นับถอยหลัง 9 ปี สู่เส้นชัยการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ประการ ขององค์การสหประชาชาติ ร่วมกับหัวเว่ย ชูการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

นายสิทธัต ชาตทจี (Siddharth Chatterjee) ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศจีน
กล่าวสุนทรพจน์ภายในงาน Mobile World Congress 2021

8 มีนาคม 2564 – เมื่อปี 2015 องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ประกาศเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อโลกที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน โดยมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายทั้ง 17 ข้อภายในปี 2030 จากหลายโครงการซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อตอบโจทย์ในด้านนี้โดยเฉพาะ รวมถึงความร่วมมือกับทั้งภาครัฐและเอกชนในหลายประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อสานต่อเป้าหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเครื่องมือที่สำคัญลำดับต้น ๆ ในการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนก็คือ “เทคโนโลยี” ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ยิ่งทำให้ความสำคัญของเทคโนโลยีมีความจำเป็นมากขึ้นไปอีก

หนึ่งในเป้าหมาย 17 ประการขององค์การสหประชาชาติก็คือ การกระจายโอกาสด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง โดยข้อมูลล่าสุดจาก UN ระบุว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา
แย่ลงกว่าเดิม คาดการณ์ว่ามีนักเรียนกว่า 500 ล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาทางไกลได้ จึงเป็นโอกาสที่เทคโนโลยีสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเมื่อเดือนกันยายน ปี 2020 ที่ผ่านมา องค์การยูเนสโกร่วมมือกับหัวเว่ย ในโครงการ ‘Technology-enabled Open School for All’ เพื่อออกแบบ ทดลอง และขยายผลจำนวนโรงเรียนที่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างเป็นระบบ โดยเริ่มในประเทศอียิปต์ เอธิโอเปีย และกานา เพื่อให้นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงการศึกษาได้ด้วยโครงข่ายการเชื่อมต่อที่เสถียรและสมบูรณ์

อีกหนึ่งในเป้าหมายของ UN ที่ได้รับการพิสูจน์ให้เห็นความสำคัญก็คือ การสร้างความมั่นคงในด้านพลังงาน เนื่องจากในช่วงสถานการณ์ที่เกิดโรคระบาด พบว่า 1 ใน 4 ของสถานพยาบาลในประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ UN จึงมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการใช้พลังงานสะอาด เพียงพอ เสถียร ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคน โดยเทคโนโลยีจะช่วยให้การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะนี้ กว่า 60 ประเทศทั่วโลกได้นำโซลูชัน ‘Smart PV’ จากหัวเว่ยไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นการผสานประสิทธิภาพของเทคโนโลยีคลาวด์และ AI เข้าด้วยกัน คาดการณ์ว่าการนำเทคโนโลยีไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าและลดต้นทุนสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 148 ตัน เทียบเท่าการปลูกต้นไม้กว่า 200 ล้านต้น

หัวเว่ยถือเป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์ขององค์การสหประชาชาติที่มุ่งมั่นผลักดันเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง
17 ข้อ ให้สำเร็จลุล่วงภายในปี 2030 ด้วยการแบ่งปันองค์ความรู้และพลังของเทคโนโลยี โดยภายในงาน Mobile World Congress Shanghai 2021 ที่ผ่านมา แคทเธอรีน เฉิน รองประธานอาวุโสและสมาชิกคณะกรรมการบริหารของหัวเว่ยได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “เชื่อมั่นในพลังของเทคโนโลยี” ว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปข้างหน้าจำเป็นต้องปฏิบัติตามแนวทาง 2 ประการ ประการแรกคือการก้าวข้ามความขัดแย้งและเห็นร่วมกันถึงความสำคัญของเทคโนโลยีในการพัฒนามนุษย์ และประการที่สองคือการร่วมกันทำให้เกิดการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อทุกคน

นอกจากเป้าหมายด้านการศึกษาและด้านพลังงานดังที่กล่าวมา เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อโลกที่ดีขึ้นสำหรับทุกคนขององค์การสหประชาชาติอีกทั้ง 17 ข้อ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เรื่องการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกไปจนถึงการแก้ไขปัญหาความยากจนนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้พลังของเทคโนโลยีเป็นตัวเสริม และอาศัย ความร่วมมือของทุกฝ่ายในการเห็นพ้องและเดินไปในทางเดียวกัน เพื่อเปิดให้โอกาสเทคโนโลยีได้ทำงานอย่าง
เต็มประสิทธิภาพและสร้างโลกที่พัฒนาสำหรับทุกคนอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงอย่างแท้จริง

 



ถูกใจบทความนี้  0