เพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพด้วยเทคโนโลยีการติดตาม เวย์น ฮาร์เปอร์, ผู้อำนวยการอาวุโสด้านเทคนิค, ซีบรา เทคโนโลยีส์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

NEJM Audio Summary


ปัจจัยทางการเงินมีผลต่อการเดินหน้าพัฒนา เนื่องจากเป็นเรื่องยากสำหรับภาคอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพในการลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่ๆจากฝ่ายต่างๆ นอกจากนี้รูปแบบได้รับค่าตอบแทนของแพทย์ยังไม่ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เนื่องจากแพทย์จะได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาและค่าธรรมเนียมในการรักษามากกว่าค่าตอบแทนทางด้านคุณภาพในการรักษา

 NEJM Audio Summary

ความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน

ในบรรดาอุตสาหกรรมทั้งหมด ภาคอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพยังคงเดินหน้าพัฒนาด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ไปอย่างช้าๆ โดยสืบเนื่องมาจากเหตุผลต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

ปัจจัยทางการเงินมีผลต่อการเดินหน้าพัฒนา เนื่องจากเป็นเรื่องยากสำหรับภาคอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพในการลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่ๆจากฝ่ายต่างๆ นอกจากนี้รูปแบบได้รับค่าตอบแทนของแพทย์ยังไม่ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เนื่องจากแพทย์จะได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาและค่าธรรมเนียมในการรักษามากกว่าค่าตอบแทนทางด้านคุณภาพในการรักษา

 

ปัจจัยบางประการเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ภาคอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพไดรับการควบคุมอย่างเคร่งครัด ซึ่งนำไปสู่ขั้นตอนที่ล่าช้าสำหรับการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ

 

อย่างไรก็ดี ความท้าทายบางประการยังเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอด้วยลักษณะของอุตสาหกรรม องค์กรด้านการดูแลสุขภาพจำนวนมากยังคงยึดถือแนวทางปฏิบัติในวิธีการแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับองค์กรเหล่านั้นในการทดลองสิ่งใหม่ๆ โดยปราศจากแรงจูงใจ นอกจากนี้ บรรดาแพทย์และพยาบาลต่างก็ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี จึงต้องใช้ระยะเวลาในการทำความเข้าใจการใช้งานของซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์ใหม่ๆ

 

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวกำลังเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพ เริ่มยอมรับในการเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากงบประมาณที่เพิ่มมากขึ้นและข้อกฎหมายใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ภาคอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพในประเทศไทย มีการจัดสรรงบประมาณ 18.7 ล้านบาท ซึ่งเป็นอัตราที่เติบโตขึ้นถึง 8 เปอร์เซ็นต์ในระหว่างปี พ.ศ. 2557- 2561 ขณะที่ในสหรัฐอเมริกา กฎหมายประกันสุขภาพ (Affordable Care Act) หรือที่รู้จักกันดีในนามของ Obama Care ซึ่งเป็นนโยบายที่ให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาค่าพยาบาล ช่วยให้คนไข้ได้รับการรักษาอย่างดีและลดจำนวนครั้งเข้าการเข้ารับการรักษาเพื่อลดค่าใช้จ่ายของคนไข้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้โรงพยาบาลอยู่ภายใต้ภาวะความกดดันอันมหาศาลในการลดค่าใช้จ่ายและพัฒนาคุณภาพด้านการบริการ

 

ปัจจัยที่สำคัญอื่นๆ ยังรวมถึงความต้องการเพิ่มผลิตภาพที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นเนื่องจากการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ การเพิ่มจำนวนประชากรผู้สูงอายุ และการวิวัฒนาการของโรค ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการหันมาใส่ใจด้านสุขภาพและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี

 

ในปัจจุบัน การดูแลสุขภาพได้กลายเป็นภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วที่สุดสำหรับการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้

 

การเพิ่มปริมาณการใช้งานบาร์โค้ดและเทคโนโลยี RFID ได้สร้างโอกาสสำคัญสำหรับการดูแลสุขภาพ

 

การใช้งานบาร์โค้ดที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ข้อผิดพลาดทางการแพทย์จะยิ่งลดลงตามลำดับ

ในภาคอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพ ยังคงมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการนำเทคโนโลยีบาร์โค้ดมาช่วยควบคุมข้อผิดพลาดทางการแพทย์และเพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย

