Lenovo K6 Power สมาร์ทโฟนรุ่นเล็กราคาประหยัดแต่สเปคและความสามารถไม่เล็กเลย เพราะมีฟีเจอร์ที่หลายคนต้องการอาทิ การเล่น Line 2 บัญชี ทั้งยังให้แบตเตอรี่ความมจุสูงมากมาให้ถึง 4,000mAh อีกตะหาก ฉะนั้นหมดกังวลเรื่องแบตหมดระหว่างวันได้เลยล่ะ แต่ฟีเจอร์อื่นและสเปคเต็มๆ เชิญอ่านต่อ
Lenovo K6 Power Specs:
– IPS LCD Full HD 5.0 นิ้ว
– Qualcomm MSM8937 Snapdragon 430 Octa-core 1.4 GHz Cortex-A53
– หน่วยความจำภายในตัวเครื่อง 32GB/Ram 3GB
– กล้องหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล (PDAF) พร้อมไฟแฟลช LED
– กล้องหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล
– Wi-Fi 802.11 b/g/n, hotspot
– Bluetooth 4.2
– Fingerprint Scanner
– 141.9 x 70.3 x 9.3 mm.
– Weight 145g
– Dual Sim Card หรือ Single Sim & Micro SD Card
– Battery 4,000mAh
– Android 6.0.1 Marshmallow
– ราคา 6,990 บาท
แกะกล่อง
กล่องของ K6 Power มาแบบหวานแหววมาก สีกล่องชมพูม่วงส้มฟ้าแบบสีสันได้อีกจริงๆ หน้ากล่องเผยให้เห็นหน้าตาตัวเครื่องกลืนกับพื้นหลังกล่องไป
ด้านหลังกล่องบอกจุดเด่นต่างๆ ของตัวเครื่อง อาทิ แบตเตอรี่ใช้ได้ยาวนาน, เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ และระบบเสียง Dolby พร้อมสเปคเครื่องแบบค่อนข้างละเอียดด้านใต้
แกะกล่องออกมาจะพบกับ K6 Power นอนรออยู่ในถุงพลาสติกขาวๆ
อุปกรณ์ในกล่องทั้งหมดมีดังนี้
1.ตัวเครื่อง K6 Power
2.Small Talk
3.Adapter
4.Micro USB Cable
5.เข็มจิ้มซิม
6.คู่มือ
Adapter สีขาวจ่ายไฟแรง 5.2V 2.0A
Small Talk เป็นแบบปกติ ไม่ใช่ in-ears นะจ๊ะ
เข็มจิ้มถาดซิมนี่หน้าตาแข็งแรงดีมาก
มาดูตัวเครื่องกันดีกว่า แกะกล่องกันแบบสดๆ เลยจริงๆ พลาสติกที่แปะหน้าเครื่องยังไม่ลอกออกเลย ตัวเครื่องขนาด 5 นิ้ว ปัจจุบันนี่กลายเป็นเล็กไปซะละ
หน้าจอ IPS Full HD ให้ภาพคมชัดดี แต่สีจอดูแอบติดโทนอะไรมาหน่อย ไม่แน่ใจว่าเพราะชินกับเครื่องอื่นรึเปล่า แต่ไม่ได้แย่อะไรเพราะสีจอนี่ใช้ไปสักพักก็ชินตาเอง เหนือหน้าจอจะมีกล้องหน้าแปดล้านอยู่ทางขวา
ใต้หน้าจอมีปุ่มสัมผัสสามปุ่มอยู่บนตัวเครื่องมิใช่จอ เป็นปุ่ม Recent Apps, Home, Back
ตัวเครื่องเป็นแบบ Uniboody ไม่สามารถถอดฝาหลังได้นะ ส่วนวัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่องนี่ดูเหมือนโลหะเพราะเจอแอร์เย็นๆ แล้วอุณหภูมิเหมือนมันติดมาด้วย
กล้องหลังความละเอียดสิบสามล้านพิกเซลจะถูกวางอยู่ตรงกลาง พร้อมไฟแฟลช LED ด้านล่าง ถัดมากลมๆ นั่นคือเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่แตะปุ๊บปลดล็อคปั๊บ
ด้านล่างฝาหลังมีลำโพงอยู่ อ๊ะๆ ลำโพงคู่ซะด้วย แต่ผมเข้าใจว่าคือลำโพงตัวเดียวแต่เป็นแนวยาวนะ เสียงก็ออกโทนสูงแหลมๆ
