กรุงเทพฯ — 14 พฤศจิกายน 2559 – ซิสโก้เปิดตัว UCS S-Series หมวดหมู่ใหม่ของเซิร์ฟเวอร์ที่ปรับแต่งเป็นพิเศษสำหรับสตอเรจภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์ Cisco Unified Computing System™ (USC) ซึ่งออกแบบเป็นพิเศษเพื่อตอบสนองความต้องการของเวิร์กโหลดที่มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก เช่น บิ๊กดาต้า (Big Data) และสำหรับการใช้งานสตอเรจที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ การจัดเก็บข้อมูลแบบอ็อบเจ็กต์ และโซลูชั่นการปกป้องข้อมูล UCS S- Series สามารถจัดการกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ซึ่งสร้างด้วย Internet of Things, วิดีโอ, โมบิลิตี้, การทำงานร่วมกัน และระบบวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง ดังนั้นองค์กรธุรกิจจึงสามารถเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกในแบบเรียลไทม์
ข้อมูลที่ไม่ได้จัดเก็บ
ข้อมูลเปรียบเสมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงองค์กร และรูปแบบการใช้งานข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ในอดีตข้อมูลถูกจัดเก็บและเข้าถึงเป็นระยะๆ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมประเมินว่าไม่ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของข้อมูลองค์กรที่จัดเก็บไว้ถูกใช้ในการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เช่น การวิเคราะห์วิดีโอ ระบบภาพเพื่อการวินิจฉัย การวิเคราะห์ข้อมูลสตรีมมิ่ง และการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ก่อให้เกิดการสร้างและใช้งานข้อมูลที่ “ไม่ได้จัดเก็บ” และถูกประมวลผลอย่างต่อเนื่องในแบบเรียลไทม์ โครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ตายตัวในแบบเดิมๆ ไม่สามารถใช้การได้อีกต่อไปในโลกที่มีการสร้างข้อมูลเชิงลึกและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่โซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์สาธารณะอาจมีราคาแพง เพราะชุดข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่สามารถคาดการณ์ได้
“ไอดีซีมองเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแง่ของการปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านธุรกิจ และขับเคลื่อนการเติบโตอย่างกว้างขวางในยุคของแพลตฟอร์มที่ 3 นี้” นายแมตต์ อีสต์วูด รองประธานอาวุโส ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานองค์กรและดาต้าเซ็นเตอร์ของไอดีซี กล่าว “องค์กรต่างๆ กำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิตอล และองค์กรเหล่านี้ต้องการผสานรวมทรัพยากรด้านการประมวลผลและทรัพยากรข้อมูลให้อยู่ใกล้กันมากยิ่งขึ้น แอพพลิเคชั่นรุ่นใหม่ๆ เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลบิ๊กดาต้า ยังคงเป็นเป้าหมายทางด้านไอทีที่สำคัญที่สุด ขณะที่ข้อมูลมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น โครงสร้างพื้นฐานหลักด้านการจัดเก็บข้อมูลก็ถูกปรับเปลี่ยนไปสู่ซอฟต์แวร์ในรูปแบบของเวิร์กโหลดเซิร์ฟเวอร์”
เปิดตัวสตอเรจเซิร์ฟเวอร์ UCS S3260
สตอเรจเซิร์ฟเวอร์ UCS S3260 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์รุ่นแรกในตระกูล UCS S-series รองรับการใช้งานที่หลากหลาย ปรับขนาดได้อย่างรวดเร็ว สามารถเชื่อมต่อกับระบบคลาวด์ ช่วยให้ลูกค้ากลั่นกรองข้อมูลข่าวกรองและข้อมูลเชิงลึกทางด้านธุรกิจ นับเป็นครั้งแรกในแวดวงอุตสาหกรรมสำหรับสถาปัตยกรรมแบบโมดูลาร์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมระบบงานอัตโนมัติของ UCS Manager สตอเรจเซิร์ฟเวอร์ S3260 จึงลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการดูแลรักษาระบบได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับระบบคลาวด์สาธารณะ พร้อมความสามารถในการปรับขนาดโครงสร้างพื้นฐานอย่างเหมาะสมสำหรับการขับเคลื่อนทุกเวิร์กโหลดอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อเทียบกับเซิร์ฟเวอร์รุ่นเก่า UCS S3260 นำเสนอข้อได้เปรียบดังต่อไปนี้:
ลดค่าใช้จ่ายด้านทุน (CapEx) ได้ถึง 34 เปอร์เซ็นต์
ลดการจัดการอย่างต่อเนื่องได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์