ข้อผิดพลาดทางการแพทย์สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนตั้งแต่กระบวนการสั่งจ่ายยา การสื่อสาร การติดฉลาก ขั้นตอนการบรรจุภัณฑ์ การจ่ายยาไปยังบุคลากร จนถึงขั้นตอนการบริหารโดยข้อผิดพลาดเหล่านี้ถือเป็น “ข้อผิดพลาดที่สามารถป้องกันได้” จากผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2558 แสดงให้เห็นว่า ในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวมียอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 251,000 ราย อันเป็นผลมาจากความผิดพลาดทางการแพทย์ในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่างๆ  ทำให้สาเหตุการเสียชีวิตจากข้อผิดพลาดทางการแพทย์สูงเป็นลำดับที่ 3 ในสหรัฐอเมริกา

 

จากข้อมูลนี้จึงทำให้การสแกนบาร์โค้ดมีสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องข้อผิดพลาดทางการแพทย์:  จากผลการศึกษาของนักวิจัยจากโรงพยาบาลบริกแฮม แอนด์ วูแมน (Brigham and Women’s Hospital) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์นิวอิงแลนด์ เจอร์นัล ออฟ เมดิซิน (New England Journal of Medicine) เผยว่า จากจำนวนใบสั่งจ่ายยาทั้งหมด 14,041 ใบ พบว่าใบจ่ายยาจำนวน 776 ใบมีข้อผิดพลาดที่ไม่ได้อยู่ในระบบสแกนบาร์โค้ด ซึ่งตัวเลขนี้สามารถลดลงได้ถึง 41.4 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการใช้ระบบสแกนบาร์โค้ด

 

สำหรับโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยนางาซากิ (Nagasaki University Hospital) ในประเทศญี่ปุ่นได้นำเทคโนโลยีระบบบาร์โค้ดมาใช้งาน โดยทางโรงพยาบาลใช้ TC55 คอมพิวเตอร์ระบบสัมผัสแบบพกพาสำหรับการอ่านบาร์โค้ดของซีบรามาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบัน อุปกรณ์นี้ได้เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ในการช่วยระบุตัวตนและความถูกต้อง อาทิเช่น สายรัดข้อมือของผู้ป่วย บัตรประจำตัวของแพทย์และพยาบาล และยารักษาโรค  โดยอุปกรณ์นี้สามารถช่วยประหยัดเวลาในการตรวจข้อมูลผู้ป่วย ยา และ ลดความผิดพลาดทางการแพทย์ โดยคอมพิวเตอร์แบบพกพานี้สามารถเชื่อมต่อระบบเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wi-Fi) และถ่ายโอนข้อมูลผ่านเทคโนโลยี เนียร์ ฟิลด์ คอมมิวนิเคชั่นส์(Near-Field Communications) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้พยาบาลสามารถป้อนและบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์ อุปกรณ์นี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความถูกต้องในการดำเนินงานประจำวัน

นอกจากระบบบาร์โค้ดจะช่วยลดความผิดพลาดทางการแพทย์แล้ว ระบบบาร์โค้ดยังสามารถใช้ในการติดตามยาหรืออุปกรณ์กับแหล่งที่มา ระบบนี้ได้รับสนใจมากยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2558 สหภาพยุโรป (EU) ได้เสนอกฎระเบียบอย่างเป็นทางการในการควบคุม ซึ่งใบสั่งยาจากแพทย์ทุกใบจำเป็นต้องผ่านกระบวนการด้วยระบบบาร์โค้ดที่ติดบนบรรจุภัณฑ์ กฎระเบียบนี้จะการครอบคลุมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น สายสวนหรือการปลูกถ่าย ในทำนองเดียวกันคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ในสหรัฐอเมริกาได้กำหนดว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกประเภทจะต้องมีด้วยหมายเลขประจำเครื่อง (UDI)

 

ฉลากเหล่านี้จะช่วยให้การรายงานผล การตรวจสอบ และการวิเคราะห์ข้อมูลมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น เพื่อที่อุปกรณ์ที่พบปัญหาจะได้รับการระบุและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยลดข้อผิดพลาดทางการแพทย์ด้วยเช่นกัน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์สามารถระบุอุปกรณ์และข้อมูลสำคัญ  ฉลากรวมทั้ง เครื่องพิมพ์และเครื่องสแกน ที่ให้สร้างและอ่านข้อมูล จะต้องมีความทนทานต่อการทำความสะอาดภายในโรงพยาบาล และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

