึ่งทำให้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทดลองของเขาสามารถผลิตพลังงานได้มากกว่ากระบวนการเซลล์เชื้อเพลิงจุลชีพที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยใช้ต้นทุนที่ใกล้เคียงกับการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งเขาเชื่อว่าการค้นพบนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป

 

อีก 2 นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ผู้คว้ารางวัล Intel Young Scientist Award มูลค่า 50,000 เหรียญสหรัฐ จากมูลนิธิอินเทลได้แก่ ไซแมนทัก พายร่า อายุ 15 ปี จากเมือง เฟรนดส์วูด รัฐเท็กซัสผู้พัฒนาผลงานอุปกรณ์พยุงหัวเข่าแบบไฟฟ้า ซึ่งช่วยให้ผู้มีปัญหาด้านการเดิน สามารถเดินได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งได้มีการนำผลงานชิ้นนี้ไปทดสอบกับผู้ป่วยโปลิโอ ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเดินได้อย่างเป็นธรรมชาติและเคลื่อนไหวได้มากขึ้น และเคที่ ลิว อายุ 17 ปี จากเมืองซอล์ทเลค รัฐยูทาห์ ผู้พัฒนาผลงานการพัฒนาชิ้นส่วนในแบตเตอรี่ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ของเคที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา และยังไม่มีความเสี่ยงจากคุณสมบัติไวไฟเช่นเดียวกับในแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไออน ซึ่งใช้ในเครื่องบิน โทรศัพท์มือถือ หรือในโฮเวอร์บอร์ด

 

“ผู้ชนะเลิศรางวัลใหญ่ของเราในปีนี้ คือ ออสติน ไซแมนทัก และเคที่ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า อายุไม่ใช่อุปสรรคสำหรับการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการวิจัยเพื่อคิดค้นโซลูชั่นสำหรับปัญหาที่มีความสำคัญ เราแสดงความยินดีกับพวกเขาไม่ใช่เพียงแต่ความสำเร็จที่เข้าได้รับในวันนี้ แต่รวมถึงความมานะพยายามในการอุทิศตน นักเรียนที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในการประกวดครั้งนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นดาวรุ่งในวงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ เราต่างรอคอยที่จะเห็นผลงานดีๆ จากความตั้งใจของพวกเขา เพื่อสร้างโลกที่ดีกว่าสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไปในอนาคต” มายา อัจเมรา ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Society for Science & the Public กล่าว

 

ส่วนผลงานจากนักเรียนไทยที่มีชื่อว่า “การศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของหนอนไหมเพื่อผลิตเครื่องมือใช้ควบคุมการพ่นใยในการผลิตแผ่นใยไหม” พัฒนาโดย นางสาวชลันธร ดวงงา และนางสาวรุ้งลาวัลย์ ชาภักดี จากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 2 Grand Award ในสาขาสัตวศาสตร์ โดยได้รับรางวัลเป็นทุนการศึกษามูลค่า 1,500 เหรียญสหรัฐ พร้อมด้วยรางวัลพิเศษ รางวัล ที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ จาก สมาคมวิจัยทางวิทยาศาสตร์ Sigma Xi พร้อมทุนการศึกษา 2,000 เหรียญสหรัฐ


นอกจากนี้โครงงานที่มีชื่อว่า “การศึกษาผลของสารในใบไม้แห้งที่มีผลต่อสมบัติทางเคมีของหวอดจากปลากัดและประยุกต์ใช้สารสกัดจากหวอด” พัฒนาโดย นายธัชกร จินตวลากร และ นายภูวนาถ เตรียมชาญชัย จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ยังคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 3 Grand Award ในสาขาเดียวกัน ได้รับทุนการศึกษามูลค่า 1,000 เหรียญสหรัฐ

นางสาวสติยา ลังการ์พินธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การประกวดครั้งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมในการรวมตัวของนักเรียนซึ่งมีภูมิหลัง มุมมอง และมาจากภูมิภาคที่แตกต่างกัน เพื่อแบ่งปันความคิดและโซลูชั่นต่างๆ อินเทลขอแสดงความยินดี ไม่เพียงกับผู้ชนะทุกคนในปีนี้เท่านั้น แต่น้องๆ ทุกคนที่ได้มีโอกาสเดินทางไปแข่งขัน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จและประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองในอนาคต และหวังว่าผลงานของผู้ชนะในทุกสาขาจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักพัฒนารุ่นต่อไปในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ และนำทั้งความอยากรู้อยากเห็น ความคิดสร้างสรรค์ และสติปัญญามาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์แก่โลกของเราต่อไป”

 

อินเทล ไอเซฟ 2016 มีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์เข้าร่วมกว่า 1,700 คน โดยทุกคนผ่านการคัดเลือกมาจากการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์กว่า 419 รายการใน 77 ประเทศทั่วโลก นอกจากผู้ชนะเลิศรางวัลใหญ่ต่างๆ แล้ว ยังมีนักเรียนอีกกว่า 600 ทีมที่ได้รับรางวัลในหลากหลายสาขาเป็นผลตอบแทนจากผลงานการสร้างสรรค์ รวมถึงรางวัลยอดเยี่ยมประจำสาขารวม 22 รางวัล มูลค่ารางวัลละ 5,000 เหรียญสำหรัฐ นอกจากนี้ทางมูลนิธิอินเทลยังมอบทุนการศึกษามูลค่า 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ให้กับสถานศึกษาต้นสังกัด และรายการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์ของผู้ชนะทุกคนอีกด้วย


Society for Science & the Public คือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งมั่นสนับสนุนการพัฒนาและการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ได้ทำการจัดการแข่งขันในโครงการนี้มาโดยตลอด นับตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรกในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2493


การแข่งขัน อินเทล ไอเซฟ เป็นการประกวดความคิดสร้างสรรค์และผลงานชั้นเยี่ยมจาก นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ และวิศวกรรุ่นเยาว์ระดับโลก โดยจะทำการคัดเลือกผู้เข้าประกวดผลงานจากการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์นับร้อยงานทั่วโลก โครงการที่เข้าประกวดจะผ่านการประเมินจากคณะกรรมการกว่า 1,000 คน ซึ่งมาจากเกือบทุกสาขาของวิทยาศาสตร์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับ Ph.D. หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมากกว่าหรือเท่ากับ 6 ปี ในสาขาเฉพาะทาง

 

สำหรับรายชื่อผลงานและนักเรียนนักศึกษาที่เข้าชิงชนะเลิศ สามารถอ่านได้ในเอกสารกำหนดการของงาน อินเทล ไอเซฟ ประจำปี 2559 ได้รับการสนับสนุนจากอินเทลและมูลนิธิอินเทล พร้อมด้วยเงินรางวัลและทุนการศึกษาเพิ่มเติมจากบริษัท สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และสถาบันทางวิทยาศาสตร์อีกมากมาย โดยในปีนี้ มีการมอบทุนการศึกษาและเงินรางวัลรวมทั้งสิ้น 4 ล้านเหรียญสหรัฐ

 


เกี่ยวกับอินเทล
อินเทล (NASDAQ: INTC) เนรมิตประสบการณ์อันน่าตื่นตาตื่นใจให้เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทลและนวัตกรรมที่เหล่าพนักงานกว่า 100,000 คนสร้างสรรค์ขึ้น ได้ที่เว็บไซต์ newsroom.intel.com และ intel.com.



ถูกใจบทความนี้  1