รีวิว OnePlus 5 นักฆ่าเรือธง กล้องหลังคู่ แรม 6GB ในราคาเอื้อมถึง !!!

อย่างที่รู้กันครับ ว่าค่าย OnePlus นั้นมีฉายา Flagship Killer หรือนักฆ่าเรือธงนั่นเอง ด้วนตัวสเปคและฟีเจอร์ที่มักจะจัดเต็ม แต่ทำราคาถูกกว่าแฟลกชิพคู่แข่งในท้องตลาดพอสมควร จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ชื่อเสียงของ OnePlus นั้นโดงดังและติดตลาดทั้งต่างประเทศและรวมไปถึงบ้านเราด้วย สำหรับ Flagship Killer รุ่นล่าสุดของทางค่ายก็คือ OnePlus 5 ซึ่งเปิดตัวมาสักพักใหญ่ ๆ แล้วครับ แต่ก็ยังได้รับความสนใจและถือว่าเป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกลำดับต้น ๆ สำหรับคนที่ชื่นชอบความแรง ความคุ้มค่า ในราคาที่จับต้องได้   

 

สเปคเบื้องต้นของ OnePlus 5

● จอแสดงผล AMOLED ขนาด 5.5 inch, ความละเอียด Full HD ( 1920 x 1080 pixels ) 401ppi  กระจกโค้ง 2.5D กระจกกันรอย Corning Gorilla Glass 5

● ระบบปฏิบัติการ OxygenOS บนพื้นฐาน Android 7.0 Nougat
● ชิปเซ็ต Qualcomm Snapdragon 835 ( Octa-core, 10nm, up to 2.45GHz )
● หน่วยประมวลผลกราฟิค Adreno 540
● แรม 6/8 LPDDR4X
● หน่วยความจำภายในตัวเครื่อง 64/128GB ชนิด UFS 2.1 (ไม่รองรับ MicroSD Card )
● กล้องหลังคู่ 20.0MP Telephoto Sony IMX 350, f/2.6 +  16.0MP Wide-angle Sony IMX 398, f/1.7
● กล้องหน้า 16.0MP Sony IMX 371,  f/2.0, Fixed Focus
● เซ็นเซอร์ Accelerometer, Ambient Light Sensor, E-Compass, Gyroscope, Hall Sensor, Proximity Sensor, Fingerprint Touch Sensor
● รองรับการใช้งาน 2 ซิมการ์ด  dual SIM dual standby, Nano SIM / Nano SIM
● Feature:GPS, GLONASS, BeiDou
● Bluetooth: 5.0
● เครือข่าย Network
● 2G: GSM 850/900/1800/1900MHz CDMA EVDO BC0
● 3G: WCDMA B1/B2/B4/B5/B8 TD-SCDMA B34/B39
● 4G FDD-LTE B1/B2/B3/B4/B5/B7/B8/B12/B17/B19/B20
● 4G TD-LTE B38/B39/B40/B41
● ขนาด 154.2 x 74.1 x 7.25 มม.
● น้ำหนัก 153 กรัม
● สี Midnight Black / Slate Gray / Soft Gold

ราคา $489.99 หรือคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 16,570 บาทครับ

สนใจสั่งซื้อได้ที่นี่  สนใจสั่งซื้อได้ที่นี่ https://goo.gl/qUJ8WU และสามารถใส่คูปองส่วนลด HSONP

 

Packaging & Accessories

 

 

ตัวกล่องแพ็กเกจมาในสไตล์เรียบ ๆ ใช้โทนสีขาวตัดแดงเป็นหลัก ตามธีมของทางค่าย Oneplus นั่นเองครับ

 

แง้มกล่องออกมาดูกันหน่อย ว่ามีอะไรให้มาบ้าง

 

สำหรับอุปกรณ์ภายในกล่องของ Oneplus 5 จะประกอบไปด้วย

1. คู่มือการใช้งานฉบับย่อ

2. เข็มจิ้มสำหรับเปิดถาดซิม

3. โปสเตอร์ โชว์คุณภาพรูปถ่ายจากกล้องของ OnePlus 5

 

 

4. สาย USB-C ที่มาในโทนขาวตัดแดง ดูโดดเด่นสะดุดตาดีมาก ๆ เลยครับ

 

