ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยแอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟ คือ อนาคตของทุกธุรกิจ

  

การ์ทเนอร์ (Gartner) คาดการณ์ว่า ในปี 2568 แพลตฟอร์มคลาวด์เนทีฟจะเป็นรากฐานสำหรับโครงการดิจิทัลใหม่ ๆ กว่า 95% เพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 2564 ที่น้อยกว่า 40%

 

การพัฒนาไปสู่คลาวด์เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปสำหรับหลาย ๆ บริษัท โดยการพัฒนาที่ว่านี้หมายถึงการโยกย้ายระบบ (Migration) ซึ่งประกอบด้วยหลายขั้นตอน เช่น การสร้างต้นแบบ การทดสอบ และในบางกรณีอาจมีการทดลองใช้งานจริง โดยครอบคลุมช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากระบบคลาวด์มีการพัฒนาปรับปรุงมาโดยตลอด ทำให้ทุกวันนี้เราได้รับประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจากเทคโนโลยีนี้ และยังสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยใช้บริการในรูปแบบของคลาวด์

 

ทั้งหมด คือ ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยแอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟ (หรือ Cloud–Native Application Economy) หรือแอปพลิเคชันที่มุ่งเน้นคลาวด์เป็นหลัก (Cloud-First) โดยประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาก็คือ ในเศรษฐกิจแบบใหม่นี้ ระบบเทคโนโลยีที่เป็นศูนย์กลางจะทำงานอย่างไร และบริษัทต่าง ๆ ควรดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากรูปแบบการประมวลผลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

 

คลาวด์ 1.0 รองรับการดำเนินงานด้านไอที

อย่าลืมว่าเทคโนโลยีคลาวด์อยู่รอบตัวเรามาได้สักระยะแล้ว แต่เป็นรูปแบบของบริการแพลตฟอร์มคลาวด์ (หรือ Cloud-as-a-Platform) ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่ฝ่ายไอที  ขณะเดียวกัน ส่วนงานไอทียังต้องการใช้ระบบคลาวด์เพื่อปรับปรุงความยืดหยุ่น เพิ่มความสามารถในการปรับขนาด ความปลอดภัย รวมถึงโอกาสในการขยายการดำเนินงานไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของโลก โดยอาศัยระบบดาต้าเซ็นเตอร์จำนวนมากที่เชื่อมต่อกันจนกลายเป็นเครือข่ายคลาวด์ที่ครอบคลุมทั่วโลก

 

ที่จริงแล้ว คลาวด์เนทีฟ เป็นเรื่องของการปลดล็อคคุณประโยชน์ที่แท้จริงของคลาวด์ที่ระดับของแอปพลิเคชัน

 

แอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟมีลักษณะที่สามารถประกอบสร้างขึ้นได้ กล่าวคือ แอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถสร้างขึ้นโดยการนำเอาคอมโพเนนต์ที่ดีที่สุดมาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อนำเสนอบริการและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันในรูปแบบผสมผสานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตามกรอบเวลาและจุดให้บริการที่เหมาะสมที่สุด โดยขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานของแอปพลิเคชันนั้น ๆ

 

เนื่องจากแอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟมีลักษณะแยกเป็นส่วน ๆ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นจึงสามารถทำการปรับเปลี่ยนได้อย่างฉับไวเมื่อถึงคราวจำเป็น โดยครอบคลุมขอบเขตกว้างขวาง  ตัวอย่างเช่น การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องหยุดชะงัก เราจึงเห็นบริษัทแท็กซี่รีบเปลี่ยนไปให้บริการส่งอาหารในทันที ขณะที่ร้านขายยาแตกไลน์ธุรกิจไปสู่บริการช่วยเหลือชุมชน ส่วนผู้ผลิตเครื่องดื่มที่มีโรงงานบรรจุขวดก็ปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจอย่างรวดเร็วเพื่อรับจ้างผลิตเจลล้างมือ และยังมีกรณีตัวอย่างอื่น ๆ อีกมากมายที่เกิดขึ้นทั่วโลก

 

ความจริงเบื้องหลังนวัตกรรมเหล่านี้ก็คือ บริษัทต่าง ๆ ที่ว่านี้ใช้เครือข่ายแอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟอยู่แล้ว จึงสามารถปรับตัวและปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจได้อย่างยืดหยุ่นและมีความคล่องตัวสูง

 

คลาวด์สำหรับลูกค้า

ถ้าหากคลาวด์ยุค 1.0 รองรับส่วนงานไอที คลาวด์ 2.0 ก็เริ่มเปลี่ยนย้ายไปสู่ระบบไฮบริดมัลติคลาวด์ตามที่เราพบเห็นกันโดยทั่วไปในปัจจุบัน และทั้งหมดนี้ปูทางไปสู่คลาวด์ 3.0 (ที่อาจมีขั้นตอนอื่น ๆ เพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความที่แตกต่างกัน) เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ ผู้ใช้งาน และการให้บริการลูกค้า

 

ทุกวันนี้ระบบคลาวด์จะทำหน้าที่ให้บริการแอปพลิเคชันสำหรับลูกค้าในระดับที่หนึ่ง แต่ขณะเดียวกันพนักงานก็เริ่มคาดหวังว่าจะได้รับบริการแอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟในระดับเทียบเท่าเพื่อรองรับการทำงาน นับเป็นการพัฒนาต่อยอดที่องค์กรต่าง ๆ ควรตระหนักและยอมรับตั้งแต่ต้น

 

