dtac พร้อมประมูล 4G ผลักดันอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย

   dtac พร้อมร่วมประมูล 4G ทั้ง 1800MHz และ 900MHz เชื่อมั่นการประมูลจะสร้างรายได้เข้ารัฐ ผลักดันเศรษฐกิจไทยให้คึกคักช่วงครึ่งปีหลัง ย้ำพร้อมคืนคลื่น 4.8 MHz นำไปประมูลร่วมกับคลื่น 1800MHz รอไฟเขียวภาครัฐเดินหน้าย้ายคลื่นมอบคืนทันที




นาย ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่าในครี่งปีหลังดีแทคได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างมิติใหม่กับ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ทั้งในแง่ความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเสาโทรคมนาคม-ไฟ เบอร์ออพติกกับทาง กสท โทรคมนาคม เพื่อให้มีการร่วมใช้โครงข่ายโทรคมนาคม และการที่บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด บรรลุข้อตกลงในความร่วมมือกับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ในการนำโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของทั้งสองบริษัทออกมาให้ใช้ร่วมกัน

ดี แทคมุ่งสู่การเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 1800MHz และ 900MHz เพื่อปลดล็อคศักยภาพทางด้านโทรคมนาคมของประเทศ ที่จะนำทรัพยากรคลื่นความถี่และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมมาพัฒนาใช้ ประโยชน์อย่างเต็มที่โดยการให้เข้าถึง (Access) เชื่อมต่อ (Connectivity) และทำให้เกิดการส่งเสริมสู่มาตรฐาน การบริการ กระตุ้นให้ระบบนิเวศด้านโทรคมนาคมมีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการกำหนดเป้าหมายให้คนไทยร้อยละ 80  มีการใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน(Active Internet Users) ภายในปี พ.ศ. 2560 ที่สำคัญยังเป็นการตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล (Digital Economy) ที่ต้องผลักดันให้มีพื้นที่บริการอินเทอร์เน็ตบนมือถือได้ครอบคลุมมากที่สุด


“สำหรับ การคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้งานจำนวน 4.8 MHz เพื่อนำไปประมูลคลื่น 1800MHz ขณะนี้ดีแทคอยู่ระหว่างรอขั้นตอน ดังนี้ 1. กระบวนการทางกฎหมายรองรับจากภาครัฐทั้ง กสทช. และ กสท โทรคมนาคม ในการเดินหน้าอนุมัติการย้ายคลื่นและเรื่องสัญญาสัมปทานมาเป็นทางการ โดยขณะนี้ดีแทคยังไม่ได้รับหนังสืออนุมัติอย่างเป็นทางการเพื่อให้ดำเนิน การ  2. กระบวนการทางเทคนิคในการที่บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ย้ายลูกค้าที่ยังเหลืออยู่บนคลื่นที่หมดสัมปทานเพื่อให้คลื่นว่าง และดีแทคจะย้ายลูกค้าที่ใช้งานอยู่บนคลื่น 1800MHz ช่วงเดิมมาแทนที่ โดยการรีฟาร์มมิ่งตามที่กล่าวมานั้น ดีแทคจะต้องใช้เวลาในการย้ายพอสมควรและทดสอบอย่างมั่นใจกับระบบเพราะเป็นการ โอนย้ายลูกค้าที่อยู่บนคลื่น 1800MHz ทั้งประเทศไทย” นายลาร์ส กล่าว

ทั้ง นี้ ดีแทคยังสนับสนุนให้ภาครัฐจัดทำแผนงานคลื่นความถี่ (Roadmap) ในการประมูลและกำหนดเวลาที่จะนำคลื่นความถี่มาประมูลในอนาคตไว้อย่างแน่นอน เพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อการบริหารคลื่นความถี่และประโยชน์สูงสุดกับทุก ฝ่าย ดังนั้นอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะสามารถวางแผนบริหารคลื่นความถี่ได้ล่วงหน้า ทุกฝ่ายจะสามารถนำคลื่นความถี่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคำนวณการออกแบบ โทรคมนาคมให้เพียงพอกับความต้องการในประเทศที่เติบโตมากขึ้นอย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด

“ประเทศ ไทยอยู่ในช่วงเวลาที่มีอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง (mobile broadband) มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด พร้อมกับรัฐบาลมีนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล  ทำให้อุตสาหกรรมมีความต้องการใช้คลื่นความถี่ ในฐานะที่เป็นทรัพยากรที่จำเป็นอย่างยิ่งยวดในการเข้าถึงการใช้งานแบบไร้สาย ทุกประเภท ดังนั้น ท่าทีของรัฐในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการคลื่นความถี่ จึงควรเป็นการส่งเสริมให้มีคลื่นความถี่ในตลาดอย่างเพียงพอต่อการให้บริการ และเข้ามากำกับดูแลแทรกแซงเฉพาะในกรณีที่มีการถือคลื่นความถี่โดยผูกขาดหรือ กีดกันเท่านั้น” นายลาร์ส กล่าวในที่สุด

 



ถูกใจบทความนี้  0