ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการปรับใช้เทคโนโลยีทั่วภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดริเริ่มในการพัฒนา สมาร์ท ซิตี้ และเศรษฐกิจ ดิจิตอล ที่รัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนพยายามผลักดันเพื่อขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งในประเทศไทยรัฐบาลก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเช่นกัน เช่นแผนการพัฒนาเมืองภูเก็ตให้กลายเป็น สมาร์ท ซิตี้ ภายในปี 2563 ภายใต้แนวคิด “Smile Smart and Sustainable Phuket“
ในอนาคตสังคมของเราจะถูกขับเคลื่อนด้วยแอพพลิเคชั่นต่างๆ อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่มีสถิติการใช้งานอุปกรณ์โมบายสูง ในขณะที่เทคโนโลยีด้านโมบายและคลาวด์รวมถึงเทรนด์ของอินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ จะถูกนำมาปรับใช้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถเดินหน้าสู่เส้นทางการเป็นเอ็นเตอร์ไพรส์แห่งโลกอนาคต (Enterprises of Tomorrow) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วีเอ็มแวร์ได้คาดการณ์เทรนด์เทคโนโลยีปี 2560 ที่องค์กรธุรกิจในประเทศไทยควรจับตามอง ดังนี้
(1) โมบิลิตี้ พลัส (Mobility Plus): ในภูมิภาคอาเซียนรวมถึงประเทศไทยเป็นตลาดที่มีความโดดเด่นในเรื่องโมบาย ซึ่งนอกเหนือจากสถิติการใช้งานอุปกรณ์โมบายที่สูงแล้ว ประเทศไทยยังเป็นที่ที่ดึงดูดให้ธุรกิจสตาร์ทอัพเริ่มสร้างสรรค์แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ส่งผลให้วิธีการทำงานและการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป การที่องค์กรธุรกิจต่างๆ เริ่มใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและสร้างแอพพลิเคชั่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิธีการใหม่ๆ เพิ่มความคล่องตัวให้กับองค์กร (business mobility) มากยิ่งขึ้น
การที่จะทำให้ธุรกิจเกิดความคล่องตัว (Business Mobility) ได้อย่างแท้จริงนั้น ต้องเริ่มบริหารจัดการองค์กรโดยไม่ได้คำนึงถึงแค่เพียง การบริหารจัดการอุปกรณ์โมบาย การจัดตารางปฏิทิน และการสร้างแอพพลิเคชั่นพื้นฐานต่างๆ แต่ความคล่องตัวของธุรกิจนั้นจะต้องเกิดขึ้นผ่านการคิดอย่างสร้างสรรค์ภายใต้บริบทที่ถูกต้อง ที่สำคัญองค์กรต้องคำนึงถึงวิธีในการจัดการสิทธ์การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ในองค์กร (identity management) เพื่อความปลอดภัย สำหรับปี 2560 ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความสามารถในการผสมผสานแอพพลิเคชั่นสำหรับทำงานต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน และปฏิบัติต่อพนักงานราวกับลูกค้าคนหนึ่ง ทำให้พวกเขาเป็นแรงขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้
(2) คลาวด์ พลัส (Cloud Plus): จากผลการสำรวจ State of the Cloud ของวีเอ็มแวร์นั้น ได้แสดงให้เห็นว่ามีการใช้งาน “มัลติ-คลาวด์ (multi-cloud) ” อย่างแพร่หลายในกลุ่มธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน ด้วยตัวเลขเฉลี่ยของการจัดซื้อผลิตภัณฑ์คลาวด์เพิ่มเติมในแผนกอื่นๆ ที่ไม่ใช่ไอที อีกประมาณ 5-6 คลาวด์ ยุคสมัยกำลังเปลี่ยนผ่านสู่การใช้งานคลาวด์ที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะนำโลกของเราไปสู่สภาพแวดล้อมแบบไฮบริด คลาวด์ ทำให้องค์กรธุรกิจต้องคำนึงถึง การบริหารจัดการ การวางเครือข่าย การจัดวาง และการวางระบบป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับทั้งพับลิค คลาวด์ และไพรเวท คลาวด์ขององค์กรของคุณเองมากขึ้น
(3) ระบบเครือข่ายขององค์กรที่จะถูกขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์อย่างแท้จริง (True Software-Defined Networking): การจะสร้างเครือข่าย software-defined networking (SDN) อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องปรับกระบวนทัศน์ในการให้บริการซอฟต์แวร์ขององค์กร อาจจะไม่ใช่การปรับรูปแบบการใช้งานทั้งหมดพร้อมกันในครั้งเดียว แต่ควรเริ่มการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานที่แอพพลิเคชั่นตัวเดียวเป็นอันดับแรกก่อน
