Huawei Developer Congress ชวนพันธมิตรร่วมสรรค์สร้างระบบนิเวศอันแข็งแกร่ง

ตงกวน, สาธารณรัฐประชาชนจีน – 9 สิงหาคม 2562 – Huawei Developer Conference (HDC) ประจำปี 2019 เปิดแล้วอย่างเป็นทางการ ณ สำนักงาน Songshan Lake เมืองตงกวน ระหว่างวันที่ 9 – 11 สิงหาคม โดยตลอดระยะเวลา 3 วันของการจัดงาน ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคของหัวเว่ย
กว่า 600 คนจะพบกับนักพัฒนาและพันธมิตรกว่า 6,000 คนจากทั่วโลกเพื่อหารือด้านการสร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงระบบนิเวศใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นตามแนวคิด “Rethink Possibilities” ทั้งนี้
งาน Huawei Developer Conference จัดขึ้นทุกปี เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับการค้นหาความเป็นไปได้
ที่จะพัฒนาระบบนิเวศใหม่ๆ สำหรับในอนาคต ซึ่งจะขับเคลื่อนโดยสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ เพื่อให้
เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค

ในปี 2010 หัวเว่ยถือเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาดสมาร์ทโฟน และมียอดส่งมอบสมาร์ทโฟน
เพียง 3 ล้านเครื่องเท่านั้น แต่อีกเพียง 8 ปีต่อมา ยอดส่งมอบสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยสูงขึ้นจากปี 2010 ถึง 68 เท่า และหัวเว่ยจำหน่ายสมาร์ทโฟนไปแล้ว 118 ล้านเครื่องในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 24 และมีส่วนแบ่งการตลาดที่ร้อยละ 17.6 จากการสำรวจของ IDC การเติบโตของหัวเว่ยยังปรากฎอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ Wearable

ปัจจุบัน หัวเว่ยจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใน 170 ประเทศ และมีผู้ใช้งานกว่า 530 ล้านคนทั่วโลก นอกจากนี้ แพลตฟอร์มเปิด HiAI ของหัวเว่ย ยังมีพันธมิตรกว่า 2,500 ราย ใน 140 ประเทศ รวมถึงอุปกรณ์ IoT กว่า 140 ล้านชิ้นทั่วโลกที่รองรับมาตรฐาน HiLink ของหัวเว่ยอีกด้วย ซึ่งหมายความว่าหัวเว่ยกำลังก้าวขึ้นเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมและสามารถสร้างระบบนิเวศอัจฉริยะได้อย่างครบวงจร

ล่าสุด หัวเว่ยนำเสนอระบบปฏิบัติการใหม่ HarmonyOS” เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง
ด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นระบบปฏิบัติการแบบกระจาย (Distributed Operating System) และ
ใช้ Microkernel จัดการทรัพยากรระบบ เพื่อการทำงานในทุกสภาพการใช้งานและทุกอุปกรณ์ ระบบปฏิบัติการอันก้าวล้ำนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการผลักดันแนวคิดการเชื่อมโยงทุกอุปกรณ์เป็นหนึ่งเดียวผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet of Everything) ให้เป็นจริง นอกจากนี้ HarmonyOS” ยังเป็น
พื้นที่ใหม่สำหรับนักพัฒนา ที่ต้องการพัฒนาแนวคิดหรือแอพพลิเคชั่นที่สามารถทำงานได้กับทุกอุปกรณ์ โดยลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการพัฒนาลง อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์การใช้งาน
แบบเดียวกันบนทุกอุปกรณ์อีกด้วย

