ในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ดีแทคได้เชิญคอนเทนท์ครีเอเตอร์จำนวน 5 รายมารวมตัวกัน เพื่อที่จะดึงศักยภาพและความสามารถของพวกเขาออกมาผ่านการผลิตวิดีโอคอนเทนท์บนโจทย์พิเศษ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่คอนเทนท์ครีเอเตอร์บนแพลตฟอร์ม YouTube ถูกท้าทายให้เข้าร่วมกิจกรรม Hackathon อันเข้มข้นและน่าตื่นเต้น ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันในกลุ่มคอนเทนท์ครีเอเตอร์ เพื่อสร้างสรรค์และนำเสนอวิดีโอเพื่อโปรโมทแคมเปญ“ดีแทคใจดี” บนแพลตฟอร์ม YouTube
ดีแทคท้าคอนเทนท์ครีเอเตอร์ แข่งสร้างสรรค์วิดีโอโฆษณาบน YouTube จัด YouTube Creator Hackathon ด้วยไอเดียที่ไร้ขีดจำกัดครั้งแรกในไทย
การสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ ช่วยคอนเทนท์ครีเอเตอร์สร้างสรรค์วิดีโอเชิงพาณิชย์ที่กระตุ้นการเพิ่มจำนวนผู้ติดตามให้กับคอนเทนท์ครีเอเตอร์ได้เกือบ 200%
รูปแบบของการแข่งขันสร้างคลิปวิดีโอได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพดีแทค แอคเซอเลอเรท โดย 5 ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน ได้เข้ารับฟังโจทย์ และต้องกลับมานำเสนอผลงานในอีก 10 วันต่อมา ซึ่งการนำเสนอผลงานในรูปแบบ Hackathon ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับคำติชมจากทั้งเหล่าบรรดาเมนเทอร์และผู้เข้าแข่งขันทีมอื่น ๆ หลังจากนั้นแต่ละทีมจะมีเวลา 2 ชั่วโมงในการแก้ไขงานของตนเองและกลับมานำเสนอใหม่
ภายหลังการแข่งขันทั้ง 3 รอบจบสิ้นลง ทั้ง 5 ทีมมีผลงานที่น่าประทับใจ และได้ถูกรับเลือกจากดีแทคครบทั้ง 5 ทีม โดยคอนเทนท์ครีเอเตอร์ 3 รายแรก ได้แก่ Overact, Baobei 13 และ หมึกเหลือง TV ได้ทำการอัพโหลดผลงานของตนเองขึ้นบน YouTube เรียบร้อยแล้ว
ปรากฏว่าวิดีโอที่คอนเทนท์ครีเอเตอร์สร้างสรรค์ขึ้นให้กับดีแทค มียอดจำนวนการเข้าชมมากกว่าวิดีโอตัวอื่นๆบนช่อง YouTube ของคอนเทนท์ครีเอเตอร์เหล่านั้นเองกว่า 40% หรือมากกว่าหนึ่งในสามของอัตราการเข้าชมปกติเมื่อเทียบกับวิดีโอทั้งหมดในช่อง YouTube ของคอนเทนท์ครีเอเตอร์ดังกล่าว
นอกจากนี้ยังส่งผลให้การเข้าชมวิดีโอบนช่องของดีแทคมีอัตราการเพิ่มขึ้นกว่า 187% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ผ่านมาของวิดีโออื่นๆในช่องของดีแทคเอง เนื่องจากโดยปกติแล้ว ยอดเข้าชมเนื้อหาเชิงพาณิชย์จะต่ำกว่าเนื้อหาทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด
นายพิพัฒน์ ศรีมัธยกุล ผู้อำนวยการฝ่าย Social Engagement บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “แบรนด์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้คอนเทนท์ครีเอเตอร์มีอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเต็มที่ แบรนด์เหล่านั้นต้องการควบคุมอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามคู่มือของแบรนด์ที่วางไว้ ซึ่งตรงกันข้ามกับที่ดีแทค เนื่องจากเรามอบอิสระในการทำงานอย่างเต็มที่ให้แก่บรรดาคอนเทนท์ครีเอเตอร์ เราต้องการให้คอนเทนท์ครีเอเตอร์สื่อสารออกมาด้วยภาษาของพวกเขาเอง”
ทั้งดีแทคและคอนเทนท์ครีเอเตอร์ต่างได้รับประโยชน์จากงาน Hackathon นี้ โดยราคาต่อการเข้าชม (Cost per View) อยู่ที่ 1 ใน 4 ของค่าเฉลี่ยที่ดีแทคเคยทำมา และอัตราการชมวิดีโอ (View Through Rate) สูงเกือบ 70% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของดีแทคที่ผ่านมาถึง 2 เท่า
“ตอนนี้เรากำลังทำสิ่งเดียวกันกับผู้ผลิตเนื้อหาอีก 14 คน โดยเรามองว่ามันไม่ใช่แค่การสร้างสรรค์ผลงานวิดีโอเท่านั้น แต่เรากำลังเสริมสร้างระบบนิเวศให้กับคอนเทนท์ครีเอเตอร์บน YouTube เช่นเดียวกับที่โครงการดีแทค แอคเซอเลอเรทได้มีส่วนในการสร้างระบบนิเวศสตาร์ทอัพ ทุกฝ่ายรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดีแทค YouTube และเหล่าคอนเทนท์ครีเอเตอร์ทั้งหลาย”
