แนะนำวิธีสร้างริงโทนไว้ใช้งาน “ฉบับยุ่งยากเหนื่อยกาย” ด้วยโปรแกรม Audacity !!!

audacity_5

  สวัสดีครับ ทุกวันนี้การตัดต่อเพลงเพื่อสร้างริงโทนไว้ใช้งานนั้นแสนจะสะดวกง่ายดายมาก ๆ ครับ สามารถทำการตัดต่อได้เลยจากแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่มีให้เลือกใช้งานอยู่ในสโตร์ และบนทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น iOS, Android หรือแม้แต่ WindowsPhone ก็ยังมีเลยครับ แต่ถ้าอยากสร้างริงโทนไว้ใช้งานในแบบยืดหยุ่นและมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง วันนี้ผมขอแนะนำการตัดต่อเพลงเพื่อสร้างเป็นริงโทนในแบบฉบับเหนื่อยยากลำบากกาย(เล็กน้อย) ซึ่งเป็นการทำบน PC นั่นเองครับ 

 

ในบทความนี้ผมจะใช้โปรแกรมคู่ใจ ที่ผมใช้ในการตัดต่อริงโทนมาหลายปีแล้วนะครับ ก็คือฟรีแวร์ที่มีชื่อว่า Audacity
 

Audacity เป็นโปรแกรมประเภท recording and editing sounds แม้จะเป็นฟรีแวร์แต่ก็มีความสามารถในระดับโปรเลยครับ  แถมยังรองรับการทำงานบน Windows Mac และ Linux ได้อีกด้วย

ดาวน์โหลดได้จากที่นี่ >>>  Audacity 

audacity_1

User Intewface ของโปรแกรม Audacity อาจจะดูและชวนงงนิดหน่อยครับ แต่ที่เราใช้งานจริง ๆ จะไม่ยุ่งยากหรือต้องทำความเข้าใจอะไรมากนัก เพราะเราจะใช้ในการตัดต่อริงโทนเท่านั้น

audacity_2

ผมอธิบายหลักการทำงานคร่าว ๆ นะครับ ตัวโปรแกรมจะสามารถทำงานในแบบ Multi Windows ได้ และจะใช้คำสั่งในรูปแบบ Copy/Pass หรือการตัดแปะตัวไฟล์ในการทำงาน ซึ่งมีความสะดวกและใช้งานได้ง่ายดายมาก ๆ ครับ

audacity_3

มาทดลองใช้งานจริงกันเลยดีกว่าเนอะ

ผมจะสาธิตการตัดต่อและสร้างริงโทนในรูปแบบเบสิคให้ดูกันคร่าว ๆ นะครับ เริ่มจากการ Add เพลงที่ต้องการทำเป็นริงโทนเข้าไปใน Rroject ของตัวโปรแกรม

โดยไปที่เมนู File เลือก Open แล้วเบราซ์ไปยังเพลงที่ต้องการนำมาทำเป็นริงโทน

 

audacity_4

เมือ Add เพลงเข้ามาแล้วก็จะได้หน้าตาประมาณนี้

ตัวกราฟสีนำเงินก็คือเพลงที่เราจะทำการตัดต่อนั่นเอง

ลองสักเกตนะครับเพลงที่ Add เข้ามาจะถูกแบ่งชาแนลซ้าย-ขวา ส่วนในกรณีที่เป็นโมโนก็จะแสดงแค่ชาแนลเดียวเท่านั้นครับ

ตรงด้านบนที่เป็นตัวเลขก็คือระยะเวลาการเล่นของเพลง เวลาที่ตัดต่อเราสามารถดูระยะเวลาการเล่นของริงโทนนั้น ๆ ได้ว่ามีขนาดความยาวกี่นาที หรือวินาที

 

audacity_5

ตอนนี้ผมจะทำการตัดต่อตัวเพลงนะครับ โดยใช้เมาส์คลิกไปยังตัวกราฟ จากนั้นลากเมาส์เพื่อคลุมระยะเพลงที่เราต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นท่อนฮุก หรืออินโทรตอนต้นที่เรามักจะนิยมนำมาทำเป็นริงโทนนั่นเองครับ

ทิปในการตัดต่อก็คือ ใช่ปุ่มแว่นขยายเพื่อขยายให้ละเอียดขึ้น คลิ๊กเมาส์ไปยังช่วงเวลาเริ่มต้นที่เราต้องการ จากนั้นกดปุ่ม Play ที่ตัวโปรแกรมเพื่อฟังว่าจุดเริ่มต้นตรงนี้ใช่ตรงที่เราต้องการหรือไม่

หากยังไม่ใช่ ให้ใช้วิธีเคาะปุ่มลูกศรซ้าย-ขวาบนคีย์บอร์ดไปยังจุดที่ตรงการ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการเลือกจุดเริ่มต้นได้ละเอียดที่สุด เมื่อได้จุดเริ่มต้นที่ต้องการแล้ว จากนั้นค่อยลากคลุมจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่เราต้องการให้เป็นท่อนจบตามภาพตัวอย่างครับ

 

 audacity_6

เมื่อได้ท่อนเพลงที่เราต้องการแล้ว ให้ใช้คำสั่ง Copy เพื่อคัดลอกท่อนเพลงที่จะทำการสร้างเป็นริงโทน

จากนั้นเลือกไปที่เมนู File เลือก News เพื่อเปิดหน้าต่างของตัวโปรแกรมขึ้นมาอีกหนึ่งหน้าต่าง

