Live นั้นสำคัญไฉน ถามใจเธอดู! Unboxing แกะกล่องไมโครโฟน ทวินแพ็คคู่ Saramonic รุ่น i-Mic และ Saramonic SR LMX1 !!!

Saramonic 3

 เทรนด์การไลฟ์เป็นกระแสร้อนแรงไปเกือบทั่วทุกมุมโลก ไม่เว้นแม้แต่ในบ้านเรา บ่อยครั้งที่เราได้เห็นเพื่อนหรือคนรู้จักไลฟ์ผ่านทางโซเชียลมีเดียที่รองรับ ไม่ว่าจะเป็นการไปเที่ยวก็ดี, รับประทานอาหารก็ดี หรือแม้แต่กระทั้งเข้าห้องน้ำก็ยังไลฟ์ ล่าสุดเต้นแก้ผ้าไลฟ์ก็เกิดขึ้นมาแล้ว (และโดนซิวไปเรียบร้อยแล้วเช่นกัน 55) เอาเป็นว่าช่างเค้าเถอะ กลับมาเข้าเรื่องของเราดีกว่า ผมกำลังจะบอกว่าหากต้องการให้ไลฟ์ของเรามีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น แค่ความสมูทลื่นไหลของตัววีดีโอที่สตรีมขึ้นไปอย่างอย่างเดียวยังไม่พอครับ ระบบเสียงก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลผลให้การไลฟ์ของเรามีคุณภาพและน่าสนใจชวนติดตามมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม วันนี้จึงเป็นที่มาของแกะกล่องรีวิวไมโครโฟนจากแบรนด์ Saramonic ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ ซึ่งวันนี้ไม่ได้มาแบบเดี่ยว ๆ แบบพี่โน๊ต อุดม  แต่ทว่ามาแบบทวินแพ็คคู่ให้ได้รับชมกันไปพร้อมกัน  ๆ กันเลยครับ

วันนี้ได้รับไมโครโฟน Saramonic ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ จากทาง Saramonic Thailand https://goo.gl/y4BD84 เพื่อมาทำการรีวิวครับ  

*คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Saramonic 3

Saramonic 4

และตามที่เกริ่นไว้ในตอนต้น ว่าไม่ได้มาแบบเดียว ๆ แต่มาเป็นแพคคู่มาแบบ Duo ซึ่งผมขอจับทั้ง 2 รุ่นมาแกะกล่องให้ได้รับชมไปพร้อม ๆ กันเลยนะครับ โดยเริ่มจาก Saramonic i-Mic เป็นลำดับแรก

 

สเปคเบื้องต้นของ  Saramonic i-Mic

Type: Electret Condenser
Connector: TRRS (3.5mm jack) for iOS and Mac
Frequency Response: 35 Hz to 18 kHz
Signal to Noise Ratio: 74dB SPL
Dimensions: 2.8 x 0.6 x 0.5 inches
Weight: 21g (0.74oz)
ราคาวางจำหน่าย 900 บาท

 

Saramonic 1

Saramonic 12

แพ็คเกจจิ้ง ด้านหน้าเป็นพลาสติกใส โชว์ตัวไมโครโฟนทื่จัดวางอยู่ภายใน และด้านหน้ากล่องพิมพ์บอกการรองรับซัพพอร์ตทางฝั่งของ iDevice อย่างชัดเจน แต่แหล่งข้อมูลจากต่างประเทศบอกว่า ถ้าเป็น Android Phone ที่ออกแบบพอร์ต 3.5 ในรูปแบบเดียวกันกับทางฝั่ง iDevice ก็จะสามารถใช้งาน Saramonic i-Mic ได้เช่นกันครับ

 

Saramonic 13

ฟีเจอร์และสเปคเบื้องต้นของ Saramonic i-Mic

การออกแบบดีไซน์ของตัว i-Mic นั้นก็ชัดเจนแล้วว่าเป็นแบบ Shotgun design ทำให้ในส่วนของตัว Polar pattern หรือรูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนรุ่นนี้จะเป็นแบบ Cardioid ที่รองรับเสียงได้ดีจากทางด้านหน้านั่นเอง สำหรับข้อดีอีกอย่างของ i-Mic ก็คือ นอกจากมีขนาดกะทัดรัดแล้ว ตัวไมค์ยังสามารถปรับองศาจากตัวก้านโยกได้อีกด้วย

 

Saramonic 14

อุปกรณ์ที่มาให้ในกล่อง ประกอบไปด้วย ตัวไมค์ Saramonic i-Mic, ฟองน้ำกรองเสียงลม, และใบรับประกันสินค้า

 

Saramonic 15

วัสดุของไมค์จะมีทั้งส่วนที่เป็นโพลีคาร์บอเนตและบางจุดที่ตัววัสดุจะเป็นยางครับ

 

Saramonic 16

ด้านบนของหัวไมค์มองเห็นแผ่น diaghram ที่อยู่ด้านบน

 

Saramonic 17

ตัว Connector เป็นแบบ TRRS (3.5mm jack) ที่ใช้ในสมาร์ทโฟนเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้กับกล้อง mirrorless หรือ DSLR ได้นะครับ แม้จะเป็นแจ็ค 3.5 มม.เหมือนกันก็ตามที โดยข้อแตกต่างก็คือข้อต่อที่ออกแบบมาแตกต่างกันนั่นเอง

 

Saramonic 18

ตัวก้านคันโยก สามารถพับขึ้นหรือลงได้ เพื่อปรับองศาให้รับไปยังทิศทางของแหล่งกำเนิดเสียงที่ต้องการ

