หัวเว่ยและพาร์ทเนอร์หลายรายในอุตสาหกรรมเดียวกัน ร่วมกันเปิดตัวชุดโมดูลสำหรับอุตสาหกรรมและผู้บริโภค ซึ่งได้รับการพัฒนาจาก “พรีโมดูล” (pre-module) 5G ของบริษัท HiSilicon พร้อมกันนี้ ประธานฝ่ายการตลาดและการขายโซลูชัน กลุ่มธุรกิจด้านเครือข่ายโทรคมนาคม (Carrier) ของหัวเว่ย ยังได้ประกาศเปิดตัวเครือข่าย 5G
สุดล้ำที่ประเทศอังกฤษ ที่จะช่วยให้ผู้ให้บริการในกรุงลอนดอนประสบความสำเร็จกับเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ และหัวเว่ยยังเปิดตัวโซลูชันคอร์เน็ตเวิร์ก 5G แบบการสร้างเครือข่ายเชิงกำหนด (Deterministic Networking หรือ DetNet) เป็นโซลูชันแรกของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมอีกด้วย แสดงให้เห็นถึงผลิตภัณฑ์และโซลูชัน 5G สำหรับรองรับการใช้งานทุกรูปแบบของพาร์ทเนอร์และผู้บริโภค
หัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ร่วมเปิดตัวโมดูล 5G พัฒนาจากโซลูชันพรีโมดูลของ HiSilicon
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา หัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ธุรกิจในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมร่วมกันเปิดตัวโมดูลสำหรับอุตสาหกรรมและผู้บริโภคที่ได้รับการพัฒนาโดยอิงจากเทคโนโลยี “พรีโมดูล” 5G ของบริษัท HiSilicon ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เพื่อช่วยเร่งผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยี 5G ไปประยุกต์ใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมอย่างเป็นวงกว้างได้รวดเร็วขึ้น
การติดตั้งเครือข่ายสัญญาณ 5G ทั่วโลกคือข้อพิสูจน์ความเห็นพ้องในแวดวงอุตสาหกรรมโทรคมนาคมว่าเทคโนโลยี 5G มีมูลค่ามหาศาล และโมดูลก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับขยายการใช้งานเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ อย่างไรก็ดี ข้อถกเถียงและกรอบเวลาเกี่ยวกับการพัฒนาโมดูล 5G ถือเป็นอุปสรรคต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในวงกว้าง
หัวเว่ยจึงได้ร่วมมือกับบริษัท Quectel, Changhong Holding Group, AI-Link, China Mobile Group Device และ Smart Chip เปิดตัวโมดูล 5G สำหรับอุตสาหกรรม, โมดูล 5G+8K สำหรับมีเดีย, โมดูล 5G สำหรับพลังงานไฟฟ้า และโมดูลอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อเร่งให้เกิดการนำเทคโนโลยี 5G ไปประยุกต์ใช้กับโครงการหลากหลายรูปแบบ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะ มัลติมีเดีย การจัดแสดงเชิงพาณิชย์ จอภาพติดผนังขนาดใหญ่ พลังงาน และการคมนาคมขนส่ง นอกจากนี้ โมดูล 5G ในระดับของผู้บริโภค เช่น อุปกรณ์ AR/VR และอุปกรณ์ไอทีสำหรับ สวมใส่ (wearable devices) ก็จะออกวางจำหน่ายสู่ตลาดในเดือนมีนาคมของปีนี้
การเปิดตัว “พรีโมดูล” 5G ของ HiSilicon และโมดูล 5G ของพาร์ทเนอร์