ริชาร์ด หยู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป กล่าว
ในโอกาสนี้ว่า
HarmonyOS จะเชื่อมโยงสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และจะเป็นการเปิดตลาดใหม่ที่อาจมีมูลค่านับล้านล้านดอลลาร์ เพราะระบบปฏิบัตินี้พัฒนาขึ้นเพื่อโลกปัจจุบันและอนาคต เราต้องการให้ระบบปฏิบัตินี้เป็นรากฐานของเทคโนโลยีต่างๆ ในอนาคต หัวเว่ยมุ่งมั่นยกระดับเทคโนโลยี
ในระดับรากฐาน ซึ่งรวมถึงชิปและระบบปฏิบัติการ พร้อมกันนี้ เรายังมีความตั้งใจจะแก้ไขข้อขัดข้องต่างๆ ที่ผู้บริโภคพบเจออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทั้งผู้บริโภคและนักพัฒนาของเราได้รับประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง”

HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด และในอนาคตหัวเว่ยจะปรับให้แพลตฟอร์ม Huawei Mobile Services (HMS) เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างสำหรับนักพัฒนาทั่วโลก เพื่อให้นักพัฒนาสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นในการพัฒนา HMS ได้

 

ก้าวสู่อนาคตกับ HarmonyOS

ภายในงาน Huawei Developer Conference (HDC) ประจำปี 2019 นี้ หัวเว่ยได้นำเสนอระบบปฏิบัติการถึง 2 ระบบ โดยหนึ่งในนั้นคือ ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นใหม่ล่าสุดอย่าง HarmonyOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ Distributed OS ที่มีพื้นฐานการจัดการระบบด้วย Microkernel เพื่อให้รองรับกับทุกอุปกรณ์ โดยในเบื้องต้น หัวเว่ยจะเริ่มใช้ระบบปฏิบัติการนี้
กับอุปกรณ์อัจฉริยะ เช่น HUAWEI Vision, ระบบอินโฟเทนเมนท์ในรถยนต์ (Vehicle Terminals) และ
Wearables ก่อน และจะเพิ่มประเภทอุปกรณ์อัจฉริยะที่จะรองรับในอนาคต นอกจากนี้ยังมีอีกระบบหนึ่งที่หัวเว่ยนำเสนอในงานนี้คือ EMUI 10 ซึ่งเป็นพื้นฐานของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่ใช้ใน
สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของหัวเว่ยในปัจจุบัน

หัวเว่ยพัฒนา HarmonyOS ให้รองรับการทำงานในทุกอุปกรณ์ และสามารถเชื่อมโยงกัน
เป็นหนึ่งตามแนวคิด Internet of Everything (IoE) โดยใช้คุณสมบัติทางซอฟต์แวร์ที่ต่างออกไป เช่น Distributed Software Buses และคุณสมบัติทางฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งาน
ข้ามอุปกรณ์ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะสลับไปใช้งานอุปกรณ์ใดก็ตาม นอกจากนี้ หัวเว่ยยังใช้เครื่องมือ Integrated Development Tool (IDE) เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้รองรับกับอุปกรณ์ที่หลากหลายได้ โดยใช้เวลาในกระบวนการพัฒนาน้อยลง กล่าวคือ นักพัฒนาจะสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่น
เพียงครั้งเดียวให้สามารถทำงานได้ในทุกอุปกรณ์ ช่วยให้การจัดการทรัพยากรระบบเป็นไปได้ง่ายขึ้น
ยิ่งไปกว่านี้ หัวเว่ยยังใช้กระบวนการ Deterministic Latency Engine และ IPC ที่มีประสิทธิภาพสูง
เพื่อลดปัญหาการประมวลผลช้า นอกจากนี้สถาปัตยกรรมแบบ Microkernel และระบบการยืนยัน
แบบ Formal Method จะช่วยให้ HarmonyOS มีความปลอดภัยและมีความเสถียรมากขึ้นอีกด้วย

