พลิกกลยุทธ์การอัปเกรดระบบ ก่อนยุติการสนับสนุนวินโดวส์ Servers 2003

ชิ ว เทน อิ (Q) ผู้จัดการฝ่ายการตลาดประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ศูนย์ไอทีอินเทล เผยความสำคัญของการวางแผนอัปเกรดระบบในระยะยาว

สำหรับผู้ จัดการฝ่ายไอทีบางท่านแล้ว “การอัปเกรดเทคโนโลยี” อาจจะเป็นคำพูดที่ไม่น่าฟังนัก แม้แต่บริษัทอย่างอินเทลก็ตาม ยังต้องหาเหตุผลมากมายมารองรับหากต้องการจะเปลี่ยนแปลงระบบเซิร์ฟเวอร์ของ องค์กร และจะมีการจัดการอย่างเร่งด่วนก็ต่อเมื่อเจอปัญหาการยุติการสนับสนุน เทคโนโลยีเก่า อย่างเช่นในกรณีของวินโดวส์ Servers 2003 ที่พ้นระยะการสนับสนุนในวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ตามกฎของมัวร์แล้ว ชิปประมวลผลในตลาดจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นหนึ่งเท่าตัวในทุกๆ 18 เดือน ดังนั้น องค์กรหลายแห่งจึงเลือกที่จะเปลี่ยนคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์ แบบพกพา ทุกๆ 3-5 ปี เพื่อให้สมรรถนะของระบบทัดเทียมกับคู่แข่ง แต่ทว่าผู้จัดการฝ่ายไอทีจำนวนมากมักไม่ให้ความสนใจในการอัปเกรดฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ของเซิร์ฟเวอร์ ทั้งๆ ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้น เปรียบเสมือนหัวใจหลักที่ทำให้องค์กรดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างราบรื่น

หากองค์กรไม่สามารถถ่ายโอนและอัปเกรดระบบมา ใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ทันสมัยได้ ก็จะทำให้โครงสร้างด้านไอทีมีประสิทธิภาพต่ำกว่ามาตรฐานตลาดไปอีกหลายปี ดังจะเห็นได้จากชิปประมวลผลรุ่นปัจจุบัน มีประสิทธิภาพในการคิดคำนวณสูงกว่าชิปในเซิร์ฟเวอร์รุ่นสิบปีก่อนถึงเกือบ 20 เท่าตัว ขณะที่ระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ๆ ก็สามารถรองรับการใช้งานเซิร์ฟเวอร์เสมือน (Virtual Server) ได้ในจำนวนที่มากกว่า จึงมีสมรรถนะการใช้งานโดยรวมที่สูงขึ้นอย่างมหาศาล

จากรายงานวิจัยของไอดีซีในหัวข้อ “มูลค่าเชิงธุรกิจของการอัปเกรดสู่วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2012[1]” พบว่าระบบปฏิบัติการรุ่นนี้จะรองรับการใช้งานเซิร์ฟเวอร์เสมือน (Virtual Server) ได้มากกว่าวินโดวส์ Servers 2003 อยู่ถึง 12.5 ถึง 16.6% ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของศูนย์ข้อมูล ทำให้ใช้พื้นที่ได้คุ้มค่ามากขึ้น และลดค่าใช้จ่ายลงได้อีกด้วย

หากมีการอัปเกรดมาใช้ทั้งชิปประมวลผลและ ระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุดแล้ว เซิร์ฟเวอร์ของคุณก็จะมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพมากขึ้น สามารถรองรับแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ รองรับการปฏิบัติงานแบบอัตโนมัติ การบริหารจัดการอุปกรณ์พกพาต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมาย

หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ การใช้ชิปอินเทล ซีออน รุ่นล่าสุดควบคู่กับวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2012 ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ชุดนี้ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษให้ทำงานเข้าคู่กัน ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เทคโนโลยี Hyper-V ของไมโครซอฟท์จะช่วยให้คุณสามารถดึงพลังที่แท้จริงของเซิร์ฟเวอร์ระดับ 8 หน่วยประมวลผลออกมาใช้งานได้เต็มที่ เมื่อจับคู่กับชิปอินเทล ซีออน ตระกูล E7
ขณะที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2012 ก็ออกแบบมาให้ใช้คุณสมบัติด้านการประหยัดพลังงานของชิปซีออนอย่างคุ้มค่า จึงลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ราว 15% เมื่อเทียบกับฮาร์ดแวร์ชุดเดียวกันที่ใช้วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 R2

ส่วนใครที่ยังใช้วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 อยู่ อาจต้องเผชิญกับความท้าทายเป็นอย่างมาก ในการมอบความพึงพอใจให้กับทั้งลูกค้าและพนักงาน และยังอาจเกิดปัญหาการช่วงชิงบุคลากรที่มีความสามารถ การเอาชนะใจลูกค้า และเสียผลประโยชน์ในการแข่งขันในตลาด

วางแผนเพื่อเตรียมการอัปเกรด

ผู้จัดการฝ่ายไอทีจำนวนมากยังเชื่อในหลักการแบบเก่าว่า “ถ้าไม่เสีย ก็อย่าซ่อม” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ที่มักเน้นแนวคิดด้านการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นมากเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับองค์กรในภูมิภาคอื่น

การอัปเกรดเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในวงจรชีวิต ของโลกไอที โดยในปี 2550 อินเทลได้เผยแพร่งานวิจัยที่มีข้อสรุปว่าการอัปเกรดระบบโครงสร้างพื้นฐานของ ศูนย์ข้อมูลเป็นประจำทุกๆ 4 ปี จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในภาพรวมลงได้[2] แทนที่จะอัปเกรดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้ต้องรอคอยกันนานกว่าสิบปี

