ข้อมูลและไฟฟ้า จะขับเคลื่อนยานยนต์ สู่ทิศทางใหม่ในปี 2560

automotive1

การแข่งขันเพื่อนำวัสดุชนิดใหม่ที่มีน้ำหนักเบา เข้ามาเป็นรูปแบบอันสำคัญจะรุนแรงมากขึ้น ขณะที่กระบวนการผลิตที่ใช้มานานหลายทศวรรษ จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบใหม่ และจีนจะผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำในการผลิตพาหนะที่ใช้ไฟฟ้า (อีวี)

 

Stefan Issing-095218

ข้อมูลและไฟฟ้า จะขับเคลื่อนยานยนต์ สู่ทิศทางใหม่ในปี 2560 โดย สเตฟาน อิสซิง ผู้อำนวยการอุตสาหกรรมโลก ด้านยานยนต์ จากไอเอฟเอส

 

 

Aotomotive 1

Aotomotive 2

การแข่งขันของยานยนต์ในปี 2560 จะเป็นไปอย่างดุเดือด แต่จะมาจากทิศทางที่เหนือความคาดหมาย ซึ่งนายสเตฟาน อิสซิง ผู้อำนวยการอุตสาหกรรมยานยนต์โลก จากไอเอฟเอส คาดการณ์ว่า แนวโน้มเหล่านี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในปี 2560

 

 

automotive1

อีวีมาแรงในฝั่งตะวันออก

ในปี 2560 ผู้บริโภคในโลก จะเดินหน้าแข่งขันลดการปล่อยมลพิษลงมา ซึ่งจากการวิเคราะห์ของ

ฮอร์วาธ  ระบุว่า ยอดขายรถยนต์พลังงานทางเลือกจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า คิดเป็นสัดส่วน 20% ของยอดขายรถยนต์ทั่วโลกในปี 2560 เทียบกับระดับ 10% เมื่อปี 2558

ยอดขายที่เพิ่มขึ้นมาใหม่นี้ ส่วนใหญ่ยังมาจากจีน ประเทศที่ยังเป็นตลาดสำคัญในการผลิตรถไฟฟ้าเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง โดยที่ยุโรป และสหรัฐฯ ยังล้าหลังอยู่

ในปี 2558 จีนได้ผลิตรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 109,000 คัน มาอยู่ที่ 240,000 คัน และยิ่งเห็นภาพชัดเจนขึ้น จากการที่ในช่วงเดียวกันนั้น สหราชอาณาจักรมียอดขายรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 18,000 คัน มาอยู่ที่ 23,000 คัน

เมื่อเดือน กรกฎาคม  ปี 2559  ส่วนแบ่งตลาดของรถไฟฟ้าในจีน สามารถทะลุเส้นกั้น 1% ได้ ขึ้นมาอยู่ที่ 1.1% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมด ซึ่งแม้จะดูไม่มากนัก แต่ 1.1% ที่ว่านี้ หมายความว่า มีรถไฟฟ้าใหม่เอี่ยม 34,000 คันออกมาวิ่งบนท้องถนนของจีนในเดือนกรกฎาคม ปี 2559 เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายนถึง 188%

ในปี 2560 และ 2561 จีนยังจะแซงหน้ายุโรป และสหรัฐฯต่อไปในด้านการผลิตรถไฟฟ้า และส่วนแบ่งทางการตลาด                                                                         

จีนทำอย่างไรถึงประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ และได้ให้บทเรียนอะไรกับผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ  (โออีเอ็ม) และเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของสหรัฐฯ และยุโรป

จีนได้กำหนดเป้าหมายไว้ในระดับสูงสำหรับการลดบริโภคพลังงานในรถยนต์ มาตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งในช่วงเริ่มต้นแผนช่วงที่ 4 สำหรับการลดบริโภคพลังงานนั้น จีน  ได้ทำเหมือนยุโรป คือ  รวมการให้แรงจูงใจกับผู้บริโภคไว้ด้วย แต่ที่แตกต่างจากยุโรป สหรัฐฯ หรือ แคนาดา ก็คือ ได้มีการกำหนดเป้าหมายอย่างเข้มงวด สำหรับการลดปริมาณบริโภคพลังงาน ทั้งสำหรับรถยนต์รายคัน และรถยนต์จำนวนมาก