ลดการเดินสายสัญญาณได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์
ใช้พื้นที่ตั้งวางอุปกรณ์น้อยลง 60 เปอร์เซ็นต์
ใช้พลังงานน้อยลง 59 เปอร์เซ็นต์
UCS S3260 มอบทางเลือกที่หลากหลายในด้านความจุและประสิทธิภาพ ด้วยความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูงสุด 600 เทราไบต์ การปรับขนาดเป็นระดับเพทาไบต์ได้อย่างราบรื่นด้วย UCS Manager การเร่งความเร็วแคช และการเชื่อมต่อ I/O แบบครบวงจรสำหรับการจัดเก็บข้อมูลทุกประเภท ความสามารถเหล่านี้ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถเปลี่ยนย้ายจากข้อมูลที่ไม่มีการใช้งานในคลังข้อมูลและระบบคลาวด์ไปสู่การใช้งานแบบไดนามิกบนแพลตฟอร์มระดับคลาวด์ พร้อมการประมวลผลความเร็วสูง รองรับการเรียกใช้ วิเคราะห์ และดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลในแบบเรียลไทม์
“เราจัดเก็บข้อมูลบันทึกเสียงหลายล้านชุดสำหรับผู้ใช้ในแต่ละเดือน” นายไบรอัน ฮัมฟรีย์ รองประธานฝ่ายบริการโครงสร้างพื้นฐานของ Xerox กล่าว “สตอเรจเซิร์ฟเวอร์ UCS S-Series ช่วยให้เราลดค่าใช้จ่ายในการนำเสนอบริการดังกล่าวด้วยสตอเรจระดับที่สอง (second-tier) และระบบการจัดการ UCS ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการดำเนินงานของเราในทุกที่ทั่วโลก”
“เช่นเดียวกับที่ซิสโก้เคยใช้ความเชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายเพื่อสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่ผนวกรวมเข้ากับเลเยอร์เครือข่ายและเวอร์ช่วลไลเซชั่นอย่างกลมกลืน ตอนนี้ซิสโก้ก็กำลังใช้ความเชี่ยวชาญดังกล่าวในการพัฒนาสตอเรจ” นายเอริค เฮสเตอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Green Cloud กล่าว “เรามั่นใจว่า UCS เปี่ยมด้วยเสถียรภาพ เราสามารถใช้เครื่องมือการจัดการของซิสโก้ชุดเดียวกับที่เราใช้งานอยู่แล้ว และเซิร์ฟเวอร์ของซิสโก้ที่ปรับแต่งเป็นพิเศษสำหรับการจัดเก็บข้อมูลช่วยให้เราเพิ่มความหนาแน่นได้ถึง 25 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับโซลูชั่นสตอเรจทั่วไป”
“การจัดเก็บข้อมูลอย่างรวดเร็วมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการกู้คืนระบบในทันที และ Cisco UCS® S-Series คือองค์ประกอบสำคัญ” นายแดน ทิมโก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Cirrity กล่าว “ถ้าปราศจากซิสโก้ เราก็คงไม่สามารถพัฒนา vStream™ Vault ได้สำเร็จ”
“สตอเรจระดับองค์กรกำลังเปลี่ยนย้ายจากแพลตฟอร์มแบบเฉพาะงานไปสู่ฮาร์ดแวร์ที่รองรับการใช้งานทั่วไป แต่อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์แต่ละรุ่นไม่ได้มีคุณสมบัติเท่าเทียมกัน” นายสตีเว่น ฮิลล์ นักวิเคราะห์อาวุโสฝ่ายสตอเรจของ 451 Research กล่าว “เซิร์ฟเวอร์ UCS S-Series ของซิสโก้ให้ความหนาแน่นของไดรฟ์ที่เหนือกว่า พร้อมทางเลือกด้านฮาร์ดแวร์ x86 ที่ปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น จึงสามารถปรับแต่งได้อย่างง่ายดายสำหรับแอพพลิเคชั่น SDS ที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้น เซิร์ฟเวอร์ S-Series ยังผนวกรวมอย่างกลมกลืนเข้ากับระบบการจัดการ UCS ของซิสโก้ รวมไปถึงแพลตฟอร์มระบบงานอัตโนมัติสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ พร้อมการสนับสนุนและบริการที่เหนือชั้นครอบคลุมทั่วโลกของซิสโก้”
ชุดโซลูชั่น Cisco ONE™ Enterprise Cloud Suite รุ่นใหม่
พร้อมกันนี้ ซิสโก้ได้เปิดตัวชุดโซลูชั่น ONE Enterprise Cloud Suite รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นโซลูชั่นซอฟต์แวร์สำหรับไฮบริดคลาวด์ที่มอบอิสระในการเลือกใช้งานสำหรับทีมงานฝ่ายแอพพลิเคชั่น และนำเสนอพอร์ทัลบริการตนเองที่สามารถปรับแต่งสำหรับผู้ใช้ ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น และบุคลากรฝ่ายไอที ชุดโซลูชั่น Cisco ONE Enterprise Cloud Suite นำเสนอระบบไฮบริดคลาวด์สำหรับระบบงานอัตโนมัติที่ครอบคลุมหน่วยงานด้านไอทีและฐานผู้ใช้ทั้งหมด โซลูชั่นนี้ช่วยให้ทีมงานสามารถปรับใช้ระบบดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบคลาวด์ภายในองค์กร และระบบคลาวด์สาธารณะมากกว่า 20 ระบบ นอกจากนี้ ยังมีทางเลือกใหม่สำหรับบริการสำหรับการใช้งาน 1, 3 และ 5 ปี ช่วยให้ลูกค้าเลือกใช้แผนบริการระบบงานอัตโนมัติที่เหมาะสมในระดับราคาที่คุ้มค่ามากที่สุด
