กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 16 กุมภาพันธ์ 2560 – PayPal หนึ่งในผู้นำด้านการชำระเงินแบบดิจิทัลระดับโลก และอิปซอสส์ (Ipsos) นำเสนอรายงานการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกปี 2016 โดยสำรวจพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ของผู้บริโภคกว่า 28,000 คน ใน 32 ประเทศ รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทยจำนวน 800 คน เผยโอกาสใหม่สำหรับผู้ค้าออนไลน์ชาวไทยที่ต้องการขยายไปยังตลาดต่างประเทศ
ผลวิจัยจาก PayPal และ อิปซอสส์ 2016: ประเทศไทยใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในการช้อปออนไลน์ข้ามประเทศเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไทยมีสัดส่วนการช้อปออนไลน์ข้ามประเทศผ่านอุปกรณ์มือถือเป็นอันดับสองรองจากจีน โดยคนไทยนิยมช้อปออนไลน์ข้ามประเทศผ่านสมาร์ทโฟนถึง 33 เปอร์เซ็นต์ และอีก 13 เปอร์เซ็นต์ ช้อปผ่านแท็บเล็ต
การใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ยอดใช้จ่ายออนไลน์ทั้งหมดของนักช้อปชาวไทยคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2559 ตามที่ประเมินไว้ที่ประมาณ 325.6 พันล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 376.8 พันล้านบาท ในปี 2560 สำหรับยอดการช้อปออนไลน์ของประเทศไทยที่มาจากการซื้อของผ่านเว็บไซต์ในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 84 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2560 จากยอดการซื้อสินค้าประมาณ 60.3 พันล้านบาทในปี 2560 ที่ผ่านมา
จากการสำรวจพบว่านักช้อปออนไลน์ในประเทศไทยจำนวน 55 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายออนไลน์มากขึ้นในปี 2560 และจากกลุ่มนักช้อปเหล่านั้น ราว 82 เปอร์เซ็นต์เห็นว่า ความสะดวกสบายของการช้อปออนไลน์น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขาหันมาช้อปด้วยวิธีนี้มากขึ้น 37 เปอร์เซ็นต์มองว่าการส่งของที่รวดเร็วเป็นอีกปัจจัยหลัก และ 35 เปอร์เซ็นต์ คิดว่าทำให้ประหยัดเงินได้มากกว่า ซึ่งเหตุผลดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ และคาดว่าในปี 2560 นี้ พวกเขาจะหันมาใช้จ่ายออนไลน์มากขึ้น
ผู้บริโภคหันมาใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซเพื่อทำกิจธุระประจำวันมากขึ้น
ผลวิจัยระบุว่าในประเทศไทย ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จากจำนวนผู้บริโภคที่ช้อปออนไลน์ข้ามประเทศ 54 เปอร์เซ็นต์ เลือกที่จะช้อปสินค้าหมวดหมู่ประเภทแฟชั่นมากที่สุด อาทิ เสื้อผ้า รองเท้า และ เครื่องประดับ ตามมาด้วยสินค้าในหมวดหมู่การศึกษาและสื่อบันเทิง (40 เปอร์เซ็นต์) และ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (39 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยระบุว่าผู้บริโภคคาดการณ์ว่าในปีนี้ในประเทศไทย จะเปลี่ยนมาใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซในชีวิตประจำวันมากขึ้น สินค้า 3 ประเภทที่คาดว่าจะมีการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นในปี 2560 ได้แก่ ของใช้ในครัวเรือน (เติบโต 24 เปอร์เซ็นต์) สินค้าบริโภค (เติบโต 20 เปอร์เซ็นต์) และ สินค้าสำหรับเด็ก (เติบโต 16 เปอร์เซ็นต์)
เทรนด์การใช้จ่ายผ่านอุปกรณ์มือถือของคนไทยกำลังเป็นที่นิยม
จากการสำรวจในหลายประเทศ พบว่า ประเทศจีนและประเทศไทยเป็นนักช้อปข้ามประเทศที่นิยมซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์มือถือมากที่สุด โดยกว่า 47 เปอร์เซ็นต์ของนักช้อปชาวจีนที่ซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ เลือกช้อปผ่านแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน ส่วนเหล่านักช้อปจากประเทศไทยถึง 46 เปอร์เซ็นต์ นิยมซื้อสินค้าข้ามประเทศผ่านอุปกรณ์มือถือ ทั้งนี้จากการรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด โดยเฉลี่ยจะมีนักช้อปข้ามประเทศที่ซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์มือถืออยู่ที่ 37 เปอร์เซ็นต์ ซื่งเป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟนถึง 27 เปอร์เซ็นต์
