ดีแทคสร้าง “รูปแบบการใช้งานจริง” เพื่อก้าวสู่ 5G

การเข้าสู่ศักราชของ 5G จะต้องทำความเข้าใจในศักยภาพการสื่อสารดิจิทัลที่ต่างจากเดิdtac is building the uses cases that will power 5G tomorrow เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด ซึ่งแตกต่างจากการมาของเทคโนโลยีการสื่อสาร 3G และ 4G การมาถึงของ 5G จะไม่ใช่แค่กรณีของผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่จะเปลี่ยนอุปกรณ์โครงข่ายของตน หรือผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารจะเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่เพียงเท่านั้น แต่รวมถึงการมีส่วนร่วมทั้งอุตสาหกรรมสู่การเชื่อมต่อธุรกิจ ไม่เพียงแต่กับผู้บริโภค แต่ยังรวมไปถึงธุรกิจอื่นด้วยวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนสู่กลยุทธ์ 5G ของไทย

 

ดีแทคได้ชี้วัดให้เห็นว่าการทำเกษตรกรรมเป็นความสำคัญหลักที่ 5G สามารถปลดล็อกมูลค่ามหาศาลให้แก่ประเทศไทยได้ กรณีนางสาวปคุณา บุญก่อเกื้อ หรือแก้ว เกษตรกรสาวเจ้าของบ้านสวนเมล่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ” ซึ่งถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีInternet of Things เพื่อการทำเกษตรที่มีความแม่นยำที่เราพัฒนาขึ้น ทำให้เธอมีรายได้เพิ่มจากการทำเกษตรแล้วมากกว่าร้อยละ 20 วันนี้เมล่อนจากสวนของคุณแก้วเป็นที่ต้องการของตลาดสูง เช่น การบินไทยได้ติดต่อนำเมล่อนสดที่มาพร้อมกับรสชาติอร่อยไปเสิร์ฟให้กับผู้โดยสารในเที่ยวบิน และในขณะที่สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว แต่ 5G จะต้องทำให้คุณแก้วได้ทำผลิตผลจากเกษตรกรรมและมีรายได้ดียิ่งขึ้น

วันนี้ ดีแทคได้พัฒนาและให้บริการเชิงพาณิชย์แอปพลิเคชันฟาร์มเมอร์อินโฟ (Farmer Info) ด้วยเทคโนโลยี AI และ Big Data ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลปัจจัยการเพาะปลูกแบบครบวงจรรายแรกๆ ของประเทศไทย ภายในแอปพลิเคชันประกอบด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น ข้อมูลที่ช่วยให้เกษตรกรรู้สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวันในพื้นที่เพาะปลูกของตนเอง ทำให้มีศักยภาพในวิเคราะห์สภาพการเพาะปลูกในแปลงอย่างแม่นยำจากภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อจัดการวางแผนเพาะปลูกได้ตรงจุดหรือแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที ซึ่งดีแทคได้ร่วมมือกับรีคัลท์ สตาร์ตอัพในโครงการดีแทค แอคเซอเลอเรท และบริษัท รักบ้านเกิด พัฒนาขึ้นมา ด้วยเทคโนโลยี 5G จะทำให้เราสามารถใช้โดรนขึ้นบินตรวจสอบสภาพอากาศในพื้นที่แปลงเพาะปลูกโดยตรง และใช้วิดีโอสตรีมมิ่ง 360 องศาความละเอียดสูงไปยัง AI ในระบบคลาวด์จะทำให้ประมวลผลข้อมูลได้แม่นยำมากยิ่งขึ้นซึ่งจะเพิ่มคุณภาพการเพาะปลูกและรายได้ให้กับเกษตรกร เช่น แก้ว บ้านสวนเมล่อน

5G ยังเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งที่รวดเร็วขึ้นลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความไว้ใจมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ที่ทำได้รวดเร็วและแม่นยำ ด้วยค่าความหน่วงของสัญญาณที่ต่ำ (Ultra-low latencies) และการตอบสนองที่เร็วของโครงข่าย 5G ทำให้ออกแบบโซลูชั่นส์ให้ยานพาหนะหรือรถบรรทุกสามารถสื่อสารระหว่างกันเพื่อเชื่อมต่อตั้งเป็นขบวนวิ่งไปบนทางร่วมกันในระยะใกล้มากขึ้น ส่งผลให้สามารถลดค่าแรงเสียดทานของอากาศในการขับขี่ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงลงถึงร้อยละ 12

