คุณคิดว่า ลูกคุณเป็น Digital Native หรือ Digital Naïve โดย ผู้ดำเนินโครงการ dtac Safe Internet

คุณคิดว่า ลูกคุณเป็น Digital Native หรือ Digital Naïve โดย ผู้ดำเนินโครงการ dtac Safe Internet

มาทดสอบว่า “ลูกของคุณจัดอยู่ในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันในการใช้อินเทอร์เน็ตมากน้อยเพียงใด เป็นเด็กในกลุ่ม Digital Native หรือกลุ่ม Digital Naïve โดยการทำแบบทดสอบง่าย ๆ เพียงตอบว่า ใช่ หรือไม่ใช่ พร้อมแล้วเริ่มเลยค่ะ !! => SafeInternetForKid.com

 

  1. ลูกคุณเข้าชมไลฟ์ (live) ทั้งใน tik tok หรือของดารา แล้วส่งของขวัญที่มีการโอนเงินให้กับดาราหรือคนที่กำลังติดตามเหล่านั้นอย่างน้อย 3 ครั้งต่อเดือน
  2. ลูกคุณแชร์เรื่องราวที่เป็นประโยชน์และไม่ทำลายชื่อเสียงผู้อื่น
  3. ลูกคุณโพสต์วิจารณ์หน้าตา รูปร่าง หรือเม้นท์แบบหยาบคาย แสดงความคิดเห็นให้ร้ายต่อผู้อื่น
  4. ลูกคุณเข้าใจวิธีการแยกแยะข่าวจริงและข่าวปลอมที่มุ่งทำให้คนอื่นเข้าใจผิด
  5. ลูกคุณใช้เวลานานและสูญเสียเงินกับการเล่นเกมออนไลน์โดยไม่ตั้งใจ

 

วิธีการคำนวณคะแนน : คำตอบ ใช่เท่ากับ 1 คะแนนและไม่ใช่เท่ากับ  0 คะแนน

J หากลูกของคุณได้น้อยกว่า 2 คะแนน ขอแสดงความยินดีด้วย ลูกของคุณเป็น Digital Native มีภูมิคุ้มกันในการใช้อินเทอร์เน็ต หมายถึง ลูกของคุณมีความรับผิดชอบ ไม่ประมาทในการใช้อินเทอร์เน็ต ตระหนักถึงภัยที่เกิดจากอินเทอร์เน็ต และนึกถึงผลกระทบที่ส่งผลต่อตัวเขาและผู้อื่นในทางที่ดี นอกจากนี้รู้วิธีรับมือกับปัญหาที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต เช่น มีการเก็บหลักฐานเพื่อนำไปส่งตำรวจ

A หากลูกของคุณได้ 2 คะแนนขึ้นไป แสดงว่า ลูกของคุณเป็นคนที่มีภูมิคุ้มกันในระดับหนึ่งในการใช้อินเทอร์เน็ตได้ (Digital Naïve) ซึ่งหมายความว่า มีโอกาสตกเป็นเหยื่อบนโลกออนไลน์ เช่น โดนล่อลวง               การหลงเชื่อข่าวปลอม การเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม รุนแรง ติดโซเชียล ติดเกม อาจส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ เป็นต้นเหตุของโรคซึมเศร้า ลูกของคุณควรต้องรู้เท่าทันความเสี่ยงเหล่านี้และใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีภูมิคุ้มกัน

 

จากผลการสำรวจคุณครูกลุ่มตัวอย่างจากบริษัท อินสครู จำกัด ที่มีเครือข่ายครูกว่า 500,000 คนในประเทศไทยร่วมกับดีแทค พบว่า เด็กมีปัญหาในการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมในอินเทอร์เน็ตร้อยละ 87.83 มีการเลียนแบบพฤติกรรมเสี่ยงจากโลกออนไลน์ร้อยละ 62.61 นักเรียนแชร์สื่อที่ไม่เหมาะสม เช่น ข่าวปลอม                   สี่อลามก ความรุนแรงและมีการแสดงตัวตนไม่เหมาะสมในโลกออนไลน์ของนักเรียนร้อยละ 43.48 มีการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ (cyberbullying) ระหว่างนักเรียนร้อยละ 37.39 และนักเรียนมีการโกงในการทำธุรกรรมออนไลน์ร้อยละ 6.96

ผลสำรวจของ WEF Global เกี่ยวกับพลเมืองดิจิทัลโดยสำรวจออนไลน์ DQ Screen Time Test กับทุกประเทศรวมถึงประเทศไทย พบว่า พฤติกรรมของเด็กไทยส่วนใหญ่ใช้เวลาบนเว็บไซต์มากกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 ชั่วโมง โดยเข้าอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนสูงสุด 73% รวมถึงผลสำรวจจากมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย พบว่า เยาวชนไทยร้อยละ 95 ตระหนักดีว่า อินเทอร์เน็ตมีอันตราย ร้อยละ 70  รู้ว่าเพื่อนทางออนไลน์ไม่พูดความจริง และร้อยละ 46 เคยถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์

Digital Native หมายถึง คนที่เกิดในยุคของการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ (Smartphone) แท็บเล็ต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และการสื่อสารทางออนไลน์ คนเหล่านี้                   โดยมีพฤติกรรม ดังนี้

  1. มีการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กอยู่เสมอ (Social) มีการเข้าเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ค ยูทูป

อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ เป็นประจำ คอยอัพเดทเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์นี้                เขาจึงให้ความร่วมมือและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมีความเข้าใจในคนอื่น

  1. มีความรู้ในการใช้งานอย่างถูกต้อง (Savvy) นอกเหนือจากเขามีความรู้และเข้าใจการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นอย่างดี เขายังมีความฉลาดในการคิดและไตร่ตรองอย่างรอบคอบซึ่งส่งผลทำให้มีการตัดสินใจที่ถูกต้องภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น
  2. ระบุความเสี่ยงในการใช้งานได้อย่างปลอดภัย (Safety) สามารถระบุช่องทางออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม คำนึงถึงความเสี่ยง สามารถป้องกันภัยอันตรายก่อนที่จะมาสู่ตนเองและผู้อื่น

 

พฤติกรรมของ Digital Native ที่ส่งเสริมให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในการใช้อินเทอร์เน็ต เป็นที่แพร่หลายในหลายประเทศและเป็นทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ในประเทศไทยมีการประยุกต์นำมาเป็นบทเรียนแหล่งใหม่               ในห้องเรียน เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้อินเทอร์เน็ตและให้คำแนะนำให้กับเด็กและเยาวชนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ผู้ปกครองเกิดความไว้วางใจในการใช้งานทางอินเทอร์เน็ตของเด็กในครอบครัว โดยดูรายละเอียดของแหล่งความรู้ออนไลน์แหล่งใหม่ ได้ที่ SafeInternetForKid.com

 

 

 



ถูกใจบทความนี้  0