พาเยี่ยมชมร้าน Waf ช็อปเคลือบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย Nano Technology จากประเทศเกาหลี !!!

Waf_24-600x403-tile

 ย้อนกลับไปเมื่อ 2- 3 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเคลือบกันน้ำเคยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยบ้างแล้ว เพียงแต่ในยุคนั้นยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งคือตัวเทคโนโลยีและกรรมวิธีในการเคลือบยังเป็นแบบที่ต้องแกะเครื่องออกมาเพื่อพ่นเคลือบน้ำยา แน่นอนว่าไม่ต้องรอให้น้ำเข้าเครื่องมันก็หมดประกันไปตั้งแต่การแกะเครื่องออกมาแล้วนั่นเอง แต่ล่าสุดผมมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชมร้าน Waf  ช็อปเคลือบ Smartphone ป้องกันน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีจากเกาหลี ซึ่งเปิดให้บริการที่เกาหลีมาแล้วกว่า 5 ปี และได้ขยายตลาดมาที่ประเทศไทยเมื่อช่วงปลายปี 58 ที่ผ่านมา หลังจากเข้าเยี่ยมชมและนำมือถือของตัวเองไปเคลือบกันน้ำเรียบร้อย ผมมีความรู้สึกว่าเทคโนโลยีการเคลือบกันน้ำจาก Waf มีความน่าสนใจในหลาย ๆ ด้าน และมีความแตกต่างจากรายอื่น ๆ ที่เคยเข้ามาทำตลาดก่อนหน้านั้น เช่นการเคลือบที่ไม่ต้องแกะเครื่อง การเคลือบด้วยเทคโนโลยีพลาสม่านาโน ฯลฯ  ผมจึงได้ถ่ายทำรีวิวพาเยียมชมร้านในรูปแบบวีดีโอให้ได้รับชมกันไปเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา http://goo.gl/aRogXK และวันนี้ขอนำมาเขียนให้อ่านกันอีกรอบในรูปแบบของบทความภาพนิ่ง  แต่ไม่ได้ลงลึกเรื่อง “กระบวนการ-กรรมวิธี” นะครับ เพราะในเชิงเทคนิคจริง ๆ ตรงนี้เป็น Business Secret ซึ่งไม่ว่าร้านไหนเขาก็คงไม่บอกข้อมูลในเชิงลึกอยู่แล้วครับ



 

ความเดิมตอนที่แล้ว รับชมกันได้ผ่าานทาง Youtube Channel News: พาเยี่ยมชมร้าน WAF ชั้น 4 MBK ช็อปเคลือบ Smartphone ป้องกันน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีจากเกาหลี !!!

วันนี้มาเขียนเป็นบทความภาพนิ่งและเพิ่มรายละเอียดขึ้นมาอีกเล็กน้อยครับ

 

Waf_4

Waf_24

Waf_23

บรรยากาศหน้าร้าน

ร้าน Waf เปิดให้บริการอยู่ที่ MBK ชั้น 4 ตรงโซนธนาคารครับ  แวะไปเยียมชมกันได้ โดยร้านเปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 11.00 – ถึง 20.00 น.

Waf_3

Waf_2

Waf_5

เดินเข้ามาภายในร้านจะเจอกับสแตนด์ที่นำสมาร์ทโฟนที่เคยผ่านการแช่น้ำมาเปลือยอุปกรณ์ภายใน ให้เห็นความแตกต่างระหว่างเครื่องที่เคลือบกันน้ำกับเครื่องปรกติยังไม่ได้เคลือบ

Waf_1

Waf_25

Waf_26

นอกจากนี้ยังมีมุมทดสอบการกันน้ำของเทคโนโลยีนาโนพลาสมาจากร้าน Waf โดยเป็นกระดาษทิชชู่ที่ผ่านกระบวนการเคลือบกันน้ำเหมือนสมาร์ทโฟน แล้วนำมาให้เราได้ทดลองหยดน้ำใส่ หรือเอาไปจุ่มในน้ำเสมือนการจำลองในกรณีที่สมาร์ทโฟนของเราตกน้ำแล้วจะเกิดปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง

 

 Waf_18

Waf_16

Waf_17

 

เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนระหว่างเครื่องที่เคลือบกันน้ำ และเครื่องที่ไม่ได้ผ่านการเคลือบครับ

