จักรยาน ofo รุกสมาร์ทซิตี้ลำดับที่ 3 เปิดให้บริการแล้วที่ ม.ขอนแก่น

ofo (โอโฟ่ผู้นำบริการจักรยานสาธารณะอัจฉริยะอันดับหนึ่งของโลกหรือที่รู้จักกันในคอนเซ็ปต์จักรยานแบ่งปัน หรือ Bike-Sharing รุกขยายบริการทั่วไทยหลังได้รับการตอบรับดีเยี่ยมมียอดผู้ใช้ต่อวันสูงติดอันดับต้นๆ ของโลก ล่าสุดปักหมุดสมาร์ทซิตี้ลำดับที่ จังหวัดขอนแก่น โดยประเดิมเริ่มเปิดให้บริการแล้วที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นตั้งแต่วันที่ ธันวาคมที่ผ่านมา

 

 

 

นายนพพล ตู้จินดา ผู้จัดการทั่วไป โอโฟ่ ประเทศไทย กล่าวว่า ภายหลังจากที่ได้เริ่มเปิดให้บริการจักรยาน ofoในมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ไม่กี่วันที่ผ่านมา พบว่าได้รับผลตอบรับดีเกินคาด มียอดจำนวนการใช้งานสูงถึงหลายพันเที่ยวต่อวันนับเป็นอัตราการใช้งานที่สูงมากเมื่อเทียบกับอัตราการใช้งานในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ ofoได้เริ่มเปิดให้บริการ ซึ่งการขยายการบริการจักรยาน ofoที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการขี่จักรยานที่แพร่หลายมากขึ้นด้วยด้วยจักรยานของ  ofoแล้ว จังหวัดขอนแก่นยังถือเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญในการขยายการให้บริการจักรยาน ofoตามกลยุทธ์ขยายบริการในกลุ่มจังหวัด Smart City ตามนโยบายของทางภาครัฐ ซึ่งสำหรับประเทศไทยมีเมืองต้นแบบอยู่ 3 เมืองที่ดำเนินตามแนวทางของSmart City นั่นคือเมืองภูเก็ตเมืองขอนแก่นและเมืองเชียงใหม่ซึ่งที่ผ่านมาofoได้เปิดให้บริการใน Smart City ที่แรกคือภูเก็ตในเดือนกันยายนที่ผ่านมา และเชียงใหม่ที่เริ่มด้วยการเข้าไปสนับสนุนจักรยาน ofoในการจัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และล่าสุดในจังหวัดขอนแก่นที่ได้เริ่มเปิดให้บริการที่ ม.ขอนแก่นเป็นที่แรก โดยเริ่มให้บริการวันแรกในวันที่ 1ธันวาคมที่ผ่านมา

 

 

“เราเชื่อว่า ofo จะได้รับความนิยมและได้ผลตอบรับที่ดีเช่นการเปิดตัวในหลายมหาวิทยาลัย เห็นได้จากผลตอบรับจากเหล่านักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยขอนแก่นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ที่นอกจากจะเป็นทางเลือกการเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย และดีต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ด้วยเทคโนโลยีของ  ofoที่จะช่วยให้การใช้งานทำได้อย่างสะดวกง่ายดายเพียงดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น ofoและเริ่มค้นหาจักรยานที่อยู่ใกล้คุณ ด้วยเทคโนโลยีของจักรยาน ofoทุกคันที่มีทั้ง gpsในการระบุตำแหน่งจักรยานได้อย่างแม่นยำพร้อมระบบ Smart Lock ที่ผู้ใช้สามารถปลดล็อกอย่างง่ายดายเพียงสแกน QR Code เพียงเท่านี้ก็สามารถเริ่มต้นประสบการณ์การเดินทางแบบใหม่กับ ofoได้แล้ว และพิเศษสุดสำหรับการเปิดตัวนี้จะเปิดให้ใช้บริการฟรี ไม่คิดค่ามัดจำและค่าบริการตั้งแต่วันนี้ – 31 ม.ค.61” นายนพพล กล่าว

 

 