นอกจากนี้ เมื่อมีการจ่ายยาแก่ผู้ป่วยทุกครั้ง จะมีการบันทึกข้อมูลลงในระบบบาร์โค้ดซึ่งนับเป็นข้อมูลจำนวนมากสำหรับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ในด้านยาที่ใช้ ปริมาณยา และโรคที่รักษา องค์กรด้านการดูแลสุขภาพทั้งหลายจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและระบุปริมาณการลงทุนในยาแต่ละประเภท ประสิทธิภาพของยา รวมถึงผู้จัดจำหน่าย ทำให้ข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพไม่เพียงแต่ส่งผลต่อการคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแต่ยังช่วยในการตัดสินใจในภาคธุรกิจอีกด้วย

เทคโนโลยี RFID ช่วยเพิ่มความสามารถให้การติดตามแบบเรียลไทม์สำหรับโรงพยาบาลและผู้ป่วย เพิ่มการแสดงผล

นอกเหนือจากระบบบาร์โค้ดแล้ว ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ยังได้นำเทคโนโลยีการติดตามทรัพย์สินอีกประเภทหนึ่งมาปรับใช้ อาทิ การระบุข้อมูลสิ่งต่างๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ (RFID) ซึ่งใช้ชิปของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และสามารถถ่ายทอดข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุได้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID พบได้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น บางประเทศได้ใช้ระบบการเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี RFID เพื่อช่วยให้รถยนต์ผ่านช่องเก็บค่าผ่านทางโดยไม่ต้องหยุด เกษตรกรใช้เทคโนโลยี RFID ในการติดตามปศุสัตว์

 

ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีนี้ในการติดตามชิ้นส่วนที่มีราคาสูง ทุกอย่างจะได้รับการเฝ้าสังเกตและบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์

ภาคอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและประสิทธิภาพของเทคโนโลยี RFID ในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ และมีการค้นหาแนวทางอื่นๆเพื่อที่จะนำเทคโนโลยี RFID มาปรับใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ผู้ใช้งานเทคโนโลยี RFID ต่างอ้างถึงข้อดีมากมายของเทคโนโลยีนี้ ตัวอย่างเช่น ฉลาก RFID สามารถ “อ่าน” และ “เขียน” ข้อมูลซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ฉลาก RFID สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยการเก็บและแสดงข้อมูลในคราวเดียวกัน ในด้านการดูแลสุขภาพ วัสดุที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เช่น เลือด เป็นข้อมูลที่สำคัญที่ต้องได้รับการเฝ้าติดตามอยู่ตลอดเวลา การติดตามแบบเรียลไทม์ด้วยเทคโนโลยี RFID จึงตอบสนองความต้องการในส่วนนี้ นอกจากนี้ กลุ่มฉลากต่างๆของ RFID ยังสามารถอ่านได้พร้อมกัน รวมถึงการอ่านผ่านวัสดุอื่นๆ อาทิ กล่องและผ้า ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน

ตัวอย่างของเทคโนโลยี RFID ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วยคือการใช้งานโดยการติดตามผู้ป่วยที่ยังคงมีอาการของโรคแบบเรียลไทม์ หรือการติดตามการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ซึ่งสร้างความกังวลมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในขณะที่ระบบติดตามผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น  ระบบเหล่านี้สามารถที่จะแบ่งเบาภาระของแพทย์ได้อย่างมีศักยภาพสำหรับการผ่าตัดโดยลดความต้องการในการตรวจผู้ป่วยประจำวัน ดังนั้นแพทย์จึงมีเวลาเพิ่มขึ้นในการตรวจผู้ป่วยรายอื่นๆ

 

นอกจากนี้ ยังมีการใช้งานฉลาก RFID บนทรัพย์สินของโรงพยาบาลต่างๆ ในวัตถุประสงค์อื่นๆ การใช้งานเทคโนโลยี RFID ดังกล่าวได้รับการทดลองโดย โรงพยาบาลเดนิช ฮอสปิตอล เดด นี ยูนิเวอร์ซิเตต (Danish hospital Det Nye Universitetshospital) เพื่อติดตามทรัพย์สิน 20 อย่างของโรงพยาบาลด้วยฉลาก RFID ตั้งแต่ป้ายชื่อบุคลากรโรงพยาบาลด้วย ไปจนถึงฉลากบนรถเข็น เตียงผู้ป่วย และอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับส่งตรวจตัวอย่างของผู้ป่วย เทคโนโลยีนี้ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามและจัดสรรทรัพย์สินของโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็วผ่านแผนที่บนอุปกรณ์แบบพกพา ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพิ่มความแม่นยำ และพัฒนาการดูแลผู้ป่วย

