Dell Future Ready Tour 2016 องค์กรในเอเชียแปซิฟิก แย้ม ธุรกิจดีขึ้น เพราะใช้ระบบไอทีแห่งอนาคต

01 Dell Future Ready Tour 2016

 กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 30 สิงหาคม 2559 – เดลล์ เผยผลการรายงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เกี่ยวกับการศึกษาทั่วโลกที่จัดทำโดยไอดีซี บริษัทวิเคราะห์ชั้นนำโดยมีเดลล์เป็นผู้สนับสนุนการจัดทำ ซึ่งผลการศึกษาเน้นให้เห็นความเกี่ยวข้องอย่างจริงจังระหว่างนวัตกรรมไอทีและผลลัพธ์ทางธุรกิจขององค์กรธุรกิจในภูมิภาคดังกล่าว  การศึกษาจัดทำขึ้นโดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 2,500 คนจาก 11 ประเทศทั่วโลก โดยเน้นให้เห็นถึงการปรับปรุงธุรกิจที่สามารถวัดผลได้ 8 ประการ ทั้งนี้เป็นผลจากการนำระบบไอทีที่พร้อมรองรับอนาคตมาใช้ โดยมีการติดตามผลเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2012 จนถึงปี 2015

 

02 Dell Future Ready Tour 2016

03 Dell Future Ready Tour 2016

04 Dell Future Ready Tour 2016

05 Dell Future Ready Tour 2016 06 Dell Future Ready Tour 2016
·        องค์กรที่พร้อมรับอนาคตส่วนใหญ่ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น พบว่าการใช้ระบบไอทีที่พร้อมรับอนาคต ทำให้ปัจจัยบ่งชี้ทางธุรกิจดีขึ้น 8 ประการ

·        ทำให้ความพึงพอใจของลูกค้า การรักษาลูกค้า และการเติบโตของรายได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มขึ้นกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

·        ประสิทธิภาพการดำเนินงานเพิ่มขึ้นกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ทั้งในส่วนของรายได้ หรือยอดขาย/ยอดจอง การส่งมอบสินค้าและบริการให้กับลูกค้า รวมถึงการดำเนินงานได้สอดคล้องตามกฏเกณฑ์ การออกสินค้าและบริการใหม่สู่ตลาด รวมถึงการได้มาซึ่งลูกค้าใหม่

·      ผลิตผลการทำงานของพนักงานดีขึ้น 39 เปอร์เซ็นต์

 

ทั้งนี้ในการจัดอันดับ ไอดีซี ได้จัดให้ 16 เปอร์เซ็นต์ของบริษัททั้งหมด เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นเฉพาะปัจจุบัน (Current Focused) ส่วนอีก 32 เปอร์เซ็นต์ เป็นองค์กรที่ตระหนักถึงอนาคต (Future Aware) โดยหนึ่งในสามของกลุ่มนี้เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นที่อนาคต (Future Focused) ในขณะที่อีก 18 เปอร์เซ็นต์ เป็นองค์กรผู้สร้างอนาคต (Future Creators) โดยกลุ่มองค์กรผู้สร้างอนาคตนั้นเป็นองค์กรที่มีความพร้อมรับอนาคตมากที่สุด และเป็นผู้นำเรื่องของการใช้แพลตฟอร์มที่ให้ความคล่องตัว รวมถึงบิ๊กดาต้า ส่วนองค์กรที่มุ่งเน้นเฉพาะปัจจุบัน ถูกมองว่าเป็นองค์กรที่ยังคงมุ่งเน้นที่การใช้ระบบไอทีแบบดั้งเดิมหรือยังอยู่ในช่วงแรกของการเดินทางสู่เทคโนโลยี