แผนช่วงที่ 4 ที่เปิดฉากขึ้นในเดือนมกราคม 2559 กำหนดเป้าหมายโดยเฉลี่ยสำหรับรถยนต์ใหม่ไว้ที่ 5.0 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร สำหรับรถยนต์ที่ขายในปี 2563 และแม้จะมีความซับซ้อน แต่ระบบก็มีความยืดหยุ่น โดยแผนช่วงที่ 4 นี้ ได้กำหนดตารางเวลาที่ยืดหยุ่นสำหรับผู้ผลิต ที่จะปรับตัวให้ได้ตามนโยบายที่วางไว้ ประกอบกับการให้เครดิตการบริโภคพลังงาน สำหรับเทคโนโลยีประหยัดพลังงานในวงจรการทำงานต่างๆ ของรถยนต์ อย่าง การติด หรือปิดเครื่องยนต์ ระบบตรวจสอบแรงดันยาง ไฟบอกเกียร์  และระบบเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพ  ซึ่งการตั้งเป้าหมายขับเคลื่อนในระยะยาวนี้ จะทำให้เกิดผู้ชนะขึ้นมา

รายงานของแมคคินซีย์ในปี 2559 ที่ชื่อว่า “ค้นหาทางด่วน: แนวโน้มเกิดใหม่ในตลาดรถยนต์จีน” ระบุว่า เจ้าของรถไฟฟ้าส่วนใหญ่ในจีน อยากซื้อรถไฟฟ้าอีก ซึ่งสัดส่วนของผู้บริโภคที่บอกว่า พวกเขาสนใจที่จะซื้อรถไฟฟ้านี้ เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า นับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา

บทเรียนจากโออีเอ็ม และเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายในยุโรป ที่เห็นได้ชัดเจน คือ ในระยะยาว กลยุทธ์รถไฟฟ้า ที่รวมถึง การให้คำมั่นสัญญาทีละน้อยๆ กับลูกค้าจะได้ผลมากกว่า ตัวอย่างเช่น เมื่อเทียบผลประกอบการของจีน กับเยอรมนีแล้ว แรงจูงใจระดับพรีเมียมที่นำเสนอให้กับผู้ซื้อ จะทำให้เกิดยอดขายรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพียง 8% เท่านั้น (ขายได้ 14,013 คัน)

เครือข่ายสถานีชาร์จไฟ ถือเป็นศูนย์กลางสำหรับความสำเร็จของจีนเช่นกัน ซึ่งแม้จะยังมีความต้องการอีกมาก แต่ระหว่างปี 2553- 2558 จำนวนสถานีชาร์จไฟในจีนเพิ่มขึ้นจาก 1,122 แห่ง มาอยู่ที่ 49,000 แห่ง โดยมาจากสถานีชาร์จไฟของเอกชน และการตั้งสถานีสำหรับรถบัส และรถขนส่ง

ในปี 2558 ยอดรวมของสถานีชาร์จไฟพุ่งถึง 160,000 แห่ง โดยจีนตั้งเป้าที่จะสร้างสถานีชาร์จไฟกลาง 12,000 แห่ง และสถานีชาร์จไฟตามมณฑลต่างๆ 4.8 ล้านแห่ง ภายในปี 2563 เพื่อรองรับความต้องการของอีวีที่คาดว่าจะมีราว 5 ล้านคัน โดยกลยุทธที่แข็งแกร่งในด้านการจัดตั้งสถานีชาร์จไฟ ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มจำนวนผู้ใช้รถไฟฟ้า

ในปี 2560 เราอาจเห็นผู้ผลิตยุโรป มีบทบาทในจีนเพิ่มขึ้นในด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยก้าวหน้า และการทดสอบการชน ซึ่งในปัจจุบัน จีนได้มีการนำรถยนต์ที่ผลิตในท้องถิ่นจำนวนมากไปทดสอบในยุโรปอยู่แล้ว โดยปี 2560 และปีต่อๆ ไป ผู้ผลิตยุโรป จะช่วยจีนพัฒนาความสามารถในด้านความปลอดภัย และการทดสอบ จากการที่จีนยังคงแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ ของการมีกลยุทธ์อีวีแบบเบ็ดเสร็จ และแข็งแกร่ง

 

