เอไอเอส ประกาศความสำเร็จ เริ่มเปิดให้บริการ IoT เชิงพาณิชย์ได้แล้วเป็นรายแรกของไทย

เอไอเอส โชว์ศักยภาพผู้นำนวัตกรรมของประเทศ นำเทคโนโลยีIoT ให้บริการเชิงพาณิชย์ได้จริง ทั่วประเทศ มีภาครัฐและเอกชนชั้นนำ มอบความไว้วางใจเลือกใช้บริการต่อเนื่อง อาทิปตท., พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค,โครตรอนกรุ๊ป, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฯลฯ โดยมีการนำ IoT มาพัฒนาเป็นโซลูชั่นส์ต่างๆ อาทิ Smart City, Smart Environment, Smart Machine, Smart Manufacturing ฯลฯ สร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน ทั้งการใช้ชีวิตของคนในสังคม, ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเสริมขีดความสามารถให้กับภาคธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นโครงการต้นแบบนวัตกรรมIoT ให้กับภาครัฐและภาคการศึกษา

เอไอเอส ประกาศความสำเร็จ เริ่มเปิดให้บริการ IoT เชิงพาณิชย์ได้แล้วเป็นรายแรกของไทย

หลังขยายเครือข่าย NBIoTครอบคลุม 77 จังหวัดแล้ว ตั้งแต่สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ผ่านมา

 

อาทิ บริษัท ปตท. ใช้ IoTช่วยตรวจสอบงานบำรุงรักษาท่อก๊าซธรรมชาติ เสริมแกร่งธุรกิจพลังงานชองประเทศ, บริษัทพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค นำเครือข่าย AIS NB-IoT สร้าง Smart City ในโครงการอสังหาริมทรัพย์ นำร่องให้บริการแล้ว 15 โครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล, บริษัทโครตรอนกรุ๊ป ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ และเครื่องเหยอดเหรียญประเภทต่างๆ ใช้โซลูชั่นส์ Smart Cion Kiosk Machine เซ็นเซอร์วัดปริมาณเหรียญภายในเครื่อง เชื่อมต่อเครือข่าย AIS NB-IoTช่วยส่งข้อมูลแจ้งเตือนทันทีเมื่อเหรียญเต็ม จากจุดต่างๆ ทั่วประเทศ ใช้งานจริงแล้วใน 77 จังหวัด

 

ด้านภาครัฐและสถาบันการศึกษา ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำ Smart Environment เซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศ และบริหารจัดการน้ำ ใช้งานจริงแล้วที่เทศบาลนครหาดใหญ่ และจ.ภูเก็ต,มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำ Smart Trash Bin แก้ไขปัญหาขยะล้นถัง ช่วยดูแลทัศนียภาพและความสะอาดภายในมหาวิทยาลัย เป็นต้น

ตลอดจน การสร้างเครือข่ายพันธมิตร AIAP เพื่อรองรับการพัฒนา IoT ในประเทศ ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วนใน IoT Ecosystem ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ผู้ให้บริการโซลูชั่นส์ระดับโลก กลุ่มเมคเกอร์ และสตาร์ทอัพกว่า 400 ราย ยืนยันความมุ่งมั่น นำเครือข่ายและบริการดิจิทัล IoT มายกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยไปอีกขั้น รวมถึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาประเทศในยุค 4.0

นายเกรียงศักดิ์ วาณิชย์นที หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี เอไอเอส กล่าวว่า“ขณะนี้ทุกภาคส่วนในบ้านเรากำลังตื่นตัวกับการนำอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือ IoT-Internet of Things เข้ามาประยุกต์ใช้ ทั้งในระดับผู้บริโภค อาทิ Smart Home, Smart Parking หรือในระดับองค์กรและการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ อาทิ Smart Logistics, Smart City, Smart Farming, Smart Environment  ซึ่งเอไอเอสเองได้เตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง อาทิ การพัฒนาเครือข่ายจากเทคโนโลยีที่เหมาะสม อย่างNB-IoT  ซึ่งขณะนี้ครอบคลุมแล้วทั่วไทย และ eMTC –  enhanced Machine-Type Communication ที่สามารถใช้ควบคู่กับ NB-IoT เพื่อนำคุณสมบัติมาเสริมซึ่งกันและกัน อาทิ eMTC เหมาะกับการใช้งาน IoT แบบเคลื่อนที่ เช่นConnected Car รวมถึงสามารถรับ/ส่ง ข้อความเสียงในอุปกรณ์IoT ยุคใหม่ๆได้อีกด้วย ในขณะที่NB-IoT จะเน้นเรื่องการประหยัดพลังงานของอุปกรณ์และสามารถสื่อสารได้ในระยะไกล โดยเครือข่าย eMTC จะเริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่ไตรมาส 2 และคาดว่าจะครอบคลุมทั่วประเทศได้ในไตรมาส 3 ปีนี้”

“เมื่อโครงข่ายมีความพร้อม และเราได้มีการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์จากทุกภาคส่วนผ่าน AIAP-AIS IoT Alliance Program ที่เปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ เอไอเอสสามารถให้บริการ IoT เชิงพาณิชย์ได้เป็นรายแรก โดยสามารถตอบโจทย์การสร้างนวัตกรรมขององค์กรต่างๆ ยกระดับการใช้ชีวิต และ การบริหารจัดการในแต่ละอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวย้ำว่า“ขณะนี้เรากำลังทำงานร่วมกับภาครัฐ และ เอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อทยอยนำ IoTเข้าไปเริ่มใช้งานจริงอย่างต่อเนื่อง โดยมีทีมงานคุณภาพของ      เอไอเอสที่สามารถผสมผสาน ออกแบบ พัฒนารูปแบบบริการที่ตอบโจทย์ สร้างประโยชน์ให้แก่องค์กรได้อย่างแท้จริง ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของชาวเอไอเอส ที่สามารถร่วมผลักดันเทคโนโลยีนี้ให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม จนได้รับการยอมรับจาก ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ที่ประกาศให้เอไอเอส เป็นThailand IoT Solutions Provider of the Year 2018 หรือ องค์กรที่มีความเป็นเลิศทางด้านบริการ IoT”

