แกะกล่อง รีวิว OPPO A37 บอดีโลหะ ดีไซน์สวย กล้องแจ่มไฉไลทั้งหน้าและหลัง !!!

OPPO

     OPPO A37 เป็นอีกหนึ่งรุ่นล่าสุดที่เข้ามาทำตลาด Mid – Range ตามหลังรุ่นพี่ F1 ที่ถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควรไปแล้วก่อนหน้านั้น  และถึงแม้  A37 จะไม่ออกตัวแรงว่าเป็น Selfie Exper เหมือนรุ่นพี่ แต่ด้วยคุณสมบัติทางด้าน Camera Hardware อาทิเช่นขนาดของพิกเซลไซน์ ก็พอจะมองออกได้ว่า OPPO A37 น่าจะเน้นจุดขายในเรื่องกล้องเช่นเดียวกันครับ เพียงแต่จะมาในรูปแบบสมดุลที่ให้ความสำคัญทั้งกล้องหน้าและกล้องหลังพอ ๆ กันนั่นเอง  

ขอขอบคุณ OPPO Thailand สำหรับเครื่องทดสอบและใช้ในการเขียนบทความนี้ครับ 

สเปคเบื้องต้นของ OPPO A37

• หน่วยประมวลผล  Qualcomm MSM8916 Snapdragon 410 Quad-core 1.2 GHz Cortex-A53
• หน่วยประมวลผลกราฟฟิค Adreno 306
• หน่วยความจำภายใน 16GB และรองรับหน่วยความจำภายนอก MicroSD card ได้สูงสุด 256 GB
• แรม : 2 GB
• จอแสดงผล : ชนิด IPS ขนาด 5.0 นิ้ว ความละเอียด HD 1280 × 720 พิกเซล กระจกโค้ง 2.5D Corning Gorilla Glass 4
• การเชื่อมต่อ 2G : 850/900/1800/1900MHz
• การเชื่อมต่อ 3G : 850/900/2100MHz
• การเชื่อมต่อ 4G FDD LTE : Bands 1/3/8
• รองรับการใช้งานในระบบ 2 ซิมการ์ด (NANO SIM)
• การเชื่อมต่อ Wi-Fi 802.11 a/b/g/n , Bluetooth V. 4.0,
• กล้องหลักด้านหลังความละเอียด 8 ล้านพิกเซล + LED Flash , f/2.0 1/3.2″ sensor size, 1.4 µm pixel size
• กล้องด้านหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล f/2.2 1.4 µm pixel size
• Android 5.1.1 (Lollipop) ครอบทับด้วย Color OS 3.0
• ขนาดตัวเครื่อง 143.1 x 71 x 7.7 มิลลิเมตร
• น้ำหนัก 136 กรัม
• แบตเตอรี่ 2630 mAh, Li-Polymer
• สีที่มีวางจำหน่าย Rose Gold , Gold

ราคาวางจำหน่าย -6,990 บาท

 

ปล. รูปในบทความสามารถคลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ได้ครับ

Packaging & Accessories

OPPO1

OPPO2

ตัวกล่องมาในไซส์ขนาดกะทัดรัด ด้านหน้ากล่องมีรูปตัวเครื่องและครีเอทจุดขายด้านเซลฟี่ด้วยรูปใบหน้าหญิงสาวที่อยู่ในจอแสดงผล สำหรับด้านหลังกล่องจะมีการพิมพ์บอกสเปคเบื้องต้นมาให้อ่านกันพอสังเขปครับ

OPPO3

เมื่อแง้มแกล่องออกมาจะพบกับตัวเครื่อง OPPO A37 นอนรออยู่ในถาดรอง และรวมไปถึงอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่จัดวางอยู่ด้านใน

OPPO5

OPPO4

สำหรับอุปกรณ์ภายในกล่องจะมีอะไรให้มาบ้าง มาสำรวจไปพร้อม ๆ กันเลยครับ

1. ซิลิโคสเคสแบบใส  และเข็มจิ้มเปิดถาดซิม

2. อแดปเตอร์ชาร์จไฟชนิดขาแบน แบบสองขา ให้ Output มาที่ 5V-1A

3. ชุดหูฟังสมอลทอร์คแบบ “เอียร์บัด”

