การเลือกวิธีการวางแผนที่เหมาะสำหรับธุรกิจการผลิตของคุณ

ddd

 นาย จาค็อบ บียอร์กลุนด์ ที่ปรึกษาอาวุโส ด้านวิจัยและพัฒนา บริษัท ไอเอฟเอส และ นายแมทส์      โจฮันสัน สถาปนิกด้านผลิตภัณฑ์ ซีพีไอเอ็ม ด้านวิจัยและพัฒนา บริษัท ไอเอฟเอส  ได้สรุปภาพรวมของการวางแผนวิธีต่างๆ ที่มีอยู่ให้กับผู้ผลิตและเวลาที่พวกเขามองว่ามีประโยชน์มากที่สุด

 

Jakob-Bjorklund-business-highres_005874

ระบบวางแผนทรัพยากรขององค์กร (อีอาร์พี) สมัยใหม่  ที่สนับสนุนวิธีการวางแผนในวงกว้าง บางครั้งอาจจะเห็นไม่ชัดเจนว่า วิธีที่มีอยู่วิธีใดที่จะทำให้เกิดผลดีที่สุด เราจะอธิบายอย่างครอบคลุมถึงทางเลือกทั่วไปควบคู่ไปกับการให้คำแนะนำว่าควรจะนำไปปรับใช้เมื่อใด

 

วิธีการวางแผนข้อ 1. ตารางเวลาหลัก และการวางแผนวัสดุตามความต้องการ

            ตารางเวลาหลัก (เอ็มเอส) วางแผนรายการโดยใช้การคาดการณ์และความต้องการที่แท้จริง คำนวณการคาดการณ์สินค้าคงคลัง และจัดทำข้อเสนอการจัดหาขึ้นมา ต้องมีการพิจารณาถึงนโยบายสำรองสินค้าอย่างปลอดภัย และข้อบังคับเกี่ยวกับปริมาณการสั่งซื้อด้วย  ผลลัพธ์ที่ได้คือข้อเสนอการจัดหาตามช่วงเวลาที่เรียกว่า ตารางเวลาการผลิตหลัก (เอ็มพีเอส)

            การวางแผนวัสดุตามความต้องการ (เอ็มอาร์พี) จะใช้เอ็มพีเอสมารวมเข้าไว้กับรายการวัสดุ (บีโอเอ็ม) เพื่อสร้างแผนการจัดหาตามระยะเวลาสำหรับสินค้ากึ่งสำเร็จรูป และความต้องการส่วนประกอบ  เงื่อนไขของการกำหนดขนาดการสั่งซื้อมีอยู่หลายอย่าง เช่น  ระยะเวลา ต้นทุนต่อหน่วยขั้นต่ำ หรือการสั่งซื้อต่อครั้ง การคำนวนเอ็มอาร์พีสามารถทำได้กับส่วนที่มีการกำหนดอย่างชัดเจน ข้ามหน่วยงาน หน่วยงานหลายแห่ง หรือโครงการ ซึ่งตามปกติแล้วมักจะมีการทำเอ็มอาร์พีวันละหนึ่งครั้ง

            ‘เอ็มเอส’ และ ‘เอ็มอาร์พี’ เกิดขึ้นในทศวรรษ 1960 และทุกวันนี้ถือเป็นวิธีการวางแผนที่ใช้กันทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิต ประโยชน์ที่ได้รับครอบคลุมถึงแผนการจัดหาที่เชื่อถือได้ ที่ทอดยาวตลอดช่วงการคาดการณ์ ข้อเสียสองสามอย่างที่เกี่ยวข้องกับเอ็มอาร์พี มีดังนี้

            *การคาดการณ์:  จำเป็นต้องมีความสามารถที่จะคาดการณ์ไปล่วงหน้าอย่างน้อยที่สุด จนถึงช่วงเวลาระหว่างการวางแผนงานกับการผลิต ซึ่งบางครั้งก็มีประโยชน์น้อยกว่าสำหรับการวางแผนการสั่ง ที่ไม่จำเป็นต้องมีการคาดการณ์ถึงระดับวัสดุ

            *บีโอเอ็ม: จำเป็นต้องมีการกำหนดรายการวัสดุ ซึ่งเรื่องอาจไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้งที่ต้องจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น หรือผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบไว้แล้ว

            * แม่นยำเกินไป:  เอ็มอาร์พีมีความเที่ยงตรง ซึ่งอาจกลายเป็นความตึงเครียด และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงข้อความเป็นจำนวนมากในระดับล่าง

            เอ็มเอส/เอ็มอาร์พี ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมของการผลิตเพื่อเก็บเป็นสินค้าคงคลัง (เอ็มทีเอส) ที่ต้องมีการคาดการณ์และค่อนข้างเสถียร โดยเอ็มอาร์พียังถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการผลิตตามคำสั่ง ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องมีการผลิตสินค้าทันทีที่ได้รับคำสั่งเข้ามา

 