นายเวนิ โชน (Veni Shone) ประธานบริษัท HiSilicon ระบุว่า “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในระยะแรกควรมุ่งเน้นสถานการณ์ที่มีมูลค่าสูงและใช้ฟีเจอร์ธรรมดาทั่วไป บริษัท HiSilicon มอบพรีโมดูล 5G ที่เป็นมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมเดียวกันแบบแนวดิ่ง (vertical industries) และสำหรับผู้บริโภค เพื่อช่วยให้ผู้ค้าพัฒนาโมดูลที่จะนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ได้ และเพื่อการนี้ พรีโมดูลจะช่วยเสริมกำลังให้กับบริษัทต่างๆ เป็นจำนวนมากใน การสร้างอีโคซิสเต็ม 5G ที่กำลังเฟื่องฟู”
นายหยาง เชาปิน (Yang Chaobin) ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ 5G ของหัวเว่ย กล่าวว่า “ด้วยความทุ่มเทที่มีร่วมกันของผู้ให้บริการและพาร์ทเนอร์ของเราทุกคน เราจึงได้เห็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบแนวดิ่งหลายสิบแห่ง และมีบริษัทผู้ค้าโมดูลชั้นนำมาร่วมมือกับเรามากขึ้น ซึ่งผมเชื่อว่าเราจะเห็นการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรม 5G ในอนาคตอันใกล้นี้”
นายเฮนดริก คูปแมนส์ (Hendrik Koopmans) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท HiSilicon Technologies Research & Development (UK) ยังได้กล่าวเสริมว่า “การร่วมกันเปิดตัวโมดูลสำหรับอุตสาหกรรมและสำหรับผู้บริโภคเพื่อการใช้งานในหลากหลายสถานการณ์นั้น ได้ปูทางสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G อย่างเป็นวงกว้างในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบแนวดิ่ง และยังช่วยส่งเสริมการเข้าสู่ยุคดิจิทัลของอุตสาหกรรมเหล่านี้อย่างมีนัยสำคัญ”
โมดูล 5G ที่เป็นผลงานของหัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ซึ่งได้รับการพัฒนาจากโซลูชัน “พรีโมดูล” 5G ของ HiSilicon
นายต้วน เอินฉวน (Duan Enchuan) ประธานบริษัท AI-Link ระบุว่า “Changhong Holding Group และหัวเว่ยมีความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ในด้านแอปพลิเคชัน 5G เราเปิดตัวโมดูลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจำนวนมาก ที่พัฒนาจากพรีโมดูล 5G ของ HiSilicon ผสมผสานกับการวิจัยและพัฒนาและศักยภาพการผลิตของเรา ได้แก่ โมดูล 5G สำหรับวิดีโอ, โมดูล 5G สำหรับอุตสาหกรรม และโมดูล 5G+V2X โมดูลเหล่านี้ล้วนถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงในทีวี 5G 8K สายการผลิต 5G ในอุตสาหกรรม และระบบ การคมนาคมขนส่งอัจฉริยะ”
นายซุน เหยียนหมิง (Sun Yanming) รองผู้จัดการทั่วไป บริษัท Quectel ระบุว่า “เราได้พัฒนา RG800H หรือโมดูล 5G สำหรับการสื่อสารแบบมัลติโหมด (multimode) จากพรีโมดูล 5G ของ HiSilicon การทดสอบการทำงานร่วมกันระหว่าง RG800H และเครือข่าย 5G ของหัวเว่ยทั้งในรูปแบบ multi-scenario และ multi-band แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำทั้งในแง่ของอัตราความเร็วการส่งผ่านข้อมูลและประสิทธิภาพการทำงาน ภายใต้เงื่อนไขการทดสอบระดับสูงที่สุด เรายินดีที่ได้ทำงานร่วมกันอีกครั้งด้วยการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมไอโอที (IoT) เพื่อส่งมอบโมดูลการสื่อสารอันทรงประสิทธิภาพและคุ้มค้าให้กับผู้บริโภคในแวดวงอุตสาหกรรม”