ด้านบนตัวเครื่องมีช่องเสียบหูฟังและช่องเสียบสายชาร์จ/ซิงค์แบบ Micro USB ทั้งนี้จะเห็นว่าตัวเครื่องจะดูหนาๆ เล็กน้อย เข้าใจว่ามาจากการยัดแบตเตอรี่ขนาดใหญ่มาให้นี่ล่ะ แต่เอาจริงๆ ก็ไม่ได้หนาอะไรขนาดนั้น
ด้านซ้ายมีช่องให้จิ้มถาดใส่ซิมออกมา
แน่นอนว่ารองรับ 2 ซิมถาดซิมเลยเป็นแบบ Hybrid Slot เลือกได้ว่าจะใส่สองซิมหรือ Micro SD
ด้านขวาของตัวเครื่องมีปุ่มเพิ่มลดเสียงและปุ่ม Power
ล่างตัวเครื่องจึงเหลือเพียงไมโครโฟนสำหรับสนทนาเท่านั้น เพราะช่องเสียบสายชาร์จย้ายไปอยู่ด้านบนเรียบร้อยแล้ว
อย่างที่รู้กันว่าเจ้า K6 Power ขนาด 5 นิ้วเอง ฉะนั้นถือใช้งานมือเดียวนี่ยิ่งกว่าสบายอีก
Software
User Interface ของ K6 power นั้นไม่ใช่ Pure Android โดยจะถูกครอบมาด้วย Launcher ที่ทาง Lenovo พัฒนาขึ้นมา การใช้งานก็ไม่ได้แตกต่างจากแอนดรอยด์ที่เคยใช้กันเพราะมีการแบ่งแยกหน้า Home กับ App Drawer ทั้งยังให้เราค้นหาแอพฯ ได้อีกด้วย เผื่อบางทีหาแอพฯไม่เจอมันก็จำเป็นอยู่นะ
Launcher ของเครื่องยังสามารถเปลี่ยน Theme ได้ที่ Theme Center ด้วยนะ แต่ตัวเลือกมีไม่มากเท่าไหร่นัก
Notification Bar มีการแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือระดับการแจ้งเตือนว่ามีอะไรเข้ามาบ้างถ้าเราลากลงมาหนึ่งครั้ง หากลากอีกครั้งถึงจะเจอทางลัดต่างๆ ในการเปิดปิด Wi-Fi, Bluetooth, Data ฯลฯ แน่นอนว่าสามารถปรับแต่งได้ด้วยว่าจะวางตำแหน่งตรงไหนอย่างไรให้ถูกใจเรา
Notification Bar ยังสามารถปรับแต่งได้หลากหลายอยู่นะ เช่นให้แสดงสถานะแบตเตอรี่หรือไม่แสดง, ให้แสดงหรือไม่แสดงการแจ้งเตือนเวลาสั่งจับภาพหน้าจอ, แสดงการเชื่อมต่อ Wi-Fi, Bluetooth หรือจะให้เห็นความเร็วของเครือข่ายก็ทำได้
Feature ลูกเล่นต่างๆ มากมายรวมไว้ในนี้เลย
– Quick Snap: ขณะหน้าจอดับ กดปุ่มเพิ่มหรือลดเสียงสองครั้งเพื่อเปิดกล้องและถ่ายรูปทันที
– Knock to light: เคาะหน้าจอสองทีเพื่อให้หน้าจอติดขึ้นมา
– Wide Touch: เมื่อเปิดจะมีปุ่มกลมๆ บนหน้าจอ เหมือน Assistive Touch เป็นปุ่มทางลัดในการสั่งการต่างๆ อาทิเช่น ล็อคหน้าจอ, หรือสั่งเปิดแอพพลิเคชั่น
– Fingerprint Snap: แตะเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือเพื่อสั่งถ่ายรูป
– Dual App profile: เปิดใช้งานแอพเดียวสองบัญชีได้ อันนี้ดีนะ ใครมี Line 2 account ก็เล่นมันเครื่องเดียวจบ
– Press Power button twice for camera
– Quick Flashlight: กดปุ่มโฮมค้างขณะอยู่หน้าล็อคสกรีนเพื่อเปิดไฟฉาย
– Decrease Tone Volume: ลดเสียงสายเรียกเข้าทันทีเมื่อหยิบโทรศัพท์ขึ้นมา
Power Manager: การจัดการพลังงานของเครื่องมีโหมดประหยัดพลังงานให้เลือกสองแบบคือ
– Battery Saver: อันนี้เหมือนจำกัดการใช้ CPU ให้ทำงานไม่เร็วนัก แต่ยังใช้งานทุกอย่างได้ปกติ
– Ultra Power Saver: โหมดโคตรประหยัดพลังงาน ซึ่งทำมาได้เหมาะกับชื่อมาก เพราะเปิดใช้งานเมื่อไหร่ โทรศัพท์เราแทบจะกลายเป็นฟีเจอร์โฟนทันที ตัดทุกสิ่ง อด Social