อินเทลเองมีศูนย์ข้อมูลอยู่ทั่วโลก 64 แห่ง ในเดือนมกราคมปี 2557 เรามีเซิร์ฟเวอร์เสมือนที่ใช้วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 อยู่ 18,000 ตัว ก่อนที่จะลดลงเหลือเพียงแค่ 2,000 ตัวในปัจจุบัน โดยเรามีเป้าหมายที่จะยุติการใช้วินโดวส์รุ่นเก่านี้ลงอย่างสิ้นเชิงภายใน ระยะเวลาอีกสองเดือนข้างหน้า โดยที่กระบวนการอัปเกรดระบบทั้งหมด นับตั้งแต่การวางแผนในขั้นเริ่มแรกเป็นต้นมา กินเวลาทั้งสิ้นรวม 20 เดือน

ด้วยกลยุทธ์และแผนงานที่ชัดเจน และการอัปเกรดอย่างสม่ำเสมอ อินเทลจึงได้รับผลกระทบจากการยุติการสนับสนุนวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยในช่วงขั้นตอนเริ่มแรกของการอัปเกรดระบบศูนย์ข้อมูลนั้น เรามีเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 อยู่ไม่ถึงครึ่ง จึงทำให้ขั้นตอนการถ่ายโอนระบบมีความซับซ้อนน้อยกว่า และกินเวลาสั้นกว่าองค์กรอื่นๆ ที่ไม่ได้อัปเกรดระบบอย่างสม่ำเสมอ

แต่เดิม กลุ่มธุรกิจต่างๆ ของอินเทลต่างต้องแบ่งปันทรัพยากรระบบในศูนย์ข้อมูลเพื่อใช้งานร่วมกัน เราจึงเลือกอัปเกรดระบบเป็นส่วนๆ ไปตามงบประมาณของแต่ละกลุ่ม ต่อมา เราตัดสินใจควบรวมระบบไอทีขององค์กรเข้าเป็นหนึ่งเดียว โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยลง 10% ซึ่งทำให้สามารถเพิ่มศักยภาพของระบบได้ราว 10-30% ต่อปีอีกด้วย

ออกแรงให้น้อยลง แต่ได้ผลมากขึ้น

หากไม่มีการบริหารศูนย์ข้อมูลในระยะยาวแล้ว การทำงานให้ได้ผลมากโดยออกแรงให้น้อยลงก็คงจะเป็นเรื่องยาก ถึงแม้ว่าการอัปเกรดระบบจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ไม่น้อย แต่การลงทุนนี้จะสร้างผลตอบแทนกลับมาได้อย่างคุ้มค่าทีเดียวในช่วง 3-4 ปีข้างหน้า

แต่ก่อนจะเดินหน้าลงทุน คุณอาจจะต้องหาแรงสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร และขอเงินทุนจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทด้วย หากคุณต้องเจอกับประธานฝ่ายการเงินที่เน้นข้อมูลด้านตัวเลข คุณก็จะต้องแสดงถึงอัตราผลตอบแทนที่จะได้กลับคืนมาในระยะยาวเพื่อสร้างความ เชื่อมั่นเสียก่อน

ไม่ว่าคุณจะเผชิญกับเส้นตายการยุติการสนับสนุนของผลิตภัณฑ์ ใดอยู่หรือไม่ก็ตาม คุณควรผลักดันให้มีการวางแผนการอัปเกรดระบบอย่างน้อยหนึ่งครั้งในรอบสี่ปี เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงระบบ และช่วยให้องค์กรมีศักยภาพเท่าทันโลกธุรกิจในยุคนี้

ดังนั้น การสิ้นสุดการสนับสนุนวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 จึงถือเป็นข่าวดีของหลายๆ องค์กรที่จะมีโอกาสได้ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้ทันสมัย และนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้งานให้เต็มที่ อย่างที่ระบบเก่าไม่สามารถทำได้

ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์

บริษัท ไมโครซอฟท์ (NASDAQ “MSFT”) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2518 เป็นผู้นำระดับโลกด้านบริการ ซอฟต์แวร์ ดีไวซ์ และโซลูชั่นที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของผู้ใช้และองค์กรธุรกิจ

บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2536  มีความมุ่งมั่นในการช่วยให้คุณภาพชีวิตคนไทย 70 ล้านคน ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์   ไมโครซอฟท์ ส่งเสริมให้คนไทยและภาคธุรกิจได้ตระหนักถึงศักยภาพที่มีอย่างเต็มเปี่ยมผ่าน การใช้เทคโนยี  เทคโนโลยีที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง ในการทำงาน การใช้ชีวิต และการสื่อสาร  ไมโครซอฟท์ให้บริการซอฟต์แวร์ บริการ และดีไวซ์ ที่สามารถก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ  มีความสะดวกทันสมัย  และช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ไมโครซอฟท์ ไม่หยุดนิ่งในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ พันธมิตร อย่างต่อเนื่องในการนำพลังของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาก่อให้เกิดประโยชน์สูง สุดกับประเทศไทย


หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)  http://www.microsoft.com/thailand หรือติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดได้ทางศูนย์ข่าวสารประเทศไทยhttp://news.microsoft.com/th-th/และทวิตเตอร์ @MicrosoftTH

 

 



ถูกใจบทความนี้  0