 

Waf_9 

Waf_10 

Waf_11 

อีกหนึ่งมุมทดสอบการกันน้ำของทางร้านครับ โดยมีเครื่องที่ผ่านการเคลือบกันน้ำมาให้เราได้ทดสอบของจริงด้วยมือและตาของเราเอง

 

Waf_12 

Waf_13 

Waf_14 

Waf_15 

ลองแช่น้ำไป 2- 3 นาที ก็ไม่มีปัญหาครับ ยังสามารถใช้งานได้อย่างปรกติ แต่ทั้งนี้ต้องรอให้เครื่องแห้งตามกำหนดระยะเวลาที่ทางร้านบอกไว้ในใบรับประกันด้วยนะครับถึงจะทำการชาร์จได้ โดยผมขออธิบาคร่าว ๆ ตามนี้

1. หากเครื่องตกน้ำไม่เกิน 10 นาที ให้ปิดเครื่องนำแบตเตอรี่และซิมออก หากรุ่นไหนถอดฝาหลังเปลี่ยนแบตไม่ได้ ให้นำซิมออกเพียงอย่างเดียว เขย่าน้ำออกเบา ๆ บนฝ่ามือ เพื่อให้ให้น้ำไหลออกจากตัวเครื่อง และนำผ้ามาเช็ดตัวเครื่องให้แห้ง ตั้งไว้ในที่ระบายอากาศได้ดี ประมาณ 5 ชั่วโมง โดยให้ทางที่ชาร์จแบตเตอรี่อยู่ด้านล่าง

2. ห้ามชาร์จแบตเตอรี่เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หากเครื่องตกน้ำนานเกิน 10 นาที (แต่ไม่เกิน 30 นาที ) ห้ามชาร์จภายใน 48 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ห้ามใช้ไดร์เป่าผม และเขย่าแรง ๆ

Waf_20

อุปกรณ์ที่รองรับการเคลือบกันน้ำของทางร้าน มีทั้งสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, และสมาร์ทวอทช์

 

Waf_21 

Waf_22 

และทางร้านยังมีอุปกรณ์เสริมอย่างพวกเคสและฟิลม์กระจกคุณภาพดีจาก Gorilla Glass ให้ลูกค้าได้เลือกใช้งานเป็นอีกหนึ่งทางเลือกด้วยนะครับ 

 

Waf_44

Waf_7 

Waf_8 

มุมรับรองลูกค้า  ในช่วงที่ส่งเครื่องไปเข้ากระบวนการเคลือบก็นั่งรอกันได้ตรงนี้ครับ

 

Waf_38

Waf_39 
สำหรับการเข้ามาใช้บริการจะมีขั้นตอนหลัก ๆ ตามนี้ครับ

1. เอกสารชี้แจงและเงื่อนไขก่อนทำการเคลือบ + ข้อมูลรายละเอียด ข้อควรระวังหลังจากเคลือบเรียบร้อยแล้ว

2. พนักงานที่หน้าเคาน์เตอร์จะทำการตรวจเช็คเครื่องของเราว่าทำงานได้ปรกติหรือไม่ เช่นสัญญาณโทรศัพท์, หน้าจอสัมผัส, ลำโพงหลัก, ลำโพงสนทนา, กล้องหน้า-หลัง

3. ก่อนการเคลือบ Engineer ที่อยู่ในห้องเคลือบจะทำการตรวจเช็คเครื่องเราเหมือนขั้นตอนที่หน้าเคาน์เตอร์อีกหนึ่งรอบ

4. ทำการเคลือบโดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที

5. หลังเคลือบเสร้จ Engineer ที่อยู่ในห้องเคลือบจะทำการตรวจเช็คเครื่องเราอีกครั้ง

6. พนักงานที่หน้าเคาน์เตอร์จะทำการตรวจเช็คเครื่องพร้อมกับลูกค้าเป็นรอบสุดท้าย (สรุปตรวจเช็คทั้งหมด 4 รอบ)

7. เซ็นชื่อรับเครื่องจ่ายค่าบริการ เป็นอันจบกระบวนการนำเครื่องมาเคลือบกันน้ำจากทางร้านครับ

 

Waf_40 

Waf_41

ใบรับประกันจากทางร้าน

 

