จากบทความเก่าที่ได้แนะนำกันไป https://goo.gl/GxMNkw วิธีนั้นจะเป็นการติดตั้งในรูปแบบมาตรฐานเเดิมของ BIOS รุ่นเก่าที่รองรับ Master boot record (MBR) แต่ในปัจจุบันเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะรองรับการ Boot แบบ UEFI ซึ่งจะกลายเป็นมาตรฐานในอนาคต นอกจากเรื่องความเร็วและประสิทธิภาพที่ดีกว่า MBR ในการติดตั้งแบบ UEFI ยังได้เรื่องความปลอดภัยและการรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอนาคต และตัว Acer Aspire โมเดล VN7 591G นั้นรองรับ UEFI / GPT อยู่แล้ว เราจึงควรติดตั้ง Windows ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดครับ
ถ้าหากเราติดตั้ง Windows ด้วยวิธีเดิม ๆ https://goo.gl/GxMNkw ตามบทความเก่า เมื่อเราไปเปลี่ยนค่า BIOS ให้ Boot ด้วย UEFI โน๊ตบุ๊คของเราก็จะบูทไม่ติดเปิดไม่ขึ้นตามภาพตัวอย่างครับ และในมุมกลับกัน หากเราเลือกติดตั้งแบบ UEFI แต่ใช้ตัวติดตั้งแบบเดิม ตัว BIOS ก็จะไม่เห็นแฟลชไดร์เช่นกัน เราจึงต้องมาทำการเปลี่ยนรูปแบบของตัวติดตั้งกันใหม่ เพื่อให้รองรับการ Boot แบบ UEFI โดยเฉพาะ มาดูวิธีการทำกันได้เลยครับ
เริ่มจากเตรียมความพร้อมของแฟลชไดร์กันก่อน โดยเรายังใช้โปรแกรม MiniTool Partition Wizard Free Edition เหมือนเดิมครับ >>> https://goo.gl/i29cIM
แฟชรไดร์ของเรายังเป็น Master boot record (MBR) ให้ทำการฟอร์แมตเป็นลำดับแรกครับ โดยเลือกเป็น FAT32
คลิ๊กขวาที่ไอคอนแฟลชไดร์ เลือกไปที่คำสั่ง Convert MBR Disk to GPT Disk
กดปุ่ม Apply รอจนเสร็จ แต่ยังไม่ต้องเอาตัวแฟลชไดร์ออกนะครับ เพราะเราจะทำตัวติดตั้ง Windows กันต่อ
จากบทความเก่า https://goo.gl/GxMNkw ผมใช้โปรแกรม Windows 7 USB/DVD Download Tool ในการสร้างตัวติดตั้ง Windows ซึ่งจะได้ตัวติดตั้งที่เป็นแบบ Master boot record (MBR) ซึ่งไม่สามารถใช้งานร่วมกับ Boot Mode แบบ UEFI ได้ครับ
เราต้องสร้างตัวติดตั้งใหม่ให้รองรับ UEFI เสียก่อน โดยใช้โปรแกรม Rufus ซึ่งเป็นของฟรี ดาวน์โหลดได้จากที่นี่ครับ https://goo.gl/GXDnLP
การตั้งค่าให้เลือกตามรูปตัวอย่าง ส่วนอื่น ๆ ไม่ต้องไปสนใจครับ
จากนั้นกดที่ลูกศรชี้ เพื่อ Browse เลือกไฟล์ Windows 10 iso ที่เราได้ทำการดาวน์โหลดมา
ทำไปตามขั้นตอน โดยกดปุ่ม OK
เมื่อแถบสีเขียวเต็ม แสดงว่าการคัดลอกไฟล์เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อย ตอนนี้เราจะได้ตัวติดตั้งในแบบที่รองรับ UEFI แล้วครับ
ขั้นตอนต่อไปคือต้องไปปรับการ Boot ใน BIOS ครับ
โดยเลือกไปที่ Boot Mode ให้เป็นแบบ UEFI จากนั้นกด F10 เพื่อทำการ Restart
และเมื่อเข้าโหมด Restart แล้วให้กดปุ่ม F12 รัว ๆ เพื่อเข้า Boot Option หากไม่มีอะไรผิดพลาด Notebook ของเราจะมองเห็นตัวติดตั้งจากแฟลชไดร์ แต่ถ้าหากเครื่องมองไม่เห็นให้แฟลชไดร์ แสดงว่ามีความผิดพลาดในขั้นตอนการสร้างตัวติดตั้ง ให้เรากลับไปทำซ้ำใหม่อีกหนึ่งรอบครับ
มาถึงขั้นตอนการเตรียมพาร์ติชั่นเพื่อลง Windows ครับ ในการติดตั้ง Windows แบบ UEFI จะรองรับดิกส์แบบ GUID partition table (GPT) เท่านั้น ที่ผมไม่บอกให้ทำการแปลงฮาร์ดดิกส์หลักก่อนติดตั้งนั้นก็เป็นเพราะว่ามันไม่จำเป็นครับ ในขณะติดตั้งผ่านตัว Boot แบบ UEFI จะทำการแปลงรูปแบบดิกส์ให้เราเองโดยอัตโนมัติ
ทำการติดตั้งไปตามปรกติครับ
เมื่อมาถึงหน้าการเลือกพาร์ติชั่น ให้เราลบพาร์ติชั่นที่เราจะลง Windows ด้วยปุ่ม Delete
กดปุ่ม OK เพื่อเป็นการตกลง
จากนั้นคลิ๊กที่ New เพื่อสร้างพาร์ติชั่นใหม่
ถ้าไม่อยากแบ่งพาร์ติชั่นเพื่อขยายไดร์ก็ไม่ต้องเลือกอะไร กดปุ่ม Apply ได้เลย
จะเห็นว่าพาร์ติชั่นแบบ GPT จะมีการแบ่งที่แตกต่างไปจาก MBR ตรงนี้เราก็เลือกลงในพาร์ติชั่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้เลยครับ
หลังจากนี้จะเป็นการติดตั้งไปตามปรกติ
คราวนี้เราก็ได้เพิ่มความแรงให้กับ SSD ไปอีกสเต็ปหนึ่ง เรื่องของความเร็วจะเห็นได้ชัดในขั้นตอนการ Boot ครับ มันจะเร็วมาก นอกจากนี้ยังได้เรื่องของความปลอดภัยที่รัดกุมขึ้น และยังรองรับเทคโนโลยีใหม่ได้อีกในระยะยาว ถ้าหากเมนบอร์ดของเรารองรับ UEFI ก็ควรติดตั้งด้วยวิธีนี้กันนะครับ
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านครับผม
You must be logged in to post a comment.