รับชมแกะกล่องรวมไปถึงบทความแนะนำการใช้งานของ Zenfone 3 ในแง่มุมต่าง ๆ ไปบ้างแล้ว วันนี้มารับชมในฝั่งของ Software ที่ใช้ในการขับเคลื่อนการทำงานของ Zenfone 3 กันบ้างครับ โดย Zenfone 3 นั้นเปิดตัวมาพร้อมกับ Android เวอร์ชั่น 6.01 (Marshmallow) และครอบทับด้วย ZenUI 3.0 เวอร์ชั่นล่าสุด ที่มีฟีเจอร์อันหลากหลายและน่าสนใจไม่แพ้ฝั่ง Hardware เลยครับ แต่จะมีอะไรบ้างต้องมาติดตามอ่านกันนะครับ
สเปคเบื้องต้นของ Zenfone 3 ZE552KL (Marshall Limited Edition)
● หน่วยประมวลผล Qualcomm MSM8953 Snapdragon 625 Octa-core 2.0 GHz
● หน่วยประมวลผลกราฟฟิค Adreno 506
● หน่วยความจำภายในตัวเครื่อง 64GB และรองรับหน่วยความจำภายนอก MicroSD card ได้สูงสุด 256 GB
● แรม : 4GB
● จอแสดงผล : ชนิด Super IPS ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด Full HD 1080 x 1920 pixels (~401 ppi pixel density) กระจกโค้ง 2.5D หน้า-หลัง Corning Gorilla Glass 3
● การเชื่อมต่อ รองรับ 2G, 3G, 4G LTE Cat 4
● รองรับการใช้งานในระบบ 2 ซิมการ์ด แบบไฮบริด (Micro-SIM, – Normal SIN – dual stand-by)
● การเชื่อมต่อ Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/ฟแ , Bluetooth V. 4.2
● กล้องหลักด้านหลังความละเอียด 16MP Camera, f/2.0 aperture, 6 P Largan lens Auto Focus 0.03 second laser auto-focus 32 second long exposure 4-axis, 4 stops Optical Image Stabilization for steady photos Dual-LED real tone flash PixelMaster Camera Modes
● กล้องด้านหน้าความละเอียด 8MP Camera , f/2.0 aperture PixelMaster Camera Modes
● High-Res Audio certification 24-bit/192kHz
● Android™ 6.0 ครอบทับด้วย ASUS ZenUI 3.0
● ขนาดตัวเครื่อง 152.6 x 77.4 x 7.7 มิลลิเมตร
● น้ำหนัก 155 กรัม
● แบตเตอรี่ 3,000 mAh
ราคาวางจำหน่าย 14,990 บาท
แถมฟรี หูฟัง marshall major II สีดำ มูลค่า 4,190 บาท (ของแถมจำนวนจำกัด)
รายละเอียดเพิ่มเติม http://goo.gl/oYdkeQ
รีวิวและบทความเก่า
1. Android Review: Unboxing แกะกล่อง Zenfone 3 ZE552KL (Marshall Limited Edition) วีดีโอ !!!
4. Android Review: ทดสอบการใช้งานหูฟัง Marshall Major II ร่วมกับ ASUS Zenfone 3 และสมาร์ทโฟนรุ่นอื่น ๆ
5. Android Review: Game Testing ทดสอบเล่นเกมบน Zenfone 3 ZE552KL (Marshall Limited Edition) !!!
Software & Featere
ASUS Zenfone 3 เปิดตัวมาพร้อมกับ Android เวอร์ชั่น 6.01 (Marshmallow) และครอบทับด้วย ZenUI 3.0 เวอร์ชั่นล่าสุด
ซึ่งผู้ใช้งานค่าย ASUS น่าจะคุ้นเคยกับ Launcher ที่พัฒนาโดย ASUS กันมาช้านานแล้ว สำหรับคนที่ยังไม่เคยสัมผัสกับ User Interface จาก ZenUI ผมขออธิบายคร่าว ๆ นะครับ
ZenUI มี Interface ในแบบโมเดิร์นเน้นความโค้งมนของตัวไอคอนและการปรับตั้งค่าที่มีความยืดหยุ่นสูง สำหรับหน้า Appdrawer จัดเรียงไอคอนในแบบ 4×4 และสามารถจัดการการตั้งค่าได้จากหน้า Appdrawer โดยตรง เช่นซ่อนแอพ, ล็อคแอพ, ถอดถอนการติดตั้ง ฯลฯ
notification bar & toggle switch ในกรณีที่มีการแจ้งเตือนเมื่อลากแถบ notification bar ลงมา จะแสดงการแจ้งเตือนเป็นลำดับแรก เมื่อเราลากซ้ำอีกรอบจึงจะแสดง toggle switch ครับ