“ดัชนีองค์กรที่พร้อมสำหรับอนาคต (The Future Ready Enterprise Index) ชี้ให้เห็นว่าองค์กรที่พร้อมรับอนาคตมากที่สุดสามารถนำระบบโครงสร้างแบบควบรวม (Converged Infrastructure) คลาวด์ โซลูชันบิ๊กดาต้า  และระบบวิเคราะห์ มาช่วยเพิ่มความคล่องตัว ขยายขีดความสามารถระบบงาน รวมถึงเรื่องสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจได้ประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้ตามเอกสาร White Paper ได้มีการจับคู่สี่ขั้นตอนในการเดินทางสู่ความพร้อมสำหรับอนาคต โดยเน้นให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่า “องค์กรที่เป็นผู้สร้างอนาคต” ในเอเชียแปซิฟิก มีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างเด่นชัด ในขณะที่ “องค์กรที่เน้นเฉพาะปัจจุบัน” ค่อนข้างจะมีข้อได้เปรียบน้อยกว่า โดยองค์กรธุรกิจที่ให้ความใส่ใจกับขั้นตอนของการเดินทางและนำวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมมาใช้ในบริบทที่ตรงความต้องการเฉพาะสำหรับธุรกิจ ก็จะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการลงทุนด้านเทคโนโลยี” นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการ เดลล์ คอร์ปอเรชัน (ประเทศไทย) และ ผู้จัดการทั่วไป เดลล์ อินโดจีน กล่าว

กลยุทธ์บิ๊กดาต้า สร้างข้อมูลธุรกิจในเชิงลึกยิ่งขึ้น

องค์กรธุรกิจ ต้องสามารถมองเห็นความเป็นไปในธุรกิจได้อย่างทันท่วงทีในแบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยให้ตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่ผลสำเร็จทางธุรกิจ เนื่องจากปัจจุบันมีจุด Touchpoint หลากหลายมากขึ้นในการเข้าถึงลูกค้า อีกทั้งมีวิธีการใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้องค์กรจำนวนมากมองหาโซลูชันที่จะมาช่วยเชื่อมโยงแหล่งที่มาของข้อมูลต่างๆ รวมถึงข้อมูลหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้องค์กรมีข้อมูลพร้อมใช้อยู่ใกล้เพียงปลายนิ้วมือในเวลาที่ต้องการ เพื่อใช้รองรับการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง  แต่เดิมโซลูชันที่ว่านี้ยังไม่มีในตลาด และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะมาช่วยวางแนวคิดพร้อมกับพัฒนาให้เป็นรูปร่างขึ้นมา

ดัชนีองค์กรที่พร้อมสำหรับอนาคต พบว่าองค์กรที่มุ่งเน้นเฉพาะปัจจุบันไม่ได้มีกลยุทธ์ด้านบิ๊กดาต้าและการวิเคราะห์ (BDA) หรือมีแต่น้อยมาก และข้อมูลที่ได้จาก BDA ก็แทบไม่ช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น ในทางกลับกัน องค์กรผู้สร้างอนาคต ได้นำกลยุทธ์ BDA มาใช้ทั่วทั้งองค์กร นอกจากนี้ที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจก็มีความสนใจอย่างจริงจังกับผลวิเคราะห์ที่ได้จากข้อมูลบิ๊กดาต้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียแปซิฟิก 98 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีอำนาจตัดสินใจที่อยู่ในองค์กร “ผู้สร้างอนาคต” สามารถเข้าถึง BDA เวลาที่มีเหตุการณ์สำคัญได้ทันที เมื่อเทียบกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรที่มุ่งเน้นเฉพาะปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 58% เท่านั้น

โซลูชันคลาวด์ ช่วยให้ใช้ระบบโครงสร้างพื้นทางและทรัพยากรด้านข้อมูลได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ตามเอกสาร White Paper ยังพบว่าหน่วยงานด้านธุรกิจที่อยู่ในองค์กรที่มุ่งเน้นเฉพาะปัจจุบัน ไม่สามารถใช้กลยุทธ์ด้านไอทีบนคลาวด์ได้ แต่ใช้ซอฟต์แวร์เชิงการบริการ (SaaS) รวมถึง แพลตฟอร์มเชิงการบริการ (PaaS) และระบบโครงสร้างพื้นฐานเชิงการบริการ (IaaS) เป็นส่วนๆ แทน  ในทางกลับกัน ผู้สร้างอนาคต สามารถเก็บรักษาแคตตาล็อก รวมถึงทำการตรวจสอบ รักษาความปลอดภัยและควบคุมข้อมูลผ่านคลาวด์ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ขององค์กร “ผู้สร้างอนาคต” แจ้งว่าการนำคลาวด์มาใช้ ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในธุรกิจได้  และหลายองค์กรพบว่าสามารถใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรด้านข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เหล่านี้ ช่วยให้ผู้ตอบแบบสอบถามหลายรายสามารถติดตามการใช้งานและประสิทธิภาพการทำงานได้ นำไปสู่การเพิ่มผลิตผลทางธุรกิจและได้รับผลลัพธ์ที่ดีขึ้นทั่วทั้งองค์กร