ปี 2560 คือปีที่การวางเครือข่ายจะเป็นพื้นฐานหลักของการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ในโลกของการวางเครือข่ายนั้นจะไม่ใช่แค่เรื่องของการที่แผนกไอทีเลือกผู้ให้บริการที่มีเครือข่ายที่ดีที่สุดอีกต่อไป ปัจจุบันนักพัฒนาในองค์กร จำเป็นต้องใช้ความสามารถระดับสูงของการวางเครือข่ายเพื่อช่วยให้แอพพลิเคชั่นทางธุรกิจของพวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แผนกไอทีจึงจำเป็นต้องใช้ความสามารถในการวางเครือข่ายเพื่อขยายขีดความสามารถของนักพัฒนาไม่ว่าพวกเขาจะเลือกใช้กรอบการทำงานด้านแอพพลิเคชั่นแบบใด หรือเลือกใช้สภาพแวดล้อมแบบใดก็ตามในการติดตั้งแอพพลิเคชั่น ในขณะที่แผนกไอทียังสามารถควบคุมความปลอดภัยและการดำเนินการต่างๆ ให้เป็นไปตามกฏข้อบังคับขององค์กร เรียกง่ายๆ คือการมอบความสามารถต่างๆ ที่แอพพลิเคชั่นทางธุรกิจต้องการ ไม่ว่าแอพพลิเคชั่นนั้นจะทำงานบนโครงสร้างไอทีแบบใด หรือใครเป็นเจ้าของโครงสร้างไอทีนั้นก็ตาม
(4) ความปลอดภัย (Security) : จนถึงทุกวันนี้ ประเด็นถกเถียงเรื่องความปลอดภัยของคลาวด์ ทั้งแบบพับลิค และไพรเวท ยังคงมีศูนย์กลางอยู่ที่วิธีการในการสร้างความปลอดภัย และถึงแม้ปัญหาและความท้าทายมากมายจะยังคงอยู่ เราเชื่อว่าในปีนี้ ทีมงานด้านการรักษาความปลอดภัยจะให้ความสำคัญกับคลาวด์มากยิ่งขึ้นเพื่อหาวิธีการในการรักษาความปลอดภัย ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องเปลี่ยนความคิดจาก “จะทำให้คลาวด์ปลอดภัยได้อย่างไร” ไปสู่ “การใช้ประโยชน์จากคลาวด์เพื่อการสร้างความปลอดภัย” และกุญแจหลักที่องค์กรธุรกิจต้องคำนึงถึงคือการค้นหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อทำให้ระบบรักษาความปลอดภัยทำงานแบบอัตโนมัติ เราเชื่อว่าในปีนี้ เราจะเห็นเทคโนโลยีและเทคนิคใหม่ๆ ในการใช้ประโยชน์จากคลาวด์เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับแอพพลิเคชั่น และดาต้าต่างๆ ของธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างวิธีการควบคุมและนโยบายต่างๆ ให้กับแต่ละ เวิร์กโหลด การตอบสนองต่อการรักษาความปลอดภัยแบบอัตโนมัติ การใช้เทคโนโลยีไมโคร-เซ็คเมนเทชั่น (micro-segmentation) การเพิ่มความสามารถในการควบคุมและการมองเห็นเพื่อการจัดการที่ดียิ่งขึ้น
(5) นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยไอที ประสบการณ์เหนือระดับของลูกค้า และการเพิ่มจำนวนของ Shadow IT: ผลการสำรวจ State of the Cloud ของวีเอ็มแวร์ เผยว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนระบุว่า แผนกไอทีควรเป็นผู้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ ในปี 2560 นี้ ตัว I ในคำว่า IT จะหมายถึง Innovation หรือนวัตกรรม แผนกไอทีในองค์กรต่างๆ จะมีบทบาทในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ในพื้นที่หลักของธุรกิจ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการออกแบบธุรกิจดิจิตอลรูปแบบใหม่โดยฝ่ายไอทีนั้นจะเพิ่มจำนวนขึ้น และเนื่องจากแผนกไอทีเองมักจะเป็นลูกค้าหรือผู้ใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ขององค์กรเป็นกลุ่มแรก ดังนั้น พวกเขาจึงอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดที่จะสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าขององค์กร
ผลสำรวจของวีเอ็มแวร์ยังชี้ให้เห็นว่า ภูมิภาคอาเซียนมีระดับการบริหารจัดการด้านไอทีแบบกระจายศูนย์สูงที่สุดในโลก ด้วยตัวเลขผู้เข้ารับการสำรวจมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ที่ต่างลงความเห็นว่าการจัดซื้อและบริหารจัดการด้านไอทีนั้นอยู่นอกเหนือขอบเขตการทำงานของแผนกไอที เทรนด์ของการบริหารจัดการด้านไอทีแบบกระจายศูนย์และ Shadow IT นั้นคือความจริงที่ธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนต้องเผชิญ ธุรกิจใดที่ต้องการประสบความสำเร็จในปี 2017 พวกเขาจำเป็นต้องให้ความสำคัญและดูแล Shadow IT อย่างจริงจัง
###
VMware Cross-Cloud Architecture™ เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนหรือเครื่องหมายการค้าของ VMware, Inc. หรือ บริษัทย่อยในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ
วีเอ็มแวร์ คือผู้นำระดับโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์และบิสสิเนสโมบิลิตี้ ซึ่งช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถพลิกโฉมสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว โดยช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ดีฟาย สำหรับการดำเนินธุรกิจและการจัดการด้านไอที ด้วยโซลูชั่น Cross-Cloud Architecture™ รวมถึงโซลูชั่นสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ โมบิลิตี้ และ ซิเคียวริตี้ ในปี 2559 วีเอ็มแวร์มีรายได้ 7.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ พาโลอัลโต แคลิฟอร์เนีย และมีลูกค้ากว่า 500,000 ราย และ 75,000 พาร์ทเนอร์ทั่วโลก
You must be logged in to post a comment.