Waf_27

พามาเยี่ยมชมห้องเคลือบครับ ควบคุมโดย Engineer ชาวเกาหลี

ปรกติลูกค้าจะไม่สามารถเข้ามาให้ห้องเคลือบได้นะครับ แต่ทางเว็บได้ขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษ

 

Waf_28

Waf_29

Waf_32

 ตัวเครื่องจักรเป็นระบบสุญญากาศ ปลอดฝุ่น และควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด

 

Waf_30 

Waf_31

สำหรับเครื่องเคลือบตัวนี้จะเป็นรุ่นเล็กที่รองรับการเคลือบสมาร์ทโฟนได้ครั้งละ 20 เครื่อง หรือแท็บเล็ตได้ครั้งละไม่เกิน 6 เครื่อง

 

Waf_33 

Waf_34

ทางร้านยังมีอีกเครื่องที่เป็นรุ่นใหญ่ สามารถรองรับการเคลือบจำนวนมาก ๆ โดยเครื่องรุ่นนี้สามารถเคลือบได้ถึง 200 เครื่องต่อ 1 ครั้งเลยทีเดียว

 

Waf_35 

Waf_36 

Waf_37

มุมทำงานของ Engineer

 

Waf_43 

Waf_6

Waf_42

ราคาและโปรโมชั่น ณ ตอนนี้ครับ

ข้อมูลทางเทคนนิคของ Waf Technology ดูได้จากที่นี่ >>>> http://waf.co.th/waf/?page_id=10889

เพจของทางร้าน >>> https://www.facebook.com/WafWatersafe/

อัพเดตข้อมูลเพิ่มเติมจากบทความเดิมนะครับ เนื่องจากผมได้รับข้อมูลมาว่ามีการถกถึงปัญหา “แถบสีวัดความชื้น”ที่อยู่ภายในตัว SmartPhone หรือ Tablet บางรุ่น จะมีการเปลี่ยนสีในขั้นตอนการเคลือบและทำให้เครื่องหมดประกันหรือไม่

ผมได้สอบถามและพูดคุยกับทางร้านเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ โดยทางร้าน  Waf  ได้ให้คำอธิบายดังนี้

เทคโนโลยีเคลือบกันน้ำของ Waf เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดด้วยพลาสม่านาโน ไม่มีการแกะตัวเครื่องออกมาเหมือนเทคโนโลยีเมื่อสมัย 2 -3 ปีที่ผ่านมา การเคลือบจะเป็นระบบสุญญากาศ  ใช้ก๊าซในกระบวนการเคลือบ และอุณหภูมิในตัวเครื่องจักรจะถูกควบคุมให้อยู่ในระดับปรกติเท่าอากาศภายนอก ฉะนั้นตรงนี้จึงไม่มีของเหลว ความชื้น การควบแน่น การกลั่นตัวจากหยดน้ำ ฯลฯ ตามที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิด

ซึ่งเครื่องบางรุ่นสามารถตรวจสอบด้วยตาได้ว่าแถบความชื้นเปลี่ยนสีหรือไม่ ส่วนบางรุ่นที่แถบความชื้นอยู่ภายในไม่สามารถตรวจสอบได้ ทางร้านก็ไม่สามารถตรวจสอบและให้คำรับรองได้เช่นกัน เพราะไม่สามารถแกะเครื่องของลูกค้าออกมาตรวจสอบก่อนการเคลือบได้นั่นเอง

สรุปส่งท้าย

 ในมุมของผม ทางร้านก็ออกมาตอบได้ค่อนข้างชัดเจนนะครับ และผมขอยกตัวอย่างจากเครื่องของผม iPhone 6s หลังเคลือบกันน้ำแล้ว แถบสีก็ไม่เปลี่ยนแต่อย่างใด แต่ก็ตามที่เกริ่นไว้ครับ สำหรับเครื่องบางรุ่นที่ไม่สามารถตรวจสอบแถบความชื้นด้วยตาเปล่าได้ ก็คงต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของความพึงพอใจและวิจารณญาณในการเข้ารับบริการของตัวลูกค้าเองนะครับ ผมไม่การันตี และไม่คอนเฟิร์มรับรองใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะผมไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีผลประโยชน์ผูกพันกับทางร้าน ขอให้เข้าใจตามนี้นะครับ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านครับผม ^^



ถูกใจบทความนี้  0