เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (อังกฤษ: Black baza)
เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (อังกฤษ: Black baza) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดเล็กพบตามป่าในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรโดยมากเป็นนกอพยพ เช่น ประชากรในประเทศอินเดียจะอพยพหนีหนาวไปตอนใต้ของประเทศและประเทศศรีลังกา ในประเทศไทยพบอพยพเพียงที่เดียว คือ เขาดินสอ ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำเป็นเหยี่ยวขนาดเล็ก หัว คาง ใต้คอ ปีก หลัง ตะโพก ขนคลุมบนโคนหางและใต้โคนหาง รวมทั้งขนหางสีดำ หน้าอกตอนบนมีแถบกว้างสีขาวและมีแถบสีดำพาดเป็นแนวขวางต่อลงไปยังอกตอนล่าง จากอกถึงท้องมีลายพาดขวางสีน้ำตาลอมแดงสลับสีขาวเรียงเป็นแถวลงมา ปีกสีดำมีลายจุดสีขาวและน้ำตาลแดงแต้มไว้ห่างๆ และที่หัวมีขนตั้งขึ้นไปเป็นลักษณะหงอน ทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายคลึงกัน
ขอขอบคุณ : ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การถ่ายภาพนกบินไม่ยากอย่างที่คิดครับ โดยเฉพาะเหยี่ยวไม่ยากเลย เพราะเหยี่ยวจะบินร่อนไปช้า ๆ และบินวนบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะบินค่อนข้างสูงครับ การจะถ่ายนกหรือเหยี่ยวบินให้คมชัดนั้นต้องพึ่ง Speed Shutter ที่เร็วมาก ๆ น่าจะสัก 1/1000 วินาทีขึ้นไปครับ ภาพชุดนี้ของผมถ่ายที่ 1/2000 วินาทีครับ ผมถ่ายติดต่อกันเป็นชุด ๆ ครับ การถ่ายนกมีท่านที่ถ่ายนกมาก่อนแนะนำให้ตั้งกล้องแบบถ่ายต่อเนื่อง จะเป็นนกบินหรือนกเกาะก็ตาม ถ่ายทีเป็นชุดอาจะ 4-5 ภาพหรือมากกว่าต่อครั้งก็ได้ เพราะนกอาจไม่อยู่นิ่งมีปฏิกิริยาอย่างไรถ่ายเก็บมาให้หมด อาจจะมีภาพที่ถ่ายได้ยากติดมาด้วยครับ
ผมไปเฝ้ารอ 3 วันติดต่อกัน หวังว่าจะได้ภาพเหยี่ยวเกาะกับเขาบ้าง ไม่ได้เลยครับ ได้แค่เห็นบินผ่านเท่านั้น ก็ต้องถ่ายแบบบิน ๆ ครับ ดีกว่าไม่ได้อะไรกลับบ้านเลยครับ
ภาพชุดนี้ถ่ายที่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่
อุปกรณ์ : กล้อง Canon 1DX mark II + เลนส์ Tamron 150-600mm G2 + ขาตั้งกล้องพร้อม Gimbal head
You must be logged in to post a comment.