ซึ่งวันนี้ เอไอเอสพร้อมแล้วที่จะให้บริการ IoT Platform เชิงพาณิชย์ อย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร ตั้งแต่เครือข่าย,อุปกรณ์ และแพลตฟอร์ม ให้กับทุกภาคส่วน และพร้อมให้คำปรึกษากับทุกองค์กรที่สนใจนำIoT ไปใช้ในการทำงาน สนใจติดต่อได้ที่ Corporate call centerโทร. 1149 หรือเว็บไซต์http://business.ais.co.th/iot

ตัวอย่าง พันธมิตรที่นำ IoT มาใช้ในการทำธุรกิจ

ภาคเอกชน

  • บริษัท ปตท.นำเทคโนโลยีIoT มาช่วยลดขั้นตอนและเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบระบบ Cathodic Protectionเพื่อให้งานบำรุงรักษาท่อส่งก๊าซธรรมชาติเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด จากเซนเซอร์ที่สามารถตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของท่อส่งก๊าซได้ตลอดเวลา และพร้อมส่งข้อมูลตรงจากท่อส่งก๊าซผ่านแอปพลิเคชั่นถึงมือวิศวกรที่ดูแลได้ทันที
  • บริษัทพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟคนำเครือข่าย NB-IoT จากเอไอเอส เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการสร้าง IoT Smart City ที่มีการใช้งานจริงแล้ว ในโครงการ“Perfect Smart City เมืองอัจฉริยะที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้อยู่อาศัยในโครงการ เช่น Mobike, Smart Lighting,Smart Tracking รวมถึงการนำSmart Home และ Security Platform มาต่อยอดพัฒนาHome Application อีกด้วย โดยนำร่องให้บริการแล้วใน 15 โครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
  • โครตรอนกรุ๊ปผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ และเครื่องหยอดเหรียญประเภทต่างๆ พัฒนาโซลูชั่นSmart Coin Kiosk Machineเซ็นเซอร์วัดปริมาณเหรียญภายในเครื่อง ที่เชื่อมต่อเครือข่าย NB-IoT สามารถส่งข้อมูลจะแจ้งเตือนทันทีเมื่อเหรียญเต็มจากจุดต่างๆ ทั่วประเทศ แสดงผลผ่านแอปพลิเคชั่น เพื่อผู้ดูแลสามารถวางแผนการจัดเก็บเหรียญได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสในการให้บริการและสร้างมูลค่าให้กับการลงทุน โดยมีการใช้งานจริงแล้วใน 77จังหวัดทั่วประเทศ

ภาครัฐ และสถาบันการศึกษา

  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นำโซลูชั่นส์Smart Environment Monitoring and Water Management  สร้างระบบตรวจสภาพแวดล้อม และบริหารจัดการน้ำ โดยนำอุปกรณ์NB-IoT Board และ NB IoT Simติดเข้ากับเซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศ เพื่อสามารถเรียกดูข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งปัจจุบันมีการติดตั้งกล่องดังกล่าวเพื่อใช้งานจริงแล้ว บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่ และ จ. ภูเก็ต โดยส่งข้อมูลไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย เพื่อคอยติดตามสภาพแวดล้อม และระดับน้ำในพื้นที่ต่างๆ เพื่อวางแผนป้องกันน้ำท่วมด้วย
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีพัฒนาโซลูชั่นส์ การดูแลคุณภาพยาและเวชภัณฑ์ภายในคลังยาด้วยเทคโนโลยี NB-IoTเพื่อสามารถตรวจสอบ และควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานจริงแล้วภายในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสุรนารี โดยมีการพัฒนาซอฟท์แวร์เพิ่มเติมให้สามารถส่งข้อมูลผ่านเซิร์ฟเวอร์ของโรงพยาบาล และเภสัชกรสามารถเรียกดูได้ผ่าน Chat Application ได้ตลอดเวลา
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโซลูชั่นส์ Smart Trash Bin มาแก้ไขปัญหาขยะล้นถังก่อนถึงรอบเวลาจัดเก็บ เนื่องจากจุดต่างๆ ของมหาวิทยาลัยจะมีปริมาณขยะที่แตกต่างกันตามสถานที่ และช่วงเวลา โซลูชั่นส์นี้สามารถทำให้ตรวจสอบปริมาณขยะแต่ละถัง และกลิ่นขยะภายในถังได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถเจ้าหน้าที่เข้าไปจัดเก็บได้ทันทีก่อนที่ขยะเต็มถัง และสามารถใช้งานต่อเนื่องทันที ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการการจัดเก็บ รวมถึงเป็นการดูแลทัศนียภาพของมหาวิทยาลัยให้สะอาดสวยงามอีกด้วย
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโซลูชั่น Smart City มาใช้บริเวณภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เช่น Smart Locker ล็อคเกอร์อัจฉริยะที่รวมเทคโนโลยี IoT ล่าสุดเข้าด้วยกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่อาคารหรือที่อยู่อาศัย, ระบบอ่านป้ายทะเบียน เพื่อควบคุมบุคคลเข้าออกสถานที่, Application พบหมอ และระบบควบคุมแสงสว่าง

#AIS #AISIoT #NBIoT #IoTPlatform #AIAP



ถูกใจบทความนี้  0