4. สาย Micro USB สำหรับซิงค์และชาร์จไฟ

5. คู่มือการใช้งานอย่างย่อ

ปล.เครื่องที่ผมได้รับมารีวิวเป็น Testing Phone จึงไม่มีคู่มือภาษาไทยและใบรัปประกันมาในกล่องนะครับ

Design & Hardweare

OPPO6

OPPO7

ดีไซน์ของ OPPO A37  เมื่อดูจากด้านหน้าจะเห็นว่าไม่ค่อยมีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปจากสมาร์ทโฟนภายในค่ายสักเท่าไหร่ เรียกว่ายังมีกลิ่นอายเดิม ๆ จากงานออกแบบหลักของค่าย OPPO ไว้อย่างเหนียวแน่น สำหรับวัสดุหลักตัวโครงสร้างหรือบอดี้จะเป็นโลหะเกรดเพรีเมี่ยม ที่นอกจากสวยงามแล้วยังมีคุณสมบัติเด่นในด้านความแข็งแรงทนทาน อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบาอีกด้วย

ในส่วนของ Build Quality เท่าที่ได้สัมผัสและสำรวจอย่างละเอียด ทั้งบีบ ๆ จับ ๆ กด ๆ ยังไม่พบเจอความผิดปรกติแต่อย่างใด ในภาพรวมงานประกอบเรียบร้อยแข็งแรงดีมาก ๆ


มาพูดถึง Handle การจับถือพกพากันต่อ หน้าจอขนาด 5 นิ้วถือว่าไม่อึดอัดนะสำหรับมือผู้ชายทั่ว ไป  และบวกกับดีไซน์ที่เน้นความโค้งมนไม่มีเหลี่ยมสัน  ทำให้การจับถือและพกพาไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นมือของสุภาพบุรุสหรือสุภาพสตรี และข้อดีอีกอย่างก็คือตัวเครื่องนั้นยังมาพร้อมกับความบางเบาอีกด้วย

จากนี้มาสำรวจภาพรวมของตัว Hardware กันต่อครับ


DSC01716

OPPO A37 มาพร้อมกับจอแสดงผลชนิด IPS ขนาด 5 นิ้ว ความละเอียด HD 720P (1280 × 720 พิกเซล) ตัวกระจกเป็นแบบโค้ง 2.5D ตามสมัยนิยม และเสริมความแข็งแกร่งด้วยกระจกกันรอยจาก Corning Gorilla Glass 4 ตัวจอแสดงผลของ OPPO A37  มีคุณภาพที่ดีครับ ทั้งสีสัน และการตอบสนองในการสัมผัส ส่วนเรื่องความสวางของหน้าจอยังไม่โดดเด่นมากนัก

OPPO8

OPPO9

ด้านหน้าส่วนบนของตัวเครื่องจะประกอบไปด้วย กล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล ที่ชูจุดขายด้านเซลฟี่ด้วย pixel size ขนาดใหญ่ถึง 1.4 µm และถัดจากตัวกล้องจะเป็นที่อยู่ของลำโพงสนทนาและชุดเซ็นเซอร์ Accelerometer และ Proximity Sensor

ด้านหน้าส่วนล่าง 3 ปุ่มควบคุมมาตรฐานของระบบแอนดรอยด์ จะเป็นแบบ Capacitive Button มีทีดีไซน์ดู โมเดิร์นขึ้น แต่ทว่าก็ยังไม่มีไฟแบล็คไลท์มาให้ใช้งานนะครับ โดยตัวปุ่มนั้นจะใช้การสกรีนสัญลักษณ์ด้วยสีเงิน เมื่อเราใช้งานกลางวันหรือในสภาพแสงที่ไม่น้อยจนเกินไปก็ยังพอมองเห็นได้อย่างชัดเจนครับผม

OPPO10

OPPO11

ด้านบนของตัวเครื่อง จะมีเพียงช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. เท่านั้น ส่วนด้านล่างจะประกอบไปด้วย พอร์ต Micro USB  ส่วนลำโพงหลักของตัวเครื่องจะอยู่ทางด้านขวามือนะครับ ส่วนฝั่งซ้ายจะเป็นไมค์สนทนา เมื่อมองแวบแรกนึกว่าจะเป็นลำโพงสเตอริโอแต่เอาเข้าจริง ๆ แล้วเป็นลำโพงแบบโมโนครับ ตรงนี้เป็นเรื่องของการดีไซน์เพื่อความกลมกลืนนั่นเอง