ชมคลิปวิดีโอได้ที่:
- หมึกเหลือง TV: https://www.youtube.com/watch?v=a9IESVxVQ10
- Baobei13: https://www.youtube.com/watch?v=l6CkUeAFDUM&t=4s
- Overact: https://www.youtube.com/watch?v=y8vu7GjDNqg&t=95s
วิดีโอชุดต่อไปจะเปิดตัวระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม 2561
How the dtac x YouTube Hackathon boosted content creators’ followers by nearly 200 percent
Innovative format allows up-and-coming channels to create branded videos viewers love.
May 28, 2018 – In February 2018, dtac put five video content makers in one room, with the intention of pushing them to their creative limits. For the first time in Thailand, YouTube creators were challenged to the full-day real intensive hackathon where they competed with one another to create exciting video pitches to support dtac Jai Dee campaign.
The videos were produced thanks to a challenging format inspired by dtac accelerate’s startup incubator. Five teams were brought in, given a brief, and then called back to pitch 10 days later. The actual pitch day was run much like a hackathon, with each pitch followed by critiques from mentors and other teams, and two hours to revise their work. After three rounds, the ideas were so good, dtac chose to execute all five. The first three, by Overact, Baobei 13 and Yellow Octopus TV, have already been posted with the aforementioned results, which defied expectations.
With brand support, the creators achieved 40 percent higher view-rates from dtac content than the normal content on their channels. They outperformed their organic view rates by up to a third. And their followers increased by up to 187 percent. Given that branded content normally underperforms regular content, these numbers defy industry averages.
Pipat Srimattayakul, VP, Head of Social Engagement Department, Total Access Communication PLC. Or dtac said, “Most brands don’t allow YouTube creators enough creative freedom. They push so hard to retain control of the message that they end up producing a commercial one. Rather than doing that, we allowed the creators as much creative freedom as possible. We let them talk in their native voice.”
dtac benefited from the hackathon just as much as the creators did. The cost per view was one fourth of industry averages and the percentage of views making it to the end of the video was nearly 70 percent, double industry averages.
“Now we’re working on doing this again with 14 people. It’s not just about putting out videos, it’s about supporting a YouTube content creators ecosystem, just like dtac accelerate created a startup ecosystem. We’re excited about this, YouTube is excited and the content creators are excited,” said Mr. Pipat.
The videos can be seen at:
- Yellow Octopus: https://www.youtube.com/watch?v=a9IESVxVQ10
- Baobei13: https://www.youtube.com/watch?v=l6CkUeAFDUM&t=4s
- Overact: https://www.youtube.com/watch?v=y8vu7GjDNqg&t=95s
The next batch of videos will be released from May to July, 2018.
You must be logged in to post a comment.