ทำไมจีนและอินเดียเลือกคลื่น 2300MHz เทคโนโลยี TDD เปิดบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงรองรับจำนวนประชากรเกือบครึ่งโลก

 

DTAC2300_V1

 ขณะที่ทั่วโลกมีความต้องการในการใช้งานอินเทอร์เน็ตเติบโตแบบก้าวกระโดด แต่คลื่นความถี่กลับเป็นทรัพยากรมีปริมาณจำกัด และไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเป็นในยุคดิจิทัล ทำให้ต้องหาทางออกที่ดีกว่าเพื่อรองรับนวัตกรรมบริการต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอีกมาก ทำให้เกิดการพัฒนาคลื่นความถี่สู่ LTE-TDD ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือ หรือดาต้าความเร็วสูง และเทคโนโลยี LTE-TDD กำลังเป็นเทรนด์ในการบริหารการใช้ทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัดอย่างคลื่นความถี่ โดยเฉพาะในประเทศที่มีปริมาณการใช้งานดิจิทัลสูงมากอย่างจีนและอินเดีย 

 

 

  

DTAC2300_V2

คลื่น 2300MHz กำลังเริ่มต้น LTE-TDD ก็กำลังเริ่มต้นเช่นกัน

ถ้าเรายังต้องการเพียงแค่โทรศัพท์ทางเสียงหากัน เทคโนโลยี 2G แบบเดิมๆ ก็เพียงพอแล้ว แต่เพราะทุกอย่างพัฒนาไปข้างหน้า 3G, 4G จึงเกิดขึ้น และจะไปถึง 5G ในอนาคต การติดต่อสื่อสารขยายรูปแบบ พัฒนาเป็น VDO Call รวมถึงการบริโภคคอนเทนต์ประเภท VDO ที่แพร่หลายไปทั่วโลก

การเกิดขึ้นของ Internet of Things (IoT) การเชื่อมต่อระหว่าง Machine to Machine (M2M) แปลว่า ไม่ได้มีแค่คนที่ติดต่อกัน แต่คอมพิวเตอร์กำลังส่งข้อมูลถึงกัน ทำให้เกิดบริการใหม่ๆ เช่น รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง, อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ควบคุมได้ผ่านสมาร์ทโฟน และอีกหลายอย่างที่เราจะจินตนาการได้กำลังเกิดขึ้น

ในปี 2020 สมาคมจีเอสเอ็มยังคาดการณ์ว่าการเข้าถึงการใช้งานของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือทั่วโลกจะเพิ่มเป็น 60%

นั่นเป็นอีกเหตุผลทำให้จำนวนคลื่นความถี่ที่ให้บริการในปัจจุบันไม่เพียงพอ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ LTE TDD ในประเทศไทย ด้วยคลื่นความถี่ 2300MHz

 

กำหนดมาตรฐาน LTE-TDD ตอบรับคนใช้ดาต้ามากกว่าวอยส์

ปัจจุบันสหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ ผู้กำหนดมาตรฐานโทรคมนาคมโลก หรือ ITU ได้กำหนดให้ LTE-TDD และคลื่นความถี่ 2300MHz เป็นมาตรฐานเทคโนโลยีแล้ว เท่ากับเป็นการยืนยันว่า แนวโน้มของผู้ใช้งานมือถือทั่วโลก กำลังใช้ดาต้า หรืออินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ขณะที่การใช้งานวอยส์ หรือ การโทรด้วยเสียงตามปกติลดลง หรืออีกนัยหนึ่ง การโทรด้วยเสียง ขยับไปอยู่บน VoLTE แทน

เมื่อมีการกำหนดมาตรฐานอย่างชัดเจนแล้ว ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่จะผลิตต่อจากนี้สามารถรองรับ LTE-TDD บนคลื่น 2300MHz ได้อย่างเต็มที่ จากเดิมที่มีอุปกรณ์รองรับการใช้งานไม่น้อยอยู่แล้วด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน ที่มีประชากรกว่า 1.37 พัน ล้านคนทั่วประเทศ ก็มีการใช้งาน LTE-TDD ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา

 