 

5. อแดปเตอร์ชาร์จ Dash Power Adapter  ที่รองรับฟีเจอร์ชาร์จไว โดยให้เอาท์พุทมาที่ 5V- 4A กันเลยทีเดียว ใครใช้งานหนัก ๆ แนะนำให้พกอแดปเตอร์ชาร์จตัวนี้ไว้ครับ เพราะสามารถชาร์จได้ไวมาก ๆ ประมาณ 50% ภายในเวลา 30 นาทีครับ

*สำหรับฟิลม์กันรอยจะมีการติดมาให้ตั้งแต่โรงงานเลย สิ่งที่ไม่มาในกล่องก็คือหูฟังและเคสครับ ตรงนี้ต้องซื้อหามาใช้งานกันเอง

 

Design & Hardware

 

 

ดีไซน์ของ Oneplus 5 ต้องบอกตรง ๆ ว่าโดนเหน็บแนมมาตั้งแต่เปิดตัว ว่าช่างละม้ายคล้ายเหมือนค่ายผลไม้เสียนี่กระไร (รวมไปถึง OPPO R11 ด้วย) เช่นการวางเลย์เอาท์ของกล้องหลัง และเส้นสัญญาณเสาอากาศที่จัดวางในตำแหน่งเดียวกัน ส่วนหนึ่งเราคงต้องยอมรับว่ามันมีส่วนที่คล้ายคลึงจริงครับ แต่จะบอกว่าลอกมาทั้งดุ้นก็คงไม่ใช่นะ เอาเป็นว่า Oneplus 5 ของเรานั้นมาพร้อมดีไซน์ เมทัล ยูนิบอดี้ ที่เล่น curve แบบรอบตัว ส่งผลให้ตัวเครื่องมีความโค้งมน ทั้งขอบและมุมรอบตัวเครื่อง

ถ้าถามว่าดีไซน์แบบนี้ดีไหม ตอบเลยว่าลงตัวมากครับ เพราะจับถือได้ถนัด กระชับเข้ากับสรีระของฝ่ามือได้เป็นอย่างดี แถม Oneplus 5 ยังพกพาสะดวก เพราะบางเพียง 7.25 มม.เท่านั้น เป็นสมาร์ทโฟนบางเบาที่สุดของทางค่าย OnePlus ณ ตอนนีั้ครับ

ในด้านงานประกอบของ Oneplus 5 ตัวที่ผมได้มารีวิว ยังไม่พบ defect หรือปัญหาจุกจิกกวนใจแต่อย่างใด ในภาพรวมตัววัสดุและงานประกอบมีความเรียบร้อยแข็งแรงดี มีความพรีเมี่ยม สมกับความเป็นสมาร์ทโฟนแฟลกชิพจริง ๆ เลยครับ

 

  

ตัวจอแสดงผลของ OnePlus 5 เป็นจอโค้ง 2.5D ตามสมัยนิยม พร้อมครอบทับด้วยกระจกกันรอย Corning Gorilla Glass 5 เวอร์ชั่นล่าสุด ส่วนตัวพาเนลเป็นชนิด Amoled และเลือกที่จะให้ความละเอียดมาที่ FHD จึงส่งผลในด้านการจัดสรรพลังงานที่ทำได้ค่อนข้างดีมากครับ เพราะถ้าเลือกความละเอียดที่สูงไปกว่านี้ ก็ไม่ค่อยส่งผลในแง่ Experience การใช้งานจริงสักเท่าไหร่ โดนส่วยตัวผมมองว่าจอแสดงผลขนาด 5.5 นิ้ว และให้ความละเอียดมาที่ FHD เป็นอะไรที่ลงตัวที่สุดแล้วครับ

ต่อกันด้วยเรื่องคุณภาพของจอแสดงผลกันอีกนิด ในด้านความสว่าง ความคมชัด สีสันและมุมมองของ OnePlus 5 นั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ดี รวมไปถึง Respon การตอบสนองของหน้าจอก็ยอดเยี่ยมเช่นกันครับ

