เจาะลึกเทคนิค “Growth Hacking” เพิ่มฐานลูกค้าจากศูนย์ถึงแสนคนในระยะเวลาและงบการทำการตลาดที่จำกัด กับบียอร์น ลี กูรูแห่งวงการสตาร์ตอัพระดับเอเชีย

Bjorn Lee& Meng1

 ปัจจุบันกระแสการทำธุรกิจสตาร์ตอัพนั้นเติบโตขึ้นมาก สตาร์ตอัพไทยในยุคนี้มีความคิดริเริ่มและความคิดสร้างสรรค์ที่อย่างสร้างสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาของคนในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี แต่หลายครั้งที่สตาร์ตอัพไทยมักจะพลาดท่า มองแต่ตลาดและความต้องการของคนภายในประเทศ จนลืมที่จะมองหาโอกาสที่กว้างขึ้นในอนาคต ทำให้ธุรกิจของตัวเองไม่สามารถที่จะต่อยอดหรือขยายไปยังต่างประเทศได้ สิ่งสำคัญที่นักการตลาดหรือผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ตอัพควรคำนึงถึงนั่นคือ การทำธุรกิจให้ก้าวกระโดดและไปได้ไกลกว่าโดยลงลึกในเรื่องของการใช้เทคนิค และเทคโนโลยีมาช่วย เพื่อให้ได้ฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นในระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด เพื่อมัดใจผู้ใช้และขยายตลาดที่กว้างขึ้นในอนาคต หรือเรียกว่า Growth Hacking นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ได้กูรูแห่งวงการสตาร์ทอัพ บียอร์น ลี ผู้อยู่เบื้องหลังและมีประสบการณ์ในการทำงานกับบริษัทสตาร์ทอัพมาก่อน และเป็นหนึ่งในเทรนเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Growth Hacking จากโครงการ ดีแทค เอคเซอเลอเลท batch 5 อีกด้วย 

 

 

 Bjorn Lee_Growth Hacking1 

Bjorn Lee_Growth Hacking7 

Bjorn Lee_Growth Hacking8 

Bjorn Lee_Growth Hacking10 

Bjorn Lee2 

Bjorn Lee3

10 เทคนิคหมัดเด็ดของ Growth Hacking จากบียอร์น ลี

1.          Pick the right battle (fields) หรือ การใช้แพลตฟอร์มทางการตลาดที่ถูกต้อง เช่น สินค้าหรือบริการต้องอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ใช้ง่ายและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว

2.          Make ads your drones หรือ การใช้สื่อโฆษณาที่สร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าและบริการที่สามารถสื่อสารและสร้าไงจุดเด่นของแบรนด์ได้อย่างง่าย เช่น การใช้ influencers ที่เป็นกระบอกเสียงสำคัญ

3.          Everyone is lazy. YouTube หรือ การสร้างจุดเด่นของสินค้าและบริการในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งปัจจุบันแบรนด์ต้องสร้าง content เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการใช้ VDO บน YouTube หรือ Facebook ที่สั้น กระชับและตรงประเด็น จะช่วยให้ลูกค้ามีความสนใจในสินค้าหรือบริการเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

4.          Be a great artist. Steal your competitors PR strategy หรือ การเรียนรู้กลยุทธ์ทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์จากคู่แข่ง เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในอนาคต

5.          Associate with brands cheaply. Hire freelancers smartly หรือ การจัดหาจัดจ้างฟรีแลนซ์ที่มีประสบการณ์มาช่วยในการทำงานและไว้ใจได้ เพื่อช่วยสร้างกำไรและธุรกิจในอนาคต

6.          Positioning for media & mainstream : frame your shit in “X “for “Y” term หรือ ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดและการสื่อสารที่ง่าย ฉับไว เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่ายและใช้ง่าย

7.          80-20 rule for cold emails หรือ การใส่ key message ที่สำคัญไว้บน subject ของอีเมล์ ทั้งนี้เพื่อสร้างจุดเด่นและทำให้ลูกค้าเข้าใจง่าย ชัดเจน และ ทำให้ลูกค้ารับสารได้อย่างรวดเร็ว เพราะเวลาที่จำกัดของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน

8.          Fake it till you make it หรือการสร้าง community หรือชุมชนเล็กๆเพื่อให้คนอื่นๆที่อยากเข้ามาได้เห็นว่ายังมีคนอื่นๆที่ใช้อยู่ โดยอาจจะเริ่มจาก ครอบครัว เพื่อน หรือ คนรู้จักเข้ามาคอมเมนต์ โพส หรือ แชร์เรื่องราวต่างๆ บนโลกออนไลน์ เพื่อให้คนหมู่มากได้เห็นในอนาคตเพิ่มขึ้น

9.          Plant seeds in forum – หรือ การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Community ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ เพื่อที่แบรนด์จะได้เข้าใจและรับรู้ว่าผู้บริโภคต้องการอะไร

10.     Paying for traffic หรือ การใช้เงินเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การซื้อสื่อบน Facebook หรือ การทำการตลาดออนไลน์ เพื่อให้ได้ลูกค้า 1 รายและเปรียบเทียบกับความคุ้มในระยะยาวของบริษัท

ทั้งนี้บียอร์น ลียังได้เผยถึงความแตกต่างของการทำสตาร์ตอัพในประเทศไทยและต่างประเทศอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงยังได้เล่าถึงทิศทางการทำธุรกิจสตาร์ตอัพไว้ว่า

1.          สตาร์ตอัพไทยมีความคิดริเริ่มและความคิดสร้างสรรค์มากกว่าสตาร์ตอัพในระดับเอเชีย ซึ่งเป็นจุดแข็งสำคัญที่ทำให้เราแตกต่างจากสตาร์ตอัพในฝั่งต่างประเทศ ซึ่งต้องคำนึงถึงปัญหาของการขยายตลาดหรือฐานลูกค้าไปยังต่างประเทศด้วย

2.          การทำธุรกิจสตาร์ตอัพนั้นจะต้องเข้าใจและตอบโจทย์ปัญหาของผู้บริโภคได้ ซึ่งต้องทำการบ้านเป็นอย่างดี ศึกษาตลาด กลยุทธ์และวิธีการทำการตลาดต่างๆเพื่อครองใจผู้บริโภคได้

3.          ทิศทางการทำธุรกิจสตาร์ตอัพในไทยนั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเห็นได้จากการลงทุนของทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้ความสนใจและได้รับการลงทุนเพิ่มจาก VC

สตาร์ทอัพโครงการดีแทค แอคเซอเลอเลท เผยเคล็ดลับการเติบโตทางธุรกิจจาก Growth Hacking

นายปตินันต์ วชิรมน ผู้ร่วมก่อตั้ง Scout Out แอปพลิเคชั่นที่ช่วยการจัดหางาน เพื่อที่ให้คนที่ใช่ได้ไปเจอกับงานที่ชอบโดยผ่านคำแนะนำของเพื่อน หรือ การ refer กล่าวว่า “การใช้เทคนิค Growth Hacking สามารถช่วยธุรกิจในเรื่องของ การวัดผล การหาจุดวัดผล หรือจุดตอบรับที่สามารถชี้ชัดว่าเราอยู่จุดไหนของตลาดและเราจะโตยังไง”

อีเทียน มาร์ แรนคอร์ท ประธานฝ่ายปฏิบัติการ Cookly สตาร์ทอัพแหล่งรวมโรงเรียนสอนทำอาหารจากทั่วทุกมุมโลก กล่าวว่า “การใช้ Growth Hacking ช่วยต่อยอดธุรกิจให้สามารถเติบโตได้  เช่น การใช้เทคนิค 80-20 rule

for cold emails เพราะการสร้างจุดเด่นหรือ impact เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนยุคนี้ ด้วยการดำเนินชีวิตของคนปัจจุบันที่เร่งรีบมักจะทำให้คนไม่สนใจ และ อ่านอะไรที่รวดเร็ว ตรงประเด็น ซึ่งการใช้วิธีนี้ช่วยในเรื่องการตอบ

อีเมล์ให้ลูกค้าเข้าใจได้ง่ายขึ้น และ การซื้อสื่ออย่าง Facebook Ad ที่ครอบคลุมและอยู่บนแพลตฟอร์มที่ลูกค้าเข้าใจได้ง่ายจะช่วยให้การทำธุรกิจเป็นเรื่องง่ายเช่นกัน”



ถูกใจบทความนี้  0