 

audacity_7

ในหน้าต่างใหม่ที่เราเพิ่งเปิดขึ้นมา ให้ไปที่เมนู Edit แล้วใช้คำสั่ง Pass

 

audacity_8

จะเป็นการวางท่อนเพลงของเราเข้าไปในหน้าต่างใหม่ของตัวโปรแกรมนั่นเอง และตรงนี้สามารถนำไปใช้งานเป็นริงโทนได้เลยนะ แต่มันอาจจะดูธรรมดาไปนิดควรจะใส่ลูกเล่นเข้าไปอีกหน่อยนะครับ

 

audacity_10

ผมจะเพิ่มลูกเล่นให้ริงโทนดูมีความน่าสนใจขึ้นมาอีกสักนิดครับ ด้วยการด้วยใส่ Effect  เข้าไปในช่วงเริ่มต้นของริงโทน ซึ่งจะเป็นการทำให้ริงโทนนั้นไล่ระดังเสียงจากเบาแล้วค่อย ๆ ดังขึ้น ด้วยเอฟเฟ็ตที่มีชื่อว่า Fade In 

หลักการทำงานก็เหมือนเเดิมครับ ใช้เมาส์ลากคลุมไปยังช่วงเวลาที่ต้องการตามภาพตัวอย่าง

audacity_9

เลือกไปที่เมนู Effect / Fade In

 

audacity_11

ตัวกราฟจะเปลี่ยนไปตามภาพตัวอย่างครับ เวลาที่เรานำไปใช้งานก็จะรู้สึกสมูทขึ้นโดยตัวริงโทนนั้นจะไล่ระดับความดังขึ้นมา และในทางกลับกัน ช่วงท้ายของตัวริงโทนเราก็สามารถใช้งาน Effect / Fade Out เพื่อให้ริงโทนนั้นค่อย ๆ เบาลงในช่วงท้ายก่อนที่จะจบเพลงนั่นเองครับ

 

นอกจากนี้ยังมี Effect อีกหลายตัวที่น่าสนใจ แต่ผมคงไม่อธิบายทั้งหมด อยากให้ทดลองใช้งานกันเองเลยครับ ไม่แน่ว่าอาจจะสร้างริงโทนที่แปลกแหวกแนวไม่ซ้ำใครออกมาก็เป็นได้ครับ 

 

audacity_12

มาถึงขั้นตอนสุดท้าย ในการบันทึกริงโทนเพื่อนำไปใช้งาน โดยเราสามารถเลือกที่จะบันทึกเป็น Project ไฟล์ เพื่อให้สามารถกลับมาแก้ไขในภายหลังได้  แต่โปรเจต์ไฟล์จะไม่ใช่ตัวริงโทนนะครับ หากจะนำไปใช้งานต้องเลือกเป็นการ Export Audio ครับ

 

audacity_13

การบันทึกริงโทนและนำไปใช้งานให้เลือกไปที่ เมนู File / Export Audio

 

audacity_14

เลือกฟอร์แมตที่จะบันทึกได้อย่างหลากหลายเลยครับ แต่ส่วนใหญ่ที่เรานิยมใช้งานกันก็เลือกเป็น MP3 นี่แหล่ะ เพราะง่ายและนำไปใช้งานได้สะดวกแถมมีขนาดที่ไม่ใหญ่อีกด้วย

 

audacity_15

ตั้งชื่อไฟล์และกำหนดค่าตามที่ต้องการ จากนั้นกดปุ่ม Save เพื่อทำการบันทึกได้เลยครับ

 

audacity_16

แต่การ Save จะมี Popup Edit Metadata ขึ้นมาเพื่อให้เราใส่รายละเอียดของแทรคลงไปในริงโทน ซึ่งจะใส่ก็ได้ ไม่ใส่ก็ไม่เป็นไร จากนั้นกดปุ่ม OK ตัวโปรแกรมก็จะทำการบันทึกริงโทนไปยัง Out put ที่เรากำหนดไว้  ตรงนี้เป็นอันจบกระบวนการสร้างริงโทนของเราแล้วครับ

 

สรุป

ตัวโปรแกรม Audacity ใช้งานง่ายครับ แถมมีความสามารถล้นเหลือ แล้วมันมีความแตกต่างจากการทำบนสมาร์ทโฟนอย่างไร ข้อแรกคือสามารถสร้างริงโทนได้ละเอียดและยืดหยุ่นกว่า เช่นเราสามารถตัดเพลงหลาย ๆ เพลงมามิกซ์ให้เป็นริงโทนเก๋ ๆ ไม่ซ้ำใครก็ได้ แถมยังมี Effect ให้เลือกใช้งานเพื่อการสร้างสรรค์ริงโทนของเราให้โดดเด่นไม่เหมือนใคร สามารถเซฟเป็นโปรเจคเพื่อนำมาแก้ไขดัดแปลงต่อในภาพหลังก็สะดวกกว่าบนสมาร์ทโฟนอยู่แล้วครับ

สรุปการสร้างริงโทนบนมือถือหรือสมาร์ทโฟนนั้นเน้นที่ความง่าย และสะดวกรวดเร็ว เหมาะกับคนที่ไม่มีคอมพ์หรือไม่มีเวลามากนัก ส่วนการตัดต่อริงโทนด้วยโปรแกรม Audacity ก็จะได้ริงโทนที่มีคุณภาพและมีความโดดเด่นไม่เหมือนใครขึ้นมาอีกนิดครับ เอาเป็นว่าสะดวกแบบไหนก็เลือกใช้งานตามความเหมาะสมกันนะครับ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ

สามารถพูดคุยเกี่ยวกับบทความนี้ได้ที่หน้าเว็บบอร์ดเดิมครับ โดยคลิ๊กที่ลิงก์นี้ครับ >>> pdamobiz.com



ถูกใจบทความนี้  1