ยิ่งเบายิ่งแรง การแข่งขันเพื่อวัสดุที่เบากว่าใคร

ฟอร์มูลา วัน ถือเป็นสถานที่ร้อนแรงสำหรับการพัฒนาความเร็วที่สูงอย่างมาก น้ำหนักที่เบาเป็นพิเศษ ความแข็งแกร่ง และวัสดุที่ทนทานต่อการชน  ในปี 2560 การพัฒนาวัสดุ และเทคโนโลยี ของฟอร์มูลา วัน จะยังคงถ่ายโอนไปสู่ผู้ผลิตกระแสหลัก แต่ต้นทุนยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญอยู่ การทำการตลาดด้วยเงินก้อนโต หมายความว่า ต้นทุนของผู้พัฒนาฟอร์มูลา วัน จะไม่ใช่เรื่องสำคัญเป็นอันดับต้นๆ อีกต่อไป แต่เป็นเรื่องสำคัญของผู้ผลิตโออีเอ็ม อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มคุณภาพ และลดค่าใช้จ่ายลงมา

ปี 2559 ถือว่าเป็นปีที่มีความก้าวหน้าอย่างมากสำหรับรถยนต์หลายรุ่น ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น เบาขึ้น และมีกำลังแรงมากขึ้น และเราจะเห็นมากกว่านี้ในปี 2560 ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึง การแข่งขันอย่างจริงจังที่บรรดาผู้ผลิตขนาดใหญ่ต้องเจอ เมื่อพวกเขาได้เรียนรู้จากผู้ผลิตชั้นนำ ที่มีนวัตกรรม และมีขนาดเล็กกว่า

ลองพิจารณาจากเรนจ์โรเวอร์ อีโวค รุ่นใหม่ ปี 2016 ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น และกำลังแรงมากขึ้น ทั้งยังมีขนาดเบากว่ารุ่นก่อนหน้านี้ 300 กิโลกรัม  เครื่องยนต์อันทรงพลังของอีโวครุ่นใหม่ ผลิตจากอลูมิเนียมทั้งหมด และมีน้ำหนักเบากว่ารุ่นก่อนราว 20-30 กิโลกรัม ประหยัดน้ำมันได้มากสุดถึง 4.2 ลิตร ต่อ 100 กิโลเมตร และมีระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 109 กรัมต่อกิโลเมตร

บีเอ็มดับเบิลยูเอง ก็มีการบุกเบิกใช้วัสดุที่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ และอลูมิเนียมแบบใหม่ โดยรถยนต์รุ่นไอ8 ปี 2016 ใช้ชิ้นส่วนที่เป็นคาร์บอน และคาร์บอนไฟเบอร์ มากกว่าทุกรุ่นที่ผ่านมา ประกอบด้วยอลูมิเนียม แมกนีเซียม เหล็กกล้ากำลังสูง และพลาสติกเสริมแรงด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ (ซีเอฟอาร์พี) ไอ8 มีน้ำหนักเบากว่ารถรุ่นก่อนนี้มากกว่า 63 กิโลกรัม

แต่รถในตระกูลอี-ตรอนใหม่ ของออดี้ นำเทรนด์ทุกอย่างมารวมไว้ด้วยกัน ทั้งความเร็วสูง กำลังแรง ไฮบริด ที่ถูกนำมารวมไว้กับแบตเตอรีที่มีขนาดเพิ่มขึ้น และน้ำหนักที่เบาขึ้น เป็นรถไฮบริดแบบเสียบปลั๊กคันแรก ที่มาพร้อมกับเครื่องยนต์ดีเซล 6 สูบ โดยอีตรอนเผาผลายพลังงาน 1.7 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ถึง 50 กรัมต่อกิโลเมตร แบตเตอรีลิเธียมไอออนเก็บไฟได้ 17.3 กิโลวัตต์ เมื่อใช้งานระบบไฟฟ้าทั้งหมดสามารถวิ่งไกลสุดได้ถึง 56 กิโลเมตร โครงสร้างตัวถังพัฒนามาจากวัสดุใหม่หลายแบบ ที่ออกแบบมาให้ใช้กับอลูมิเนียม และเหล็กน้ำหนักเบาคุณภาพสูง โดยรถเอสยูวีทั้งคัน มีน้ำหนัก 1,995 กิโลกรัม ใกล้เคียงกับน้ำหนักของกับแกรนด์เปียโนที่ใช้แสดงคอนเสิร์ต

