มีช่วงนึงที่มี database ขนาดใหญ่หลุดไปเมื่อหลายปีก่อน จริงๆ ก็มีหลุดมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น facebook,linkedin หรืออีกหลายเคส เราสามารถเช็คเบื้องต้นได้ที่ https://haveibeenpwned.com/ นะว่าเมลที่เราใช้น่ะ หลุดไปบ้างหรือเปล่า ส่วนตัวคือเคยเช็คตั้งแต่หลายปีก่อนแล้ว ว่ามันหลุดไปตั้งแต่ตอนนั้น ก็เปลี่ยน pass ไปเรียบร้อย มันจะมีกรณีที่ โดนเอาเมลไปพร้อมพาสเวิร์ด แล้วเมลเรานี่ล่ะตัวดีเลย ผูกกับการใช้งานอย่างอื่นเพียบ คือจะทำให้สามารถเดาหรือเข้าไปยังธุรกรรมต่างๆ ที่ส่วนใหญ่ เชื่อว่าใช้พาสเวิร์ดเดียวกัน เพื่อให้จำได้ง่าย ทางที่ดีคือเช็คแล้ว ถ้าขึ้นว่าเมลอยู่ในข่ายหลุดล่ะก็ พยายามเปลี่ยนพาสเวิร์ดบ่อยๆ และอย่าใช้ซ้ำกับการใช้งานอื่นๆ ซึ่งเข้าใจว่าในโลกใบนี้ ณ ตอนนี้ มีแอคเค้าท์สำหรับบริการต่างๆ ที่ต้องตั้งค่าด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งธุรกรรมการเงินด้วยแล้ว ยิ่งต้องใช้ให้แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของ หรือธนาคารก็ตามที จะช่วยได้ในระดับนึง หรือ การทำความปลอดภัยสองระดับ ในบางบริการจะมีให้ทำ ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 อาจจะใช้เบอร์โทรศัพท์ร่วมด้วย ถ้าเราคิดว่าเราปลอดภัยแล้วในระดับนึง ก็น่าจะโล่งใจได้ ไม่งั้น จะมีเคสที่แบบ ไปดูการใช้งานเครื่องหรือบริการต่างๆ แล้วพบว่า มีการเข้าใช้งานเครื่องจากต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ จะได้ไม่ตื่นกตระหนกจนเกินไป แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ และตรวจสอบอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น Netflix account หลุด เช็คไปเช็คมา ก็พบว่าเป็นการเข้าใช้งานของตัวเอง แต่ log ในการใช้งานบน Netflix บอก location ไม่ตรงอะไรแบบนี้ นี่คือเคสเล็กๆ ที่ทำให้เราตกใจล่ะนะ อีกอันนึงคือ สามารถดูจาก log การใช้งานบน google ว่าเราเข้าใช้งานที่ไหน อุปกรณ์ใด มาบ้าง อันนี้ก็ต้องหมั่นตรวจสอบ บางทีเจอที่แปลกๆ เช่นต่างประเทศ นี่ก็เดาได้เลยว่าผิดปกติ ให้ force ออกจากอุปกรณ์นั้นๆ เลย และรีบเปลี่ยนพาสเวิร์ดจะปลอดภัยที่สุด ผมเคยเจออีกเคสคือ บัตรเครดิต ที่อยู่ดีๆ เอาไปตัดบริการอะไรก็ไม่รู้ที่ต่างประเทศ แต่เป็นแบบทุกปีนะ ปีละครั้ง จำนวนไม่เยอะมาก แต่มันแปลก ก็ต้องรีบเคลียร์บัตรเปลี่ยนเลขรหัสอะไรให้หมดเลย ซึ่งจนปัจจุบันก็ไม่รู้ว่าโดนเอาไปได้อย่างไร เพราะเช็คแล้ว ไม่เคยนำบัตรใบนี้ไปใช้ในการซื้อของออนไลน์เลย ดังนั้นจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์ ก็ต้องระวังนะครับ
You must be logged in to post a comment.