วิธีการวางแผนข้อ 2. วางแผนการผลิตตามคำสั่ง

            การวางแผนผลิตตามคำสั่ง เป็นการวางแผนสำหรับสินค้าที่ผลิตตามคำสั่งที่เข้ามา เป็นชุดที่มีความต้องการแตกต่างออกไป เมื่อเทียบกับการวางแผนที่ต้องอาศัยการคาดการณ์  ความสามารถในการเชื่อมโยงการจัดหาเข้ากับความต้องการผ่านโครงสร้างหลายระดับได้กลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ โดยเหตุผลแรกๆ คือการรองรับและการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการจัดหาวัสดุให้กับแหล่งความต้องการที่เหมาะสมในทันทีที่ผลิตเสร็จ

            การติดตามความต้องการที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาตามคำสั่งซื้อ เรียกกันว่า  ปักหมุด  เมื่อเทียบกับแนวคิดเอ็มอาร์พีแล้ว การวางแผนเอ็มทีโอยังต้องการความยืดหยุ่นในระดับที่สูงกว่า

            เอ็มทีโอมักจะเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบไว้แล้วกับพลวัตบีโอเอ็ม      โดยเกณฑ์การวางแผนเอฟทีเอสสำหรับเอ็มทีโอ ที่เรียกว่า การประมวลคำสั่งซื้อแบบพลวัต (ดีโอพี) ยังเป็นการเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมีความยืดหยุ่นในการดำเนินการ

 

วิธีการวางแผนข้อ 3. การวางแผนจุดสั่งซื้อซ้ำหรือจุดสั่งซื้อสินค้าใหม่

            การวางแผนจุดสั่งซื้อซ้ำ (อาร์โอพี) ซึ่งในรูปแบบที่ธรรมดาที่สุดนั้น หมายความว่า ในทันทีที่สินค้าคงคลังลดลงไปอยู่ต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ จะต้องมีคำสั่งซื้อเพื่อเติมสินค้าให้เต็ม

            มีแนวคิดที่ค่อนข้างก้าวหน้าจำนวนหนึ่งสำหรับการคำนวณอาร์โอพี ที่จะต้องบรรลุเป้าทั้งการสำรองสินค้าปลอดภัย และเพิ่มปริมาณสินค้าให้เต็มระดับที่กำหนดไว้ เช่น เป้าหมายระดับการบริการ นอกจากนี้ การวางแผนที่มีฐานอยู่บนอาร์โอบี ยังสามารถได้ประโยชน์จากการคาดการณ์ความต้องการ เพื่อเปิดทางให้จุดสั่งซื้อซ้ำมีระดับการขึ้นๆ ลงๆ สอดคล้องกับแนวโน้มและฤดูกาลต่างๆ

            การวางแผนอาร์โอพี ยังแตกต่างกับเอ็มอาร์พีในแง่ของการทำงานอย่างอิสระในด้านอื่น  ซึ่งเรื่องนี้อาจทำให้เกิดปัญหาทางระบบขึ้นมา หากความต้องการชิ้นส่วนหนึ่งเป็นผลโดยตรงจากความต้องการชิ้นส่วนอื่นๆ หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่าเป็นวิธีการวางแผนที่มีความแข็งแกร่งและเชื่อถือได้ที่สามารถใช้การได้ดีในการค้าอะไหล่สำรองและเครื่องอุปโภคบริโภค

 

วิธีการวางแผน ข้อ 4. คัมบัง

            คัมบังเป็นระบบการดึงที่ต้องการให้มีการไหลเข้ามาจุดชนวนให้เกิดการเคลื่อนไหวด้านการจัดหา โดยวงจรของระบบคัมบังถูกจำกัดด้วยการใช้ตู้สินค้าที่ได้มาตรฐานและบัตรที่แนบมาด้วย

            ในทันทีที่ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าการบริโภคทำให้ตู้สินค้าว่างเปล่าแล้ว ระบบก็จะถอยย้อนกลับแหล่งจัดหา เพื่อดำเนินการเติมสินค้า ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว การใช้หลักการดึงแบบนี้จะช่วยลดดับเบิลยูไอพี และการมีสินค้าคงคลังที่มากเกินไป

            การไหลเข้ามาของวัสดุที่ไม่ซ้ำกัน  (จุดการจัดหา หมายเลขชิ้นส่วน และจุดการบริโภค) ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการระบุเป็นรายชิ้นไป ซึ่งคัมบังทำงานได้ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่ต้องทำงานซ้ำๆ  อย่างเช่นในสถานที่ทำงานที่มีสินค้าป้อนเข้ามาทดแทนกันอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

ควรใช้วิธีการใด

            สำหรับผู้บริหารในระดับสูงนั้น การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการวางแผนที่จะใช้ ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับว่า เป็นการผลิตรูปแบบใด (ผลิตตามคำสั่ง ผลิตเพื่อเป็นสินค้าคงคลัง ฯลฯ) เช่นเดียวกับธรรมชาติของกระบวนการจัดหา