จุดเริ่มต้นของความสำเร็จจากบ้านสวนเมล่อนสู่จุดหมายการบินไทย ทำให้ 5G ยิ่งมีความสำคัญ ด้วยอุปกรณ์นับพันล้านชิ้นที่จะถูกเชื่อมต่อสู่โลกออนไลน์ ทำให้โครงข่าย 4G ไม่สามารถตอบสนองได้อย่างพอเพียง ในขณะที่สถานีฐาน 4G แต่ละแห่งจะเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารได้ร่วมหมื่น แต่ 5G จะเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารนับล้านชิ้นในเวลาเดียวกัน สนามบินในวันพรุ่งนี้จะไม่เหมือนเดิม กระเป๋าเดินทางทุกใบและกล่องขนส่งสินค้าทางอากาศจะได้สามารถระบุตำแหน่งติดตามได้จากอุปกรณ์และเซ็นเซอร์ภายในอาคารสนามบินและเครื่องบิน แน่นอนว่า 5G ไม่เพียงสามารถรองรับอุปกรณ์นับล้านๆ ชิ้นเหล่านี้ แต่ยังใช้พลังงานต่ำมาก ทำให้แบตเตอรี่ในอุปกรณ์กล่องสินค้าสามารถมีอายุการใช้งานยาวนานถึง 10 ปี

การระบุตำแหน่งสินค้าอาหารไม่ใช่แค่บริหารต้นทุนหรือประสิทธิภาพ ด้วยโซลูชันส์ IoT ที่เพิ่มขึ้น ผู้บริโภคสามารถที่จะรู้ได้ว่าอาหารบนจานนั้นมาจากที่ไหน ตัวอย่างที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น โซลูชั่นส์ระบุตำแหน่งแบบครบวงจรของ 5G จะช่วยออกแบบให้การบินไทยนำเสนอผ่านแอปพลิเคชันให้ผู้โดยสารได้รู้ว่าเมนูเมล่อนที่ถูกเสิร์ฟด้วยรสชาติความสดอร่อยได้ถูกส่งมาจากจังหวัดฉะเชิงเทราตอนตี 5 และแน่นอนว่าถ้าอยากรู้ต่อไปยังคลิกดูข้อมูลที่ถ่ายทอดจากโดรนที่บินเหนือแหล่งเพาะปลูกได้ว่ามาจากที่ไหน

นี่คือการเดินทางจากธุรกิจสู่ธุรกิจและส่งต่อยังผู้บริโภคซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญของ 5G นี่คือเหตุผลที่ดีแทคมองว่าต้องมีแผนพัฒนาสู่ 5G ทั้งสองแกนด้วยกัน ทั้งแผนสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมที่จะใช้ประโยชน์สูงสุดจาก 5G และแผนดำเนินงานทดสอบเทคโนโลยี 5G

ในส่วนของเทคโนโลยี ดีแทคเป็นรายแรกที่การนำเทคโนโลยีโครงข่ายระบบชุมสายเสมือน (Visualized Core Network: VCN) มาดำเนินงาน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทันสมัยที่สุด และรองรับการใช้งาน 5G พร้อมอัปเกรดเทคโนโลยีสู่ 5G ได้ทันที ดีแทคยังเป็นรายแรกในประเทศไทยที่นำเทคโนโลยี Massive MIMO 64T 64R มาให้บริการเชิงพาณิชย์ แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ทดสอบกับอุปกรณ์ แต่ยังรองรับสมาร์ทโฟนที่ใช้งานได้จริงอีกด้วย ด้วยช่องสัญญาณรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูงของ Massive MIMO 64T 64R ที่รับส่งได้มากที่สุดในขณะนี้ จะทำให้สถานีฐานที่ติดตั้งจะรองรับการใช้เทคโนโลยี 5G เช่น Beamforming ที่สามารถออกแบบรับ-ส่งชุดสัญญาณหลากหลายทิศทางในเวลาเดียวกัน เพื่อรองรับพื้นที่ใช้งานได้หลายรูปแบบจากเสาต้นเดียวกัน ไม่ว่าจะอยู่มุมตึก หรือรองรับการใช้งานแบบเคลื่อนไหว ดีแทคจึงมีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งสำหรับเทคโนโลยี 5G ซึ่งสามารถทำการทดสอบใช้งาน 5G เมื่อได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. และเพียงเพิ่มอุปกรณ์บางอย่างติดตั้งให้กับโครงข่ายเท่านั้น

