Orion Nebula

เชิญชม Orion Nebula หรือเนบิวลานายพราน เป็นอีกหนึ่งเนบิวล่าที่สวยไม่น้อยในจักรวาล

 

เนบิวลานายพราน ( Orion Nebula; หรือที่รู้จักในชื่อ วัตถุเมสสิเยร์ M42 หรือ NGC 1976) เป็นเนบิวลาแห่งหนึ่งอยู่ทางใต้ของเข็มขัดโอไรออนในกลุ่มดาวนายพราน ถือเป็นหนึ่งในเนบิวลาสว่างที่สุดและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เนบิวลานายพรานอยู่ห่างออกไปประมาณ 1,270±76 ปีแสง ถือเป็นย่านกำเนิดดาวฤกษ์มวลมากที่อยู่ใกล้กับโลกมากที่สุด เนบิวลานายพรานมีขนาดกว้างประมาณ 24 ปีแสง บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่อ้างถึงเนบิวลาแห่งนี้เรียกมันว่า เนบิวลาใหญ่ ในกลุ่มดาวนายพราน หรือ เนบิวลานายพรานใหญ่ อย่างไรก็ดียังมีบันทึกทางดาราศาสตร์ที่เก่าแก่กว่าเรียกมันว่า เอนสิส (ละติน: Ensis; หมายถึง “ดาบ”) อันเป็นชื่อเดียวกันกับดาวเอตาโอไรออนิส ซึ่งเมื่อมองจากโลกจะเห็นอยู่ใกล้กันกับเนบิวลา  ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ( https://goo.gl/ALg7g3 )

การถ่ายวัตถุบนท้องฟ้า หรือ Deep Sky Opjects แบบนี้ต้องพึ่งพาอุปกรณ์พิเศษ เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “ขาตามดาว” อุปกรณ์นี้มีไว้เพื่อขยับกล้องให้แพนตามการเคลื่อนที่ของดาวบนท้องฟ้า จริง ๆ ดาวบนท้องฟ้าไม่ได้เคลื่อนที่ โลกเราที่เคลื่อนที่และหมุนรอบตัวเอง ทำไมถึงต้องใช้ขาตามดาว เพราะการถ่ายแบบนี้ต้องใช่เวลาในการถ่ายนานกว่าปกติ หรือ Long Shutter Speed กรอปกับต้องใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากพอสมควร ตั้งแต่ 100 ถึง 2000 มิลขึ้นไป ซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับขนาดของวัตถุที่เราจะถ่ายครับ ยิ่งทางยาวโฟกัสมาก ๆ วัตถุที่เคลื่อนผ่านหน้าเลนส์ยิ่งเร็ว หากไม่มีขาตามดาวจะถ่ายไม่ได้เลย ถ่ายได้ภาพก็จะเบลอไปหมด หากจะให้ได้ภาพดี ๆ สวย ๆ เหมือนที่เขาถ่ายมาต้องใช้กล้องดูดาวและอุปกรณ์พิเศษ ซึ่งเป็นกล้องเฉพาะทางสำหรับถ่ายดาวโดยตรงครับ กล้องสำหรับถ่ายภาพก็มีด้วยกันหลายระดับ เริ่มจากกล้อง DSLR ขึ้นไปจนถึง CCD แบบโมโน โอกาสหน้าจะมาเขียนแนะนำการเลือกซื้อกล้องดูดาวให้ตรงกับความต้องการให้นะครับ ขอรวบรวมข้อมูลก่อนครับ

ถูกใจบทความนี้  3