ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะนำ วิธีปิดบ้านอย่างปลอดภัยในช่วงหน้าร้อน พร้อมเทคนิคเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

schneider-electric1

 ฤดูร้อน เป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้มากที่สุด จากปัจจัยความร้อนที่กระจายตัวอยู่ในบ้าน ประกอบกับเป็นช่วงที่เราใช้พลังงานมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น แอร์ หรือ พัดลม ที่เราใช้เปิดเพื่อบรรเทาความร้อนตลอดทั้งวัน หรือแม้แต่การเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ ตัว เช่น มือถือ แท็บเล็ต โน๊ตบุ๊ค แวร์เรเบิ้ล แอร์เคลื่อนที่ เครื่องเสียง เครื่องเล่นบลูเรย์ ทีวี กล่องดิจิทัล และกล่องทีวีต่างๆ เครื่องเล่นเกมส์ โดยใช้วิธีการต่อปลั๊กพ่วง คือ การใช้ปลั๊กหลักเพียงตัวเดียวแล้วมาต่อปลั๊กพ่วงตัวต่อไป กันเป็นทอดๆ บางบ้านซื้อปลั๊กแบบทาวเวอร์มาต่อเชื่อมกันจนสายระโยงระยาง ทำให้ปลั๊กหลักและปลั๊กพ่วงตัวแรก ต้องรับภาระจากปลั๊กตัวอื่นๆ ในขณะที่ฉนวน หรือ ปลั๊กไฟอาจมีแรงต้านทานไม่เพียงพอ เมื่อมีการใช้ไฟพร้อมๆกันทำให้เกิดความเสี่ยงหากเกิดกระแสไฟลัดวงจร จนอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้ ทางที่ดีควรปฏิบัติดังนี้

 

 

 

schneider-electric

schneider-electric1

Woman using cell phone on city street

schneider-electric4

– ไม่ควรเสียบอุปกรณ์จำนวนมากทิ้งเอาไว้
– ไม่ควรเสียบปลั๊กต่อกันเป็นทอดๆ
– เครื่องใช้ไฟฟ้าตัวไหนไม่ใช้แล้ว ให้ดึงปลั๊กออกทันที
– เพื่อความปลอดภัยสูงสุดและถนอมเครื่องใช้ไฟฟ้า ควรใช้ปลั๊กกันไฟกระชากแทนปลั๊กราง จะช่วยป้องกันกระแสไฟฟ้าที่เข้ามาเกินพิกัด เช่น ผลิตภัณฑ์ของ APC by Schneider Electric ที่ผลิตจากวัสดุป้องกันไฟลามอีกด้วย
สำหรับการปิดบ้านไปพักร้อนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หลายบ้านอาจจะเดินทางไปต่างจังหวัดหลายวัน ควรตรวจเช็คระบบไฟฟ้าภายในบ้านให้เรียบร้อย ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน สำหรับบ้านไหนที่ชื่นชอบเทคโนโลยี สามารถติดตั้งระบบโฮมออโตเมชั่น เช่น Wiser หรือ EZinstall ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยให้สามารถมอนิเตอร์ระบบไฟฟ้าภายในบ้านได้ด้วยตนเองผ่านมือถือ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม รวมถึงอำนวยความสะดวกสบาย โดยเฉพาะเวลาที่ลืมปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตอนออกจากบ้านไปแล้ว เพียงแค่กดคำสั่งปิดบนสมาร์ทโฟน เพียงแค่นี้เราก็ไม่ต้องเสียเวลาวกกลับเข้ามาบ้านอีกครั้ง
นอกจากนี้ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หลายๆ บ้านอาจมีเด็ก หรือ เพื่อนฝูง มาเล่นน้ำ และอาจเปิดเพลงกันอย่างสนุกสนาน จนลืมคำนึงถึงความปลอดภัยในเรื่องของระบบไฟฟ้า หากสาดน้ำกันไปมา และพลาดไปถูกปลั๊กไฟ อาจจะทำให้ถูกไฟดูด ไฟช็อตได้ เพราะน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้า ดังนั้นเราต้องใส่ใจในเรื่องของระบบไฟภายในบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก และสิ่งที่จะเป็นตัวการันตีความปลอดภัยได้ คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ และเบรกเกอร์กันไฟดูด หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า เซอร์กิตเบรกเกอร์ และ เบรกเกอร์กันไฟดูด เป็นตัวเดียวกัน แท้จริงแล้ว อุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิด มีความสามารถแตกต่างกัน ดังนี้
– เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือ MCB (Miniature Circuit Breaker) มีหน้าที่กันไฟช็อตไฟเกิน อันเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ จะตัดไฟทันทีเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
– เบรกเกอร์กันไฟดูด หรือ RCBO (Residual Current Breaker With Overload Protection) มีหน้าที่เหมือนกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ แต่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าตรงที่สามารถช่วยป้องกันไฟดูด ไฟรั่วได้ด้วย เรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างครบวงจร
ปัจจุบัน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีแนวทางที่สะดวกสำหรับปกป้องชีวิตและทรัพย์สิน ด้วย ตู้คอนซูเมอร์ยูนิต หรือ เรียกง่ายๆ ว่า ตู้ไฟ ติดตั้งได้ง่าย มีความปลอดภัยสูง สามารถติดตั้งแบบแยกเป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ และ เบรกเกอร์กันไฟดูดได้  โดยสามารถเชื่อมวงจรที่ต้องการไปยังพื้นที่เสี่ยงได้แก่ ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ห้องนอน โดยเฉพาะที่ควรจะติดเบรกเกอร์กันไฟดูดคือ ห้องน้ำ และเครื่องทำน้ำอุ่น เพราะเป็นพื้นที่ที่สัมผัสกับน้ำมากที่สุด
ง่ายๆ เพียงเท่านี้ก็เพิ่มความมั่นใจ ในเรื่องของความปลอดภัยให้บ้านของเราได้แล้ว
# # #


เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านระบบการบริหารจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชั่น โดยรายได้ประจำปีงบประมาณ 2559 คิดเป็นมูลค่า 25 พันล้านยูโร บริษัทฯ มีพนักงาน 144,000 คนไว้คอยให้บริการลูกค้าในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก เพื่อช่วยให้ลูกค้าบริหารจัดการพลังงานและกระบวนการทำงานได้อย่างปลอดภัย มีเสถียรภาพ ประสิทธิภาพ และสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ นับตั้งแต่สวิทช์ไฟแบบเรียบง่ายที่สุด ไปจนถึงระบบการทำงานที่ซับซ้อน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นเจ้าของเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ และการบริการที่ช่วยให้ลูกค้ายกระดับประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ และการดำเนินงานได้แบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อของเรา จะช่วยปรับโฉมอุตสาหกรรม เปลี่ยนเมือง และช่วยให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “Life is On” www.schneider-electric.com/th



ถูกใจบทความนี้  0