Storage & USB: ตัวเครื่องมีหน่วยความจำ 32GB พร้อม Trash Cleaner เอาไว้เคลียร์ค่าขยะต่างๆ เวลาเราใช้ไปนานๆ เพื่อคืนพื้นที่ได้ โดยไม่ต้องไปสรรหาแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติม ส่วน Ram 3GB บอกเลยว่าเหลือใช้มากเพราะไม่มีแอพฯ ที่ติดมากับเครื่องเพื่อดูดแรมเท่าไหร่
Camera
กล้องหลักของ K6 Power มีความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ซึ่งมาพร้อมระบบโฟกัส PDAF ตัว Software ทำมาได้ดี เพราะมี Smart ในการช่วยดูว่าตอนนี้เราถ่ายภาพแนวไหนอยู่ ซึ่งมันฉลาดพอตัวว่าถ่ายวิว, คน ฯลฯ มันก็จะขึ้นว่าเรากำลังถ่ายสิ่งนี้อยู่และช่วยปรับภาพให้
โหมดการถ่ายรูปมีไม่เยอะ แต่เหลือเฟือนะ
Artistic HDR นี่มีให้เลือกหลายแบบ แต่ที่ใช้หลักๆก็คือ Classic กับ City นี่ล่ะเพราะชีวิตวนเวียนอยู่แต่ในเมือง
โหมด Pro ปรับได้พอประมาณ ISO, EV, White Balance, Focus และ Shutter Speed
ต่อไปเป็นตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องสดๆ ไม่ตกแต่งแค่ย่อขนาดและใส่ลายน้ำ ส่วนภาพไหนใช้ HDR แบบไหนจะบอกใต้ภาพ
เริ่มกันที่ภาพถ่ายวิวยามเช้ากันก่อนเลย
ภาพนี้เปิด HDR แบบ City ได้อารมณ์เหมือนภาพการ์ตูนเล็กๆ เหมือนดูเรื่อง Your Name เลยล่ะ คือสีสันจัดจ้านมาก
แสงก่อนพระอาทิตย์ลับฟ้าบ้าง Auto ก็ทำได้ดีเช่นเคย
แต่ถ้าเอาสะใจไงๆ ก็ต้อง HDR City
ลองเทียบ 3 ภาพมุมเดิม แต่ไล่เป็น Auto, HDR Classic, HDR City
เริ่มมืดแล้ว ก็ยังพอถ่ายออกมาได้นะ สามภาพสามสไตล์เช่นเคย Auto, HDR Classic & HDR City
ลองถ่ายย้อนแสงไปหาพระอาทิตย์บ้าง
กล้องหน้าของ K6 Power จะมีความสวยของหน้า 7 ระดับ โดยเทียบให้ดู 3 ระดับ ภาพแรกเป็นระดับ 0 ภาพสองระดับ 4 และภาพสามระดับ 7 เล่นซะหน้าสวยเนียนเลยทีเดียวเชียว
สรุป: Lenovo K6 Power เป็นสมาร์ทโฟนรุ่นเล็กพันธ์อึด ฟีเจอร์ครบครันในราคาสบายกระเป๋าเพียง 6,990 บาท ได้ขนาดหน้าจอพกพาง่ายพอดีมือ ความสามารถเพียบ กล้องถ่ายรูปใช้งานได้ดี ทั้งหน้าหลัง ให้โหมดถ่ายภาพมาพอใช้ไม่เยอะเกินไป เพราะกล้องมือถือต้องยกขึ้นมาแล้วถ่ายไม่ใช่มานั่งตั้งค่าให้วุ่นวาย จะโหลดเกมส์เล่นก็ทำได้เพราะมีหน่วยความจำภายในตัวเครื่องมาให้เยอะพอประมาณเลย ส่วนข้อเสียหลักๆ ก็คงเป็นเรื่องของแบรนด์ที่ยังไม่ติดตลาดมากนักในส่วนของสมาร์ทโฟนฉะนั้น เคสหรือฟิล์มกันรอยอาจมีตัวเลือกไม่มากเท่าไหร่นัก แต่เท่าที่ดูก็มีเคสใส เคสหนังฝาพับ ฟิล์มกระจกอยู่ ก็ถือว่าสบายใจได้ระดับนึง อีกข้อเสียนึงก็คือเรื่องของการใช้งาน 2 ซิมนั้นรองรับแบบ 4G/2G ไม่ใช่ 4G/3G ซึ่งหลายๆ รุ่นในราคาใกล้กันเค้าทำได้แบบ 4G/3G แต่ด้วยราคาเท่านี้กับสเปคและความสามารถแบบนี้ก็คงต้องบอกว่าเป็นหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจเลยล่ะ
You must be logged in to post a comment.