15 พฤศจิกายน 2561 : นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวถึงความคืบหน้าในการพัฒนาเครือข่ายว่า “หลังจากวันที่ 20 สิงหาคม 61 ที่ผ่านมา เอไอเอส คือผู้ให้บริการดิจิทัล ที่มีปริมาณความถี่มากที่สุด จำนวน 120 MHz (60MHzx2) และเราได้นำคลื่น 1800 MHz ช่วง Super Block (20MHzx2) มาพัฒนาคุณภาพเครือข่ายทั่วประเทศ เพื่อมอบประสบการณ์ความเร็ว 4G ที่ดียิ่งขึ้นกว่า 30% ให้แก่ลูกค้ากว่า 40.6 ล้านรายเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา”
“ล่าสุด เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของคนไทยที่มีอัตราการใช้งาน Smart Phone ที่ Support 4G มากขึ้น และการใช้งาน Data เพิ่มขึ้นกว่า 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หรือ ประมาณ 10 กิกะไบต์ต่อคนต่อเดือน เราจึงได้มีความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับ TOT ในการ ใช้โครงข่ายร่วม บนความถี่ 2100 MHz เพื่อเริ่มนำมาให้บริการ 4G เพิ่มเติม ซึ่งจะมอบประสบการณ์คุณภาพให้แก่การใช้งาน Data ในภาพรวมให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น 20-30% สามารถรองรับการใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 25% ซึ่งเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการรายอื่นแล้ว เอไอเอสจึงเป็นผู้นำเครือข่ายในประเทศที่มีคลื่นความถี่เพื่อให้บริการ 4G มากที่สุด จำนวน 100 MHz จากจำนวนความถี่ทั้งหมด 120 MHz ที่เอไอเอส สามารถนำมาใช้งานได้ โดยการพัฒนาดังกล่าว จะทยอยเริ่มต้นในพื้นที่ซึ่งมีการใช้งานหนาแน่นก่อน”
นายวสิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกจากการพัฒนาเครือข่ายปัจจุบันข้างต้นแล้ว เรายังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อเตรียมรองรับเทคโนโลยีในอนาคตเช่น 5G อย่างต่อเนื่อง เพราะแม้ว่าจะยังไม่มี business case ที่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่า 5G จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพจากคุณสมบัติ 3 ส่วน
– ยกระดับความเร็วการใช้ดาต้า (Enhanced Mobile Broadband-EMBB) เน้น “ความเร็ว(Speed)”
– ขยายขีดความสามารถการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ (Massive machine type communications-mMTC) เน้น สนับสนุน IoT ที่จะถูกนำมาใช้อย่างมหาศาล
– เพิ่มคุณภาพเครือข่ายให้สามารถตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียรที่สุด (Ultra-reliable and low latency communications) เน้น ประสิทธิภาพความเร็วในการตอบสนอง หรือ Low Latency ที่จะตอบโจทย์รูปแบบการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางการแพทย์ หรือ อุตสาหกรรมยานยนต์อย่าง Self Driving Car อย่างมีประสิทธิภาพ
“เอไอเอสจึงเตรียมวางรากฐานเครือข่ายในทั้ง 3 แกนมาอย่างต่อเนื่อง อย่างในแกน Speed ได้เปิดตัว 4.5G ที่เร็วระดับกิกะบิท และ เปิดตัว Massive MIMO 32T 32R ครั้งแรกในโลก รวมถึงการเปิดให้บริการ NEXT G พร้อมผนึกกำลังพาร์ทเนอร์ผู้ผลิตชิปและสมาร์ทโฟน ให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์เร็วแรงระดับกิกะบิทครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในแกน IoT นอกจากการพัฒนาเครือข่ายทั้ง NB IoT และ EMTC แล้ว ยังเป็นรายแรกในไทยที่เปิดให้บริการ IoT เชิงพาณิชย์อีกด้วย ส่วนในแกน การตอบสนอง หรือ Latency เอไอเอสก็ได้เริ่มศึกษาและเป็นรายแรกที่เริ่มต้นปรับโครงสร้างเครือข่ายหลักที่กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค (AIS Core Network Architecture Ready for 5G) ให้สามารถสื่อสารตรงไปยังเซิร์ฟเวอร์บริการต่างๆได้ทันที โดยไม่ต้องย้อนกลับมาผ่านศูนย์กลางเครือข่ายในส่วนกลาง ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้อัตราการตอบสนองได้เร็วขึ้น เพราะค่า Latency ต่ำ ทำให้เมื่อประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆ แล้วจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด”
นายวสิษฐ์ ย้ำตอนท้ายว่า “ดังนั้นหลังจากที่ กสทช. อนุญาตให้นำคลื่นความถี่เพื่อทดลอง ทดสอบ เทคโนโลยี 5G เอไอเอสก็พร้อมที่จะนำประสบการณ์ความเร็ว แรง ของ 5G มาให้คนไทยได้สัมผัส ภายในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ เพื่อให้เห็นภาพประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนต่อไป
You must be logged in to post a comment.