            ด้านล่างจากนี้ เรามีการระบุ และอธิบายถึงกระบวนการจัดหาที่แตกต่างกัน 6 แบบ

            โครงการ: ตามปกติมักจะเป็นการผลิตที่ซับซ้อนของการผลิตครั้งเดียว ที่มักใช้ผลิตตามการออกแบบวิศวกรรม (อีทีโอ)  เหมา:  การผลิตในรูปแบบการทำงานที่มุ่งเน้นในปริมาณขนาดเล็ก มักจะผลิตตามการเจาะจงของลูกค้า  กลุ่ม: การผลิตชิ้นส่วนมาตรฐานเป็นล็อต  ซ้ำ: การผลิตสินค้ามาตรฐานตามอัตรา  การค้า: กระจายผลิตภัณฑ์ผ่านทางเครือข่ายการจัดหาด้วยปริมาณที่ไล่ตั้งแต่ระดับสูงมากจนถึงต่ำ  ชิ้นส่วนสำรอง (อะไหล่): กระจายชิ้นส่วนที่ปกติมักมีความต้องการต่ำและคาดเดาความต้องการไม่ได้

 

คำแนะนำขึ้นอยู่กับสถานการณ์

            ตารางข้างล่างคือคำแนะนำของเรา สำหรับกลยุทธ์การวางแผนที่มีอยู่ เพื่อให้พิจารณาตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป

          

 

 

 

 

 

 

จุดที่ควรพิจารณา

            เอ็มอาร์พีของไอเอฟเอส สามารถดำเนินการได้จากส่วนเดียว เพื่อสร้างการจัดหาสำหรับคำสั่งซื้อใหม่ โดยพิจารณาจากสถานที่และเครือข่ายการวางแผน ซึ่งรวมถึงสถานที่หลายแห่ง เครือข่ายการวางแผนทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะเกิดความร่วมมือวางแผนระหว่างกัน อาทิ สถานที่หนึ่งส่งชิ้นส่วนเข้าไปยังโรงงานประกอบ ขณะที่เอ็มอาร์พีก็ทำงานในด้านการผลิตตามคำสั่งซื้อและทำซ้ำ  โดยยิ่งดีโอพีและคัมบังมีกระบวนการที่เจาะจงมากเท่าใด ก็จะยิ่งให้ผลที่ดีขึ้นเท่านั้น

            การวางแผนโดยมีพื้นฐานอยู่บนอาร์โอพี ยังมักถูกนำไปใช้สร้างตัวรองรับในสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ขึ้นอยู่กับความต้องการเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งอาจเพื่อลดระยะเวลารอคอยสินค้าสำหรับวัสดุที่จำเป็นหรือรองรับความต้องการที่หลากหลาย ซึ่งการกระจายสินค้าที่มีจำนวนจำกัดในปริมาณสูงจะได้รับประโยชน์จากเอ็มเอส 

            นอกจากนี้ การใช้จุดสั่งซ้ำยังจะช่วยให้วางแผนสำหรับการไหลของสินค้าที่มีความต้องการหลากหลายสูงและมีชิ้นส่วนจำนวนมากได้ดีขึ้นด้วย

 

ควรพิจารณาถึงการนำวิธีต่างๆ มารวมกันไว้หรือไม่

            บริษัทส่วนใหญ่จะมองหาการรวมวิธีเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งที่ไอเอฟเอส เราเรียกว่าเป็นการวางแผนแบบผสมผสาน และเกิดขึ้นใน 2 รูปแบบด้วยกัน

            1. ผลิตภัณฑ์บางอย่างผลิตขึ้นมาเพื่อเก็บสำรองไว้ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เป็นการผลิตตามคำสั่ง

            2. ตำแหน่งของจุดตัดความสัมพันธ์: ในการที่จะลดระยะเวลารอคอยสินค้าและการชะลอการผลิตตามรายละเอียดในขั้นตอนสุดท้ายนั้น เป็นเรื่องปกติที่จะใช้จุดตัดความสัมพันธ์ โดยจุดนี้ถือเป็นกันชนสินค้าคงคลังแบบปกติ โดยเมื่อกระบวนการปฏิบัติตามคำสั่งเริ่มต้น และทันทีที่มีคำสั่งเข้ามา กลยุทธ์การวางแผนที่แตกต่างออกจะถูกประยุกต์ใช้เข้ากับทั้งต้นน้ำและปลายน้ำจากจุดตัดความสัมพันธ์

            บริษัทด้านการผลิตจำนวนมากจะได้รับประโยชน์จากการนำแผนการต่างๆ มาใช้แบบผสมผสาน รวมถึงการที่จะนำวิธีการวางแผนต่างๆ มาผสมผสานกันได้อย่างไรนั้นจะมีข้อมูลเพิ่มเติมในบทความต่อๆ  ไป  หวังว่าคุณจะได้ประโยชน์จากการสรุปภาพรวมของวิธีการวางแผนต่างๆ (และเวลาที่ควรนำไปพิจารณาประกอบร่วมด้วย)

 

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดดูที่แหล่งข้อมูลต่อไปนี้

IFS Applications for Demand Planning | Brochure

IFS Inventory Planning and Replenishment | Executive Summary

Minimize waste through continuous improvement with IFS Kanban | Executive Summary



ถูกใจบทความนี้  0