สำหรับคุณภาพเสียงและความดังของลำโพงอยู่ในระดับปานกลางครับ คือจะออกแนวใส ๆ ไม่กระหึ่มและข้อดีคือแม้จะเร่งเสียงจนสุดก็ไม่มีอาการแตกพร่าให้ได้ยิน

OPPO12

สำหรับด้านซ้ายมือของตัวเครื่องจะมี ปุ่มเพิ่ม-ลด ระดับเสียง ตัวปุ่มจะใช้วัสดุและสีเดียวกันกับตัวเครื่อง การจัดวางตำแหน่งจะอยู่ค่อนมาตรงกลาง ตรงนี้ดีมากครับ แม้คนมือเล็ก ๆ ก็ยังใช้งานสะดวก เพราะไม่ต้องเอื้อมนิ้วให้เมื่อย

 

OPPO13

OPPO14

ด้านขวามือของตัวเครื่องด้านบนจะเป็นที่อยู่ของช่องถาดซิม โดยถาดซิมของ OPPO A37 จะเป็นแบบถาดแนวยาว ไม่ใช่ไฮบริดตามสมัยนิยมของสมาร์ทในยุคนี้ จึงทำให้สามารถใช้งาน 2 ซิมการ์ดไปพร้อมกับหน่วยความจำภายนอกได้ตามปรกติ สำหรับตัวซิมนั้นจะเป็นแบบ NANO SIM ทั้งซิม 1-2 และถัดจากช่องถาดซิมก็คือปุ่ม Power ของตัวเครื่องครับ

 

DSC01726

OPPO16

ด้านหลังของตัวเครื่องจะประกอบไปด้วยกล้องดิจิทัลความละเอียด 8 ล้านพิกเซล มาพร้อมไฟแฟลช LED 1 ดวง โดยมีจุดเด่นในเรื่องของพิกเซลไซส์ที่มาพร้อมขนาด 1.4 µm เท่ากับกล้องหน้าเลยครับ

ในส่วนของการสำรวจ Hardware ภายนอกของ OPPO A37  ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ครับ

 

Software & Featere

OPPO A_27 OPPO A_28 OPPO A_30

OPPO A_44 OPPO A_45 OPPO A_46

OPPO A37 เปิดตัวมาพร้อมกับ Android 5.1.1 (Lollipop)  และครอบทับด้วย user interface ColorOS v.3.0.0i โดย ColorOS เวอร์ชั่นล่าสุด จะมีการปรับปรุงทั้งในส่วนของ UI และฟีเจอร์บางส่วน ในภาพรวม ๆ UI จะดูซอฟท์และสมูธขึ้นกว่าเดิมครับ

OPPO A_49 OPPO A_47 OPPO A_48

นอกจากนี้ยังมี Simple mode มาให้ใช้งานเหมือนเช่นเคย โดยจุดเด่นของ Simple mode จะเน้นการใช้งานที่เรียบง่าย ตรงนี้จะเป็นโหมดที่ออกแบบมาเพื่อเอื้อต่อผู้ใช้งานสูงวัยหรือในเด็กเล็กนั่นเองครับ

OPPO A_31 OPPO A_32 OPPO A_33

ธีมก็ถือว่าเป็นจุดขายหลักอีกหนึ่งอย่างของค่ายนี้ครับ ใน ColorOS v.3.0.0i มีการปรับปรุงใหม่เช่นกัน มีการแบ่งหมวดหมู่หรือ Categories ออกมาดูเป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น

OPPO A_36 OPPO A_56 OPPO A_57

หน้าจอล็อคสกรีนก็ปรับปรุงมาในมาดใหม่อีกด้วยครับ โดยจะเป็นการเลือกใช้ภาพ Wall Paper สวย ๆ จากออนไลน์ ที่มาในชื่อ Lockscreen Magazine ซึ่งเราสามารถดูดีเทลหรือรายละเอียดของภาพนั้น ๆ และยังสามารถ Subscribe ได้อีกด้วยครับ

OPPO A_50 OPPO A_51 OPPO A_58

Securit CenterSecurit ปรับ UI และฟีเจอร์ใหม่ โดยจะมีฟีเจอร์หลักเพียง 3 หัวข้อเท่านั้น