หัวเว่ยจะเดินหน้าร่วมมือกับหุ้นส่วนทั้งหลายในอุตสาหกรรม 5G ต่อไป และด้วยเหตุนี้พรีโมดูล 5G ของ HiSilicon จะเป็นกำลังให้กับโมดูลอื่น ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามแต่สถานการณ์ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ โดยจะปฏิบัติตามหลักการแห่งการเปิดกว้างและความสอดคล้องกันที่หลากหลาย ศักยภาพการแสดงผลแบบมัลติอินเทอร์เฟซ (multi-interface) และการให้บริการแบบครบจบในที่เดียว ซึ่งจะเป็นการสอดประสานอย่างสมบูรณ์ของห่วงโซ่อุตสาหกรรม 5G กระตุ้นให้เกิดการใช้เทคโนโลยี 5G อย่างเป็นวงกว้างในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกด้วย
หัวเว่ยเปิดตัวเครือข่าย 5G ที่ดีที่สุด เสริมความแข็งแกร่งแวดวงธุรกิจ
นอกจากนี้ นายเผิง ซง (Peng Song) ประธานฝ่ายการตลาดและการขายโซลูชัน กลุ่มธุรกิจด้านเครือข่ายโทรคมนาคม (Carrier) ของหัวเว่ย ได้ขึ้นกล่าวในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์และโซลูชันของหัวเว่ยที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยเขาได้ประกาศเปิดตัวเครือข่าย 5G ล้ำยุคที่จะมาช่วยให้บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายประสบความสำเร็จกับ 5G เชิงพาณิชย์
เครือข่าย 5G ล้ำยุคซึ่งเปิดตัวในงานดังกล่าวรวมถึงโซลูชันต่างๆ เช่น โครงข่ายการเข้าถึงผ่านการรับส่งทางคลื่นวิทยุ (RAN) ที่ซับซ้อนน้อยลง (Simplified RAN) เครือข่าย IP อัจฉริยะ (Smart IP network) เครือข่ายการคมนาคมขนส่งที่มีแบนด์วิดท์สูงเป็นพิเศษ (ultra-high-bandwidth transport network) การเชื่อมต่อสีเขียว และบริการ 5G ครบวงจรที่ใช้ AI (AI-enabled end-to-end 5G services)
- โครงข่าย RAN ที่ซับซ้อนน้อยลง จะช่วยเร่งการติดตั้งสัญญาณ 5G: โครงข่าย RAN ที่ซับซ้อนน้อยลงประกอบไปด้วย 3 โซลูชัน คือเสาสัญญาณ Massive MIMO รุ่นที่ 3 ซึ่งน้ำหนักเบาที่สุดในอุตสาหกรรม, เสาสัญญาณเบลด AAU ซึ่งได้รับการออกแบบและวางระบบดีที่สุดในอุตสาหกรรม และเสาสัญญาณ AUU ที่รองรับคลื่นความถี่สูงสุด 400 เมกะเฮิรตซ์ โซลูชันเหล่านี้จะมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการติดตั้ง การตรวจหาที่ตั้งไซต์และคลื่นความถี่ที่กระจัดกระจาย ช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถติดตั้ง 5G ได้อย่างรวดเร็ว เสาสัญญาณ Massive MIMO รุ่นที่ 3 ซึ่งรองรับเสาอากาศรุ่น 64T64R นั้นมีคุณสมบัติคือน้ำหนักเบาและติดตั้งง่าย ส่วนเสาสัญญาณเบลด AAU รองรับการออกแบบทั้ง active และ passive ของย่านคลื่นความถี่ sub-6 GHz ทั้งหมด ลดระยะเวลาในการตรวจหาที่ตั้งไซต์ได้อย่างมีนัยสำคัญ และเสาสัญญาณ AUU ที่รองรับคลื่นความถี่สูงสุด 400 เมกะเฮิรตซ์นั้นนับว่านำหน้าโซลูชันอื่นๆ ในอุตสาหกรรมอยู่อย่างน้อยหนึ่งรุ่น
