Tips! รวมอุปกรณ์เสริม เพื่อใช้งานกล่อง Android TV Box ได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น !!

Tips Android TV Box

 จะเห็นว่าช่วงหลังผมรีวิวกล่องแอนดรอยด์หลากหลายรุ่นมาก ซึ่งแน่นอนว่าในการทำรีวิว หรือจะบอกว่าในการใช้งานจริง ๆ ของชีวิตประจำวัน ถ้าหากเรามีแค่ตัวกล่องกับรีโมตอย่างเดียวนั้น ยังไม่สามารถตอบทุกโจทย์ในการใช้งานอย่างอย่างครบถ้วนนัก เพราะด้วยข้อจำกัดของตัวรีโมทและรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างไปจากสมาร์ทโฟน ทำให้เราควรที่จะมีอุปกรณ์เสริมมาช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานกล่อง Android TV Box ของเราครับ  

 

 

อ่านรีวิวเก่า ๆ ของ Android TV Box ได้ที่นี่ครับ

 

MECOOL BB2 PRO 10


Beelink GT1 Ultimate  >>> https://goo.gl/115Vd5

Scishion V99 hero  >>> https://goo.gl/ALyuns

Alfawise H96 Pro+  >>>  https://goo.gl/Dwhjvn

MECOOL BB2 PRO  >>>  https://goo.gl/6Z4zUG

 

 

Tips Android TV Box 1

Tips Android TV Box 2

เริ่มจากตัวลำโพงกันก่อน

สำหรับคนที่มีแพลนจะซื้อลำโพงมาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นซาวด์บาร์ หรือลำโพง 2.1, 5.1 ชาแนล ผมมีข้อแนะนำอย่างหนึ่งก็คือ พยายามเลือกรุ่นที่มีพอร์ตการเชื่อมต่อแบบครบ ๆ เช่นพอร์ต Optic และ Coaxial ครับ

เพราะโดยส่วนใหญ่ พวกกล่องแอนดรอยด์มักจะมาพร้อมกับพอร์ต Optic  และถ้าเป็นไปได้ ควรเลือกลำโพงที่รองรับการเชื่อมต่อไร้สายผ่านบลูทูธไว้ด้วยก็ดีครับ เพราะตัวกล่องแอนดรอยด์นั้นมีบลูทูธมาให้ใช้งานอยู่แล้ว ตรงนี้เป็นเรื่องของความสะดวกสบายล้วน ๆ สำหรับคนที่ไม่ได้เน้นในเรื่องของคุณภาพมากนัก

แต่หากต้องการอรรถรสในการรับชมคอนเทนต์ที่เป็นดิจิตอลจริง ๆ แล้ว ยังไงก็ต้องเชื่อมต่อผ่าน Optic  ครับ แถมกล่องแอนดรอยด์บางรุ่นยังซัพพอร์ต Output แบบ 5.1 ชาแนลภายในตัวได้อีกด้วย

 

Tips Android TV Box 4
จอยเกมไร้สาย

จอยเกมแบบไร้สายมีทั้งที่ใช้การเชื่อมต่อแบบไวเลสและบลบูทูธครับ และถ้าเป็นคนที่ชอบเล่นเกมด้วยแล้ว ยิ่งไม่ควรพลาดครับ เพราะเกมบางค่ายนั้นถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานร่วมกับจอยเกมได้อย่างสมบูรณ์แบบ อาทิเช่นเกมจากค่าย EA เป็นต้น

นอกจากการเล่นเกมแล้ว ตัวจอยยังสามารถใช้งานแทนรีโมทได้ด้วย รวมไปถึงบางรุ่น มีปุ่มควบคุมมัลติมีเดียและทัชแพดมาให้ใช้งาน ตรงนี้ก็ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานได้ดีขึ้นในอีกระดับหนึ่งแลยครับ

 

 

Tips Android TV Box 3

สุดท้ายคีย์บอร์ดไร้สาย

อุปกรณ์เสริมตัวนี้จะมีความเหมือนกับจอยเกม ก็คือตัวกล่องนั้นรองรับทั้งการเชื่อมต่อผ่านไวเลสและบลูทูธ แต่ที่ผมแนะนำจริง ๆ ก็คือ ควรเป็นคีย์บอร์ดที่มีทัชแพดภายในตัว เพราะเราสามารถใช้งานแทนเมาส์ได้เลย ตรงนี้มีประโยชน์ในการใช้งานจริงมาก ๆ ครับ โดยส่วนตัวของผู้เขียน เมื่อต้องใช้งานกล่องแอนดรอยด์คีย์บอร์ดไร้สายเป้นสิ่งขาดไม่ได้เลยครับ

 

และเมื่อพูดถึงเรื่องคีย์บอร์ดแล้ว ก็ขอแนะนำการเซ็ตอัพตัวคีย์บอร์ดให้ใช้งานง่าย ๆ  เช่นการสลับภาษาเหมือนที่เราใช้งานบน PC หรือ Notebook กันนะครับ ซึ่งมีวิธีการที่ไม่สลับซับซ้อนแต่อย่างใด

 

Tips Android TV Box 8

เริ่มต้นด้วยการดาวน์โหลดแอพ 9420 Tablet Keyboard มาติดตั้งในกล่องแอนดรอยด์ของเราครับ จากนั้นเข้าไปที่การตั้งค่าของตัวแอพ

 

Tips Android TV Box 5

เลือกไปที่เมนู Physical Keyboard

 

Tips Android TV Box 6

และเลือกไปที่ Choose Thai switch key

 

Tips Android TV Box 7

ค่าเริ่มต้นจะเป็นปุ่ม Grave Accent (~) เหมือนที่เราใช้ประจำอยู่แล้ว แต่ถ้าใครอยากจะเปลี่ยนเป็นปุ่มอื่นๆ  ก็สามารถกำหนดตามความถนัดได้เลยครับ

 

สรุปส่งท้าย สำหรับอุปกรณ์เสริมที่แนะนำในบทความนี้ นอกจากนำมาใช้งานกับกล่องแอนดรอยด์ได้แล้ว ยังสามารถนำไปใช้กับพวกสมาร์ททีวี หรือใช้กับ Notebook, PC ทั่ว ๆ ไปได้ด้วย จึงไม่ได้เป็นการสิ้นเปลืองมากนัก เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้มีข้อจำกัดที่ต้องใช้เแฉพาะกับกล่องแอนดรอยด์เพียงอย่างเดียวนั่นเอง

เอาเป็นว่า ใครที่ใช้งานกล่องแอนดรอยด์เป็นประจำ ๆ ยังไงก็ควรมีติดไว้ครับ เพราะมันจะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานกล่องแอนดรอยด์ของเราได้เป็นอย่างดีเลยครับ

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ 



ถูกใจบทความนี้  40