ในส่วนของ EMUI 10 จะเป็นส่วนประสานผู้ใช้แบบ Distributed OS จึงช่วยให้นักพัฒนาสามารถจำลองรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันได้ และจำลองการทำงานต่อเนื่องระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ได้ เสมือนว่านักพัฒนามี Virtual Machine ที่มีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้นักพัฒนาซอฟต์แวร์
ยังไม่จำเป็นต้องกังวลถึงข้อแตกต่างของฮาร์ดแวร์ เพราะนักพัฒนาสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่น
เพียงครั้งเดียวแต่รองรับการทำงานกับทุกอุปกรณ์ได้ ระบบ Deterministic Latency Engine ยังช่วย
ลดปัญหาระบบค้างจากการจัดสรรทรัพยากรอย่างไม่เหมาะสมในทุกระดับของซอฟต์แวร์ได้
ช่วยให้ EMUI 10 มีความเสถียรตลอดเวลา นักออกแบบยังพัฒนา UX ของระบบปฏิบัติการใหม่นี้
ให้สวยงาม และสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์มากขึ้นด้วย โดยผู้ใช้ HUAWEI P30 Pro ทั่วโลก
จะได้รับอัพเดต EMUI 10 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

 

ระบบนิเวศใหม่ จากการเปิดแพลตฟอร์ม HMS

HMS เป็นแพลตฟอร์มซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาแอพพลิเคชั่นของหัวเว่ย โดยแพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรม ลดขั้นตอนการพัฒนา และนำเสนอแอพพลิเคชั่นของตนสู่ผู้บริโภคทั่วโลกที่ใช้อุปกรณ์หลากหลายประเภทได้ ภายในงาน HDC ประจำปีนี้ หัวเว่ยจะเปิดส่วนหลักของแพลตฟอร์ม HMS ทั้งสิ้น 14 ส่วน บริการ 51 ประเภท และ APIs 885 ชุดให้นักพัฒนาทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้ เพื่อยกระดับแพลตฟอร์มไปอีกขั้น เติมเต็มการใช้งาน
กับอุปกรณ์ทุกรูปแบบ ปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่น 43,000 ตัวที่เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์ม HMS

และในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ หัวเว่ยจะนำเสนอมาตรฐาน Fast Applications ที่ใช้งานอยู่แล้วในสาธารณรัฐประชาชนจีนสู่ตลาดโลก เพื่อการพัฒนาคุณสมบัติของการใช้งานแอพพลิเคชั่น
อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องติดตั้งลงในอุปกรณ์ ปัจจุบัน หัวเว่ยมีบริการมากกว่า 5,000 บริการใน HUAWEI Ability Gallery สำหรับนักพัฒนาชาวจีน โดยแพลตฟอร์ม HUAWEI Ability Gallery จะเปิดตัว
ในเดือนธันวาคมนี้เช่นกัน เพื่อให้หัวเว่ยนำเสนอสิ่งที่ดีสู่ผู้บริโภคได้เร็วและดียิ่งขึ้น

ในโอกาสนี้ หัวเว่ยยังเปิดตัวระบบ App Gallery Connect สู่นักพัฒนาทั่วโลก เพื่อเพิ่ม
ความสะดวกให้แก่นักพัฒนาในกระบวนการพัฒนาและนำเสนอแอพพลิเคชั่น ทั้งการสร้างสรรค์ พัฒนา นำเสนอ ดูแล และการวิเคราะห์ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังเพิ่มเงินสนับสนุนจาก 1 พันล้านหยวน
เป็น 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้แก่โครงการ “Shining Star” และเปิดโอกาสให้นักพัฒนานอกสาธารณรัฐประชาชนจีน สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้เป็นครั้งแรก ในการนี้หัวเว่ยพร้อมจะทำงานร่วมกับพันธมิตรระดับแนวหน้าในแวดวงธุรกิจเดียวกัน เพื่อร่วมกันตั้งกองทุนส่งเสริมและสนับสนุนการสรรค์สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ของนักพัฒนาทั่วโลก

