ไอเอฟเอสนำฟังก์ชั่นใหม่หนุนกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ จีดีพีอาร์

ไอเอฟเอส ซึ่งเป็นบริษัทระดับโลกด้านแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กร เปิดเผยว่าฟังก์ชั่นใหม่ที่พัฒนาขึ้นสำหรับไอเอฟเอส แอพพลิเคชั่นส์ (IFS Applications) จะช่วยลูกค้าให้สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคหรือจีดีพีอาร์ (General Data Protection Regulation: GDPR) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยความสามารถใหม่ดังกล่าวที่มีเพิ่มในไอเอฟเอส แอพพลิเคชั่นส์ จะช่วยให้ลูกค้าของไอเอฟเอสสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 นอกจากนี้ยังจะมีการปรับเพิ่มฟังก์ชั่นที่เหมือนกันนี้ให้กับไอเอฟเอส ฟิลด์ เซอร์วิส แมเนจเม้นท์ (IFS Field Service Management) ซึ่งจะเปิดตัวในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ด้วย

 

ไอเอฟเอสนำฟังก์ชั่นใหม่หนุนกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ จีดีพีอาร์ ความสามารถใหม่ที่มีให้ในไอเอฟเอฟ แอพพลิเคชั่นส์ และไอเอฟเอส ฟิลด์ เซอร์วิส แมเนจเม้นท์ จะช่วยให้ลูกค้าจัดการและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของจีดีพีอาร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฟังก์ชั่นใหม่ที่ให้การสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎระเบียบจีดีพีอาร์จะมีรวมอยู่ใน ไอเอฟเอส แอพพลิเคชั่นส์ 9 (IFS Applications 9) รวมถึงเวอร์ชั่นอัปเดตตั้งแต่ 10 ขึ้นไปก็มีพร้อมใช้งานแล้วในขณะนี้ และฟังก์ชั่นที่คล้ายกันนี้จะมีรวมอยู่ในไอเอฟเอส เซอร์วิส แมเนจเม้นท์ 5.7 ( IFS Field Service Management 5.7) ตั้งแต่เวอร์ชั่น 3 เป็นต้นไปด้วย (เริ่มตั้งแต่ปลายไตรมาสที่ 1 ปี 2561)

สำหรับการสนับสนุนให้สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบจีดีพีอาร์ (GDPR) ผ่านกระบวนการสำคัญทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของฟังก์ชั่นใหม่นั้น จะครอบคลุมในส่วนต่างๆ ดังนี้

  1. การเก็บรวบรวมข้อมูลตามกฎหมาย: ตามกฎระเบียบ จีดีพีอาร์ นั้น ข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับการเก็บรวบรวมเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะตามที่ระบุไว้และจะได้รับการจัดเก็บเอาไว้ตราบเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวเท่านั้น ฟังก์ชั่นใหม่นี้จะช่วยให้สามารถดำเนินการดังกล่าวได้โดยอนุญาตให้มีการระบุข้อมูลตามหัวเรื่องและจะต้องแนบวัตถุประสงค์การดำเนินการไปกับข้อมูลด้วยทุกครั้ง ซึ่งรวมถึงระยะเวลาของการดำเนินการ โดยที่ข้อมูลแต่ละรายการจะได้รับการจัดการในลักษณะที่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานด้านการประมวลผลที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างน้อยหนึ่งอย่าง

  1. การจัดเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัย: ข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับการบันทึกและจัดเก็บไว้อย่างปลอดภัยภายในระบบที่ใช้สำหรับการประมวลผลข้อมูล ทั้งยังจะต้องสอดคล้องกับสิทธิ์การเข้าถึงที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย ฟังก์ชั่นใหม่นี้จะช่วยเสริมความสมบูรณ์ให้กับกลไกที่มีอยู่เดิมเพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม ด้วยการจัดเตรียมกลไกและกรอบระยะเวลาเฉพาะสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลในแต่ละเรื่อง การจัดทำรายการข้อมูลส่วนบุคคล วัตถุประสงค์ของการประมวลผลข้อมูล การกำจัดข้อมูลและการไม่ระบุชื่อเรื่องข้อมูล รวมถึงการยินยอมให้ดำเนินการภายในกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน

  1. การเรียกคืน/การส่งต่อข้อมูลอย่างปลอดภัย: ความสามารถในการเรียกคืนและการส่งต่อข้อมูลเป็นส่วนประกอบสำคัญของการปฏิบัติตามกฎระเบียบจีดีพีอาร์ โดยฟังก์ชั่นใหม่นี้จะช่วยให้การดำเนินการเป็นเรื่องง่ายด้วยการนำรายงานมาตรฐานใหม่เข้ามาปรับใช้ ซึ่งสามารถเรียกใช้งานข้อมูลตามหัวเรื่องเฉพาะที่บันทึกภายใน ไอเอฟเอส แอพพลิเคชั่นส์ หรือไอเอฟเอส ฟิลด์ เซอร์วิส แมเนจเม้นท์   และนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อมูลทั้งหมดที่จัดเก็บไว้ วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวโดยมีวันที่หมดอายุที่ชัดเจน และหลักการตามกฎหมายที่ข้อมูลและวัตถุประสงค์ต้องยึดตาม