 

dtac2300_0568-01TDD

จีน – อินเดีย พร้อม 56 ประเทศทั่วโลกกำลังใช้งาน LTE-TDD

มีกรณีศึกษาหลายประเทศที่น่าสนใจ เช่น จีน ประเทศจีน มีประชากรประมาณ 1.37 พันล้านคน มีอัตราเฉลี่ยใช้ SIM CARD 1.79 SIM ต่อคน เท่ากับว่าทุกคนมีอุปกรณ์พกติดตัวมากกว่าแค่สมาร์ทโฟน อาจมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงมีการใช้งานแบบ M2M และจำนวนการใช้งานก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผู้ให้บริการหลัก 3 รายในจีน ได้แก่ China Unicom, China Telecom และ China Mobile ล้วนใช้เทคโนโลยี LTE-TDD บนคลื่น 2300MHz ทั้งหมด เฉพาะ China Mobile ที่ถือว่าเป็นผู้ให้บริการที่มีโครงข่าย 4Gใหญ่ที่สุดในโลก มีจำนวนโครงข่าย 2300 + 2600MHz รวมอยู่กว่า 1.5 ล้านโครงข่าย

อีกประเทศที่น่าสนใจเช่นเดียวกันคือ ประเทศอินเดีย ที่มีประชากรประมาณ 1.31 พันล้านคน ไล่เลี่ยมากับจีน โดยมีทั้งประเทศที่ใหญ่และประชากรหนาแน่น ทำให้มีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่สูงตามไปด้วย ผู้ให้บริการที่ใช้เทคโนโลยี LTE-TDD บนคลื่น 2300 เช่น Airtel มีผู้ใช้ 276.5 ล้านราย, Jio มีผู้ใช้ 112.6 ล้านราย, Aircel มีผู้ใช้ 90.6 ล้านราย เป็นต้น

ทั้งจีน และอินเดีย มีจำนวนประชากรมหาศาลรวมกันจะมีจำนวนราวเกือบครึ่งโลก ประเทศที่มีขนาดกว้างใหญ่ การใช้งานที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี LTE-TDD มารองรับการใช้งาน เรื่องอุปกรณ์ทั้งโครงข่าย และเครื่องลูกข่าย เช่น สมาร์ทโฟน ที่จะมารองรับจึงไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

นอกจากนี้ Global Mobile Supplier Association (GSA) เปิดเผยว่า มีผู้ให้บริการ 97 รายจาก 56 ประเทศทั่วโลกเริ่มติดตั้งและใช้งานเชิงพาณิชย์ โครงข่าย LTE-TDD เรียบร้อยแล้ว สำหรับประเทศใกล้เคียงกับไทย เช่น Kingtel ในกัมพูชา, YTL ในมาเลเซีย, ผู้ให้บริการหลายรายในอินโดนีเซีย, Softbank และ UQ Communication ในญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศ

ข้อมูลเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นว่า LTE-TDD บนคลื่นความถี่ 2300MHz มีความต้องการและเป็นที่นิยมทั่วโลก ดังนั้นหากนำมาใช้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ในปริมาณมาก ก็จะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้บริโภคชาวไทย

 

ประเทศไทยถึงเวลาของการเปลี่ยนแปลงสู่เทคโนโลยี LTE TDD

GSMA ได้เปิดเผยว่า การติดตั้งโครงข่าย 4G LTE เริ่มตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา ถึงปี 2016 มีการเชื่อมต่อผ่านโครงข่าย 4G LTE กว่า 1,100 ล้านจุด และคาดว่าการเชื่อมต่อจะเพิ่มเป็น 2,500 ล้านในปี 2020 ในจำนวนนี้คาดว่ามีการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี LTE TDD กว่า 22%

ทั่วโลกกำลังใช้งานเทคโนโลยีใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กับอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สำหรับประเทศไทย นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ที่จะนำคลื่นความถี่ 2300MHz ออกมาใช้งาน และเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี LTE-TDD

ในอดีต ไทยเป็นประเทศเกือบสุดท้ายที่ได้ใช้งาน 3G บนคลื่นความถี่ใหม่ แต่ครั้งนี้คนไทยจะมีโอกาสใช้งานเทคโนโลยีใหม่ LTE-TDD เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ แล้ว

ครั้งนี้ ดีแทคจะพัฒนาคลื่นความถี่ 2300 MHz จำนวน 60MHz ออกมาใช้งานในอนาคตอันใกล้ เพื่อให้บริการ 4G LTE-TDD สามารถรองรับบริการ โมบาย บรอดแบนด์ และ ฟิกซ์ บรอดแบนด์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม สามารถดาวน์โหลดได้ที่ความเร็ว 300 Mbps และสามารถเพิ่มความเร็วขึ้นได้อีก

คาดการณ์ว่าช่วงปลายปีนี้ ดีแทคจะนำเทคโนโลยี 4G LTE-TDD ออกมาให้บริการแบบจัดเต็ม รวมถึง ทีโอที จะให้บริการประชาชนในพื้นที่ห่างไกลตามนโยบายของรัฐบาล นี่คือประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับ เพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น

 



ถูกใจบทความนี้  0