ไก่ฟ้าหลังเทา (Kalij pheasant)
ครอบครัวไก่ฟ้าหลังเทา พ่อแม่ลูกสอง น่ารักมากครับ หากินกันอย่างมีความสุขแต่ก็ระวังตัวสูงมาก มีอะไรเคลื่อนไหวนิดหน่อยก็ตกใจแล้วครับ วันนี้มีภาพและวีดีโอมาฝากครับ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไก่ฟ้าหลังเทา (Kalij pheasant) ชื่อวิทยาศาสตร์: Lophura leucomelanos เป็นไก่ฟ้าที่พบในป่าทึบโดยเฉพาะในตีนเขาของเทือกเขาหิมาลัย จากแม่น้ำสินธุไปทางตะวันตกจนถึงไทย มันถูกนำเข้าสู่รัฐฮาวาย (แต่ค่อน ข้างหายาก) ที่นั่นมันจัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่กินและแพร่กระจายพืชชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ตัวผู้มีขนหลากหลายขึ้นกับชนิดย่อย แต่อย่างน้อยก็มีสีขนดำออกฟ้า ขณะที่เพศเมียเป็นสีน้ำตาลทั้งตัว ทั้งสองเพศมีหนังสีแดงที่หน้า ขาออกเทา ชนิดย่อยทางตะวันออก 3 ชนิด (oatesi, lineata และ crawfurdi) กำลังถูกคุกคามและ moffitti ซึ่งไม่ทราบสถานะแน่ชัด
ตัวผู้ยาว 63-74 ซม. ตัวเมียยาว 50-60 ซ.ม. ลำตัวกลม ชนิดย่อยแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก (hamiltoni, leucomelanos, melanota, moffitti และ lathami) พบทางตะวันตกและตอนกลางของพิสัยการกระจายพันธุ์ กลุ่มที่สอง (williamsi, oatesi, lineata และ crawfurdi) พบทางตะวันออก ในตัวผู้กลุ่มแรก มีขนสีดำ-น้ำเงินเหลือบ ตะโพกขาวหรือส่วนล่างขาว ชนิด hamiltoni กระหม่อมขาว (ชนิดอื่นสีดำ-น้ำเงิน) ในกลุ่มที่สองส่วนล่างและกระหม่อมสีดำ-น้ำเงินเหลือบ หางและส่วนบนสีขาว (หรือสีเทาจางๆ) ปนกับขนแน่นเป็นคลื่นสีดำ ตัวเมียสีออกน้ำตาล ส่วนล่างมีแต้มขาวสลับดำ ส่วนอื่นๆขนคล้ายเป็นเกล็ด
ถูกใจบทความนี้ 1
You must be logged in to post a comment.