- เครือข่าย IP อัจฉริยะนำอุตสาหกรรมในด้านการรองรับข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLA) ที่พร้อมใช้งาน: ด้วยโซลูชันนี้ เครือข่าย IP จะสามารถแปรสภาพเป็นเครือข่ายที่พร้อมใช้งานกับเทคโนโลยี SLA (SLA-committable IP networks) และด้วยเครือข่ายแยกส่วนแบบยืดหยุ่น (flexible network slicing) บนเครือข่าย FlexE เครือข่าย IP อัจฉริยะจึงมีการแยกส่วนแม่นยำที่สุดในอุตสาหกรรม โดยอยู่ที่ 1 กิกะบิตต่อวินาที ซึ่งคิดเป็น 5 เท่าของค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม เครือข่าย IP อัจฉริยะซึ่งทำงานร่วมกับ Network Cloud Engine และใช้โซลูชัน SRv6 เป็นโซลูชันแรกในอุตสาหกรรมที่รองรับค่าความหน่วงที่พร้อมใช้งาน (committable latency) โดยโซลูชันนี้ยังใช้เทคโนโลยี In-situ Flow Information Telemetry (iFIT) ซึ่งจะสามารถระบุข้อผิดพลาดได้ในระดับนาที และสามารถใช้งานเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
- โมดูล 800G กับเครือข่ายการคมนาคมขนส่งที่มีแบนด์วิดท์เป็นพิเศษ: โซลูชันนี้จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการส่งสัญญาณเครือข่ายได้ถึง 48 เทระบิตต่อวินาทีผ่านใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดียว (single optical fiber) มากกว่าถึง 40% จากเกณฑ์อุตสาหกรรมทั่วไป ช่วยให้มั่นใจได้ว่าเครือข่ายการคมนาคมสามารถวิวัฒนาการต่อไปได้อย่างราบรื่นในอีก 10 ปีข้างหน้า
- การเชื่อมต่อสีเขียวลดการปล่อยพลังงานของไซต์ 5G: เสาสัญญาณ 5G AAU ใช้ไมโครชิปแบบผสมผสาน (integrated chips) คุณภาพสูงจากกรรมสิทธิ์ของหัวเว่ยเอง ซึ่งช่วยลดการปล่อยพลังงานได้มากถึง 15% และด้วยโซลูชัน PowerStar ที่ใช้ AI แบบครบวงจรยังจะช่วยส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานหลายระดับ, ประสิทธิภาพการประสานงานคลื่นความถี่หลายระดับ และยังลดการใช้พลังงานทั้งเครือข่ายได้มากขึ้นอีก 15% ถึง 20%
- บริการ 5G ที่ใช้ AI แบบครบวงจรเปิดทางสู่ยุคโลกดิจิทัลอัจฉริยะ: ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ถูกนำมาปรับใช้ในการจัดการเต็มรูปแบบในเครือข่าย 5G นี่สามารถทำให้มั่นใจได้ว่าการวางแผนเครือข่ายจะมีความแม่นยำมากขึ้นเพื่อประสบการณ์ที่เหนือกว่าของผู้ใช้ โครงสร้างเครือข่ายจะมีความคล่องตัวมากขึ้นด้วยประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ในด้านการบริการแก่ผู้ใช้จะตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นและปัญหาต่างๆ จากประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้จะได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วมากขึ้นเช่นกัน
หัวเว่ยปิดท้าย ด้วยการเผยโฉมคอร์เน็ตเวิร์ก 5G แบบการสร้างเครือข่ายเชิงกำหนด (DetNet) เป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
สุดท้ายนี้ หัวเว่ย ยังได้เปิดตัวคอร์เน็ตเวิร์ก 5G แบบการสร้างเครือข่ายเชิงกำหนด (DetNet) เป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซึ่งเป็นโซลูชันที่ยึดแนวคิด “คลาวด์เนทีฟ (Cloud Native), วันคอร์ (One Core), ปฏิบัติการตามเวลาจริง (Real-time Operation) และการประมวลผลแบบ Edge Computing” โซลูชันนี้จึงสามารถสร้างการเชื่อมต่อได้อย่างหลากหลายและยังการันตีมาตรฐานการบริการ (SLA – Service Level Agreement) ที่เติมเต็มศักยภาพให้กับทุกอุตสาหกรรมไปพร้อมกัน