เรื่องของวัสดุใหม่ ถือเป็นแค่เพียงครึ่งหนึ่งของเรื่องนี้เท่านั้น รถยนต์รุ่นใหม่ หมายถึง กระบวนการใหม่ด้วย

การเติบโตของรถไฟฟ้า และไฮบริด หมายความว่า ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ นับตั้งแต่รถยนต์รุ่น ที ของฟอร์ด เปิดตัวออกมาอย่างแท้จริง แบตเตอรีของรถไฟฟ้า และไฮบริด ถือเป็นหนึ่งในชิ้นส่วนท้ายๆ ที่ต้องติดตั้งเข้าไป บริเวณส่วนท้ายของรถยนต์ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงจากกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม

ในส่วนของออดี้ อีตรอนนั้น มีการติดตั้งเครื่องยนต์ตามความยาว สร้างขึ้นโดยใช้ระบบเมตริกซ์โมดูลาร์ที่มีความซับซ้อน ห่างไกลจากสายการผลิตแบบดั้งเดิมอย่างมาก

สำหรับผู้จัดหา และผู้ผลิตระบบอัตโนมัติแล้ว กระบวนการผลิตแบบใหม่จะช่วยส่งเสริมความได้เปรียบทางการแข่งขันของพวกเขา

โรงงานผลิตอย่าง  โรงงานของเทสลา ที่มีสถานีอัตโนมัติหลายแห่งแทนสายการผลิตแบบเดิม  จะกลายมาเป็นบรรทัดฐานใหม่ โดยโรงงานของเทสลา มีการจ้างงาน 3,000 คน และมีหุ่นยนต์อเนกประสงค์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 180 ตัว ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตทุกด้าน

อายุการใช้งานของรถยนต์ลดลงไปทุกปี รถยนต์รุ่นใหม่ออกมาอย่างรวดเร็ว ในปี 2560 เราจะเห็นแกนหลักของการผลิตรถยนต์ สายการผลิตรถยนต์ ที่มีความกระชับ เป็นแบบอัตโนมัติ และมีความหลากหลาย ทั้งยังทำการผลิตได้เร็วขึ้นมาก เนื่องจากบรรดาผู้ผลิต และผู้จัดหา ต่างแข่งกันผลิตรถยนต์น้ำหนักเบา กำลังแรง ออกมาเร็วขึ้น

ผลกระทบนี้ จะกระจายไปทั่วซัพพลายเชน ทั้งผู้จัดหาเอง ก็จำเป็นต้องมีนวัตกรรม  ความเร็ว และว่องไวมากขึ้น  เพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงด้านโลจิสติก และกระบวนการผลิตให้บ่อยครั้ง เนื่องจากบรรดาผู้จัดหาที่มีขนาดเล็กกว่า และมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีมากกว่า ได้เริ่มออกมาท้าทายผู้จัดหารายเดิมๆ แล้ว

ความเร็วในการพัฒนา การผลิต และการจัดหา จะกลายมาเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่นเดียวกับเรื่องความคล่องตัว และวิสัยทัศน์ที่มีความสำคัญตั้งแต่ต้นจนจบ

พลังของรถเชื่อมต่อได้กำลังมาถึง

อิทธิพลของแบรนด์ไม่ได้เป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป ความภักดีต่อแบรนด์ลดลง เนื่องจากผู้ขับขี่ในยุค มิลเลนเนียล และรุ่นต่อๆ มา เริ่มให้ความสนใจกับการเช่ารถระยะยาว และการแบ่งปันใช้รถร่วมกันมากขึ้น

สำหรับลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่มีความสามารถทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น จะเป็นปัจจัยหลักในการสร้างความแตกต่าง แล้วพวกเขาจะเข้าถึงข้อมูล เครือข่าย และบริการต่างๆ ได้หรือไม่ รถยนต์ของพวกเขาจะมีความสามารถอย่างไร ย้อนกลับไปที่เรนจ์โรเวอร์ อีโวคอีกครั้ง รถรุ่นนี้มีอุปกรณ์มาตรฐานเป็นจอภาพระบบสัมผัสอินโฟเทนเมนต์ ขนาด 8 นิ้ว ติดตั้งอยู่ ซึ่งแอพสมาร์ทโฟนที่ติดตั้งภายใน และระบบกระโปรงหลังแบบแฮนด์ฟรี เปิดทางให้เจ้าของรถยนต์ สามารถเปิด และปิดกระโปรงหลังได้โดยอัตโนมัติ เพียงแค่กวาดเท้าเข้าไปบริเวณข้างใต้ของกันชนหลัง