เครื่องมือใหม่สำหรับนักพัฒนา

หัวเว่ยพร้อมที่จะให้การสนับสนุนนักพัฒนาด้วยเครื่องมือและแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่สามารถ
ช่วยให้นักพัฒนาสามารถนำเสนอผลงงานได้ในทุกอุปกรณ์ของหัวเว่ย พร้อมนำเสนอแพลตฟอร์มใหม่สำหรับการทำงานร่วมกับชิป Kirin โดยเฉพาะการพัฒนาคุณสมบัติด้านมัลติมีเดีย ที่ช่วยลดขั้นตอน
การพัฒนา โดยอาศัยการสังเกตจดจำการใช้งานของผู้ใช้ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อยกระดับแนวคิดปัญญาประดิษฐ์ให้ก้าวไปอีกขั้น

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังพร้อมจะพัฒนาคุณสมบัติใหม่ๆ ให้กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่นอกเหนือจาก
สมาร์ทโฟน และเติมเต็มประสบการณ์การใช้งานในทุกช่วงเวลา พร้อมนำเสนอ HiLink,  LiteOS และ Chip Suite ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแบบเปิดสำหรับอุปกรณ์และระบบคลาวด์ ระบบปฏิบัติการ และชิปเซ็ตตามลำดับ แพลตฟอร์มดังกล่าวนี้จะช่วยขจัดอุปสรรคของการพัฒนาอุปกรณ์ IoT ตั้งแต่ต้นน้ำ
ถึงปลายน้ำได้ และช่วยให้กระบวนการพัฒนานั้นง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • HiLink เป็นแพลตฟอร์มเปิดสำหรับการค้นหาและเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องเชื่อมต่อซ้ำ ซึ่งสามารถรองรับอุปกรณ์ที่หลากหลายและการควบคุม
    หลายรูปแบบ เชื่อมทุกสิ่งเป็นหนึ่งเดียวเพื่อการทำงานที่ง่ายกว่าที่เคย
  • LiteOS เป็นผู้เชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ IoT และแอพพลิเคชั่นต่างๆ โดยหัวเว่ยใช้เฟรมเวิร์คการพัฒนาและการสร้างโปรแกม Maple JS ที่มีขีดความสามาถด้านการประมวลผลเทียบเท่าการพัฒนาระบบโดยใช้ภาษา C เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนา

การผสานชิป HiSilicon, LiteOS, Gigahome และ Honghu ช่วยให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้เข้ากับอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ ได้โดยสะดวกมากขึ้น

ในงาน HDC ปีนี้ หัวเว่ยยังนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ อีกมาก เช่น อัลกอริธึ่ม Space Computing และเทคโนโลยีการระบุปัญญาประดิษฐ์ (AI Identification) สำหรับบริการไซเบอร์เวิร์ส (Cyberverse)
ที่ผสานโลกจริงและโลก VR เข้าด้วยกัน เพื่อประสบการณ์ที่เหนือกว่า นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอเทคโนโลยี 5G แบบช่วงคลื่น mmWave, ระบบควบคุมคลื่น mmWave โดยใช้ท่าทาง และระบบ
ตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจที่อยู่ในสมาร์ทโฟนพับได้ HUAWEI Mate X นอกจากนี้ หัวเว่ยยังใช้
การรวบรวมข้อมูลจากมวลชนเพื่อเก็บข้อมูลแผนที่ ช่วยให้การระบุพิกัดและการนำทางในอาคารแม่นยำมากขึ้น

 

 

ริชาร์ด หยู กล่าวเพิ่มเติมว่า “หัวเว่ยพร้อมจะสร้างระบบนิเวศและดึงดูดนักพัฒนารายใหม่ๆ
สิ่งที่เราประกาศและสาธิตในงาน Huawei Developer Conference ประจำปีนี้ จะเป็นรากฐานของ
การพัฒนาแนวคิดการเชื่อมโยงทุกอุปกรณ์เข้าด้วยกันให้เป็นจริงได้ใน 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า”



ถูกใจบทความนี้  3