ตัวอย่างขององค์กร “ผู้สร้างอนาคต” ที่ประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ เพื่อช่วยให้ใช้ทรัพยากรไอทีและข้อมูลได้อย่างเต็มประโยชน์ ก็คือโรงพยาบาลสมิติเวช ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำที่ให้บริการดูแลสุขภาพในประเทศไทย โดยมีเครือข่ายด้านการอำนวยความสะดวกและมีมืออาชีพด้านการดูแลสุขภาพจำนวน 3,000 คนไว้คอยให้บริการ  โรงพยาบาลสมิติเวช ออกเดินทางสู่ความพร้อมสำหรับอนาคตด้วยการอัพเกรดระบบโครงสร้างพื้นฐานไอที เช่นดาต้า เซ็นเตอร์ สตอเรจ คลาวด์ คอมพิวติ้ง และระบบกู้คืนข้อมูลหรือ Data Recovery  ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้ช่วยให้สถาบันแห่งนี้สามารถนำเสนอบริการแก่คนไข้ได้คุ้มค่าใช้จ่ายยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยบริการที่ดีขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้น

ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบควบรวม ช่วยให้ใช้สินทรัพย์ธุรกิจและไอทีได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ

ระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบผสมผสาน กลายเป็นสิ่งที่เพิ่มความซับซ้อนและนำไปสู่ค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่สูงขึ้น เสียเวลามากขึ้นในการบริหารจัดการและดูแลรักษาระบบ อีกทั้งยังทำให้ส่งมอบการบริการได้ช้าลง และเมื่อองค์กรขยายใหญ่ขึ้น เทคโนโลยีใหม่มักจะทำงานไม่เข้าขากับระบบโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่ใช้อยู่ ต้องมีการอัพเกรดแบบรื้อถอนหรือเปลี่ยนใหม่ ทำให้ต้องเรียนรู้ระบบใหม่มากขึ้นและไม่สามารถระบุช่วงเวลาคืนทุนที่แน่นอนได้  ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็น “ผู้สร้างอนาคต” ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เน้นให้เห็นถึงประโยชน์หลัก 4 ประการที่องค์กรได้รับจากการใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์ คอนเวิร์จ ได้แก่เรื่องของการใช้ทรัพยากรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พนักงานไอทีทำงานได้ผลิตผลมากยิ่งขึ้น รวมถึงเรื่องของความคล่องตัวที่เพิ่มมากขึ้นและมีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้นในการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานตามการเปลี่ยนแปลงในตลาดได้

ใช้มุมมองเชิงลึกเพื่อพัฒนาไปสู่ความพร้อมสรรพสำหรับอนาคต

ผลลัพธ์ที่ได้นั้นชัดเจน การนำเทคโนโลยีล้ำหน้าที่ให้ความพร้อมสำหรับอนาคตมาใช้ช่วยให้ได้รับประโยชน์ทางธุรกิจ แต่องค์กรที่มีการวางโครงสร้างเพื่อให้พร้อมสำหรับอนาคตมากที่สุด ก็คือองค์กรที่เป็นผู้สร้างอนาคต ซึ่งก็จะได้รับประโยชน์มากที่สุดเช่นกัน  การนำเทคโนโลยีเช่น คลาวด์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบควบรวม (Converged Infrastructure) และระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (BDA) มาใช้ ก็จะทำให้องค์กรทุกขนาดธุรกิจสามารถเปลี่ยนไอทีให้กลายเป็นกลไกในการขับเคลื่อนธุรกิจได้ในเชิงรุก และได้รับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น

