บรรยากาศงาน กสทช. เผยแพร่ความรู้เรื่องผลกระทบของการตั้งสถานีฐานสู่ 5 ภูมิภาค

    สวัสดีครับ วันนี้มาบอกเล่าประสบการณ์ที่ได้ไปร่วมงานสัมมนาเรื่อง “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานระบบโทรศัพท์มือถือมีผลต่อสุขภาพจริงหรือ ไม่” ที่จัดโดย กสทช. หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ โดยครั้งนี้เป็นการจัดงานครั้งที่ 6 แล้วครับ ซึ่งปัญหาการติดตั้งเสาสัญญาณมือถือในแหล่งชุมชนนั้นมีปัญหามาอย่างยาวนาน ทางโอเปอร์เรเตอร์เองก็พยายามสื่อสารและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับ ประชาชนในพื้นที่ แต่ที่ผ่านมาก็ยังเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทาง กสทช. จึงริเริ่มจัดงานสัมมนาในเชิงวิชาการ เกี่ยวกับปัญหาของการติดตั้งเสาสัญาณมือถือในแหล่งชุมชนนั้นมีผลกระทบและมี ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรบ้าง

งานจัดขึ้น ณ ห้องตำหนักน้ำ โรงแรมชลอินเตอร์ จังหวัดชลบุรี

ซึ่งทางดีแทคเป็นผู้ประสานและอำนวยความสะดวกในการเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณทางดีแทค มา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ


งาน สัมนาในหัวข้อ “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานระบบโทรศัพท์มือถือมีผลต่อสุขภาพจริงหรือ ไม่” ทาง กสทช. จัดมาแล้ว 5 ครั้ง โดยจะกระจายไปยังภูมิภาคและจังหวัดต่าง ๆ ตามที่เห็นสมควร สำหรับครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6 และเลือกมาจัดงานที่จังหวัดชลบุรีครับ และในงานได้มีการเชิญประชาชนทั่วไป ที่อยู่ในแหล่งชุมชนและได้รับผลกระทบจริง ๆ รวมไปถึง หน่วยงานของรัฐ  นิสิตนักศึกษา ตลอดจนบริษัทห้างร้านต่าง ๆ เข้ามาร่วมงานด้วย เรียกว่ามาเปิดกว้างไม่จำกัดผู้เข้าร่วมงานเลยครับ


วิทยากรในงานจะประกอบไปด้วย บุคลากรที่มาจากฝั่ง กสทช. และ ทีมวิทยากรจากกระทรวงสาธารณสุข

ซึ่งมีรายชื่อตามนี้

ดร.อาจณรงค์  ฐานสันโดษ

Scientist Emeritus, Health Canada

ที่ปรึกษาทางวิชาการ สำนักมาตรฐานและเทคโนโลยีโทรคมนาคม

– นายดำรงค์  วัสโสทก

ผู้อำนวยการสำนักการอนุญาตและกำกับวิทยุคมนาคม

– นางนุสรา  หนาแน่น

ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและเทคโนโลยีโทรคมนาคม

– นายชัยยุทธ  มังศรี

ผู้อำนวยการสำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

ทีมวิทยากรจากกระทรวงสาธารณสุข

– นายแพทย์พิบูล  อินสสระพันธุ์

รองผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค

– นายพรเทพ  จันทร์คุณาภาส

นักฟิสิกส์รังสีชำนาญการพิเศษ  สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์

กรมวิทยศาสตร์การแพทย์

ดำเนินรายการโดย  คุณศตกมล  วรกุล


สำหรับ เนื้อหาในงานจะมีทั้งในส่วนที่เป็นวิชาการเชิงวิทยาศาตร์ และข้อมูลทางวิจัย ซึ่งมีเนื้อหาที่ค่อนข้างหนักและเยอะพอสมควร ผมจึงขอเรียบเรียงใหม่ คัดเฉพาะส่วนที่เป็นไฮไลท์มาบอกเล่าให้ฟังนะครับ


ปัญหาการติดตั้งเสาสัญญาณในพื้นที่ชุมชนที่มีมาอย่างยาวนาน ประกอบไปด้วย

1. ข้อมูลทางเชิงวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน

2. อคติของนักวิชาการอิสระทั้งในและต่างประเทศ (บางส่วน) และการนำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียว

3. การสื่อสารทำความเข้าใจถึงข้อเท็จจริง ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ค่ายโอเปอร์เรเตอร์ และประชาชนทั่วไป นั้นยังขาดความเข้าใจที่ตรงกัน


จึง ทำให้เห็นปัญหาและผลกระทบที่ตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการฟ้องร้อง ทั้งทางแพ่งและอาญา และการปลูกฝังควงามเข้าใจอย่างผิด ๆ ในชุมชน


หลังจากบอกเล่าในส่วนของปัญหาแล้ว คราวนี้มาดูข้อเท็จจริงทางฝั่งนักวิชาการ และข้อมูลทางวิทยาศาตร์ที่ผ่านการรับรองแล้ว

เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีผลกระทบและอันตรายกับมนุษย์นั้นมีอะไรบ้าง สามารถดูจาก Infographic ที่ทางค่ายดีแทคจัดทำตามรูปตัวอย่างได้เลยครับ

อย่างที่เห็นกันนะครับ ช่วงคลื่นที่เห็นตามภาพนั้นจะมีการแบ่งเป็นสามส่วนด้วยกัน คือคลื่นที่ไม่ก่อมะเร็ง  คลื่นที่เสียงต่อการเกิดมะเร็ง และสุดท้ายคือคลื่นอันตราย

จะเห็นได้ว่า คลื่นวิทยุหรือคลื่นแม่เหล็กจากเสาสัญญาณมือถือนั้นไม่ได้อยู่ในกลุ่มของคลื่นอันตรายแต่อย่างใด

 


คราว นี้มาดูกันต่อกับกลุ่มเสียงมะเร็งที่มีการแบ่งแยกไว้ โดยข้อมูลทางวิชาการกันครับ ซึ่งในส่วนของเสาสัญญาณนั้นจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม 2B เพราะยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่จะก่อมะเร็งในมนุษย์


ข้อมูล จากองค์การอนามัยโลกออกมาการันตีแล้วว่า คลื่นที่มีความถี่ระดับต่ำไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และหน่วยงานวิจัยมะเร็งขององค์การอนามัยโลกได้ศึกษาแล้วว่าสนามแม่เหล็ก ไฟฟ้า และคลื่นความถี่ จากเสาส่งสัญญาณมือถือ ไม่มีความเชื่อมโยงกับการเกิดโรคมะเร็ง



สรุป ส่งท้าย ในเรื่องของมาตรฐานและความปลอดภัย ทาง กสทช. มีมาตรฐานในการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และพบว่าทุกสถานีนั้นมีความแรงของคลื่นต่ำกว่าเป็นพันเท่า และทำได้ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล รวมไปถึงดีกว่าในหลาย ๆ ประเทศด้วยซ้ำ 

งานสัมนาที่ทาง กสทช. จัดมาอย่างต่อเนื่องในหัวข้อ  “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานระบบโทรศัพท์มือถือมีผลต่อสุขภาพจริงหรือ ไม่” จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถสื่อสารให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าใจและรับรู้ ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งในแง่ของเชิงวิชาการและผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะช่วยลดความขัดแย้งและก่อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ กสทช. และ ดีแทค  ที่เชิญไปร่วมงานนะครับ

 

สามารถพูดคุยเกี่ยวกับบทความนี้ได้ที่หน้าเว็บบอร์ดเดิมครับ pdamobiz.com



ถูกใจบทความนี้  1