เหตุผลดังกล่าวเนื่องมาจากจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศไทย[1] และ PayPal คาดการณ์ว่าในปี 2560 นี้ ยอดการซื้อขายออนไลน์ผ่านอุปกรณ์มือถือ (mobile-commerce) จะเพิ่มเป็นจาก 141.7 พันล้านบาทในปี 2559 เป็น 173.6 พันล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนอุปกรณ์มือถือที่เพิ่มมากขึ้น ผนวกกับเทคโนโลยีเกี่ยวกับอุปกรณ์มือถือใหม่ๆ ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การซื้อขายออนไลน์ผ่านอุปกรณ์มือถือเป็นทั้งประสบการณ์ และโอกาสทางธุรกิจทั้งสำหรับผู้ซื้อและผู้ค้าออนไลน์
“อินเตอร์เน็ตและการใช้อุปกรณ์มือถือที่เพิ่มมากขึ้น กำลังปฏิวัติรูปแบบการค้าปลีกแบบเดิมๆ ทำให้การซื้อขายนั้นไร้พรมแดนมากขึ้น และนี่คือโอกาสครั้งใหญ่ของธุรกิจไทยในการส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลก ข้อมูลจากผลสำรวจ PayPal พบว่าช่องทางในการเติบโตนั้นยังมีอีกมากในการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดโลกโดยปราศจากต้นทุนที่สูง เหมือน การขยายสาขาแบบดั้งเดิม” นายสมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการ PayPal ประจำประเทศไทย กล่าว
ความคุ้มค่าเป็นสิ่งสำคัญต่อนักช้อป
แม้การช้อปข้ามประเทศจะเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทย แต่ยังมีข้อจำกัดบางอย่าง โดย 45 เปอร์เซ็นต์ของผู้สำรวจทั้งหมดระบุว่า ค่าขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักช้อปไม่สามารถซื้อของข้ามประเทศได้บ่อยครั้งเท่าที่ควร ปัจจัยรองลงมาคือ การจ่ายค่าภาษีศุลกากร (44 เปอร์เซ็นต์) และความชัดเจนของอัตราภาษีศุลกากร (42 เปอร์เซ็นต์)
ดั้งนั้นร้านค้าควรจะหาช่องทางที่จะแก้ไขหรือบรรเทาความกังวลของผู้ซื้อในประเด็นดังกล่าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคมั่นใจและกล้าซื้อสินค้ามากขึ้น ทั้งนี้ PayPal มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างความมั่นใจในการช้อปด้วย Refunded Returns[2] หรือ การคืนเงินค่าจัดส่งให้สูงสุด 15 ดอลลาร์สหรัฐ[3] สำหรับสินค้าที่เข้าร่วม เพื่อช่วยให้นักช้อปมั่นใจในการช้อปออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้ PayPal ยังมีบริการ Buyer Protection หรือบริการคุ้มครองผู้ซื้อ เพื่อให้นักช้อปมั่นใจทุกครั้งในการช้อป และก้าวข้ามข้อจำกัดในการตัดสินใจที่จะซื้อในแต่ละครั้ง นโยบายนี้ครอบคลุมการซื้อในกลุ่มสินค้าที่จับต้องไม่ได้ อาทิ ตั๋วอิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ ไฟล์เพลงดิจิตอล อีบุ๊ค เกมส์ และการโหลดซอฟท์แวร์และยังมีนโยบายคุ้มครองผู้ขายที่เรียกว่า Seller Protection ที่คุ้มครองผู้ขายจากการถูกหลอกลวงด้านธุรกรรมออนไลน์อีกด้วย
###
เกี่ยวกับ PayPal
ด้วยความเชื่อพื้นฐานที่ว่า การเข้าถึงการบริการทางการเงินสามารถสร้างโอกาสที่ดีได้ PayPal (Nasdaq: PYPL) จึงให้คำมั่นสัญญาที่จะกระจายการให้บริการด้านการเงินและช่วยส่งเสริมให้ผู้ขาย และธุรกิจต่างๆ ได้มีโอกาสเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการขยายตลาดสู่เศรษฐกิจโลก ด้วยแพลตฟอร์มการให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลที่เปิดกว้าง ช่วยให้ลูกค้าเกือบ 200 ล้านบัญชีของ PayPal ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีความเชื่อมั่นที่จะเชื่อมโยงและโอนเงินด้วยวิธีการที่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์ ผ่านอุปกรณ์มือถือ ผ่านแอพลิเคชั่น หรือแม้แต่ช่องทางส่วนตัว ด้วยการผสานทั้งด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม PayPal สามารถเป็นส่วนช่วยในการบริหารจัดการเงิน รวมถึงนำเสนอทางเลือก และความยืดหยุ่นในการชำระเงินและรับชำระเงินในรูปแบบที่ตรงตามความต้องการของแต่ละธุรกิจ ซึ่ง PayPal เปิดให้บริการในกว่า 200 ประเทศทั่วโลก รวมถึง ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากขบบริษัทภายใต้ PayPal อาทิ Braintree Venmo และ Xoom ที่ผู้ขาย และผู้ซื้อสามารถรับชำระเงินได้มากกว่า 100 สกุลเงิน ถอนเงินจากบัญชีธนาคารได้ 56 สกุลเงิน และสามารถเก็บยอดเงินคงเหลือในบัญชี PayPal ได้ 25 สกุลเงิน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PayPal ได้ที่ https://www.paypal.com/about หากต้องการทราบข้อมูลด้านการเงินของ PYPL คุณสามารถดูได้ที่ https://investor.paypal-corp.com
ถูกใจบทความนี้ 1
You must be logged in to post a comment.