 

ในขณะเดียวกัน เดลล์ ยังได้เผยผลการศึกษาเรื่องคนทำงานแห่งอนาคต the Future Workforce Study โดยมีเดลล์และอินเทลร่วมสนับสนุนในการจัดทำ ทั้งนี้ผลการศึกษาระบุว่าแนวโน้มเทคโนโลยีโลกกำลังเปลี่ยนโฉมสถานที่ทำงานสมัยใหม่ โดยแสดงให้เห็นว่าพนักงานหลายคนเชื่อว่าสถานที่ทำงานปัจจุบันใช้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีล่าสุดอย่างไม่มีประสิทธิภาพ แต่ก็คาดหวังให้พนักงานเหล่านี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากหลายคนมองว่าการทำงานจากนอกสถานที่ทำงานได้ เป็นการให้ประโยชน์ทั้งในแง่ของคุณภาพชีวิตและผลิตผลของงาน

 

เกือบครึ่งของพนักงานทั่วโลกเชื่อว่าสถานที่ทำงานในปัจจุบันยังไม่มีความสมาร์ทพอ ในขณะที่อีก 42 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานรุ่นใหม่ (millennial) กล่าวว่าตนประสงค์จะออกจากงานหากเทคโนโลยีในออฟฟิศไม่ได้มาตรฐานตามที่คาดหวัง ทั้งนี้เครื่องมือที่ช่วยในการประสานการทำงานร่วมกันเช่น Collaborative Tools ต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีที่ให้นวัตกรรมใหม่เช่น IoT และเทคโนโลยีเสมือนจริงจำพวก VR (Virtual Reality) จะกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสถานที่ทำงานในอนาคตอันใกล้

 

การศึกษาเรื่องสถานที่ทำงานแห่งอนาคตประจำปี 2016 (Future Workforce Study) เป็นการสำรวจความคิดเห็นจากพนักงานที่ทำงานเต็มเวลาเกือบ 4,000 คน จากองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก กลางและใหญ่ ใน 10 ประเทศ โดยเผยว่ากว่าครึ่ง (57 เปอร์เซ็นต์) ของพนักงานทั้งหมดเชื่อว่าตัวเองจะได้ทำงานกับออฟฟิศที่มีความสมาร์ทภายใน 5 ปีข้างหน้า ในขณะที่อีก 51 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าเทคโนโลยีที่ดีขึ้นจะทำให้การประชุมแบบที่ต้องมาพบปะเจอหน้ากลายเป็นเรื่องซ้ำซ้อนเกินความจำเป็นในอีก 5 ปีข้างหน้า

 

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีใหม่ที่หลังไหลเข้ามามากมาย ส่งผลกระทบอย่างจริงจังต่อคนทำงาน เพราะทำให้พนักงานคาดหวังจากนายจ้าง ซึ่งสถานที่ทำงานที่ไม่ได้นำความล้ำหน้าเหล่านี้มาใช้จะกลายเป็นผู้ล้าหลัง “สถานที่ทำงานกำลังมาถึงจุดเปลี่ยน” คนทำงานในปัจจุบันมีความคาดหวังมากขึ้นว่านายจ้างจะนำเทคโนโลยีล่าสุดเหล่านี้มาผสานรวมเข้ากับชีวิตการทำงานของคนเหล่านี้ได้อย่างรื่นไหลและให้ความปลอดภัย” อโณทัย กล่าว “นายจ้างได้รับประสบการณ์ตรงโดยพบว่าเทคโนโลยีใหม่ช่วยให้งานดีขึ้น พร้อมกับต้องการนำความก้าวหน้าใหม่ๆ เหล่านี้มาเพิ่มประสิทธิผลของงานยิ่งขึ้นไปอีก  ในขณะที่เรื่องนี้อาจนับเป็นความกังวลใจอยู่บ้าง แต่ก็เป็นโอกาสสำคัญสำหรับธุรกิจในการที่จะทำให้บริษัทก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าในการเป็นสถานที่ทำงานแห่งอนาคตและสร้างคนทำงานแห่งอนาคตได้”

 



ถูกใจบทความนี้  1