สำหรับพื้นที่หน่วยความจำภายในตัวเครื่องที่ให้มา 64GB จะเหลือพื้นที่ให้ใช้งานจริงราว ๆ 52GB
Quick Preferences หรือการปรับตั้งค่าด่วน สามารถใช้การ Swipe จากขอบจอด้านล่างขึ้นมาด้านบน จะมีเมนูการตั้งค่าด่วนขึ้นมาให้ใช้งานครับ
ส่วนการ Swipe จากกลางจอลงมาด้านล่างจะเป็นการเรียก Quick search ขึ้นมาใช้งาน และข้อดีของการปิด Recen App แบบลบทั้งหมดตรงนี้จะเป็นการ Boosting เคลียร์แรมคืนมาให้ใช้งานอีกด้วย
นอกจาก Interface หลักของ ZenUI 3.0 ที่เป็นค่าเริ่มต้นแล้ว ยังมี Interface อีก 2 รูปแบบมาให้ใช้งาน ก็คือ Easy mode ที่เน้นการปรับแต่งให้มีอินเทอเฟซเรียบง่าย โดยเน้นไอคอนและตัวอักษรที่ใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งเหมาะกับผู้สูงวัยหรือเด็ก ๆ ครับ
ส่วน Kids mode ก็ตามชื่อเลยครับ เป็นโหมดที่ผู้ใหญ่สามารถกำหนดความปลอดภัยในการให้เด็กเล็กสามารภใช้งานสมาร์ทโฟนในขอบเขตที่เราจำกัดได้นั่นเอง เช่นบล็อคการโทรเข้า, ตั้งเวลาในการใช้เครื่อง, หรือกำหนดแอพที่เราต้องการหรือไม่ต้องการให้เด็กใช้งานได้เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่งเพิ่มความสวยงามให้ Zenfone 3 ด้วยธีมที่มีหลากหลาย ทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่ายครับ
เมนูการตั้งค่า ASUS Zenfone 3
สำหรับการจัดการ SIM จะไม่แตกต่างไปจากสมาร์ทโฟน 2 ซิมทั่ว ๆ ไปในท้องตลาดครับ เช่นกำหนดซิมหลักในการใช้งานเดต้า หรือกำหนดค่าเริ่มต้มสำหรับการโทรและการส่งข้อความเป็นต้น
Dialer และฟังก์ชั่นการโทรของ ZenUI สามารถปรับแต่งได้ค่อนข้างยืดหยุ่นดีมาก ๆ เลยครับ เช่นกำหนดขนาดของแป้นโทร, บล็อคสาย, โทรด่วน, อัดเสียงสนทนา เป็นต้น
คีย์บอร์ด ZenUI Keyboard มาพร้อมฟีเจอร์แอดแน่นมากมาก ๆ ครับ เรียกว่าเยอะจนอธิบายไม่หมดกันเลยที่เดียว แต่สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ สามารถดาวน์โหลดธีมมาเสริมความสวยงามให้กับตัวคีย์บอร์ดได้อีกด้วยนะ ตรงนี้จะเหมือนกับธีมหลักของ Launcher เลยครับ ที่มีทั้งธีมฟรีและแบบเสียเงินให้เลือกใช้งานมากมาย
มาดูฟีเจอร์ที่น่าสนใจกันต่อเลยครับ
แน่นอนว่า Zenfone 3 นั้นรองรับเคส Cover ที่มีฟีเจอร์ไม่แตกต่างไปจาก Zenfone ในรุ่นอื่น ๆ ก่อนหน้านั้น
สำหรับการปรับตั้งค่าการแสดงผลสามารถเรียกใช้งานได้จากเมนู Setting หรือจากตัวแอพ Splendid ก็ได้เช่นกันครับ
สำหรับ Splendid ใน ZenUI 3.0 สามารถเลือกโหมดถนอมสาย Bluelight Filter จากเมนูการตั้งค่า และจากตัวแอพ รวมไปถึง toggle switch
AudioWizard เป็นแอพสร้างโปรไฟล์ ที่ช่วยให้การปรับตั้งค่าเสียงของเราได้ตรงกับสถานการณ์ในการใช้งาน เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เป็นต้น
ZenMotion อธิบายแบบรวบรัดตัดตอน เป็นฟีเจอร์ที่ไม่แตกต่างไปจากแบรนด์จีนทั่ว ๆ ไป ที่มักจะเน้นฟีเจอร์นี้เป็นจุดขาย
หลัก ๆ ก็คือเป็นฟีเจอร์ที่ทำงานร่วมกับเช็นเซอร์และจอแสดงผล เช่นการวาดบนหน้าจอเพื่อเปิดแอพ เคาะหน้าจอเพื่อ Wake Up-down การคว่ำหน้าจอลงเพื่อปิดการแจ้งเตือนเป็นต้น
One Hand Mode สามารถเรียกใช้งานได้อย่างง่ายดายด้วยการตั้งค่าให้เคาะบนปุ่มโฮม 2 ครั้งติดกัน