  1. การบำรุงรักษา/การกำจัดอย่างปลอดภัย: ข้อกำหนดที่สำคัญ 3 ประการภายใต้กฎระเบียบ        จีดีพีอาร์ คือการรักษาระเบียนข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน สิทธิ์ที่ข้อมูลจะถูกลืม และความต้องการระบบควบคุมข้อมูลเพื่อเก็บรักษาระเบียนข้อมูลตามวัตถุประสงค์ทางกฎหมายนอกเหนือจากความยินยอม ฟังก์ชั่นใหม่นี้จะให้ความสามารถด้านการสนับสนุนกระบวนการดูแลรักษาข้อมูล โดยจะจัดเตรียมระบบควบคุมข้อมูลที่สามารถล้างข้อมูล กำจัด นำออก หรือไม่ระบุชื่อ (ตามความเหมาะสม) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าในส่วนของชื่อเรื่องข้อมูลหรือการหมดอายุของระยะเวลาเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าว

  1. การใช้งานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย: การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในระบบและจะต้องสามารถเรียกคืน จัดทำรายงาน และกำจัดข้อมูลได้เมื่อต้องการ ถือเป็นสิ่งสำคัญและการที่จะดำเนินการดังกล่าวได้นั้นจะต้องอาศัยการตั้งค่า การดูแลรักษา และการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถูกต้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล การแสดงข้อมูล และความสามารถที่จะได้รับการแจ้งให้ทราบเมื่อมีการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูล ฟังก์ชั่นใหม่นี้ช่วยจัดหาจุดเข้าใช้งานเดียวเพื่อให้สามารถเข้าถึงและควบคุมการประมวลผลตามวัตถุประสงค์และหลักการพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับไอเอฟเอส แอพพลิเคชั่นส์ และไอเอฟเอส เซิอร์วิส แมเนจเม้นท์ ให้มีความสามารถในด้านการสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎระเบียบจีดีพีอาร์ ตอกย้ำให้เห็นถึงความพร้อมของเราในการนำเสนอฟังก์ชั่นการทำงานของซอฟต์แวร์ที่ครบวงจรและใช้งานง่าย เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคมปีนี้” นายสตีฟ ทรีกัสต์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมส่วนกลางด้านการเงิน เอชซีเอ็ม และกลยุทธ์ กล่าวและว่า “นอกเหนือจากการสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎระเบียบจีดีพีอาร์แล้ว เรายังนำเสนอความสามารถใหม่ๆ ที่พร้อมช่วยองค์กรเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อเพิ่มคุณภาพข้อมูลโดยใช้ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันมากขึ้นและลดปริมาณข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องลง ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานสามารถลดลงได้อย่างมาก”

เกี่ยวกับจีดีพีอาร์

            กฎระเบียบให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค (General Data Protection Regulation: GDPR) ของสหภาพยุโรป จะมีผลบังคับใช้แทนข้อกำหนด Directive 95/46/ EC และได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั่วทั้งยุโรปเพื่อช่วยป้องกันและเพิ่มขีดความสามารถให้กับการคุ้มครองข้อมูลทั้งหมดของพลเมืองในสหภาพยุโรป และเพื่อเปลี่ยนแนวทางที่องค์กรในภูมิภาคแห่งนี้ใช้ในการจัดการเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย สำหรับวันที่มีผลบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ดังกล่าว

คือวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

เกี่ยวกับไอเอฟเอส

ไอเอฟเอส (IFS™) เป็นผู้พัฒนาและนำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรเพื่อลูกค้าทั่วโลกที่ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า ตลอดจนให้การสนับสนุนด้านการดูแลสินทรัพย์ รวมถึงการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับการบริการเป็นหลัก ด้วยโซลูชั่นและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญอย่างมากในอุตสาหกรรม ประกอบกับความมุ่งมั่นในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ทำให้ไอเอฟเอสกลายเป็นผู้นำตลาดและซัพพลายเออร์ที่ได้รับการแนะนำบอกต่อมากที่สุดในภาคส่วนอุตสาหกรรมที่เรากำลังทำตลาดอยู่ ทั้งนี้ บริษัทมีพนักงาน 3,500 คนที่พร้อมให้บริการผู้ใช้ทั่วโลกที่มีจำนวนมากกว่า 1 ล้านรายผ่านเครือข่ายสำนักงานสาขาในเขตพื้นที่ต่างๆ และผ่านระบบเครือข่ายพันธมิตรที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่เว็บไซต์: IFSworld.com

ติดตามเราทาง Twitter: @ifsworld

เยี่ยมชมบล็อกของไอเอฟเอสเกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ: http://blog.ifsworld.com/

ถูกใจบทความนี้  0