 

Saramonic 19

Saramonic 20

ด้วยความที่เป็นพอร์ต 3.5มม. ยังไงก็หมุนได้รอบครับ แต่ตัวก้านพับในลักษณะนี้ จะช่วยให้เราสามารถปรับมุมองศาให้รับเสียงจากแหล่งกำเหนิดเสียงที่เราต้องการได้อย่างอิสระครับ

 

จากนี้มาต่อกันที่ Saramonic ในรุ่น SR-LMX1 กันครับ

 

สเปคเบื้องต้นของ  Saramonic SR-LMX1

Polar Pattern: vOmnidirectional
Frequency Range: 30 Hz ~ 18kHz
Output Impedance: 2.2k Ohm Typical
Signal to Noise Ratio: 74 dB
Sensitivity: -30 dB +/-3dB / 0dB-1V/Pa, 1kHz
Maximum Output: 120 mV
Dynamic Range: 120 dB typical
Dimensions:48.0 x 0.33 x 0.33″ (1220 x 8.4 x 8.4 mm), mic and cable
Weight: 0.78 oz (22.00 g)
ราคาวางจำหน่าย 1,550 บาท

 

Saramonic 2

Saramonic 5

แพ็คเกจจิ้ง จะดูเรียบ ๆ กว่าตัว  i-Mic ส่วนที่น่าสนใจก็คือการพิมพ์แปะบอกไว้เลยว่ารองรับการใช้งานได้ทั้งบน iDevice และ Android

 

Saramonic 6

ตัวฟีเจอร์และสเปคจะเหนือกว่า i-Mic เล็กน้อย สำหรับ Polar pattern จะเป็นแบบ Omnidirectional ซึ่งไมโครโฟนประเภทนี้สามารถรับสัญญาณเสียงได้จากทุกทิศทุกทาง และการที่มาในรูปแบบ Clip-on ก็สามารถประยุกต์นำไปใช้งานได้ยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกเสียงทั่ว ๆ ไป หรือเน้นการบรรยายพร้อมรับเสียงจากสภาพแวดล้อมเป็นต้นครับ

 

สำหรับฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Saramonic SR LMX1 ผมขออธิบายแบบบ้าน ๆ ให้ได้ใจความดังนี้ครับ

เป็นไมค์หนีบปกเสื้อที่รองรับการใช้งานทั้ง iDevice และ Android

เป็นไมค์ที่รองรับเสียงได้รอบทิศทาง

เป็นไมค์ที่มีความไวสูงและสัญญาณรบกวนต่ำ

รองรับการใช้งานร่วมกับแอพพลิเคชั่นการบันทึกเสียงได้อย่างไม่มีปัญหา

มี Deadcat หรือขนแมวสำหรับตัดเสียงลมมาให้ในชุดแพ็คเกจ

 

Saramonic 7

Saramonic 8

เมื่อแกะกล่องออกมาจะพบกับซองหนังสวยหรู ดูดีมีชาติตระกูลครับ ซึ่งภายในบรรจุตัวไมโครโฟนและอุปกรณ์เสริมไว้นั่นเอง

 

Saramonic 9

Deadcat หรือขนแมวในภาษาบ้าน ๆ อุปกรณ์ตัวนี้ช่วยในเรื่องการตัดเสียงลมที่มีความแรงกว่าปรกติ  ซึ่งในบางสภาพแวดล้อมเราจะพบกับปัญหาเสียงลมที่มีความรุนแรงเช่นนี้ได้เสมอครับ อาทิเช่นชายหาดหรือทุ่งหญ้าโล่งกว้าง โดยเจ้าตัวขนแมวจะช่วยลดเสียงรบกวนจากเสียงลมได้เป็นอย่างดีเลยครับ

 

Saramonic 10

รูปร่างหน้าตาของตัว Clip-on หรือตัวหนีบ ความหนืดของตัวหนีบนั้นถือว่าใช้ได้เลยครับ สำหรับความยาวของสายจะอยู่ที่ 1.2 เมตร ซึ่งก็ยาวเพียงพอในการเชื่อมต่อและใช้งานทั่ว ๆ ไป

 

Saramonic 22

ลองใช้งานจริงคร่าว ๆ ก็ประมาณนี้แหล่ะ

 

Saramonic 11

ตัว Connector เป็นแบบ TRRS (3.5mm jack) เหมือนในรุ่น i-Mic

 

Saramonic 23

Saramonic 21

แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าตัวขั่วนั้นมีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยขั่วด้านล่าง(ไม่ใช่ฐาน) ของตัว Saramonic SR LMX1 จะยาวกว่า i-Mic เล็กน้อยครับ

 

จากนี้มารับชมเวอร์ชั่นวีดีโอกันต่อครับ

 

 

สำหรับบทความนี้พามาชมคุณสมบัติทางด้าน Hardware เป็นหลักนะครับ ส่วนภาคทดสอบใช้งานจริงขอยกไปเป็นคลิปและบทความถัดไป

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ Saramonic Thailand https://goo.gl/y4BD84 และ บริษัท The Digital STM https://goo.gl/XsUziR ที่เอื้อเฟื้ออุปกรณ์ในการรีวิว

หากเพื่อน ๆ สนใจสินค้าของแบรนด์ Saramonic สามารถแวะเวียนไปเยี่ยมชมกันได้ที่นี่ครับ >>> https://goo.gl/98ZpTH



ถูกใจบทความนี้  1