OPPO A_35 OPPO A_34 OPPO A_37

ฟีเจอร์อื่น ๆ ที่น่าสนใจก็จะมี Dirac (HD Sound) ที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพเสียงเพลงให้เต็มอรรถรสมากยิ่งขึ้นเมื่อฟังเพลงผ่านชุดหูฟัง, Eye protection display หลักการก็จะคล้าย ๆ โหมดการตัดแสงสีฟ้าของจอแสดงผล เพื่อเป็นการถนอมสายตาของผู้ใช้งานนั่นเอง

OPPO A_40 OPPO A_41 OPPO A_43

สุดท้าย จุดขายหลักของค่ายนี้และต้องบอกว่า OPPO เป็นแบรนด์แรก ๆ ที่บุกเบิกฟีเจอร์ Gesture & motion จนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และผมเชื่อว่าหลายคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว ฉะนั้นขออธิบายคร่าว ๆ นะครับ

หลักการทำงานของ Gesture & motion คือการวาด – การเคาะบนหน้าจอ  โดยสามารถทำงานได้ทั้งบนหน้าจอที่เปิดและ wake off หรือปิดอยู่ อย่างเช่นการวาดเป็นรูปตัวอักษรบนหน้าจอเพื่อเรียกใช้งานแอพ, การเคาะหน้าจอ 2 ครั้งเพื่อ wake on, wake off หรือ Smart call ที่จะทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์เป็นต้นครับ

 

Multimedia

OPPO A_19 OPPO A_21 OPPO A_20

FM Radio แบบทศนิยม 2 จุด ภาครับสัญญาณอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเลยครับ เพียงแต่ความสามารถน้อยไปนิด เพราะไม่สามารถบันทึกไว้ฟังในแบบออฟไลน์ได้ สรุปคือเน้นฟังอย่างเดียวเท่านั้น

OPPO A_22 OPPO A_23 OPPO A_24

Music Player เป็นแอพบันเดิลที่พัฒนาโดยค่าย OPPO เอง หน้าตาดูสวยงามและเรียบง่าย เพียงแต่ความสามารถโดยรวมไม่ได้เยอะอะไรนัก ที่สำคัญปรับ EQ ไม่ได้นะครับ ต้องไปเปิดในโหมด Dirac  เพื่อใช้งานทดแทนครับ และในส่วนของ Widget รอบนี้จะไม่มี Widget Music ของ OPPO นะครับ แต่จะมีเฉพาะของ Google Music เท่านั้น ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าเพราะอะไรถึงตัดออกครับ

OPPO A_25

OPPO A_26

VDO Player มีบางฟังก์ชั่นที่สามารถใช้งานได้คล้าย ๆ กับแอพยอดนิยมอย่าง MX Player ก็คือ การ Swipe ด้านซ้ายหรือขวา เพื่อเป็นการปรับความสว่างหรือระดับเสียง นอกจากนี้ยังรองรับการเล่นในหน้าต่างป็อปอัพขนาดเล็กได้อีกด้วย

 

Performance

OPPO A_9 OPPO A_10

OPPO A_11 OPPO A_12
OPPO A_3 OPPO A_4

OPPO A_5 OPPO A_6

OPPO A_13 OPPO A_8

OPPO A_14 OPPO A_16

สำหรับผลคะแนนถือว่าอยู่ในระดับพอใช้งานครับ ด้วยชิปเซ็ตที่ไม่ใช่รุ่น Top ฉะนั้นจึงไม่ต้องไปคาดหวังอะไรมากนัก เอาเป็นว่าเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่น ๆ ที่ใช้ชิปเซ็ตตัวเดียวกันผลคะแนนก็ไม่ได้แตกต่างกันมากจนมีนัยสำคัญ  สรุปสั้น ๆ เป็นรุ่นกลาง ๆ ที่ใช้งานได้ค่อนข้างลื่นไหล และยังไม่พบเจอ Bug ร้ายแรงอะไรในการใช้งานครับ

Camera & Sample

OPPO A_52

User interface หรือหน้าเมนูกล้องบน OPPO A37 ที่มาพร้อมกับ ColorOS v.3.0.0i ถูกปรับปรุงให้ดุเรียบง่ายและสะอาดตากว่าเดิม

OPPO A_53

มีโหมดการใช้งานหลัก ๆ จะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก แม้จะไม่เยอะหรือปรับตั้งค่าได้ละเอียด แต่ในการใช้งานจริงก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้วครับ