Fingerprint ระบบสแกนลายนิ้วมือบน Zenfone 3 รองรับการบันทึกลายนิ้วมือได้สูงสุดที่ 5 ลายนิ้วมือ มีความเร็วในการปลดล็อคอยู่ที่ 0.2 วินาที และรองรับการสแกนแบบ 360 องศาซึ่งมีความแม่นยำค่อนข้างสูง สำหรับฟีเจอร์ที่รองรับการทำงานนอกเหนือไปจากการปลดล็อค ก็จะมีการเปิดกล้องและเป็นปุ่มชัตเตอร์ รวมไปถึงสามารถรับสายได้จากตัวปุ่มเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ
Mobile Manager ศูนย์รวมการจัดการด้านประสิทธิภาพในการทำงานของตัว Zenfone 3 มีฟีเจอร์ที่ครอบคลุมทุกการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการการตั้งค่าการใช้งานเดต้า การจัดสรรพลังงาน เคลียร์แรม การแจ้งเตือนของระบบ การตั้งค่าความปลอดภัยของเครื่องเป็นต้น
สุดท้าย ในฝั่งของแอพพลิเคชั่น นอกจากแอพหลักของค่าย Google ที่ต้องมีบัลเดิลมาให้เป็นเรื่องปรกติอยู่แล้ว ในอีกส่วนหนึ่งก็จะมีแอพที่พัฒาโดยค่าย ASUS ซึ่งจะเป็นเซ็ทที่เรียกว่า ZenUI แอพ ตรงนี้จะมีการอัพเดตเรื่อย ๆ ไม่แตกต่างไปจาก 3rd party ทั่ว ๆ ไป
สุดท้ายขอสรุปเรื่องแอพสักนิดนะครับใน Zenfone 3 มี 3rd party บันเดิลมาให้นิดหน่อย บางส่วนผมดูแล้วเป็น Bloatware ซึ่งในยุคแรก ๆ จะไม่มีการบันเดิลแอพมาในลักษณะนี้ แต่ยังมีข้อดีคือสามารถถอนการติดตั้งออกไปได้ตามที่เราต้องการ
สำหรับแอพหลัก ๆ ในยุคแรกก็ยังมีมาให้ใช้งานเหมือนเดิมนะครับ ไม่ว่าจะเป็น Cloud Service, Remote Link, SHAREit, PC Link สามารถอ่านจากบทความเก่า ๆ ได้ที่นี่ครับhttp://goo.gl/ouxHi9
Multimedia
มีวิทยุ FM มาให้ใช้งานในแบบทศนิยม 1 จุด ภาครับสัญญาณอยู่ในเกณฑ์ที่ดีครับ เพียงแต่ฟีเจอร์หรือลูกล่นที่ให้มานั้นธรรมดาไปนิดครับ
Music Player ถูกตัดออกไป ที่บันเดิลมาให้ก็คือ Google Music ที่มีฟีเจอร์ในแบบเบสิค ๆ จึงขอละไว้ในฐานที่เข้าใจนะครับ
สำหรับ VDO Player ก็อารมณ์เดียวกันเลยครับ คือไม่มีแอพแยกมาให้ แต่จะรวมฟีเจอร์เล่นหรือดูวีดีโอรวมอยู่กับแอพแกลลอรี่ จึงทำได้แค่แชร์เท่านั้น ถ้าต้องการความสามารถที่เพิ่มขึ้นต้องดาวน์โหลดจากสโตร์มาใช้แทนครับ
Performance
ถ้าดูจากคะแนนตัวเลขจะเห็นว่า Zenfone 3 ไม่ได้โดดเด่นนัก เรียกว่าทำคะแนนไม่ต่างไปจากรุ่นอื่น ๆ ที่มี Hardware ใกล้เคียงกัน แต่ในด้านการใช้งานจริง Zenfone 3 มีการทำงานที่ลื่นไหล ไม่สะดุดติดขัด และยังไม่พบ Bug ร้ายแรงในการใช้งานทางด้าน Software แต่อย่างใดครับ
แต่แน่นอนว่าปัญหาเล็ก ๆ น้อยอันเกิดจากฝั่ง 3rd party ย่อมมีบ้าง ในความคิดเห็นส่วนตัวของผม หาก ASUS ทำ firmware ในรูปแบบ Pure Android จะแก้ปัญหาได้ทั้งหมดแถมจะทำให้การใช้งานมีความลื่นไหลมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม แต่ทั้งนี้ในมุมกลับกันก็อาจจะทำให้ Software ของ Zenfone ขาดสเนห์ที่น่าสนใจลงไปเช่นกันครับ
สำหรับบทความแนะนำ Software ของ Zenfone 3 ก็ขอลากันไปแต่เพียงเท่านี้
ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ แล้วพบกันใหม่ในโอกาสหน้าครับผม ^^
สามารถพูดคุยเกี่ยวกับบทความนี้ได้ที่หน้าเว็บบอร์ดเดิมครับ โดยคลิ๊กที่ลิงก์นี้ครับ >>> http://goo.gl/MZWGTR
You must be logged in to post a comment.