นายลีโอ หม่า (Leo Ma) รองประธานฝ่ายการตลาดคลาวด์คอร์เน็ตเวิร์กของหัวเว่ย เปิดตัวโซลูชันคอร์เน็ตเวิร์ก 5G แบบการสร้างเครือข่ายเชิงกำหนด (DetNet)
หัวเว่ย ได้นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมการสร้างเครือข่ายเชิงกำหนด 5G หรือ 5GDN ซึ่งใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเครือข่าย 5G ในการสร้างเครือข่ายอุปกรณ์มือถือจำลองแบบส่วนตัวที่ง่ายต่อการจัดการและสะดวกต่อ การตรวจสอบ จึงสามารถมอบประสบการณ์การบริการที่หลากหลายและคาดเดาได้ให้กับลูกค้า
หัวเว่ย เป็นบริษัทแรกที่เปิดตัวโซลูชันคอร์เน็ตเวิร์ก 5G แบบการสร้างเครือข่ายเชิงกำหนด (DetNet) และเสนอที่จะพัฒนา 5GDN ด้วยแนวคิด “คลาวด์เนทีฟ (Cloud Native), วันคอร์ (One Core), การปฏิบัติการตามเวลาจริง (Real-time Operation) และการประมวลผลแบบ Edge Computing” โดยทำงานบนแพลตฟอร์มคลาวด์เนทีฟและรองรับการผสมผสานเทคโนโลยีบน 2G/3G/4G/5G แบบไมโครเซอร์วิสอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งยังใช้ประโยชน์จาก Mobile Edge Computing หรือ MEC ประสิทธิภาพสูงพิเศษแบบต่างชนิดกัน, การจัดแบ่งเครือข่ายแบบหลายมิติอัจฉริยะ และเอนจิ้นอัตโนมัติของคอร์เน็ตเวิร์กจึงช่วยเสริมศักยภาพให้กับเครือข่ายที่มีความหลากหลาย พร้อมมอบประสบการณ์การเชื่อมต่อแบบการสร้างเครือข่ายเชิงกำหนด (DetNet) ได้
“เครือข่าย 5G แบบการสร้างเครือข่ายเชิงกำหนด (DetNet) คือกุญแจสำคัญต่อดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นของอุตสาหกรรม หัวเว่ยจะดำเนินงานร่วมกับพันธมิตรของอุตสาหกรรมเพื่อสร้างฉันทามติ เร่งพัฒนาอุตสาหกรรม ผลักดันนวัตกรรมการให้บริการ สร้างอีโคซิสเต็มในอุตสาหกรรม รวมไปถึงขับเคลื่อนโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดจากเทคโนโลยี 5G” นายลีโอ หม่า รองประธานฝ่ายการตลาดคลาวด์คอร์เน็ตเวิร์กของหัวเว่ย กล่าว
ปัจจุบัน หัวเว่ย เซ็นสัญญาจัดทำ 5G เชิงพาณิชย์กว่า 90 ฉบับทั่วโลก ทั้งยังได้สร้างความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมด้วย 5G แบบการสร้างเครือข่ายเชิงกำหนด (DetNet) ในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พอร์ต อัจฉริยะ, สมาร์ทกริด, โรงงานอัจฉริยะ, ยานยนต์เชื่อมต่อ AR/VR และโซลูชันการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ซึ่งต่างช่วยผลักดัน อีโคซิสเต็ม 5G ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งหัวเว่ยยังมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อมอบการบริการที่ยอดเยี่ยมกว่าเคยให้กับลูกค้า พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี 5G อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
You must be logged in to post a comment.