ด้าน รศ.ดร.กิตติชัยไตรรัตนศิริชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยขอนแก่นตั้งอยู่บนพื้นที่ 5,500 ไร่ ซึ่งถือเป็นพื้นที่สีเขียวสำคัญที่เปรียบเสมือนปอดใจกลางเมืองขอนแก่น โดยปัจจุบันมีนักศึกษารวมกว่า 40,000  คน แม้ภายในมหาวิทยาลัยจะมีการใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ค่อนข้างมาก แต่ที่ผ่านมาได้ส่งเสริมให้มีการใช้จักรยานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดการเกิดมลภาวะในมหาวิทยาลัยขอนแก่น สำหรับความร่วมมือล่าสุดกับทาง ofoในการเริ่มให้บริการจักรยาน Bike-Sharing ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อส่งเสริมการเดินทางโดยจักรยานภายในมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสภาพแวดล้อมส่งเสริมสุขภาพนักศึกษาและบุคลากรให้แข็งแรง ซึ่งถือเป็นหนึ่งทางเลือกด้านการขนส่งมวลชนในมหาวิทยาลัยที่สะดวกปลอดภัยในราคาประหยัด”

 

 

  

ทั้งนี้ ในระยะเริ่มต้นนี้ได้เตรียมจุดจอดจักรยาน ofoในมหาวิทยาลัยขอนแก่นไว้มากกว่า20 จุด ทั่วมหาวิทยาลัยขอนแก่น อาทิเช่นบึงสีฐานอาคารสิริคุณากรศูนย์อาหารคอมเพล็กซ์ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก หอพักนักศึกษาชาย โรงอาหารหนองแขมโซนหอพักนพรัตน์โซนหอพักอินเตอร์ สำนักวิชาศึกษาทั่วไปคณะมนุษยศาสตร์โรงอาหารกังสดาล คณะเกษตรศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์คณะสาธารณสุขศาสตร์โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์

Smart City เป็นแนวทางในการพัฒนาเมืองภายใต้กรอบความคิดที่มุ่งให้เกิดความยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมปัจจุบันทั่วโลกมีเมืองที่เดินตามแนวทางของSmart City อยู่มากมายโดยจะเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาดูแลและพัฒนาเมืองให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งofoถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของ Smart City ที่ได้สร้างปรากฏการณ์มาแล้วในกว่า 200 เมืองทั่วโลก ซึ่ง ofoถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมการเดินทางที่สร้างสรรค์ขึ้นสำหรับทุกคน เข้าถึงคนทุกระดับ ตอบโจทย์ในการเพิ่มศักยภาพให้เมืองและผู้คนให้เกิดความ สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งไม่ก่อมลพิษ ซึ่งสำหรับแผนการขยายการบริการในประเทศไทยจะยังคงเดินหน้าเพิ่มจุดให้บริการอย่างต่อเนื่องโดยจะเน้นการทำงานร่วมกับเจ้าของพื้นที่และหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้การสร้างสังคมจักรยานแบ่งปันหรือ Bike-Sharing ในเมืองไทยเป็นไปอย่างยั่งยืน” นายนพพล กล่าวในตอนท้าย

เกี่ยวกับ ofo 

ofo (โอโฟ่) ผู้นำจักรยานสาธารณะอัจฉริยะอันดับหนึ่งของโลก ก่อตั้งในปี พ.ศ.2557 ofo (โอโฟ่) ปัจจุบันให้บริการครอบคลุม 200 เมือง 19 ประเทศทั่วโลก โดยในแต่ละวันมีจำนวนการใช้บริการสูงถึง 32 ล้านครั้งต่อวัน และมีจำนวนการใช้งานรวมแล้วกว่า 4 พันล้านครั้ง รวมระยะการเดินทางสะสมโดยผู้ใช้ทั้งหมด 1.2 พันล้านกิโลเมตร ลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึง 84 ล้านลิตร และเพียงระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน พ.ศ.2560 ofo ยังสามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 265,000 ตัน

 

โดยในเดือนเมษายน พ.ศ.2560 ofo ได้ร่วมมือกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) รวมทั้งเปิดตัวเป็นพาร์ทเนอร์กับมูลนิธิ Rihanna’s Clara Lionel Foundation เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2560 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กหญิงในประเทศมาลาวี โดยการมอบทุนการศึกษาและจักรยานเพื่อให้เด็กๆ ได้เดินทางไปโรงเรียนอย่างปลอดภัย เดือนตุลาคม พ.ศ.2560 ofo ยังได้ร่วมมือกับ C40 ต่อประเด็นปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก และจะสนับสนุนในทุกด้านของการวิจัยเกี่ยวกับเมืองน่าอยู่และสุขภาพดี ร่วมกำหนดกิจกรรมที่หวังผล รวมทั้งประโยชน์ที่จะได้จากสภาวะอากาศโดยรวม

 

เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2560 ofo ระดมทุนในซีรีส์ E ซึ่งมีมูลค่ากว่า 700 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ นำโดยกลุ่ม Alibaba, Hony Capital และ CITIC Private Equity ข้อมูลเพิ่มเติม www.ofo.com



ถูกใจบทความนี้  0