ชุดโซลูชั่น ONE Enterprise Cloud Suite มี 4 ข้อเสนอที่สามารถเลือกใช้เพียงลำพังหรือใช้ร่วมกัน
ระบบงานโครงสร้างพื้นฐานอัตโนมัติ (Infrastructure Automation): เพิ่มความรวดเร็วในการนำเสนอบริการและแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ด้วยสภาพแวดล้อมโครงสร้างพื้นฐานที่รวดเร็ว สอดคล้อง และปราศจากข้อผิดพลาด รองรับการทำงานของทีมงานฝ่ายธุรกิจและแอพพลิเคชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการบริการ (Service Management): เสริมศักยภาพของลูกค้าด้วยการสั่งซื้อแบบบริการตนเองและการจัดการบริการผ่านอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย
การจัดการระบบคลาวด์ (Cloud Management): เพิ่มความรวดเร็วในการนำเสนอบริการและแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ พร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายในด้านการพัฒนา ด้วยการสร้างแบบจำลองโปรไฟล์แอพพลิเคชั่นเพียงครั้งเดียว และสามารถนำไปใช้กับระบบไฮบริดหลายๆ ระบบ
ระบบงานอัตโนมัติสำหรับบิ๊กดาต้า (Big Data Automation): สร้างความสอดคล้องด้วยการติดตั้ง จัดสรร และปรับใช้คลัสเตอร์ Hadoop และ Splunk ภายในคลิกเดียว ลดความเสี่ยงด้วยการวินิจฉัยและการวิเคราะห์ข้อมูลประวัติที่รวดเร็วจนเกือบจะเป็นแบบเรียลไทม์
ดาต้าเซ็นเตอร์ ASAP ของซิสโก้
เทคโนโลยีเพิ่มเติมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมดาต้าเซ็นเตอร์รุ่นอนาคตของซิสโก้ ซึ่งช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถผสานรวมแง่มุมที่ดีที่สุดของระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ภายในองค์กร และผลลัพธ์ที่ได้คือ แพลตฟอร์มคลาวด์แบบไฮบริดที่ปลอดภัย คล่องตัว และครบถ้วนสมบูรณ์ ปัจจุบันองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องนำเสนอบริการและแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น และหลายๆ องค์กรเริ่มหันไปใช้รูปแบบการผนวกรวมและนำเสนออย่างต่อเนื่อง (Continuous Integration and Continuous Delivery – CICD) และในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีดิจิตอลนำไปสู่การสร้างแอพพลิเคชั่นระดับองค์กรใหม่ๆ หลายพันแอพพลิเคชั่น ซึ่งกลายเป็นอินเทอร์เฟซหลักระหว่างลูกค้ากับองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกรรมดิจิตอล เพื่อรองรับความท้าทายดังกล่าว ซิสโก้จึงกำหนดกลยุทธ์ที่จะนำเสนอสถาปัตยกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถวิเคราะห์ ลดความยุ่งยากซับซ้อน สร้างระบบงานอัตโนมัติ และปกป้อง (Analyze, Simplify, Automate, and Protect) ข้อมูลและแอพพลิเคชั่นต่างๆ หรือที่เรียกว่า ดาต้าเซ็นเตอร์ ASAP สถาปัตยกรรมของซิสโก้มีข้อได้เปรียบที่โดดเด่น เพราะมีการผนวกรวมระบบวิเคราะห์ข้อมูล ระบบเครือข่าย ระบบประมวลผล และระบบรักษาความปลอดภัย ด้วยนโยบายที่สอดคล้องกันภายในดาต้าเซ็นเตอร์ โดยครอบคลุมระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งหมด
UCS Developer Center บน Cisco DevNet
เพื่อสนับสนุนลูกค้าและพันธมิตรของซิสโก้ในการสร้างระบบงานอัตโนมัติด้วย UCS Director ทีมงาน Cisco DevNet จึงได้ปรับปรุง UCS Developer Center เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่นักพัฒนาในการใช้ประโยชน์จาก API ของ UCS Manager และ UCS Director สำหรับระบบงานอัตโนมัติ DevOps ส่วนปรับปรุงครอบคลุมถึงแล็บการเรียนรู้ด้วยตนเอง พร้อมหลักสูตรการเรียนรู้ที่ปรับแต่งตามความต้องการของนักพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและแอพพลิเคชั่น
บริการ Open Pay ของซิสโก้
บริการ Open Pay จากซิสโก้ แคปปิตอล (Cisco Capital) มอบทางเลือกที่ยืดหยุ่นสำหรับการจัดซื้อโซลูชั่น Cisco Unified Computing System และโซลูชั่นสตอเรจบางรุ่นสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่มีการผนวกรวม เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยการจ่ายเงินตามระดับความจุที่ปรับได้ ลูกค้าจึงสามารถปรับเปลี่ยนการชำระเงินในอนาคตให้สอดคล้องกับการใช้งานจริง
ถูกใจบทความนี้ 0
You must be logged in to post a comment.