OPPO A_54 OPPO A_1

โหมดบิวตี้อันเป็นจุดขายของค่าย OPPO นั้นรองรับการใช้งานทั้งกล้องหน้าและกล้องหลัง ขับเคลื่อนด้วย Software โหมด Beautify 4.0 ที่ปรับโทนสีผิวและความเนียนใสได้ถึง 7 ระดับ และใช้ระบบแฟลชในรูปแบบ Screen Flash หรือแสงจากหน้าจอนั่นเอง

ในส่วนของฟีเจอร์อำนนวยความสะดวกในการถ่ายก็จะมีทั้งรองรับคำสั่งเสียง ทัชชัตเตอร์และโหมดปาล์มหรือโบกมือเพื่อสั่งถ่ายรูปนั่นเองครับ

จากนี้มาดูรูปถ่ายจาก OPPO A37 กันได้เลยครับ

คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ได้ครับ

 

OPPO A_1 OPPO A_10

OPPO A_2

 

OPPO A_4 OPPO A_5

ถ่ายในอาคารที่มีสภาพแสงน้อย และทดสอบยิงแฟลชในรูปทางขวามือ

 

OPPO A_6

OPPO A_7

OPPO A_16

OPPO A_17

OPPO A_18

OPPO_6

OPPO_10

OPPO A_21 OPPO A_22

OPPO_9

OPPO_1

OPPO_2

OPPO_3

OPPO_4

Normal mode

OPPO_5

HDR mode

 

OPPO A_11

Normal mode

OPPO A_12

HDR mode

OPPO_7

Normal mode

OPPO_8

HDR mode

OPPO A_14

Normal mode

OPPO A_13

HDR mode 

 

 

กล้องหน้า

OPPO A_23 OPPO A_24 OPPO A_25

โหมดบิวตี้ของค่าย OPPO A37 ขับเคลื่อนด้วย Software “Beautify 4.0” ที่ปรับโทนสีผิวและความเนียนใสได้ถึง 7 ระดับ นอกจากนี้ยังเลือกปรับสกินโทนได้อีกด้วย ว่าจะเลือกให้ออกขาวใสกระจ่าง หรือให้ออกโทนสีชมพู และใช้ระบบแฟลชในรูปแบบ Screen Flash หรือแสงจากหน้าจอนั่นเอง

สรุป กล้อง OPPO A37

แม้จะไม่ได้ชูจุดขายในเรื่องกล้องแบบจัดเต็ม แต่คุณภาพไฟล์ที่ได้จากกล้องถือว่าสอบผ่านเลยครับ ทำผลงานได้ดีมากทั้งกล้องหน้าและหลัง สามารถนำไปใช้งานบนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้อย่างเหลือเฟือเลยครับ และการรีวิวครั้งนี้ สภาพอากาศส่วนใหญ่มีฝนตกอากาศจึงครึ้มและแสงจะน้อยตลอด แต่คุณภาพที่ได้จากทั้งกล้องหน้าและหลังที่มาพร้อมกับพิกเซลไซส์ขนาดใหญ่ ก็สามารถเข้ามาชดเชยและแก้ปัญหาในเรื่องแสงน้อยได้เป็นอย่างดีเลยครับ

สรุป OPPO A37 


ข้อดี

1. งานประกอบเรียบร้อย แข็งแรงดีมาก
2. คุณภาพกล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทั้งกล้องหน้าและหลัง
3. Firmware หรือ ROM ของตัวเครื่องปรับแต่งมาค่อนข้าง stable ทำให้การใช้งานในภาพรวมมีความลื่นไหลที่ดี
4. ถาดซิมไม่ใช่แบบไฮบริด จึงทำให้สามารถใช้งานได้แบบ 2 ซิม + หน่วยความจำภายนอก
5. แบตเตอรี่ค่อนข้างอึด เมื่อใช้งานในแบบปรกติ ๆ

สิ่งที่ต้องพิจารณา

1. มาพร้อม Android 5.1.1 ซึ่งรุ่นกลาง ๆ ในบางแบรนด์เปิดตัวมากับ Android 6.0 กันบ้างแล้ว
2. เสียงลำโพงเบาไปนิด
3. ราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับการแข่งขันในยุคนี้

ก็คงจะฝากไว้แต่เพียงเท่านี้ สำหรับรีวิว OPPO A37 แล้วพบกันใหม่ในรีวิวทดสอบด้านเอนเตอร์เทนครับ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ ^^



ถูกใจบทความนี้  71