นอกเหนือจากโครงข่ายของดีแทคที่พร้อมรองรับ 5G แล้ว ดีแทคยังเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างแนวคิดสู่อุตสาหกรรมให้แข็งแกร่ง ซึ่ง 5G สามารถสร้างศักยภาพโดยรวมสู่สังคมไทย ไม่ใช่แค่การพัฒนาสู่เกษตรกรรม ดีแทคยังได้ริเริ่มนำ 5G สู่โครงการสมาร์ทซิตี้ของไทย ด้วยการพร้อมสนับสนุนจากประสบการณ์ของเทเลนอร์ที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ 5G ในภาคพื้นยุโรป และได้เริ่มทดสอบ 5G ที่เมืองคองส์เบิร์ก ประเทศนอร์เวย์ ในรูปแบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เครือข่ายแยกส่วน (Network Slicing)ยานพาหนะไร้คนขับ และระบบการแพทย์ทางไกล

เราเชื่อมั่นว่าดีแทคจะเป็นผู้นำสู่การทดสอบในโครงการต่างๆ ของประเทศไทย  เมื่อเร็วๆ นี้ ดีแทคและสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า)ได้ลงนามความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบแจ้งพิกัดความแม่นยำของการระบุตำแหน่งด้วยเทคโนโลยี GNSS RTK เพื่อสนับสนุนสู่บริการ 5G โดยโครงการนี้ได้เริ่มทดลองปรับปรุงค่าส่งสัญญาณ 200 แห่งซึ่งมีพิกัดในสมาร์ทซิตี้ เมืองอัจฉริยะ ของไทยทั้ง 7 จังหวัด เช่น กรุงเทพ ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง เพราะสมาร์ทซิตี้เป็นเมืองที่ใช้นำร่องในการทดลองใช้งานดิจิทัลรูปแบบใหม่ จึงต้องใช้ความแม่นยำสูงในการแสดงชุดพิกัดข้อมูลและต่อยอดสู่นวัตกรรม 5G นอกจากนั้นดีแทคได้นำ IoT สู่มาตรวัดอัจฉริยะ (Smart meter) จำนวน 8,000 แห่ง และการระบุพิกัดติดตามยานพาหนะ 100,000 คัน โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 ดีแทคจะให้บริการสวิตช์บอร์ดอัจฉริยะ (Intelligent power switchboards)

การที่จะนำประเทศไทยสู่โครงสร้างพื้นฐานยุค 5G จะต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก เรารู้สึกยินดีที่ท่านรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) จะส่งเสริมให้มีโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน (Infrastructure sharing) ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการสร้างโครงข่าย 5G ได้ประมาณร้อยละ 40 แม้ว่าการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันเพียงอย่างเดียวจะยังไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนความต้องการในการขยายเสาสัญญาณ 5G ที่ต้องลงทุนเพิ่มอย่างมาก ในขณะเดียวกันการจัดสรรคลื่นความถี่และการกำหนดราคาจะต้องนำมาพิจารณาทบทวนเพื่อส่งเสริมสู่ศักยภาพ 5G

เราเชื่อว่านี่คือโอกาสสำคัญสำหรับความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการเป็นพันธมิตรร่วมกัน โดยภาครัฐดูแลโครงสร้างพื้นฐาน 5G และผู้ประกอบการเอกชนดูแลการทำตลาดและให้บริการต่างๆ จากโครงข่าย นอกจากนั้นภาครัฐน่าจะสนับสนุนเปิดให้เข้าถึงการใช้งานได้ฟรีในพื้นที่สาธารณะ และลดความซับซ้อนในการขออนุญาตการตั้งเสาสัญญาณใหม่ นอกจากนั้นน่าจะถึงเวลาที่จะมีแผนยุติการให้บริการ 2G ร่วมกัน เพราะการให้บริการทั้ง 2G, 3G, 4G และ 5G พร้อมกันทั้งหมดจะเกิดความยุ่งยากในการใช้บริการและมีค่าใช้จ่ายสูง

เรามั่นใจว่ารัฐบาลและ สำนักงาน กสทช. สามารถลดอุปสรรคต่างๆ ที่จะนำไปสู่ 5G สำหรับการพัฒนาสู่ 5G อย่างยั่งยืนนั้นประเทศไทยยังต้องการคลื่นความถี่เพิ่มขึ้นและอุปกรณ์ในการทดสอบ 5G ทั้งนี้ ดีแทคมุ่งมั่นที่จะสร้างแผนงานสู่ 5G อย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงความสำคัญในการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย ทั้งรัฐบาล ผู้ประกอบการ ชุมชนท้องถิ่น และคู่ค้าในอุตสาหกรรม ดีแทคมีเทคโนโลยีการสื่อสาร ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ที่พร้อมจะนำคนไทยสู่ความยั่งยืนของยุค 5G



ถูกใจบทความนี้  2