นอกเหนือจากนี้ เทคโนโลยี RFID ยังสนับสนุนในเรื่องห่วงโซ่อุปทานทางการแพทย์โดยจัดการอุปสงค์และอุปทานของเครื่องมือทางการแพทย์ได้อย่างแม่นยำ (อาทิ สำลี ผ้าเช็ดตัว ฟองน้ำ และเครื่องมือผ่าตัด) และยาที่จ่ายตามใบสั่งแพทย์ เทคโนโลยี RFID ยังช่วยผู้ประกอบการและผู้จัดจำหน่ายติดตามเครื่องมือทางการเมืองที่มีราคาสูงรวมถึงเครื่องมือฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า ข้อต่อเทียม ขดเลือดขยายหลอดเลือด และเลนส์/แก้วตาเทียม สิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือการที่เทคโนโลยี RFID ได้มอบความสามารถในการติดตามส่วนประกอบร่างกายของมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ตัวอย่างเลือดและอวัยวะทั้งหลาย ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษและต้องใช้การติดตามแบบเรียลไทม์

ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลเซนต์ลุคแห่งเมืองแคนซัสซิตี้ (Saint Luke’s Hospital of Kansas City)ในสหรัฐอเมริกา ต้องการติดตามสินค้าคงคลังและระบบการจัดการรุ่นใหม่เพื่อใช้แทนระบบแบบดั้งเดิมในการจัดการโซ่อุปทาน เนื่องจากแพทย์และพยาบาลไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ โรงพยาบาลจึงได้มองหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์ความต้องการ และง่ายต่อการใช้งานในเวลาเดียวกัน มีการเปลี่ยนระบบแบบเดิมมาเป็นระบบการจัดการสินค้าคงคลังที่ใช้เทคโนโลยี RFID ที่ผสมผสานฉลาก RFID เครื่องอ่าน RFID เสาอากาศ RFID คอมพิวเตอร์แบบพกพาและซอฟต์แวร์การจัดการเพื่อให้งานเสร็จสมบูรณ์ จากการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ โรงพยาบาลแห่งนี้ได้ลดค่าใช้จ่ายของสินค้าคงคลังได้ถึง 500,000 ดอลลาร์สหรัฐและลดการสั่งซื้อและสิ่งของที่ไม่จำเป็นลงได้

 

สรุป

 

การเริ่มใช้งานบาร์โค้ดและเทคโนโลยี RFID ได้ก่อให้เกิดความสนใจจำนวนมากเกี่ยวกับความสามารถของเทคโนโลยีเหล่านี้ และเทคโนโลยีดังกล่าวยังมอบการพัฒนาให้แก่อุตสาหกรรมด้านการดูแลรักษาสุขภาพ แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการแสดงผลนี้จะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถมอบการดูแลที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยได้อย่างตรงความต้องการในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะลดการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์และมอบการดูแลที่ตรงความต้องการ นอกจากนี้ แพลตฟอร์มการเคลื่อนที่อันสมบูรณ์จากซีบรายังสนับสนุนสิทธิ์ทั้งห้าของการจ่ายยาเพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย ในขณะที่ส่งเสริมการร่วมมือทางคลินิกสำหรับพนักงานและขับเคลื่อนประสิทธิภาพเชิงปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการดูแลสุขภาพของซีบรา โปรดเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์นี้

 

 

เกี่ยวกับซีบรา เทคโนโลยีส์
ซีบรา (NASDAQ: ZBRA) ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและสามารถเชื่อมต่อกับโลกที่เราอาศัยอยู่ โดยมีโซลูชันการติดตามและการสอดส่องดูแล จะช่วยแปลงสภาพสิ่งที่จับต้องได้ให้กลายเป็นระบบดิจิทัล ซึ่งก่อให้เกิดกระแสการหลั่งไหลของข้อมูลที่องค์กรต้องการ เพื่อช่วยให้การดำเนินธุรกิจง่ายดายขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจได้มากขึ้น และเสริมสร้างประสิทธิภาพให้กับพนักงานที่ทำงานจากอุปกรณ์ไร้สาย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ที่ www.zebra.com



ถูกใจบทความนี้  0