สรุป OnePlus 5 เป็นจอที่สามารถใช้งานกลางแจ้งได้สบาย ๆ มี Software ปรับแต่งการแสดงผลที่ค่อนข้างยืดหยุ่น เช่น โหมด sRGB, DCI-P3 รวมไปถึงโหมดถนอมสายตา ทั้งโหมดกลางคืนและโหมดการอ่าน ตรงนี้บอกได้เลยว่าค่าย OnePlus ใส่ใจทั้งผู้ใช้งานระดับแอดวานซ์และผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปได้อย่างลงตัวเลยครับ

 

 

ปุ่มโฮมจะเป็นแบบ Solid-State และมีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือในตัว สำหรับปุ่มโฮมแบบ Solid-State คืออะไร อธิบายง่าย ๆ เป็นปุ่มโฮมแบบสัมผัส ที่ต่างจากปุ่มกดแบบเดิม ๆ ที่เวลากดแล้วจะยุบตัวลงไป หรือที่เรียกว่า Hard key button ซึ่งปุ่มโฮมแบบใหม่นี้จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้นกว่าเดิมนั่นเองครับ ส่วนปุ่ม Back และ Recent Apps จัดวางอยู่ด้านข้างปุ่มโฮม โดยทั้ง 2 ปุ่มมีไฟแบล็คไลท์มาให้ใช้งานด้วย นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถปรับตั้งค่าการใช้งานปุ่มได้อย่างยืดหยุ่น เช่นสลับเลย์เอาท์ ของปุ่ม Back และ Recent Apps ตามความถนัดของผู้ใช้งาน หรือจะเรียกเมนูปุ่มนำทางในแบบ On Screen Button มาใช้งานก็ยังไหว รวมไปถึงสามารถกำหนดคีย์ลัดด้วยฟังก์ชั่นการกดปุ่มค้างของทั้ง 3 ปุ่ม เพื่อเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นด่วน ๆ ที่เราสามารถกำหนดได้เองอย่างอิสระ

สรุป ในแง่การใช้งานตัวเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือของ OnePlus 5 ต้องบอกเลยว่ามันเทพมาก ๆ ในเรื่องความแม่นยำและความไวในการสแกนครับ เป็นสมาร์ทโฟนที่ผมยกให้เป็นที่ 1 ในด้านเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ หลังจากที่ได้สัมผัสและใช้งานจริงมาแล้วหลากหลายรุ่น

 

มาดูเลย์เอาท์การจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในภาค Hardware ภายนอกของ OnePlus 5 กันต่อครับ

 

 

         

ด้านบนของตัวเครื่องจะเรียบโล่ง ๆ ส่วนด้านล่าง จะมีการจัดวางเลย์เอาท์ดังนี้

ไล่จากซ้ายไปขวา ลำโพงหลักของตัวเครื่อง, พอร์ท USB-C สำหรับชาร์จและโอนถ่ายไฟล์, ไมค์สนทนา, และช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม.

อธิบายดีเทลสักเล็กน้อย เริ่มจากลำโพงหลักก่อนนะครับ คุณภาพโดยรวมของตัวลำโพงจัดว่าดีเลยแหล่ะ โดยเฉพาะเรื่องความดังความกระหึ่ม แต่ถ้าลงลึกในแง่ quality จริง ๆ โทนเสียงจะออกไปทางแหลมสักเล็กน้อย เสียงเบสหรือย่านความถี่ต่ำของตัวลำโพงถือว่าธรรมดา ๆ ครับ

พอร์ต USB-Type-C ของ OnePlus 5 รองรับ USB Audio ด้วยนะครับ อธิบายง่าย ๆ ว่า ถ้าเรามีหูฟังรุ่นใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนจาก 3.5 มม. มาใช้พอร์ตชนิด USB-Type-C เราก็สามารถนำมาใช้งานกับ OnePlus 5 ได้เลยทันที่ โดยที่ไม่ต้องตั้งค่าหรือต้องลงโปรแกรมเสริมแต่อย่างใด

 

 

อีกหหนึ่งจุดขายของ OnePlus 5 ก็คือ ปุ่ม Alert slider หรือปรับโหมดเสียงครับ ตรงนี้ใครจะว่าลอกค่ายผลไม้ ก็คงไม่ว่ากัน แต่บน OnePlus 5 มันปรับได้ละเอียดดีนะ โดยรองรับทั้งโหมดปรกติ (สั่นและเสียง, โหมดเงียบ(สั่นอย่างเดียว), โหมดห้ามรบกวน  และถัดจากปุ่ม Alert slider ก็คือปุ่มเพิ่ม/ลดระดับเสียงนั่นเองครับ