บริการเหล่านี้ถือเป็นเรื่องผิดปกติหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ใช่ รถยนต์รุ่นนี้ยังเน้นการขายที่กำลังขับเคลื่อน และน้ำหนัก โดยคาดว่า ระบบดิจิทัล และแอพระดับพรีเมียม จะกลายมาเป็นอุปกรณ์มาตรฐานของรถยนต์

นอกจากนี้ ยังจะมีระบบไอทีจำนวนมาก ที่จะกลายมาเป็นอุปกรณ์มาตรฐานของรถภายในปี 2561 ด้วย โดยในสหรัฐนั้น สำนักงานบริหารความปลอดภัยการจราจรบนทางหลวงแห่งชาติ (นิซซา) ระบุว่า จะมีการออกกฎหมาย กำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมีกล้องหลัง

แต่ละปีนั้น สหรัฐจะมีผู้เสียชีวิตราว 200 คน และบาดเจ็บอีกราว 14,000 คน จากอุบัติที่เกิดขึ้นบริเวณด้านหลังรถยนต์ เมื่อผู้ขับขี่เกิดถอยหลังไปทับใครเข้า เพราะไม่ทันสังเกตเห็นพวกเขา

สำหรับผู้ผลิตแล้ว กล้องหลังกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ ไปแล้ว โดยภายในปี 2560  ราว 80% ของรถยนต์ที่ผลิตออกมาทั้งหมด จะต้องมีกล้องหลังติดอยู่ 1 อัน ซึ่งทุกวันนี้ ราวครึ่งหนึ่งของรถยนต์รุ่นใหม่ที่ขายในสหรัฐฯ มีการติดตั้งกล้องหลังแล้ว

ขณะที่จุดกระจายสัญญาณไวไฟในรถยนต์ก็กำลังจะเป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับให้ติดตั้งเช่นกัน โดยในปี 2560  ผู้ผลิตรถยนต์ 20%  จะมีการติดตั้งจุดกระจายสัญญาณแลนไร้สายไว้ในรถ ในยุโรป ออดี้ และบีเอ็มดับเบิลยู ต่างเป็นผู้นำในเรื่องนี้ ส่วนที่สหรัฐฯ ไครสเลอร์ ฟอร์ด และจีเอ็ม ต่างกำลังเดินหน้าในเรื่องการติดตั้งจุดกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ต

เบาขึ้น เร็วขึ้น แรงขึ้น และปลอดภัยมากขึ้น เมื่อพิจารณาจากหลายๆ ทางแล้ว เรามีรถยนต์รุ่นต่อไปมาอยู่กับเราแล้ว  ความเข้าใจของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องที่ว่า รถยนต์คืออะไร เราจะทำอะไรในรถยนต์ได้บ้าง และเราจะเพิ่มกำลังให้กับรถยนต์ได้อย่างไร สำหรับผู้ผลิต และผู้จัดหาแล้ว เรื่องนี้หมายความถึงทิศทางใหม่ กระบวนการใหม่ ความสามารถใหม่ และกลยุทธ์ใหม่ๆ ยิ่งเร็วได้ยิ่งดี เพราะถนนข้างหน้ากำลังเพิ่มความเร็วขึ้น

# # #

เกี่ยวกับไอเอฟเอส

            ไอเอฟเอส (IFS™) เป็นผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาและนำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (Enterprise Asset Management หรือ EAM) และ การบริหารจัดการงานบริการขององค์กร (Enterprise Service Management หรือ ESM) ทั้งนี้ ไอเอฟเอสก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2526 โดยมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้น ตลอดจนผลักดันให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน พร้อมทั้งจัดเตรียมสิ่งต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมเพื่อให้พร้อมรับมือกับอนาคต ไอเอฟเอส มีพนักงาน 2,800 คนที่พร้อมให้การสนับสนุนผู้ใช้ทั่วโลกมากกว่า 1 ล้านคนผ่านสำนักงานสาขาในเขตพื้นที่ต่างๆ และผ่านเครือข่ายพันธมิตรที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่เว็บไซต์: IFSworld.com

ติดตามเราทาง Twitter: @ifsworld

เยี่ยมชมบล็อกของไอเอฟเอสเกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ: http://blog.ifsworld.com/

ถูกใจบทความนี้  0