ระบบคลาวด์ที่รองรับการดำเนินงานส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง

ในเรื่องของประสบการณ์ เราจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงการดำเนินงานส่วนหน้า (ลูกค้า) การดำเนินงานส่วนกลาง (ตัวองค์กร) และการดำเนินงานส่วนหลัง (ฝ่ายไอที) ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องทำงานสอดประสานกันเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในทุกขั้นตอน  บริการที่นำเสนอในระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยแอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟจะต้องสามารถปรับขนาดเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โดยที่ผู้ใช้งาน (ภายในหรือภายนอกองค์กร) ไม่สามารถสังเกตเห็นประสิทธิภาพที่ลดลงไม่ว่าจะนำคลาวด์มาใช้ในระดับใดก็ตาม

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นโดยตรงจากระบบพื้นฐานแบบคลาวด์เนทีฟก็คือ ความสามารถในการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคล (Personalisation) รวมถึงการปรับแต่งอย่างละเอียดสำหรับผู้ใช้แต่ละคนในลักษณะที่ปรับเปลี่ยนได้และมีความคล่องตัวสูง โดยองค์กรต่าง ๆ จะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แน่ชัดในระดับที่ละเอียดมากอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการควบคุมการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคลบนแพลตฟอร์มคลาวด์

 

หลีกเลี่ยงงานที่คั่งค้างสำหรับแอปพลิเคชัน

ปัญหางานที่คั่งค้างสำหรับแอปพลิเคชัน (Application Backlog) อาจส่งผลให้ระบบต่าง ๆ มีความเปราะบาง อ่อนแอ และไม่ปลอดภัย และทำให้ลูกค้า ผู้ใช้งาน คนกลาง และพาร์ทเนอร์ไม่สามารถเข้าใช้งานฟีเจอร์และฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ได้อย่างเหมาะสม ขณะที่ฝ่ายไอทีต้องเร่งแก้ไขซอฟต์แวร์ที่มีอยู่โดยใช้วิธีติดตั้งแพตช์เพื่ออุดช่องโหว่ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาข้อมูลรั่วไหลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

เราสามารถขจัดงานที่คั่งค้างสำหรับแอปพลิเคชันได้ด้วยการใช้เครื่องมือแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันประสิทธิภาพสูงที่มีฟังก์ชั่นการพัฒนาแบบ Low Code เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย และพลิกโฉมธุรกิจสู่รูปแบบคลาวด์เนทีฟ  แพลตฟอร์มประสิทธิภาพสูงจะช่วยให้สามารถสร้างแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้วิศวกรซอฟต์แวร์ที่องค์กรมีอยู่เดิม

 

ไอทีเปลี่ยนจากการเป็นต้นทุนไปสู่ศูนย์กลางของการสร้างกำไร

ในอดีต ส่วนงานไอทีถูกมองว่าเป็นศูนย์รวมของต้นทุน (Cost Centre) และก่อให้เกิดภาวะขาดทุนในงบดุลของบริษัท ทว่าในอนาคต ธุรกิจมีความคาดหวังใหม่ ๆ ที่มากขึ้นในด้านไอที

 

ปัจจุบัน ซอฟต์แวร์และธุรกิจจำเป็นต้องพึ่งพากัน โดยซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดทิศทางของธุรกิจ และธุรกิจก็เป็นตัวกำหนดแนวทางการสร้าง ติดตั้ง ใช้งาน จัดการ และดูแลรักษาซอฟต์แวร์ขององค์กร หมายความว่าส่วนงานไอทีได้ปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็นศูนย์กลางการสร้างกำไร (Profit Centre) ให้แก่องค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากองค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ได้อย่างเต็มศักยภาพภายในระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยแอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟ

 

นอกจากนี้เรายังสามารถกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดที่รองรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมแปลกใหม่ รวมไปถึงเพิ่มความคล่องตัวและความสามารถในการปรับตัวเหมือนกับที่บางบริษัทได้แสดงให้เห็นในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด ซึ่งความได้เปรียบดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างรูปแบบการค้าในอนาคตที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นภายในระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยแอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟ  อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ องค์กรธุรกิจจะต้องปรับใช้แอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟ เพื่อให้สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องลำบากถ้าหากยังคงใช้ระบบไอทีแบบเก่า ขณะที่แพลตฟอร์ม Low Code ประสิทธิภาพสูง คือ ทางเลือกใหม่ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจได้อย่างเหมาะสมตามกรอบเวลาที่ต้องการ

 

เกี่ยวกับเอาท์ซิสเต็มส์

เอาท์ซิสเต็มส์ (OutSystems) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 ด้วยพันธกิจในการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่องค์กรต่าง ๆ สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน OutSystems ประกอบด้วยเครื่องมือประสิทธิภาพสูงที่เชื่อมต่อกันและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างและติดตั้งใช้งานแอปพลิเคชันที่หลากหลายได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วนภายในองค์กร ด้วย Community member กว่า 435,000 ราย พนักงานมากกว่า 1,500 คน พันธมิตรกว่า 350 ราย และลูกค้าหลายพันรายใน 87 ประเทศ ใน 22 กลุ่มอุตสาหกรรม ธุรกิจของเอาท์ซิสเต็มส์ครอบคลุมทั่วโลก และช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัทฯ ได้ที่ www.outsystems.com หรือติดตามเราบน Twitter @OutSystems หรือ LinkedIn ที่ https://www.linkedin.com/company/outsystems.

ถูกใจบทความนี้  0