 

 

 

 

ทางฝั่งขวาจะประกอบไปด้วย ช่องใส่ซิมการ์ดและถัดลงมาคือปุ่มพาวเวอร์ สำหรับช่องใส่ซิมการ์ด จะรองรับนาโนซิมทั้ง 2 ซิมครับ ทั้งนี้ OnePlus 5 จะไม่รองรับหน่วยความจำภายนอก Micro SD Card เพราะฉนั้นรูปแบบของถาดซิมจึงไม่ใช่ไฮบริดสล็อตแบบที่แบรนด์จีนทั่ว ๆ ไปนิยมใช้นั่นเอง

 

 

 

ปิดท้ายกันไปด้วยกล้องหลังอันเป็นจุดขายหลักของ OnePlus 5 ครับ การวางเลย์เอาท์แน่นอนว่าโดนแซวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ช่างเถอะ เรามาเข้าไฮไลท์หลักกันดีกว่า

สำหรับกล้องหลังคู่ของ OnePlus 5 จะมีหลักการการทำงานโดยใช้เลนส์ไวด์ หรือเลนส์ Normal 1 เลนส์ ทำงานร่วมกับเลนส์เทเล หรือเลนส์ทางยาว โดยหลักการแล้วก็เหมือนกับกล้องบน iPhone 7 Plus นั่นเอง ซึ่งจุดขายหลัก ๆ ก็หนีไม่พ้นเรื่องคุณภาพในการซูมโดยไม่สูญเสียความคมชัด (ที่ 2x แต่การทำงานจริงของ OnePlus 5 จะอยู่ที่ 1.6x โดยที่เหลือใช้การประมวลผลจาก Software ช่วย) รวมไปถึงและการถ่ายพอร์ทเทรต หรือหน้าชัดหลังเบลออันเป็นจุดขายของกล้องเลนส์คู่ที่ใช้แนวทางของเลนส์ไวด์ + เลนส์เทเลนั่นเองครับ

 

ก่อนทิ้งท้าย ผมขอบอกเล่าในภาค Hardware สักเล็กน้อย กล้องเลนส์คู่ของ OnePlus 5 นี้ไม่ธรรมดานะครับ เพราะเลือกใช้เซ็นเซอร์จากค่ายโซนี่ โดยเลนส์ Wide-angle จะมีความละเอียดอยู่ที่ 16 ล้านพิกเซล ใช้เซ็นเซอร์ Sony ในรุ่น IMX 398 มีขนาดพิกเซลไซส์อยู่ที่ 1.12 ไมครอน มาพร้อมระบบโฟกัสแบบ DCAF และค่ารูรับแสงที่  f/1.7 ใช้ระบบกันสั่นแบบ EIS (Software)

ส่วนเลนส์เทเล หรือเลนส์ทางยาว จะมีความละเอียดอยู่ที่ 20 ล้านพิกเซล เซ็นเซอร์ Sony IMX 350 พิกเซลไซส์ขนาด 1.0 ไมครอน ระบบโฟกัสแบบ PDAF และค่ารูรับแสงที่ f/2.6

 

software features

 

 

แกะกล่องมาพร้อมระบบปฏิบัติการสดใหม่ (ในขณะนั้น) ด้วย Android 7.1.1 และครอบทับด้วย Oxygen OS ซึ่งต้องบอกเลยว่าการใช้งานในภาพรวมนั้นให้ฟิลลิ่งในแบบ Pure android ที่เน้นความเรียบง่ายสะอาดตา และไม่มีการปรับแต่งมากนัก

 

    

ถึงแม้ UI จะมาในสไตล์ Pure android แต่ในด้านฟีเจอร์นั้นมีความหลากหลายไม่น้อยเลยครับ แม้จะไม่ใช่ฟีเจอร์ที่เน้นความหวือหวาเหมือนบางค่าย แต่ส่วนใหญ่เป็นฟีเจอร์ที่มีประโยชน์และได้ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน

 

อาทิเช่นการตั้งค่าปุ่ม Home, Back, Recent Apps โดยกดค้างเพื่อเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นตามที่กำหนด , สลับปุ่ม Back, Recent Apps ตามความถนัดของผู้ใช้งาน และสามารถเรียกปุ่มนำทางในแบบ On Screen Button มาใช้งานได้ด้วย

ส่วนฟีเจอร์ Gesture จะไม่ค่อยแตกต่างจากแบรนด์จีนมากนัก เช่นการเคาะหรือการวาดคำสั่งบนหน้าจอ นอกจากนี้ OnePlus 5 ยังสามารถแบ่งการทำงานแบบสองหน้าจอได้ด้วย สำหรับวิธีการเรียกใช้งาน 2 หน้าจอ ให้กดปุ่ม Recent Apps จากนั้นแตะค้างที่แอพที่ต้องการ แล้วลากขึ้นไปด้านบนของขอบจอ

 

 

ตามที่เกริ่นไปในตอนต้น เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือของ OnePlus 5 นั้น มีความแม่นยำและสแกนได้รวดเร็วมาก ส่วนฟังก์ชั่นการใช้งานค่อนข้างธรรมดาครับ โดยรองรับได้ 5 ลายนิ้วมือ และไม่ได้มีฟีเจอร์อะไรเป็นพิเศษ

 

 

ฟีเจอร์ในการปรับการแสดงผลของ OnePlus 5 ทำออกมาได้ค่อนข้างยืดหยุ่นดีมากครับ โดยมีโปรไฟล์ sRGB สำหรับคนซีเรียสเรื่องการแสดงผลที่ต้องการความแม่นยำและสมจริง นอกจากนี้ยังมีโหมดถนอมสายตาทั้งโหมดใช้งานกลางคืน และ Reading mode ที่ปรับได้อัตโนมัติตามสภาพแสงแวดล้อม

 

 

ในด้านการปรังตั้งค่าเสียงของ OnePlus 5 ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน โดยรองรับการฟังเพลงผ่านหูฟังบลูทูธได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย Bluetooth Audio Codec ส่วนการฟังเพลงจากหูฟังปรกติก็มี Audio Tuner ที่สามารถเลือกโปรไฟล์ของหูฟังและ EQ ทั้งแบบสำเร็จรูปและแมนวนปรับตั้งค่าได้เอง

 

 

ด้านการจัดสรรพลังงานของ OnePlus 5 อยู่ในเกณฑ์ที่ดีครับ ไม่ได้อึดมากมายมาย แต่ใช้งานรอด 1 วันแบบปริ่ม ๆ เล็กน้อย ยังไงก็พกพาวเวอร์แบงค์ไว้เพื่อความอุ่นใจครับ

 

 

Benchmarks & Performance 

 

 

ด้วยสเปคระดับเรือธง แถมยังมาพร้อมแรม 6GB ต้องบอกว่าด้าน performance นั้นหายห่วง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานทั่ว ๆ ไป หรือจะเน้นเล่นเกมกราฟิคโหด ๆ OnePlus 5 เอาอยู่ทุกสถานการณ์ ส่วนภาครับสัญญาณ GPS จับได้ค่อนข้างเร็ว และมีความแม่นยำในการใช้งานจริงอีกด้วย

สรุป เร็ว แรง ลื่น ตอบทุกโจทย์การใช้งาน ด้วยสเปคและ Firmware (ล่าสุด) ที่ปรับแต่งมาได้ค่อนข้างดีมากครับ

 

 

Camera & Sample

สุดท้าย อีกหนึ่งจุดขายหลักก็คือกล้องคู่ที่ชูจุดขายด้านคุณภาพเน้น ๆ  “Dual Camera. Clearer Photos”  แต่จะจริงหรือไม่ ต้องไปลองทดสอบกันครับ

 

เมนูอินเทอร์เฟซ ดูเรียบง่ายสะอาดตา สามารถสลับโหมดการถ่ายด้วยการปัดนิ้วสลับไปมาบนหน้าจอแสดงผล ซึ่งจะมี 3 โหมดหลักได้แก่ โหมดถ่ายภาพ (Auto) โหมดวีดีโอ และ Portrait mode สำหรับโหมดการถ่ายย่อยจะมีอีก 4 โหมด ประกอบไปด้วย Pro Mode, Time-lapse, Slow motion และ Panorama

 

 

การตั้งค่าทั่วไปของกล้อง สามารถใส่ลายน้ำ และถ่ายภาพแบบด่วนในโหมดสแตนบายด้วยการกดปุ่มพาวเวอร์ 2 ครั้งติดกัน

 

 

จากนี้ไปดูภาพถ่ายตัวอย่างของจริงกันครับ ว่าจะทำได้ดีสมราคาคุยหรือไม่

 

 

โหมดออโต้ + ซูม 2x

 

 

 

โหมดออโต้ + ซูม 2x

 

 

 

Portrait mode หรือโหมดหน้าชัดหลังเบลอ เนื่องจากไม่มีนางแบบ จึงขอถ่ายเป็นซับเจ็คอื่น ๆ แทนนะครับ

 

 

จากนี้จะเป็นโหมดออโต้ ที่ถ่ายในสภาพแสงต่าง ๆ

 

ต่อกันด้วยในที่แสงน้อย และสภาพแสงภายในอาคาร

 

 

ตัว Firmware ล่าสุด 4.5.10 แก้ปัญหาการถ่ายในที่แสงน้อยของ OnePlus 5 เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ จากที่เคยมีนอยส์ค่อนข้างเยอะ ตัว Firmware ล่าสุดให้ภาพที่มีความสมูทและคมชัด มีการจัดการนอยส์ได้ดีขึ้นแบบเห็นชัดเจน

 

 

กล้องหน้าให้คุณภาพที่ดีครับ แต่ในบทความนี้ผมลองถ่ายในสภาพแสงน้อยและในอาคาร ซึ่งถ้าเป็นสภาพแสงปรกติจะได้ภาพที่มีความคมชัดและเก็บรายละเอียดได้ดีกว่านี้ครับ

 

 

สำหรับการถ่ายวีดีโอ 4K บน OnePlus 5 จะสามารถถ่ายได้นานแค่ 10 นาทีเท่านั้นนะครับ และในเฟิร์มแวร์ล่าสุดมีการใส่ฟีเจอร์ EIS สำหรับการบันทึกวีดีโอ 4K มาให้ด้วย ในแง่คุณภาพ โดยส่วนตัวผมมองว่าพอใช้ได้ แต่ยังไม่ได้โดดเด่นเหนือกว่าคู่แข่งในท้องตลาด 

 

สรุป OnePlus 5

ข้อดี

1. สเปคจัดเต็ม ในราคาจับต้องได้
2. วัสดุและงานประกอบเรียบร้อยแข็งแรง มีความพรีเมี่ยม สมราคาค่าตัว
3. กล้องหลังคุณภาพดีมาก เมื่อเทียบกับทุกรุ่นที่ผ่านมาของค่าย OnePlus
4. เสียงลำโพงดังกระหึ่ม เพิ่มอรรถรสด้านความบันเทิงได้เป็นอย่างดี
5. แบตอึดพอประมาณ และมีจุดเด่นด้วยระบบชาร์จไว Dash Charge 

 

สิ่งที่ต้องพิจารณา

1. ไม่รองรับ VoLTE, VoWiFi ในไทย
2. Firmware ยังไม่นิ่ง มีบั๊คเล็ก ๆ น้อย (แก้ไขแล้วในเวอร์ชั่น 4.5.10) ดูวิธีดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://goo.gl/zQcPF9
3. กล้องหลังไม่มี OIS
4. เสียงจากหูฟังค่อนข้างธรรมดา แถมแรงขับยังน้อยอีกด้วย
5. มีแต่เครื่องหิ้ว ต้องยอมรับความเสี่ยงเอง

หากเพื่อน ๆ สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่นี่  สนใจสั่งซื้อได้ที่นี่ https://goo.gl/qUJ8WU และสามารถใส่คูปองส่วนลด HSONP

ก็คงจะฝากไว้แต่เพียงเท่านี้ สำหรับรีวิว OnePlus 5 แล้วพบกันใหม่ในรีวิวทดสอบด้านเอนเตอร์เทนครับ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ 

ถูกใจบทความนี้  4